ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เปิดตัวแอพฯ สแกนฮาลาลบนมือถือครั้งแรกของโลก

ครบ รอบ 10 ปีศวฮ.จฬ. จับมือ สกอท. เปิดตัวแอ็พ Halal Thailand สแกนฮาลาลบนมือถือครั้งแรกของโลกในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ฮาลาล Hasib 2013 อยากรู้ว่าฮาลาลจริงไหม หมดอายุเมื่อไหร่ ใครผลิต ตรวจสอบฮาลาลได้ด้วยตัวเอง เพียงสแกนบาร์โค้ดบนผลิตภัณฑ์ผ่านมือถือง่ายๆ ได้ข้อมูลครบ

ในปัจจุบันผู้บริโภค มุสลิมสามารถรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายอยู่ผ่านการรับรองฮาลาลจาก สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.)หรือไม่ โดยสังเกตจากเครื่องหมายรับรองฮาลาล(สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน)ที่ปรากฏอยู่ที่ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์นั้น แต่วิธีเดียวที่จะสามารถรู้ว่าการรับรองฮาลาลนั้นถูกต้องหรือไม่ การรับรองหมดอายุแล้วหรือยัง หากต้องการรู้จำเป็นต้องสอบถามไปยัง สกอท.ซึ่งไม่สะดวกยุ่งยาก แต่นับจากนี้ผู้บริโภคสามารถทราบได้ทันทีว่าสถานะฮาลาลของผลิตภัณฑ์ที่วาง จำหน่ายอยู่เป็นอย่างไร โดยใช้แอพพิเคชั่น“Halal Thailand” ในการตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีตราฮาลาลได้ด้วยตัวเอง

ทั้งนี้เมื่อวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.จฬ.)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วม จัดการประชุมวิชาการควบคู่กับงานการแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล ภายใต้ โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย(Working Group on Halal Products and Servicse under Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle หรือ IMT-GT HAPAS) ในงาน“หนึ่งทศวรรษศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และ งานประชุมวิชาการนานาชาติ Hasib 2013 รวมถึงการเปิดตัวแอพ “Halal Thailand”สแกนฮาลาลบนมือถือครั้งแรกของโลก     ณ.โรงแรมสุโกศล ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ โดยมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศวฮ.จฬ. เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมุสลิมสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายทั่วไปผ่านการ รับรองฮาลาลได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้ แอ็พ “Halal Thailand”ที่ ศวฮ.จฬ.ร่วมกับสกอท.พัฒนาขึ้น โดยนำโทรศัพท์มือถือทั้งระบบแอนดรอยด์และไอโอเอส สแกนไปบนบาร์โค้ดหรือคิวอาร์โค้ดหรือพิมพ์หมายเลขฮาลาลบนมือถือ จะเห็นข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร หรือระบบการออกใบรับรอง HAL-Q ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของใบรับรองทางอิเล็คโทรนิกส์ ผ่านระบบเว็บ ให้สามารถสื่อสารได้ทุกพื้นที่ โดยระบบจะทำการส่งรหัสที่อ่านได้จากบาร์โค้ดผ่านอินเตอร์เน็ตมายังเว็ป เซอร์วิส ที่ติดตั้งอยู่บนเซิฟเวอร์ เพื่อค้นหาข้อมูลการรับรองฮาลาลแล้วส่งกลับไปในรูปแบบ XML เมื่อโปรแกรมที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือได้รับข้อมูลแล้ว จะทำการแปลงข้อมูลที่ถูกต้องส่งกลับมา เพื่อแสดงผลบนหน้าจอตรวจสอบข้อมูลฮาลาลได้ด้วยตัวเอง เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิต และสกอท.

งานชิ้นนี้ประเทศไทยนำ เสนอเป็นประเทศแรก ทำให้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของประเทศไทย ได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันการรับรองฮาลาลของ สกอท.ใช้ระบบ “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” โดย สกอท.ทำงานร่วมกับ ศวฮ.จฬ.ซึ่งมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ทันสมัยด้วยระบบ ISO/IEC 17025 ใช้นักวิทยาศาสตร์มุสลิมทั้งหมดอันเป็นไปตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม ศวฮ.จฬ.พัฒนาระบบและผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมฮา ลาล ให้เป็นที่หนึ่งในโลก

“ประเทศไทยเป็นประเทศ แรกของโลก ที่มีการนำเทคโนโลยี Halal Barcode และ Halal QR code ผ่าน Application “Halal Thai” มาใช้บริการแก่ผู้บริโภคบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน  ต่อไปผมเชื่อว่า แม้แต่ตรา อย.ตรากระทรวงอุตสาหกรรมก็จะเข้าสู่ระบบลักษณะเดียวกันนี้ และครอบคลุมทั่วทุกระบบภายใน 7 ปีข้างหน้า ปัจจุบันมีเฉพาะชองที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่เป็นของฮาลาล คงต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยมีหลายแสนตัว เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฮาลาลมี 7 หมื่นผลิตภัณฑ์ และกำลังดำเนินการเข้าสู่บัญชีในระบบของแอพฯนี้ ถ้าเป็นไปได้ภายในสิ้นปีนี้น่าจะเข้าสู่ระบบเกือบหมด” รศ. ดร.วินัย กล่าว

โดยในงานมีการสาธิตการ ประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ “Halal” มีพิธีมอบใบประกาศนียบัตร ให้แก่สถานประกอบการที่วางระบบ HAL-Q  จำนวน 17 บริษัท และมีการประชุมนานาชาติว่าด้วย มาตรฐานฮาลาลที่หลากหลาย ซึ่งเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานฮาลาลจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม รวมทั้งมีการประชุมภาคภาษาไทยเรื่องหลักสูตรอิสลามศึกษาเพื่อบูรณาการด้าน วิทยาศาสตร์ฮาลาล ในระดับเตรียมอุดมและอุดมศึกษา และเรื่องงานการปรับปรุงกฎหมายฮาลาลและการคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิมอีกด้วย

 

DSC02572 DSC02553