อับดุลเราะห์มาน อิบนุมูฮัมหมัด อิบนุ Khaldun อัล Hadrami ตูนิส (AD 1332-1406) เป็นที่รู้จักกันในนามของอิบน์ คอลดุน เป็นผู้วางรากฐานของสาขาวิชาโดยเฉพาะในเรื่อง วิทยาศาสตร์ อารยธรรม ผลงานที่สำคัญทางเศรษฐกิจเป็นต้นแบบก่อน สามร้อยเจ็ดสิบปีก่อนที่ นาย อดัม สมิทธ จะนำมาศึกษาในการเขียนตำรา ท่าน อิบน์ คอลดุน เป็นคนบุกเบิกที่สำคัญ หากไม่มีท่านคงจะไม่มีบิดาทางเศรษฐกิจที่มีนามว่า อดัม สมิทธ์ เพราะหลักการปฏิบัติที่มีในตำราของถูกบันทึกเอาไว้ก่อนหน้านั้นหลายร้อยปี
แต่ก่อนยุคสมัยของ อิบน์ คอลดุน ไม่มีการเขียนตำราด้วยน้ำหมึก เช่น เพลโต และ ซีโน การนำเสนอในยุคนั้นเป็นการเขียนด้วยน้ำมันดิบ เหมือนในยุคอียิปต์โบราณ จนวิวัฒนาการมาจนเป็นความเชี่ยวชาญและมีการพัฒนามาเรื่อยๆ เพื่อคุณภาพและการประหยัดเวลาในการทำงาน
หลังจากนั้น เพลโต อลิสโตเติล เสนอความหมายของคำว่าเศรษฐกิจและการพิจารณาในการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นมาแล้วก่อนยุคกลาง ตัวอย่างต้นแบบถูกนำมากำหนดในตำราของ อดัม สมิทธ์ ในเรื่องของงมูลค่าการแลกเปลี่ยนซึ่งมีอยู่ในตำราของ อิบนุ คอลดุล ในความพยายามเรียบเรียงก่อนหน้านั้นแง่มุมความคิดทางเศรษฐกิจ ของ อิบน์ คอลดุนเป็นอีกประการหนึ่ง ที่นักวิชาการยุคนั้นนำมาวางกรอบทางเศรษฐศาสตร์ในหลักของกฎหมายที่อยู่บนพื้นฐานของการรับรู้ทั้งในเรื่องศาสนาและคุณธรรมที่ดีของมนุษย์ การดำเนินงานทางเศรษฐกิจจึงอยู่ในการดำเนินงานของกฎหมายดังกล่าวคือถูกกำหนดออกมาจาก หลักการของ ฟิกห์ มุอามาลัตอย่าง สมบูรณ์มากครั้งหนึ่งการพัฒนาทฤษฎีการจัดเก็บภาษี ที่นำมาใช้กับเศรษฐกิจในแบบทันสมัยที่นำมาใช้ในประเทศยุคสมัยในปัจจุบัน
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจหลักจากยุคสมัยของ อิบน์ คอลดุน มีนักเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย เซอร์วิลเลียม พิตตีย์ (AD 1623-1687), อดัมสมิธ (AD 1723-1790), เดวิดริคาร์โด้ (AD 1772-1823), โทมัส เมอร์ทัส (AD 1766-1834), คาร์ลมาร์กซ์ (AD 1818-1883) และจอห์นเมย์นาร์ดเคนส์ (AD 1883-1946) บุคคลเหล่านี้สร้างอิทธิพลทางความคิดให้กับเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมในยุคปัจจุบัน
เพราความสมดุลในหลักของ อิบน์ คอลดุน แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมและศาสนาบนมือข้างหนึ่ง เป็นการบริหารงานบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพการค้นพบผลงานของเขาเพียงไม่กี่เดือนก่อนที่จะเสียชีวิต การให้คุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของตะวันตก ของ อดัม สมิทธ์ เดวิด รีคาโด เพราะพวกเขาพยายามที่จะหาคำอธิบายที่เหมาะสมสำหรับความขัดแย้งของมูลค่า และ อดัม สมิทธ์ ที่ได้นำมาพัฒนาต่อไปการประมาณแลกเปลี่ยน อัตราการจ้างงานและการผลิต ทั้งในพื้นฐานแนวคิดของ คาร์ลมาร์กซ์ ที่มีการสรุปถึง การจ้างแรงงานจะต้องเทียบเท่ากับการผลิต เป็นเหมือนการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับนายทุน พื้นฐานแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สากลที่หวังได้รับประโยชน์จากชนชั้นแรงงาน กรรมกร แต่การนำเสนอของอิบน์คอลดุนในอดีตปราศจากวิธีการที่เอาเปรียบแรงงานและ กรรมกร มิได้ สืบสานเรื่องราวเป็นเพียงนำมาดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของนายทุนมากกว่า
การกำหนดอัตรากำไรจากต้นทุนควรที่จะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมเพราะวิธีการในแบบต้นทุนต่ำกำไรสูง การอธิบายของคอลดุน พูดถึงอัตรากำไรที่เหมาะสม ความเหมาะสมในการผลิตเพราะราคาสินค้าที่สูงเกินไปไม่สามารถที่จะขยายตลาดได้แต่ทุกอย่างถูกดัดแปลงโดยการนำวิธีการดั้งเดิมมาเปลี่ยนแปลง แรงงานเป็นการกำหนดที่มาของมูลค่า
การนำเสนอให้รายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีได้ดีกว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เป็นที่น่าสังเกตว่า อิบน์ คอลดุน ไม่ได้เรียกมันว่าเป็น ทฤษฎี แต่เป็นการกดขี่แรงงานเพื่อคุณประโยชน์ในการผลิต การกำหนดอัตราแรงงาน การตลาดเสรี เพื่อสร้างความมั่งคั่งเป็นเหมือนเนื้อหาที่ดัดแปลงเพื่อความเหทาะสมของเจ้าเมืองในยุคนั้นทั้งที่ตอนแบบก่อนหน้านั้นไม่ได้มีการบอกกล่าว เป็นทฤษฎีเป็นการกำหนดเพื่อนักอุตสาหกรรมทุนนิยมเป็นสำคัญ
ข้อมูลทางสังคมวิทยา ของ อิบน์ คอลดุน มาจนถึงเขตข้อมูลของ อดัม สมิทธ์ ที่ได้ถูกเรียกกันอย่างแพรหลาย ว่าเป็น บิดา แห่งเศรษฐศาสตร์ มุมมองของความเป็นสากลที่โลกปัจจุบันนับถือให้การยอมรับเป็นหนึ่งปรัชญญาทางเศรษฐศาสตร์ที่ดีแต่การศึกษาวิธีการทางด้านสังคมวิทยาที่มีมาก่อนหน้านั้น หลักการอ้างอิง ของ สมิทธ์ เพราะหากเปรียบเทียบความห่างไกล ช่วงระยะเวลากว่า 300 ปี โลกกลับมิได้จดจำหลักคิดเพราะความจริงในตำราของ อิบน์ คอลดุน ได้อธิบายถึง ฐานรากทางเศรษฐกิจ ได้อย่างชัดเจนมาแล้วเป็นเหมือนการก่อตั้งทางวิชาการความคิดที่เดิมแต่ระหว่างทั้งสองที่หางกันหลายศตวรรษเป็นเรื่องที่หลายนักเศรษฐศาสตร์ถกเถียงกันเกี่ยวกับการพบหลักฐานถึงการบุกเบิก วิธีคิดทางเศรษฐกิจ การทำงานของ อดัม สมิทธ์ จบการศึกษาจากกลาสโกว์มหาวิทยาลัย, และได้รับอิทธิพลจากอาจารย์ของเขา คือ Francis Hutcheson การทำงานในห้องสมุดวิจัยของเขานั้นเป็นไปได้ที่เข้าจะได้รับการสัมผัสถึงวิธีการของ อิบน์ คอลดุน ในอดีตผู้ที่สนใจและรับเอาความคิดของคอลดุนเช่น Machiavelli, Vico, Comte, Durkheim, Tonnies, Splengler, Gumplowicz, Oppenheimer Wirth และ Francis Hutcheson ที่เป็นอาจารย์ของ อดัม สมิทธ์ เป็นความคล้ายคลึงกันในเรื่องวิธีคิด เพราะการศึกษาจากนักวิชาการรุ่นก่อนเป็นเรื่องปรกติวิศัยของผู้รู้ ภายหลังสำเร็จการศึกษา อดัม สมิทธ์ ทุ่มเทเกี่ยวกับการวิจัยของเข้าเป็นเวลาถึงหกปีที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เป็นเรื่องที่อาจจะเป็นไปได้ที่ได้รับการสัมพัสในวิธีคิดของนักวิชาการรุ่นก่อนการตระหนักถึงเนื้อหาวิชาการส่งมอบจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
เพราะถ้าเปรียบเทียบกับในเวลาที่สงครามครูเสดนับพันปี นักปรัชญญา ตะวันตก มีความพยายามที่จะลดอิทธิพลทางความคิดจาก นักวิชาการมุสลิมมากมายหลายวิธีการ แต่บางครั้งการใช้ความคิดของชาวมุสลิมแต่กลับไม่ยอมกล่าวถึงบุคคลอ้างอิง ขาดซึ่งจรรยาบรรณ การทำงานวิชาการของคนในยุคนั้น ด้วยช่วงเวลาแห่งสงครามที่ยึดเยื้อเป็นความรู้สึกถึงปรปักษ์อย่างแข็งกร้าว ที่ฝังหัวอยู่ในจิตใจของตะวันตกมาช้านาน จึงทำให้นักวิชาการจากตะวันตกพยายามสร้างความคิดปกคลุม เพราะถ้ามอง จากคนรุ่นต่อรุ่น การได้รับการสัมผัส ความคิด จาก อิบน์ คอลดุน เป็นเพราะการเดินทางไปทั่วยุโรปของ อดัม สมิทธ์ เข้าใจถึงการได้รับอิทธิพลทางความคิด ซึ่งในเวลานั้นไม่มีใครรู้จัก อดัม สมิทธ มีเพียง อิบน์ คอลดุน และ นักวิชาการคนรุ่นก่อนที่ โลกตะวันตกให้การยอมรับ ประสบการณ์ของ อดัม สมิทธ์ ในหลายๆ เรื่องราว เกี่ยวกับการดำเนินการทางเศรษฐกิจของนักวิชาการในยุคก่อน เพราะ อิบน์ คอลดุน มีอิทธิพลโดดเด่นมากที่สุดในช่วงราชวงค์ ออดโตมัน เพราะภายหลัง ศตรววษที่ 14 จุดเปลี่ยนผ่านถึงการเริ่มต้นในความยิ่งใหญ่ เป็นการขยายอนาเขตไปจนถึงศตรววษที่ 16 ที่ร่วมไปถึงตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป จนถึง ตะวันตกของ ของทวีปเอเชีย ไปจนถึงแอฟริกา ที่มีการเชื่อมโยงดินแดนที่กว้างใหญ่ไพศาลของออดโตมันจนอียิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งใน ปี คศ 1517
ผลงานของ อิบน์ คอลดุล ที่ใช้เวลาในช่วงสุดท้านของชีวิตทำงานงานวิชาการและสิ้นสุดที่เมือง ตูนิสหลักการทางความคิดของท่านนั้น เปลี่ยนผ่านไปยังคนรุ่นต่อๆไป และอีกหลายศตวรรษ แพรขยายไปอีกหลายประเทศทั้งในยุโรป แอฟริกา เป็นบุคคลที่ไร้เทียมทานทางด้านวิชาการ สังคมวิทยา และเศรษฐศาสตร์ เพราะวิธีการของท่านมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสหกรรม ฝีมือแรงงานต่อการเจริญเติบโตภายหลังที่ท่านเสียชีวิต เป็นช่วงที่ ออดโตมันมีความเจริญ ครอบครอง อียิปต์ จาก คอนสตธิเนเปิล อิบน์ คอลดุลคือนักวิชาการที่เป็นที่รู้จักในเวลานั้นเป็นเวลาที่โลกมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหลายอย่างทั้งในเรื่องคำศัพท์ อย่างคำว่า “Transfer Technology” เกิดขึ้นในยุคของ ที่ อิบน์ คอลดุล ถอดเนื้อหามาจาก คำภีย์ อัลกรุอานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเลยที่เดียว หลักการแนวคิดที่กว้าวขวางและลึกซึ้งไม่เพียงแต่ ได้รับการยอมรับจาก นัก ปกครอง รัฐ บุรุษแล้ว และในหมู่ปัญญาชน นักการศึกษาก่อนที่ หนังสือของท่านจะถูกแปลออกไปเป็นหลายภาษาเพื่อตอบสนองความสนใจ สุดท้ายถูกแปลเป็นภาษาตุรกีใน ศตรววษที่ 17 เป็นเวลา 46 ปี ก่อนที่ หนังสือ wealth of nation ของ อดัม สมิทธ จะเสร็จสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่า อดัม สมิทธ รับ อิทธิพลจาก อิบน์ คอลดุล แม้ว่าจะไม่ชัดเจนไม่ได้รับการสัมผัสโดยตรงแต่ว่ากับเรื่องราวที่ถูกกำหนด เมล็ดพันพืชทางเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นความคลาสสิคของแท้กับเป็นทฤษฎีทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยแม้ว่าจะไม่ได้รับการยอมรับในโลกปัจจุบัน แต่ความเป็นเพรชแท้ในสังคมวิทยาเป็นการยอมรับที่ดีในทางประวัติศาสตร์ เป็นเหมือนแรงบันดารใจจากคนรุ่นก่อน เพราะประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษสมัยศตรววษที่ 18 อย่าง Arnold Toynbee ก็ยอมรับวิธีการของ คอลดุล
การรับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่โดนปกปิดเป็นการสืบสวนเชิงประจัฏที่ฉาญฉลาดในการวิเคราะห์และผลผลิตทางความคิดในแบบดั้งเดิมเป็นการแสดงถึงรูปธรรมที่โลกพยายามปกปิดทั้งในเรื่องแรงงาน การกระจายรายได้ อุปสงค์อุปทาน กำไร การจัดเก็บภาษี วิชาการทางเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นการกำหนดได้ว่า การมา ของ คอลดุล เป็นบิดาทางเศรษฐกิจ ที่ คนอย่าง อดัม สมิทธ์ ไร้ซึ่งการเทียบเคียง แต่ด้วยโลกที่เปลียนไปการ เรียนรู้เข้าใจแกนแท้ ก่อนที่จะถูกกำหนดด้วยสิ่งใหม่เพื่อความอยู่รอดของนายทุน ในหลายยุคที่ผ่านมา
เรียบเรียงจาก บทความของ IBRAHIM M. OWEISS
อาจารย์ประจำศูนย์อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ