การที่สถาบันการเงินอิสลามดำเนินการภายใต้หลักการที่สอดคล้องกับชะรีอะห์ การดำเนินงานตามข้อกำหนดของคณะกรรมการที่ปรึกษาทั้งในเรื่องการรายงานผล การตรวจสอบงบประมาณก่อนที่จะมีการตัดสินใจในลำดับขั้นการทำงานเพราะจุดบกพร่องจะมาซึ่งความผิดผลาดของหลักการนั้นมีขึ้นได้ตลอด โดยปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ส่อให้เกิดคือการลดความน่าเชื่อถือ ทั้งในส่วนอุตสหกรรมที่ได้รับสินเชื่อกับสถาบันการเงิน การร่วมทุนส่วนที่สถาบันการเงินนำไปดำเนินงาน การตรวจสอบบัญชีตามข้อเท็จจริง คณะตรวจสอบต้องมีความอดทนตั้งใจทำงานจะต้องมีศักยภาพเพียงพอ รู้เท่าทันผู้บริหาร เพราะการตรวจสอบให้ได้ในลำดับทุกมาตฐานทุกรายละเอียดเป็นเรื่องที่สถาบันเองต้องคำนึงและมีฝีมือมากพอ เป็นเหมือนจรรยาบรรณที่จะรักษาตัวของมันเอง
หากภาวะความเสี่ยงของทุนการเงินโดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อห้ามของดอกเบี้ย การพนัน กิจกรรมทางการเงินที่เป็นบาป นอกจากนี้ทุกสัญญาจะต้องมีความถูกต้องตามกฎหมายอันอยู่ในวัตถุประสงค์สัญญาที่ได้รับการยอมรับสิ่งเหล่านี้ต้องอยู่ในคณะกรรมการชะรีอะห์แบบจริงจัง แนวทางกรอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพทุกอย่างต้องเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือ
วิธีการปฏิบัติการการตรวจสอบในหลักการอิสลาม
• ตรวจสอบถึงหลักการข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับ ดอกเบี้ย การพนัน การเสี่ยงโชค
• ตรวจสอบในเรื่องจองแนวทางกฎระเบียบการกำกับดูแลของชะรีอะห์สำหรับสถาบันการเงินอิสลาม
• การรับรองเอกสารเพื่อตรวจสอบกฎระเบียบของการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับหลักชะรีอะห์ และระบอบกระบวนการทั้งหมด
• รายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติการตรวจสอบอย่างเครงครัด
ประการแรกจากการพิจารณาโดยทั่วไปแล้วหลักการของ มูอามลัต ในการทำธุรกรรมอิสลามนั้นสิ่งที่ควรถือปฏิบัติกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยสินค้าต้องห้ามในทุกระยะเวลาของสัญญาระหว่างผู้ประกอบการกับสถาบันการเงินเพื่อยึดแนวทางที่ถูกต้องประการที่สองสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบการปฏิบัติจากการทำงานการกำกับดูแลของสถาบันเพราะในแต่ละที่ทุกอย่างจะต้องให้ความสำคัญกับคณะกรรมการชะรีอะห์ประการที่สามกระบวนการตรวจสอบรับรองเอกสารทั้งหมดสัญญารูปแบบข้อเสนอเอกสารทางกฎหมายอื่นๆที่ใช้ในการดำเนินงานธุรกรรม ผลิตภัณ์ การโฆษณาการตลาด การขาย ภาพประกอบลงในเบอชัวทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องอยู่ในดุลพินิจการตรวจสอบ เพราะการดำเนินงานทางด้านการตลาด หากผิดผลาดหรือปล่อยละเลยจะสร้างผลเสียตามมาประการที่สี่ สุดท้ายการรายงานการตรวจสอบการปฎิบัติงานตามชะรีอะห์จะเกิดขึ้นโดยผู้ตรวจสอบบัญชีที่จะต้องระบุความคิดเห็นของตนไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดในการตรวจสอบ เพื่อให้สอดคล้อง หรือนำเสนอในแบบสถิติ ว่ารายงานรายปี มีเพื่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร กับความเสี่ยงทุกกรณีเพื่อหาทางแก้ใขกระบวนการและเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในทุกองค์ประกอบ
ขอบเขตการปฏิบัติและการตรวจสอบ
ขอบเขตการปฏิบัติการตรวจสอบที่ควบคุมโดยกฎหมายอิสลามโดยจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและต้องมีการทบทวนกระดำเนินงานอย่างต่อเนื่องแม้ว่าวัตถุประสงค์การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความแน่ใจเป็นไปตามที่ต้องการแต่มิใช้ความสำเร็จแค่นั้นแต่ความเสี่ยงพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้แม้บางครั้งอยู่ในหลักการอิสลามก็ตาม
หลักการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของ กระบวนการตรวจสอบมีดังต่อไปนี้
กฎหมายอิสลามที่ควรได้รับการกำกับดูแลจากคณะกรรมการคำ ฟัตวา โดยมีการศึกษาอบรมพนักงาน ทบทวนการทำงานให้กับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในเรื่อง การผลิตสินค้ามุ่งเน้นการตรวจสอบทรัพยากรทั้งหมด มีการติดต่อกับบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องการตรวจสอบ ดำเนินการสำรวจความเป็นไปได้และศึกษาความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องควบคุมการทำงานทุกกิจการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินนั้นๆ คณะกรรมการต้องมีการพัฒนาโครงการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาโดยมีการกำหนดหมวดการตรวจสอบเป็นระยะเวลา เพราะการอนุมัติจากคณะกรรมการเป็นเรื่องทางกฎหมายหากว่ามีข้อผิดผลาดทุกอย่างจะเป็นผลเสียต่อสถาบันและความน่าเชื่อถือ ทั้งในคณะกรรมเองและสถาบันการเงินนั้นๆ
ผู้ตรวจสอบบัญชี ชะรีอะห์ ควรที่จะเก็บวิเคราะห์ตีความทุกเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงาน โดยทุกอย่างต้องมีรายละเอียดสิ่งสำคัญผู้รู้ทางศาสนาต้องมีความรู้ทางด้านบริหารธุรกิจมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์คิดทันผู้บริหารมิใช้เพียงแค่รู้หลักการอิสลามอย่างเดียว การตรวจสอบ รายละเอียด สังเกตการณ์ แสดงความคิดเห็น สอบถามข้อมูล สนทนากับผู้บริการกล้าที่จะโต้แย้ง กล้าที่จะคัดค้าน รู้จักผิดถูก มีอากีดะห์ที่แข็มแข็ง
คุณภาพในเรื่องข้อมูลข่าวสารควรที่จะเพียงพอเป็นที่เชื่อถือได้เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการตรวจสอบและการนำเสนอฉะนั้นแล้วผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องเป็นหน่วยงานถ้าเป็นไปได้ไม่ควรมาจากภายในสถาบันการเงินเพราะทุกระดับของการจัดการ การรายงานผลแบบซื้อตรงเป็นหน่วยงานตรวจสอบต้องมาจากภายนอก
ความมุ่งหมาย การทำงาน ขอบเขตการดำเนินการ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับคำแนะนำและเร่งรีบดำเนินการแก้ใขหากเกิดข้อผิดผลาดในธุรกรรม สิ่งสำคัญผู้บริหารต้องรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ตรวจสอบ หากเกิดข้อพิพาทใดๆในการตีความทุกอย่างควรให้อำนาจในการตัดสินกับคณะกรรมการไม่ใช้ผู้บริหารบางครั้งผลประโยชน์ของบริษัทอาจจะทำให้จิตใจเปลี่ยนแปลงได้ กระบวนการตรวจสอบบัญชีเป็นเรื่องภายในที่มีแนวทางสำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและเฝ้าระวังไม้ให้ผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้น ไม่ปฏิบัติตาม
การสร้างแผ่นงานกำหนดนโยบายและขั้นตอนทั้งหมดในการตรวจสอบของพนักงานนั้นกฏหมายอิสลามได้กำหนดขอบเขตไว้อย่างชัดเจน แนวทางการพัฒนากระบวนการตรวจสอบจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อสร้างหลักประกันความมีคุณภาพประสิทธิภาพการประเมินการดำเนินงานตามหลักชะรีอะห์อิสลามโดยมีองค์ประกอบคือ หลักของการตรวจสอบคือ พนักงานที่มีประสบการมุ่งมั่นในการคัดสรรค์พนักงานโดยมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องพัฒนาและมีส่วนร่วมการทำงานกับคณะกรรมและมีทัศนคติในการบริหารงานตามความถนัด ในเรื่องของการแยกแยะบทบาทหน้าที่ ผู้บริหารไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้อง ในเรื่องการตรวจสอบบัญชีควรตั้งข้อสังเกต และไม่ควรก้าวกายการทำงานของคณะกรรมการชะรีอะห์ ในเรื่องขั้นตอนการควบคุม ต้องมีการจัดการตามนโยบายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันการเงินของคณะกรรมการ เพื่อให้สถาบันการเงินนั้นเป็นไปตามหลักการอิสลาม ไม่มีสิ่งที่ปนเปื้นจากดอกเบี้ย ธุรกรรมที่ ฮะรอม การปล่อยสินเชื่อในทางที่ผิด
อาจารย์ประจำศูนย์อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ