อ้างอิงจากข้อมูลตามการคาดการณ์ของสหประชาชาติ นับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มีชาวมุสลิมโรฮิงญาประมาณ 146,000 คนแล้วได้หนีจากความรุนแรงในพม่า
เหตุปะทุครั้งล่าสุด ทำให้มีชาวโรฮิงญาจำนวน 233,000 คนแล้ว ที่หลบภัยเข้าไปในบังกลาเทศตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว
การอพยพครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากนักรบติดอาวุธชาวโรฮิงญาต้องสงสัยว่าโจมตีป้อมตำรวจและฐานทหารในรัฐยะไข่ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ
รัฐบาลพม่ากล่าวหาว่ากองทัพปลดปล่อยโรฮิงญาแห่งอาระกัน หรือ อาร์ซา (Arakan Rohingya Salvation Army – ARSA) คือต้นเหตุของความรุนแรงนี้ แต่พลเรือนชาวโรฮิงญาผู้หลบหนีกล่าวหาว่ากองทัพพม่าคือผู้ดำเนินการลอบวางเพลิงและเข่นฆ่าเพื่อขจัดพวกเขาออกจากประเทศ
เจ้าหน้าที่พม่ากล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 รายจากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งล่าสุด แต่ผู้สนับสนุนชาวโรฮิงญาบอกกับสำนักข่าวอัลจาซีราว่ามีชาวมุสลิมอย่างน้อยกว่า 800 คนรวมทั้งผู้หญิงและเด็กหลายสิบคนที่เสียชีวิต
ตัวเลขดังกล่าวไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้อย่างอิสระ
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเดินบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยโคลนในเมือง เตกนาฟ (Teknaf) ประเทศบังกลาเทศ หลังจากข้ามพรมแดนบังกลาเทศ-พม่า [Mohammad Ponir Hossain / รอยเตอร์]
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญายืนอยู่ในที่โล่งในระหว่างฝนตกหนักขณะที่พวกเขากำลังถูกสกัดโดยเจ้าหน้าที่ชายแดนบังกลาเทศหลังจากข้ามพรมแดนเข้ามาอย่างผิดกฎหมายในเตกนาฟ (Teknaf) ประเทศบังกลาเทศ [Mohammad Ponir Hossain / รอยเตอร์]
ชายชาวโรฮิงญาที่เหนื่อยล้าโดยเขาต้องช่วยให้สมาชิกในครอบครัวทั้งผู้สูงอายุและเด็กๆ เดินทางมาถึงค่ายผู้ลี้ภัยกูตูพาลอง (Kutupalong) หลังข้ามจากพม่าไปยังฝั่งบังกลาเทศที่ชายแดนในยูเกีย (Ukhia) ชายคนนี้บอกว่าเขาสูญเสียสมาชิกครอบครัวหลายคนในพม่า [Bernat Armangue / AP Photo]
ครอบครัวชาวโรฮิงญาถึงชายแดนของประเทศบังกลาเทศหลังจากข้ามแม่น้ำนาฟ (Naf) ซึ่งคั่นกลางชายแดนพม่า [Bernat Armangue / AP Photo]
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยานั่งอยู่ในในพื้นที่เปิดหลังจากข้ามพรมแดนขณะที่พวกเขากำลังถูกสกัดไว้ชั่วคราวโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยชายแดนประเทศบังกลาเทศ [Mohammad Ponir Hossain / รอยเตอร์]
ขณะที่ครอบครัวของเขาเดินผ่านทุ่งนาหลังจากผ่านพรมแดนเข้าสู่ประเทศบังกลาเทศแล้ว เด็กโรฮิงญาก็ถูกจับมาใส่ในเปลชั่วคราว ชาวโรฮิงญามุสลิมหลายหมื่นคนหนีจากความรุนแรงรอบล่าสุดที่เขมือบบ้านของพวกเขาในพม่า พวกเขาเดินมาหลายวันแล้วหรือหยิบยื่นเงินออมน้อยๆ ที่มีให้แก่ผู้ลักลอบขนคนชาวพม่าและบังคลาเทศเพื่อหลบหนีจากความตาย [Bernat Armangue / AP Photo]
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเดินเข้าหาฝั่งพร้อมกับทรัพย์สมบัติของตนหลังจากข้ามพรมแดนบังกลาเทศ-พม่าโดยเรือผ่านอ่าวเบงกอล [Mohammad Ponir Hossain / รอยเตอร์]
การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากและสะเทือนอารมณ์ คาดการณ์ว่ามีชาวโรฮิงญาประมาณ 146,000 คนที่ข้ามเข้าไปในประเทศบังคลาเทศนับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา [Mohammad Ponir Hossain / Reuters]
ผู้ลี้ภัยเดินไปยังหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดหลังจากข้ามพรมแดนบังคลาเทศ – พม่าโดยเรือผ่านอ่าวเบงกอล ในเมือง Teknaf ประเทศบังคลาเทศ มีคนอีกนับหมื่นคนที่ได้ข้ามเรือและเดินเท้าไปยังบังคลาเทศในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาเพื่อหนีความรุนแรงในพม่า [Mohammad Ponir Hossain / รอยเตอร์]
ชาวโรฮิงญาที่เพิ่งข้ามไปยังประเทศบังคลาเทศจากพม่าทำอาหารที่บริเวณ Gundum ของ Cox’s Bazar [Bernat Armangue / AP Photo]
Source : อัลจาซีรา