เรื่องราวดีๆ จากปลายปากกานักเขียนรุ่นใหม่ปลายด้ามขวาน

ปล่อย วาง” “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” “ก่อการรัก” “เธอเหนื่อยไหม” “จุดประกายแห่งทางนำ”หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เขียนโดยนักเขียนมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของคนในพื้นที่ เธอและเขามารวมตัวกันพูดคุยถึงงานเขียนที่มีทั้งบทความ เรื่องสั้น และนวนิยาย ที่สอดแทรกปรัชญาของอิสลามไว้ในแต่ละเล่มได้อย่างแนบเนียน บ่ายวันเสาร์ปลายเดือนสิงหาคม  ณ ร้านบูคู ร้านหนังสือกลางเมืองปัตตานี จึงเต็มไปด้วยแฟนคลับที่ติดตามเรื่องราวในหนังสือและมาร่วมสนทนากันกับคน เขียน

มุสลีฮา มะแซ หรือที่รู้จักกันดีในโลกออนไลน์อย่างเฟซบุ๊คในชื่อ เจ๊นูรีฮัน มาเลเซีย และ นางฟ้าติดดิน ที่มีผลงานเขียนตีพิมพ์ออกมาเป็นที่ถูกใจของแวงดวงมุสลิมคือ เลิฟสตอรี่ งานเขียนแนวบอกกล่าวตักเตือนเมือนเป็นพี่ เพื่อน กับคนอ่าน เธอเขียนได้ทะลวงหัวใจวันรุ่นและผู้หญิงได้อย่างดีแท้ โดยเฉพาะเรื่องราวสอนลูกผู้หญิงตตามแบบอย่างอัลกุรอ่านและอัลฉฮะดีษ ทั้งที่เธอมิได้เรียนจบด้านศาสนามาโยตรง เป็นเพียงแม่ค้าขายไก่ในตลาดตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส หากด้วยใจที่มุ่งมั่น ขยันหาความรู้และอดทน ทำให้คุณแม่คนนี้มีผลงานออกมาสู่สายตาหลายเล่ม มุสลีฮาบอกถึงจุดเริ่มต้นกับงานเขียนของเธอว่า

มุสลีฮา มะแซ
มุสลีฮา มะแซ

“แรกๆ ก็เขียนแล้วโพสต์ในเพชบุ๊ค มีคนเข้ามาเป็นเพื่อนและกดไลค์ให้เยอะมาก ส่วนใหญ่ที่โพสต์เป็นข้อความเตือนตัวเองและคนอื่นที่มีข้อมูลมาจากเรื่องรอบ ตัวและสถานการณ์บังคับให้เขียนได้ มีคนอ่านแล้วโพสต์บอกว่ามีการเปลี่ยนแลงตัวเองจากการอ่านข้อความของเรา โพสต์มาสองปี พิมพ์งานออกมาแล้ว 5 เล่ม เริ่มจาก “บทความรับเชิญ” คือคัดเลือกจากคนที่โพสต์ในเพชบุ๊คแล้วขออนุญาตมารวมเล่ม จนมาทำ เลิฟ สตอรี่ มาถึง เล่ม 3 จนถึง เล่มนี้ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” เรื่องราวของผู้หญิงที่ต้องมีความอดทน คามจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺ ศาสนาและสามี เป็นชีวิตที่มีอยู่จริง จากสังคมปัจจุบันที่ผู้หญิงมุสลิมทำงานนอกบ้านมากขึ้น เมื่อกลับเข้าบ้านก็หัวแข็ง ไม่เชื่อฟังสามีจนสามีบางคนต้องตามภรรยา ซึ่งในความเป็นจริงแม้ผู้หญิงจะเก่งแค่ไหนถ้าไม่มีสามีเคียงข้างก็ยากจะ สำเร็จ และผู้ชายหากไม่มีผู้หญิงเคียงข้างก็ไม่สำเร็จเหมือนกัน ต้องทำตามสิ่งที่สามีบอกและเตือนในสิ่งไม่น้อยเลยทีเดียวถูกต้อง ถ้าหากทำถูกต้องแล้วก็บอกเขา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้หากใส่ใจและปฏิบัติจริง”

มุ สลีฮาบอกว่า เธอเป็นแม่ค้าขายไก่ ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านศาสนาโดยตรง ไม่มีความรู้เรื่องงานเขียนและการทำหนังสือมาก่อน หากความตั้งใจจริงที่อยากเขียนเพื่อให้ทุกคนได้อ่านง่ายเข้าใจง่ายเหมือน กำลังคุยกัน ประกอบกับคนที่เรียนทางศาสนาโดยตรงไม่ได้ทำงานเผยแพร่แบบนี้ ทำให้เรื่องราวของเธอเป็นที่สนใจและติดตามของแฟนคลับไม่น้อยเลยทีเดียว

“อา ยะฮฺ(บทบัญญัติ)แรกของอัลกุรอ่านคือ “จงอ่าน” แต่มุสลิมอ่านหนังสือกันน้อยมาก การอ่านและการฟังสำคัญพอกัน อ่านแล้วไม่เข้าใจก็ต้องอ่านอีก ยาแก้โง่คืออ่านและถาม การเรียนศาสนาเรียนได้ไม่มีวันจบสิ้น ถึงวันตายจึงถือว่าจบ อัลกุรอ่านและอัลฮะดีษไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างที่เขียนเรื่องความรัก เมื่อวัยรุ่นได้อ่านแล้วเลิกทำสิ่งเหล่านั้นเพราะกลัวบาป เป็นการตักเตือนไม่ให้เกินเลยขอบเขตศาสนา เมื่อมีคนติงมาก็จะนำสิ่งเหล่านั้นไปปรับปรุงเนื้อหา นักเขียนมีเยอะแต่ไม่กล้าพิมพ์ด้วยหลายเหตุผล ให้ขจัดความกลัวแล้วมาคุยกัน ตอนนี้กำลังจัดตั้งสำนักพิมพ์ที่นราธิวาส ชื่อสำนักพิมพ์ White Mind มีรากคืออิสลาม เติบโตด้วยอิสลาม คนที่มาใส่ปุ๋ยคือคนอ่าน”

“บุหรง” หรือ อิบรอเฮง อารง
“บุหรง” หรือ อิบรอเฮง อารง

“บุหรง” หรือ อิบรอเฮง อารง ชายหนุ่มเจ้าของนวนิยาย “ก่อการรัก” ที่เป็นนักอ่านตัวยง อาชีพค้าขาย เฝ้าถามว่าทำไมไม่มีนักเขียนมุสลิมเขียนนวนิยายบ้าง เขาจึงลงมือเขียนด้วยวัตถุดิบที่ตัวเองมีโดยการเขียนลงในเฟซบุ๊ค จากนั้นจึงได้รับการติดต่อนำงานเขียนไปลงในเว็บไซต์เด็กดี จนมาถึงการพิมพ์ออกมาวางขาย ความคิดในเรื่องของการเขียนและการอ่านของบุหรงเป็นที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน

“ใน อดีตคนที่จะมาเป็นนักเขียนในแวดวงมุสลิมต้องเป็นผู้รู้ที่เรียนจบศาสนามาจาก อาหรับ แต่เราไม่ได้เรียนแนวนั้น หากรักและสนใจในการอ่านและการเขียน มีวัตถุดิบพอ จึงเริ่มเขียน เป็นนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งนักเขียนมุสลิมทุกคนจะมีวัตถุดิบเหมือนกันมีคืออัลกุรอ่านและอัลฮะดีษ จะนำหน้ามาตลอดทุกวัตถุดิบอื่น ถ้าพลอตเรื่องไปขัดกับสิ่งนี้ก็จะหาทางไปแนวอื่น ทำให้เจอเทคนิคใหม่ ที่น่าสนใจ เป็นทิศทางที่ชัดเจน อยากส่งเสริมการอ่าน จูงใจให้คนหันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่อิสลามเน้นการแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา”

จัสมี ยามาอุ หรือ “เพียงฉัน”
จัสมี ยามาอุ หรือ “เพียงฉัน”

สำหรับ จัสมี ยามาอุ หรือ “เพียงฉัน” ผู้เขียนเรื่อง “ปล่อยวาง” เป็นเพียงนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ เอกชีววิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชาวนราธิวาส ที่ชอบคิดถึงเรื่องของความตาย เป็นสิ่งที่เธอบอกว่าได้ใคร่ครวญชีวิตมากขึ้น

“บ้าน อยู่ติดแม่น้ำ ชอบฟังอนาชีดแล้วนำมาใคร่ครวญ เขียนเรื่องที่เราคิดแล้วเอาไปให้พ่อดู พ่อก็บอกว่าอยากเขียนเหมือนกัน คงมาตกที่ลูก จนมาเรียนที่ม.อ.ปัตตานี ก็อยากเขียนอีก เห็นชั้นหนังสือมีหนังสือที่คนอื่นเขียนวางอยู่ หากความคิดของคนเราไม่เหมือนกัน เราก็ต้องเขียนได้ เขียนเสร็จตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแต่ติดขัดเรื่องทุนในการพิมพ์ จนได้มารู้จักกับเจ๊นูรีฮันผ่านทางเฟชบุ๊ค และจะพิมพ์วางตลาดในเดือนกันยายนนี้ ในการเป็นนักเขียนต้องเปิดใจกว้าง นำความหลากหลายของความคิดมารวมตัวกันได้ หัวใจกับสมองเป็นสิ่งเดียวกันและต้องใส่ใจกับสิ่งที่ทำ”

สำนัก พิมพ์ White Mind กำลังทยอยจัดพิมพ์หนังสือออกมา โดยมี “ปล่อยวาง” เป็นเล่มแรกในเดือนกันยายน “จุดประกายแห่งทางนำ” เป็นเล่มถัดไป และอีกหลายเล่มที่กำลังรอคิวจัดพิมพ์ออกมาสู่สายตานักอ่านในไม่ช้า