“ดร.วินัย ดะห์ลัน” หนึ่งเดียวมุสลิม ใน “คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ”

ดร.วินัย ดะห์ลัน

ประกาศรายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป 11 ด้านตามพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 “ดร.วินัย ดะห์ลัน” นักวิชาการชื่อดัง เป็นมุสลิมหนึ่งเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม

เมื่อวันที่ 15 ส.ค.60 เวลา 14.45 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมเห็นรายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป 11 ด้านตามพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 โดยในรายชื่อดังกล่าวมี “ดร.วินัย ดะห์ลัน” เป็นมุสลิมหนึ่งเดียวที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นอดีตคณบดี คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาติดอันดับหนึ่งในห้าร้อยมุสลิมที่มีอิทธิพลต่อโลกมากที่สุดต่อเนื่อง 8 ปี ซึ่งจัดลำดับโดย The Royal Islamic Strategic Studies Centre ประเทศจอร์แดน และตีพิมพ์ในหนังสือ The Muslim 500: The World’s Most Influential Muslims ดร.วินัย ยังเป็นผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา, และกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป 11 ด้านตามพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย

1.ด้านการเมือง นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน นายธีระภัทร์ เสรีรังสรรค์ นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ นายวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย นางนรรัตน์ พิมเสน นายวันชัย สอนศิริ นางฐะปาณีย์ อาจารวงศ์ นายรวี ประจวบเหมาะ

2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน นายกฤษฎา บุญราช เป็นประธาน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ นายบัณฑูร ล่ำซำ นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ นางเบญจวรรณ สร่างนิทร พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ นายถวิล เปลี่ยนศรี นายกานต์ ตระกูลฮุน นายอาศิส อัญญะโพธิ์ นายประหยัด พวงจำปา นายสุรพงษ์ มาลี

3.ด้านกฎหมาย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ นายคำนูณ สิทธิสมาน นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ นางสุดา วิศรุตพิชญ์ นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ นายประภาศ คงเอียด พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ นายพีรพิชญ์ วงศ์วัฒนศานต์

4.ด้านกระบวนการยุติธรรม นายอัชพร จารุจินดา ประธาน คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ นายสราวุธ เบญจกุล นายวันชัย รุจนวงศ์ ว่าที่ร้อยตรีถวัลย์ รุยาพร นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน นายตระกูล วินิจนัยภาค พล.ท.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์

5.ด้านเศรษฐกิจ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธาน นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นายอิสระ ว่องกุศลกิจ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล นายสว่างธรรม เลาหทัย นายชาติศิริ โสภณพนิช นายสมชาย หาญหิรัญ นางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล

6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายรอยล จิตรดอน ประธาน นายบัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ นายขวัญชัย ดวงสถาพร นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายสัญชัย เกตุวรชัย นายภาวิญญ์ เถลิงศรี นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ พล.ร.อ.อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ นางสาวลดาวัลย์ คำภา

7.ด้านสาธารณสุข นพ.เสรี ตู้จินดา ประธาน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย นายสมชัย จิตสุชน นายพาณิชย์ เจริญเผ่า นพ.พลเดช ปิ่นประทีป นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นพ.โสภณ เมฆธน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล

8.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ นายจิระชัย มูลทองโร่ย ประธาน พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร นายธงชัย ณ นคร นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด ร.อ.ประยุทธ เสาวคนธ์ นายเสรี วงษ์มณฑา นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ นายสุทธิชัย หยุ่น นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นางปาริชาตสถาปิตานนท์

9.ด้านสังคม นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธาน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายวิเชียร ชวลิต นายวินัย ดะห์ลัน นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ นายสมเดช นิลพันธุ์ นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ พล.อ.รณชัย มัญชุสุนทรกุล นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ นายไมตรี อินทุสุต นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ

10.ด้านพลังงาน นายพรชัย รุจิประภา ประธาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ นายมนูญ ศิริวรรณ นายดุสิต เครืองาม นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ นายดนุชา พิชยนันท์ นายกวิน ทังสุพานิช

และ 11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน นายกล้านรงค์ จันทร์ทิก พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป นายเจษฎ์ โทณวณิก นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต นายมานะ นิมิตรมงคล นายวิชา มหาคุณ นายวิชัย อัศรัสกร พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ นายอนุสิษฐ คุณากร นายอุทิศ ขาวเธียร นายประยงค์ ปรียาจิตต์

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า คณะกรรมการทั้งหมดมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยที่ประชุมครม.วันเดียวกันนี้แต่งตั้งทั้งสิ้น 120 คน เหลืออีก 45 คนจะได้พิจารณาแต่งตั้งเพิ่มต่อไป ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เคยสั่งการให้มีข้าราชการประจำน้อยที่สุด ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.นี้เป็นต้นไป