การต่อสู้เพื่อศักศรีของความเป็นมนุษย์เป็นเสมือนสัญชาตญาณเมื่อรู้ว่าตัวเองและเพื่อนพ้องโดนกระทำ กลายเป็นประเด็นที่สร้างความโกรธแค้นที่เรียกว่า “ไม้หักลงพื้น ไม้ยืนสู้ต่อไป” เสียงปืนกับดอกไม้ที่งดงามอยู่เคียงคู่ดินแดนแห่งนี้มานานนับตั้งแต่การประกาศเอกราชจาก อังกฤษในปี 1947 สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การเรียกร้องทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ปัญหาการว่างงาน ไม่ใช้ความอดอยาก แต่เป็นสิทธิเสรีภาพที่พวกเขาฝันว่าจะได้มา
ประเด็นการเสียชีวิตของ “บุรฮาน วานี” (Burhan Wani) ผู้นำ “ฮิซบุล มูจาฮิดีน” กองกำลังที่ทรงอิทธิพลที่สุดในแคชเมียร์ เสียชีวิตจากการสู้รบกับทหารอินเดีย ในเดือนกรกฏาคม 2016 สร้างความโกรธแค้นให้กับพี่น้องมุสลิมในดินแดนแห่งนั้น “การทำพิธีฝังศพที่มีผู้คนเข้าร่วมนับพันๆ คนเป็นเครื่องยืนยันว่า สังคมที่นั่นรับรู้และเลือกที่จะแสดงการให้เกียรติแก่เขา”
จากข้อมูลการรายงาน frontline magazine ระบุว่า สาเหตุของความรุนแรงที่ย้อนไปถึงปี 2008 และปี 2010 ที่มีผู้สูญหาย 55 บาดเจ็บเกือบ 5,000 คน โดยหากย้อนเหตุการณ์ไปถึงในปี 1989 พบว่าเป็นการจลาจลที่มีความรุนแรงมากครั้งหนึ่ง ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ ได้รับบาดเจ็บ 2,228 คน เจ้าหน้าที่ ตำรวจ 1,100 คน ประชาชนได้รับบาดเจ็บ 2,259 คน 16 วันแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นและเป็นครั้งที่มีการสูญเสียมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมุนมด้วยความรุนแรงมักจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงต้นสายปลายเหตุของทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กระสุนปืน แก๊สน้ำตา ถูกหยิบมาเป็นสีสันของทุกๆ เหตุการณ์ เป็นที่มาของการบาดเจ็บล้มตาย การต่อสู้ระหว่างประชาชนมือเปล่าที่ใช้ลูกหินเป็นอาวุธเป็นสมรภูมิที่ปะทะกับทหารอินเดียในหลายพื้นที่สร้างความสูญเสียที่มีขึ้นตลอดเวลา ดินแดนในหลายพื้นที่ของ แคชเมียร์ ที่มีความสวยงาม อย่าง Anantnag Pulwana Kulgam Shopian เด็กหนุ่มแววตาสีน้ำทะเล ทีจะออกมาวิ่งเล่นและให้การต้อนรับแขกผู้มาเยือน แต่การรายงานของสื่อเป็นเรื่องที่ชวนให้คิด แม้กระทั่งการเมืองในอินเดียสื่อมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคข่าวสารเกิดพลิกผันขึ้นมาได้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการประท้วงเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อญาติพี่น้องของเขาเสียชีวิต รอยแค้นที่ยากจะลบเลือน ระหว่างคนหนุ่มที่เป็นนักสู้กับกองกำลังทหารอินเดียที่พร้อมด้วยอาวุธครบมือ
คมกระสุนไม่อาจหยุดยั้งสิ่งที่พวกเขาต้องการ ข้อมูลจาก frontline magazine รายงานว่า เด็กหนุ่มวัย 20 ปี นามว่า “อาตีฟ อะหมัด” ได้อธิบายกับสื่ออินเดียและยืนมอง ค่ายทหารที่โดนทำลายภายหลังจากการปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มผู้ประท้วง ดวงตาเด็กหนุ่มชาวแคชเมียร์คนนี้เต็มไปด้วยความโกรธ “ท่านคิดหรือว่าเราจะทำเพื่อความสนุกสนาน” “แม้ว่าทหารอินเดียจะหยุดเราด้วยคมกระสุนก็ตาม พวกเราไม่ได้ต่อต้านอินเดีย แต่เพราะสิ่งที่อินเดียได้กระทำกับพวกเรา ไม่ฟังพวกเราและต่อต้านพวกเรา” กองกำลังของอินเดียหรือกลุ่มผู้ประท้วงจะมีเป้าหมายที่ต่างกัน แต่การเรียกคืนความสงบสุขกลับมานั้นเป็นเรื่องยากลำบาก เด็กและสตรีเสียชีวิต สิ่งนี้มักจะเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในกรณีที่มีเหตุสงครามและการจลาจล แม้ว่ารัฐบาลอินเดียและกองกำลังตำรวจในแคชเมียร์ จะยังคงต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน เป็นการต่อสู้ที่ยากลำบาก บางครั้งเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความอดทนยับยั้งชั่งใจ ทำตามคำสั่ง
ความวุ่นวายทางการเมืองในแคชเมียร์ ติดพันมานานตั้งแต่ปี 1990 การเคลื่อนไหวกลุ่มแนวร่วมอุดมการณ์ การเดินขบวนบนท้องถนน แม้มีการรายงานว่ามีการสนับสนุนจาก ปากีสถานทางการเงิน และอาวุธ แต่การเดินขบวนของพวกเขาที่ต้องการเสรีภาพจากอินเดียนั้นก้ไม่ได้หมายความว่าต้องไปผนวกกีบปากีสถาน “แคชเมียร์ต้องการเป็นอิสระไม่ได้ต้องการเข้าไปอยู่กับอินเดียและปากีสถาน” อดีตผู้นำปากีสถาน มุชาราฟได้กล่าวเอาไว้ “ชาวแคชเมียร์ต้องการใช้ชีวิตอย่างมีศักศรี”
การประท้วงเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ เกิดความล้มเหลวขนาดใหญ่ทางเศรษฐกิจ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โรงเรียน โรงแรม สถานที่ราชการถูกปิด วงจรธุรกิจหยุดชะงัก เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแบบรุนแรงในปี 2010 การพยายามหาทางยุติความวุ่นวาย ควบคุม ผู้นำ นักเคลื่อนไหวถูกจับกุมตัว การไม่ได้รับความพอใจทางการเมืองเป็นเวลานาน คำกล่าวหาของรัฐบาลอินเดียว่า ปากีสถานได้ทำงานร่วมกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน และทุกทางคงไม่ใช่หนทางสู่ความสงบ รัฐบาลอินเดียคงไม่อยากปล่อยให้แคชเมียร์หลุดออกจากอินเดียอย่างแน่นอน ปากีสถานถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการประท้วงและให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่มีรากฐานทางศาสนาเข้าเกี่ยวข้อง ถึงอย่างไรศาสนายังเป็นส่วนสำคัญและมีบทบาทต่อทุกกรณีทางการเมืองระหว่างอินเดียกับปากีสถาน
ไฮไลต์ของเรื่องอยู่ที่ความแตกต่างระหว่างความรู้และข้อมูลที่ได้รับ สิ่งที่ถูกกล่าวหาและเปิดเผยรวมไปถึงสิ่งที่ถูกซ่อนเร้น ระหว่างความจริงและการคาดเดา การเมืองภายในและการแทรกแซงจากภายนอก รวมไปถึงเศรษฐกิจและการว่างงานที่เกิดขึ้นทุกอย่างถูกจดจำเอาไว้กับเหล่าบรรดาของผู้เหนี่ยวไกปืนกับผู้สูญเสีย แคชเมียร์อาจจะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผอมบาง มันเป็นสิ่งที่รัฐบาลอินเดียต้องน้อมรับถึงการปฏิบัติความเปราะบางเป็น สิ่งที่ทำให้ความโกรธของพวกเขาออกมารวมตัวกันบนถนน การละเมิดสิทธิอย่างไม่ใยดี ไม่เข้าใจถึงความต้องการของคนแคชเมียร์ความปรารถนาของพวกเขา เพราะความยุติธรรมเป็นเสมือนความงดงาม สิ่งที่หลายคนต้องการคือความสง่างามและมีเกียรติ พลังที่สามารถยับยั้งความขัดแย้ง
ในช่วงเวลาปัจจุบันคนแคชเมียร์เองยังไม่พร้อมที่จะรับฟังแม้ผู้นำของตนเอง กระแสต้องการแบ่งแยกดินแดนเพราะความเชื่อมั่นในบางสิ่ง โดยคนแคชเมียร์ให้ความเชื่อมั่นกับปากีสถานพอสมควร เพราะการระดมคนเพื่อเดินเคลื่อนย้ายศพผู้นำศาสนาที่ถูกสังหารเพื่อให้คนออกมาในถนนและจะมีแนวร่วมฝักใฝ่การต่อสู้กับรัฐบาลอินเดีย ทุกวันนี้แคชเมียร์ยังคงเป็นดินแดนที่มีการต่อต้านรัฐบาลอินเดียและประชาชนยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่พร้อมจะลุกลามรุนแรงได้ตลอดเวลา ทุกวันนี้การว่างงาน ภาวะเศรษฐกิจเป็นผลพวงจากเหตุการณ์ความรุนแรงจนลุกลามอย่างกว้างขวาง
การเสียชีวิตของ “บุรฮาน วานี” ผู้นำ “ฮิซบุล มูจาฮิดีน” ได้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งต่างๆมากมาย การเมืองมีผลต่อเหตุการณ์ การแย่งชิงอำนาจระหว่างพรรคคองเกรส (congress) กับ บีเจพี (BJP) รัฐบาลอินเดียมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีความเข้าใจ เพราะทุกอย่างเป็นความมั่นคงของคนในชาติ เมื่อสถานการณ์ตอบโจทย์ให้เกิดความคิดริเริ่มทางการเมืองระหว่างสองพรรคใหญ่นับเป็นความหมายที่ดี จากวรรณกรรมเหตุการณ์รุนแรงในอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น มุสลิม-ฮินดู ก่อนหลังการเลือกตั้งมีผลลัพธ์เสมอ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ การตายของบุรฮาน แคชเมียร์ไม่ใช่การแบ่งแยกเหมือนรัฐอิสลาม แคชเมียร์ต้องการการตอบสนองในลักษณะวิธีการศึกษาผ่านกระบวนการการเมือง รัฐบาลจะต้องมองว่า ผู้เสียชีวิตการตัดสินใจด้วยคมกระสุนไม่ใช่เป้าหมายของผลลัพธ์ที่ดี การใช้ความเข้าใจและแก้ไขความคับข้องใจให้เป็นไปตามกฎหมาย รัฐบาลอินเดียควรพูดถึงทุกเฉดสีของความคิดเห็น รัฐบาลไม่สามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ได้
ทุกอย่างบ่งบอกแล้วว่ามันไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทุกสิ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลอินเดียต้องริเริ่ม !!!!
ข้อมูล http://www.frontline.in/ the frontline magazine India’s National Magazine
อาจารย์ประจำศูนย์อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ