อดีตทูตอังกฤษแฉ รายงาน “แอมเนสตี้” เรื่องคุกสังหาร 13,000 คนในซีเรีย “ไม่น่าเชื่อถือ”!!

© AP Photo/ Hassan Ammar

อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำซีเรีย “ปีเตอร์ ฟอร์ด” ชี้ รายงานล่าสุดขององค์การนิรโทษกรรมสากลเรื่องการฆาตกรรมหมู่ในคุกซีเรีย โดยบาชาร์ อัลอัสซาด นั้นไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง และไร้ความน่าเชื่อถือ

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา องค์กรองค์การนิรโทษกรรมสากล หรือแอมเนสตี้  ได้ออกรายงานที่ฮือฮา ชื่อว่า ‘โรงฆ่ามนุษย์ การแขวนคอและสังหารหมู่ที่คุกซายิดฮายา ในซีเรีย’ (Human Slaughterhouse, Mass Hangings and Extermination at Saydhaya prison, Syria) โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ทางการซีเรียมีส่วนรับผิดชอบในการสังหารประชาชน 13,000 คนซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามของประธานาธิบดีบาชาร์ อัสซาด ที่คุก ซายิดฮายา (Saydnaya) ในเขตชานเมืองของกรุงดามัสกัส

แต่รายงานชิ้นนี้ก็ถูกตั้งข้อสงสัยถึงความถูกต้องของข้อมูลโดย “นายปีเตอร์ ฟอร์ด” อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำซีเรีย ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสปุตนิกของรัสเซีย นายฟอร์ดชี้ให้เห็นถึงความน่าสนใจของรายงานชิ้นนี้ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างประจวบเหมาะ หลังเมืองอาเลปโปของซีเรียถูกปลดปล่อยจากผู้ก่อการร้ายโดยรัฐบาลซีเรียเมื่อสองเดือนก่อน หลังจากการเจรจาที่ประสบความสำเร็จในอัสตานา และในห้วงที่ซีเรียเริ่มขยับเข้าใกล้ทางออกทางการเมืองสำหรับสงครามที่ยืดเยื้อ

“มันแปลกมาก หลังจากรายงานชิ้นนี้ตั้งครรภ์อยู่มากกว่าหนึ่งปี – คุณต้องถามว่าทำไมถึงต้อง(ออกมา)ตอนนี้?” เขากล่าว

ในมุมมองของอดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำซีเรีย มีเหตุผลหลายประการที่รายงานดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามเรื่องความน่าเชื่อถือขององค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งนี้ นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า รายงานวางอยู่บนพื้นฐานการสัมภาษณ์พยานที่ไม่ระบุชื่อ และไม่ได้แสดงเบาะแสของหลักฐาน แหล่งข่าวนิรนามเหล่านั้นผิดพลาดเรื่อง ‘ข้อมูลพื้นฐาน’ (basic information) และว่าจึงเป็นเรื่องธรรมชาติก่อให้เกิดความสงสัยเรื่องความถูกต้องของคำอ้างอื่นๆ

ทูตที่เกษียณแล้วของอังกฤษคนนี้ได้ไปเยี่ยมชมคุกซายิดฮายาหลายครั้งตอนที่เขาทำหน้าที่ในดามัสกัส จากปี 2003 ถึงปี 2006 ตามที่ฟอร์ดระบุคุกมีขนาดเล็กเกินไปที่จะจุนักโทษ 10,000 ถึง 2,0000 คนในคราวเดียวกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่องค์การนิรโทษกรรมระบุในรายงาน

“หนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นคน มันคือเมืองขนาดย่อมเลย” เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์และว่า “”อาคารที่ผมเห็นที่คุกซายิดฮายา ไม่อาจรองรับเกิน 10 เปอร์เซนต์ของตัวเลขเหล่านั้น”

กลุ่มสิทธิมนุษยชนยังอ้างแหล่งข้อมูลที่บอกว่า “ซายิดฮายากลายเป็นคุกการเมืองหลักในปี 2011” ซึ่งเขาบอกว่าเป็นเรื่องเท็จ

“มันเป็นอยู่แล้ว เมื่อผมอยู่ในซีเรียในปี 2006 และเมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น ซายิดฮายาเป็นคุกการเมืองหลักอยู่แล้ว” ฟอร์ดชี้แจงและว่า “เมื่อพวกเขาได้รับรายละเอียดที่ไม่ถูกต้องในระดับนี้ ผมก็พบว่ามันเป็นการยากมากที่จะเชื่อถือเรื่องอื่นๆ ได้อีกต่อไป”

อดีตทูตเรียกองค์กรนี้ว่า เป็น “หัวหอกเสรีนิยมที่ชอบแทรกแซงก้าวก่าย” (the spearheads of liberal interventionism) โดยอ้างถึงรายงานอัน “อื้อฉาว” ขององค์การนิรโทษกรรมสากล เรื่องอิรักบุกคูเวต

“องค์การนิรโทษกรรมกล่าวว่า พวกเขาได้ตรวจสอบแล้วต่อคำอ้างที่ว่า ทหารอิรักได้ขโมยตู้อบในโรงพยาบาลคูเวต และทิ้งทารกให้ตายบนพื้น ซึ่งต่อมาก็ปรากฏว่าเป็นการจัดฉากขึ้น… พวกเขาหูเบา และพวกเขาใช้มัน และมันก็ช่วยรับรองการทำสงครามอิรัก” ฟอร์ดกล่าว

“นี่เป็นวิธีการใหม่ในการรับลูกภารกิจของคนขาว – คุณมุ่งอยู่ที่การเปลี่ยนระบอบการปกครองที่คุณกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน”

องค์การนิรโทษกรรมสากลถูกวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยบางประเทศ รวมถึง รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และจีน เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อและหน่วยสารสนเทศด้านสงคราม ในปี 2013 สื่ออินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส ไทม์ รายงานว่า ที่ผ่านมาองค์การนิรโทษกรรมสากลได้รับเงินทุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป จากรัฐบาลของประเทศเนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และในปี 2009 ได้รับเงิน 2.5 ล้ายยูโร จากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ

“องค์การนิรโทษกรรมสากลเป็นที่รู้กันดีในหมู่เอ็นจีโอเรื่องก้าวร้าวมาก เป็นที่อื้อฉาว และเน้นมากเรื่องการระดมทุนของตน” ฟอร์ดกล่าวและว่า

“พวกเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเสรีนิยม เป็นองค์กรชนชั้นอีลิท เป็นส่วนหนึ่งของหัวหอกเสรีนิยมที่ชอบแทรกแซงก้าวก่าย  พวกเขาได้สูญเสียแนวทางของตน และรายงานชิ้นล่าสุดนี้จะทำพวกเขาไร้ความน่าเชื่อถือ”

 

แปล/เรียบเรียงจาก https://sputniknews.com