ภาวะผู้นำเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรในยุคปัจจุบัน เมื่อโลกและสังคมมีมาตรฐานด้านต่างๆสูงขึ้น ก็ยิ่งต้องกลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่/พฤติกรรมของผู้นำ ที่ถือเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนวงล้อของสังคมให้หมุนวนไปข้างหน้าอย่างราบรื่นด้วยกฎระเบียบ
สังคมมุสลิมไทยมีผู้นำอยู่หลายระดับ และยังมีองค์กรศาสนาที่ถูกกำหนดด้วยพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ เช่น จุฬาราชมนตรี ประธาน/เลขาฯ คณะกรรมการกลางคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำหวังหวัด(ประธานจังหวัด) และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (อิหม่าม)
โครงสร้างของสังคมมุสลิมที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๑๕๔๐ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดในท้องถิ่นชุมชนคือ อิหม่าม
อิหม่ามคือผู้นำสังคมมุสลิมในระดับท้องถิ่นชุมชน ซึ่งมีบทบาทอำนาจตาม พ.รบ.ฯ หลายประการ เช่น ๑) ปฎิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ๒) ปกครองดูแลและแนะนำเจ้าหน้าที่ของมัสยิดให้ปฎิบัติงานในหน้าที่ให้เรียบร้อย ๓) แนะนำให้สัปบุรุษประจำมัสยิดปฎิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฏหมาย ๔) อำนวยความสะดวกแก่มุสลิมในการปฎิบัติศาสนกิจ ๕) สั่งสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแก่บรรดาสัปบุรุษประจำมุสยิด
อิหม่ามที่ถูกรับรองตามกฏหมายทั่วประเทศมีจำนวนเกือบ ๔๐๐๐ คนกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศหว่า ๖๐ จังหวัด โดยภาคใต้มีจำนวนอิหม่ามกว่า ๒๐๐๐ คน ภาคกลางมี ๔๐๐ กว่าคน ภาคเหนือมี ๓๐ กว่าคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ๒๐ กว่าคน ซึ่งหากบรรดาอิหม่ามปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดแล้ว สังคมมุสลิมจะเกิดความมั่นคงและยั่งยืน เพราะมันเป็นความมั่นคงที่เกิดขึ้นโดยกิจวัตรทางศาสนาและระเบียบปฎิบัติตามพรบ.ที่กำหนด
อิหม่ามคือผู้นำจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่นชุมชน โดยมีมัสยิดเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นเป้าหมายของการพัฒนาองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศไทย ความจริงแล้วมัสยิดและอิหม่ามมีบทบาทสำคัญที่สุดบนหลักการทางศาสนา แต่ในทาง พรบ.ฯ มัสยิดและอิหม่ามเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนด/ถูกบังคับโดย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด ที่มีมีกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยคอยกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มัสยิดและอิหม่ามถูกกดทับด้วยบทบาทอำนาจให้แคบและน้อยลงไปตาม บทบาทหน้าที่ตาม พรบ.ฯ ที่ถูกนำไปเชื่อมกับอำนาจการควบคุมดูแลจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยโดยมีจุฬาราชมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง
มัสยิดและอิหม่ามจึงเป็นเป้าหมายหรือสะพานสำคัญในการไต่ขั้นขึ้นไปมีอำนาจในองค์กรศาสนาอิสลามที่สูงขึ้นไป (เช่น คณะกรรมการจังหวัด(ประธานจังหวัด) และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(จุฬาราชนตรีและเลขาฯ) ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมาจากตำแหน่งอิหม่ามประจำมัสยิดตามเนื้อหา พรบ.ฯ
อิหม่ามมีหน้าที่ชัดเจนตาม พรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม เพราะอิหม่ามเป็นตำแหน่งที่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน/รากหญ้าในท้องถิ่นชุมชนของตัวเอง ส่วนกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีหน้าที่รับรอง/ถอดถอนตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด แม้จะมีหน้าที่ในการแต่งตั้งและถอดถอนอิหม่ามได้ แต่กรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นก็ต้องทำภายใต้มติและการประชุม
เพราะมีหน้าที่ชัดเจนในการดูแลบริหารมัสยิด ซึ่งเป็นสถานที่ในการอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ มัสยิดจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ก่อให้เกิดองค์กรศาสนาอิสลาม และ พรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็มีเป้าหมายเพื่อคืนอำนาจให้อิหม่ามและมัสยิด
เนื่องจากพัฒนาการทางสังคมของมุสลิมในประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคลในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฎิบัติตามศาสนธรรม หรือปฎิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฎิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในมาตรา ๖๖ บัญญัติว่า บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชนชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์รหรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีสวนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
อิหม่ามและมัสยิดจึงมีความสำคัญยิ่งต่อโครงสร้างองค์กรศาสนาอิสลามและสังคมมุสลิม เป็นความสำคัญที่สอดคล้องกับอัลกุรอานที่กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาดูแลบริหารมัสยิดว่า “ อันที่จริงผู้บริหารมัสยิดของอัลลอฮ คือ ผู้ที่มีศรัทธาต่ออัลลอฮ และวันสุดท้าย เขาดำรงการละหมาด และเขาจ่ายซะกาต และเขาไม่กลัวใครนอกจากอัลลอฮ ดังนั้น จึงหวังได้ว่าพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้อยู่ในทางนำ “ (อัตเตาบะห์/๑๘)
ความมีสิริมงคล/ความมั่นคงของมัสยิดคือรากฐานที่ถูกวางขึ้นด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮ(ซ.บ)อย่างแท้จริง อัลกุรอานจึงให้แง่คิดสำคัญกับการก่อสร้างมัสยิดไว้อย่างชัดเจนว่า “ เป็นมัสยิดที่วางรากฐานบนความยำเกรงพระเจ้านับแต่วันเริ่มต้น” (ดัตเตาบะห์/๑๐๘)
ปัญหาหนึ่งคือ มัสยิดในเมืองไทยที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแม้ในปัจจุบันก็ยังมีจำนวนมัสยิดที่รอคิวขอจดทะเบียนเป็นทางการกับองค์กรศาสนาอย่างคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพราะมัสยิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีผลในการจัดตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด กล่าวคือ จังหวัดใดมีจำนวนมัสยิดมากกว่า ๓ มัสยิดในจังหวัดนั้นๆ ให้จัดตั้งคณะกรรการอิสลามประจำจังหวัดขึ้น
ความจริงมัสยิดมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ทั้งด้านศาสนา และตามพรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม และตามกฎหมายรัฐธรรมนูญชาติไทย นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดต้องสร้างความเข้าใจและพัฒนาไปตามกรอบความคิดดังกล่าว
วันนี้ต้องดึงมัสยิดออกมาจากอำนาจมืด/วิธีการสกปรกที่พร่ามัวตา และทำอย่างไรให้มัสยิดสะอาดบริสุทธิ์ตรงตามที่หลักการศาสนาอิสลาม รวมถึงพรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลามและรัฐธรรมนูญชองชาติไทย เพราะมัสยิด/อิหม่าม/สัปบุรุษ ถือเป็นรากฐานทางโครงสร้างของสังคม และเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจมากที่สุด เพราะมัสยิดอยู่กับสัปบุรุษหรือประชาชนอย่างแท้จริง สัปบุรุษมัสยิดคือประชาชนที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในทุกระบบการปกครอง
มัสยิด/อิหม่ามคือผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน(สัปบุรุษ)ของตน จำนวนที่มีมากมายของมัสยิดในวันนี้ จะสื่อถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตได้อย่างไร เป็นโจทย์ที่องค์กรศาสนาต้องนำกลับไปคิด อย่าปล่อยให้อิหม่ามและมัสยิดถูกชังนำให้หลงทางไปกับอำนาจที่แอบแฝงมาในท้องถิ่น ไม่ว่าจะอำนาจการเมืองหรือผลประโยชน์ใดๆในองค์กร
เพราะมัสยิด/อิหม่ามต้องมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับประชาชน(สัปบุรุษ)ของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นตัวของตัวเองที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นชุมชนของตัวเอง ความจริง มัสยิดจำนวนมากมายในเมืองไทยยังสามารถแสดงศักยภาพการพัฒนาในด้านต่างๆไปตามจุดแข็งของท้องถิ่นและวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตัวเอง เช่น มัสยิดเพื่อการศึกษา มัสยิดเพื่อสิ่งแวดล้อม มัสยิดเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา มัสยิดเพื่อการสื่อสารเทคโนโลยี มัสยิดเพื่ออะไรต่างๆนาๆที่เกิดขึ้นบนความร่วมมือระหว่างมัสยิด/อิหม่ามและสัปบุรุษของตัวเอง เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของผู้นำ(อิหม่าม)เป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนามัสยิดให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนต่อไป