เลือก กรรมการกลางฯปาร์ตี้ลิสต์มีข่าวออกมาหนาหูมีการใช้เงินหลายล้านบาทซื้อ ตำแหน่งแวดวงมุสลิมสงสัยจ่ายมหาศาลเพื่อรับเบี้ยประชุมแค่เดือนละหมื่นเพื่อ อะไรหรือแค่หวังเพื่อเป็นเกียรติศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตามกฎหมายการบริหารกิจการอิสลามปี 2540 มีที่มา 2 ทาง หนึ่ง คือมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจังหวัดละ 1 คนมีประมาณ 40 คนตามจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ส่วนอีกทางหนึ่งมาจากการคัดเลือกของจุฬาราชมนตรีจำนวน 1 ใน 3 หรือประมาณ 13 คน โดยคณะกรรมการกลางฯตามสัดส่วนจังหวัดได้รับการคัดเลือกมาพร้อมกับการคัด เลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดประมาณเดือนพฤศจิกายน 2554 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีส่วนคณะกรรมการกลางฯ จากการคัดเลือกของจุฬาราชมนตรีหรือเรียกว่าปาร์ตี้ลิสต์ได้หมดวาระไปเมื่อ ประมาณเดือนพฤษภาคม 2556 มีรายการงานมีการคัดเลือกเสร็จสิ้นแล้วอยู่ระหว่างมีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯแต่งตั้งลงมา
มีรายงานจากแหล่งข่าว ในสำนักจุฬาฯ ว่า การคัดเลือกคณะกรรมการกลางฯระบบปาร์ตี้ลิสต์คราวนี้มีการวิ่งเต้นอย่างหนัก เพื่อให้ได้รับการคัดเลือก ถึงกับมีการใช้เงินใช้ทองในการวิ่งเต้น ทำให้ตัวเก็งบางคนที่เคยเป็นกรรมการมาหลายสมัยต้องน้ำตาตก พลาดจากการเป็นกรรมการกลางฯ ไปอย่างน่าเสียดาย
บุคคลหนึ่งที่พลาดตำแหน่งกรรมการกลางฯคือ นายสมัย เจริญช่าง อดีตส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ที่ยึดเก้าอี้กรรมการกลางฯ มายาวนาน โดยนายสมัยนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการกลางฯโดยการคัดเลือกของคณะกรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพฯเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 แต่ได้ลาออกพร้อมๆ กับการหมดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการกลางปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อเปิดทางให้คู่ซี้ นายอะหะหมัด ขามเทศทอง ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการกลางฯเพื่อเป็นเกียรติซักครั้งในชีวิต ซึ่งหากไม่ได้เป็นคราวนี้ก็อาจไม่มีโอกาสอีก
การที่นายสมัยกล้าลา ออกเพราะมั่นใจว่าจะได้รับการคัดเลือกจากจุฬาราชมนตรีกลับมาเป็นกรรมการกลาง อีกครั้ง แต่เมื่อถึงเวลานายสมัยก็ต้องผิดหวัง เท่ากับเขาต้องสูญสิ้นทั้งตำแหน่งส.ส.เขตคลองสามวาที่พ่ายแพ้ให้กับนักการ เมืองรุ่นน้องอย่าง นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ และต้องสูญเสียตำแหน่งกรรมการกลางฯไปอีกตำแหน่งหนึ่ง แต่ก็ยังเหลือเหลือตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯ ไว้ปลอบใจ
การหลุดจากโผของนาย สมัยมีรายงานจากคนวงในสำนักจุฬาฯ ว่า เพราะมีอำนาจเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีการจ่ายเงินเพื่อให้คน 3 คนได้เป็นกรรมการกลางฯจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยบุคคล 3 คนนี้คนหนึ่งเป็นเจ้าของสื่อใหญ่ที่มีบทบาทโจมตีจุฬาราชมนตรีมาตลอดเวลา ซึ่งแหล่งข่าวได้ตั้งข้อสังเกตว่า บุคคลนี้ถ้าดูตามบทบาทที่ผ่านมาน่าจะไม่มีชื่อในโผแน่นอน หากได้รับการแต่งตั้งก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่าการจ่ายเงินนั้นเป็นความจริง
ส่วนอีก 2 คนนั้น คนหนึ่งเป็นนักการเมืองหนุ่มลูกชายของอดีตรัฐมนตรีที่พลาดหวังจากตำแหน่ งส.ส.ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด หวังตำแหน่งกรรมการกลางฯ เพื่อเป็นหน้าเป็นตา และเพื่อเข้าไปมีบทบาทในแวดวงมุสลิม ส่วนคนหนึ่งเป็นผู้กว้างขวางที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับอดีตรัฐมนตรี
การจ่ายเงินไม่ต่ำจาก 5 ล้านบาทเพื่อตำแหน่งกรรมการกลางฯ ทำให้หลายคนสงสัยว่าจะคุ้มหรือไม่ เพราะตำแหน่งกรรมการกลางฯไม่มีเงินเดือนประจำมีเบี้ยประชุมเดือนละ 1 ครั้งประมาณ 10,000 บาท เบิกค่าเดินทางและที่พักได้แต่อาจจะมีเบี้ยประชุมเพิ่มกรณีเข้าไปเป็น กรรมการชุดต่างๆ อาทิ คณะกรรมการกิจการฮาลาลเป็นต้นเดือนหนึ่งรวมแล้วไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งใน 1 ปีมีรายได้สูงสุดประมาณ 200,000 บาท ระยะเวลา 4 ปีมีรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาทซึ่งถือว่าขาดทุน และช่องทางการทำมาหากินก็มีไม่มากนัก ยกเว้นคนที่เป็นกรรมการกิจการฮาลาลที่ปัจจุบันมีบทบาทสูงในการตรวจจับ ผลิตภัณฑ์ ฮาลาลที่ผิดระเบียบ อย่างกรณีการจับผลิตภัณฑ์ซีพีและมีการตกลงจ่ายเงิน 20 ล้านบาทนำไปแบ่งกันในหมู่คณะกรรมการกิจการฮาลาล
แม้จะไม่มีผลตอบแทน เป็นตัวเงินแต่การเป็นกรรมการกลางฯ ของคนบางคนบางกลุ่มจะได้เป็นตำแหน่งที่มีหน้ามีตา เป็นตำแหน่งที่มีบทบาทนำในสังคมมุสลิม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งสำหรับมุสลิมบางคนมองว่าเป็นเกียรติสูงสุดแก่ครอบครัวและวงศ์ตระกูลแล้ว ซึ่งเงิน 4-5 ล้านบาทสำหรับคนกลุ่มนี้เป็นเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากข่าวการจ่ายเงินเพื่อซื้อตำแหน่งกรรมการกลางฯเป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าองค์กรนี้มีความเสื่อมจนถึงขีดสุด เป็นองค์กรศาสนาที่เลวทรามไม่แตกต่างจากองค์กรการเมืองในระดับต่างๆ
ย้อนกลับมาที่นายสมัย เจริญช่าง ที่ผ่านมานับว่ามีบทบาทสำคัญในการกุมบังเหียนในคณะกรรมการกลางฯในฟาก ประชาธิปัตย์ที่สามารถยึดอำนาจมาจากนายพิเชษฐ์ สถิรชวาล ได้สำเร็จ หลังมีจุฬาราชมนตรีที่ชื่อ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล และผลักดันคนในประชาธิปัตย์อย่าง พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เสียบแทนในตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ ซึ่งการที่นายสมัยพลาดจากตำแหน่งกรรมการกลางฯ นอกจากเรื่องเงิน อีกด้านหนึ่งยังมองได้ว่าเป็นการกลับมายึดคณะกรรมการกลางฯ ของการเมืองอีกฝั่งหนึ่ง
แม้จะเป็นที่ทราบกันดี ว่านายอาศิสได้รับการสนับสนุนจากคนของประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะนายถาวร เสนเนียม ซึ่งตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นคนสงขลาเช่นเดียวกับนายอาศิส และพล.ต.ต. สุรินทร์ แต่วงการกรรมการกลางฯ ไม่ต่างกับวงการการเมืองที่พลิกผันตามขั้วอำนาจได้ตลอดเวลา อย่าลืมว่าการทำงานของสำนักจุฬาฯ ต้องพึ่งพิงเงินงบประมาณจากรัฐบาลทั้งเงินเดือนประจำและเงินในโครงการต่างๆ ที่ร้องขอไป จึงไม่แปลกที่มีความพยายามขจัดกรรมการสายประชาธิปัตย์ออกไป
ที่น่าสนใจคือ ตำแหน่งเลขาธิการที่มาจากขั้วประชาธิปัตย์และที่ผ่านมาทำอะไรไว้ให้คนพูดถึง มากมาย โดยเฉพาะการตั้งหน่วยเฉพาะกิจติดตามจับกุมผลิตฮาลาลที่ไม่ถูกต้องนั้น น่าติดตามต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อขาดคู่หูอย่างนายสมัย
ภาพที่การรับ เงินรับทองทำให้ภาพลักษณ์ของคณะกรรมการกลางฯที่เสื่อมถอยอยู่แล้วในสายตา สังคมมุสลิมทั่วไปต้องเสื่อมหนักไปอีกแทบไม่ต่างจากภาพของ “สมีคำ” ในวงการสงฆ์เลย!