ภาพเก่าน่าสนเท่ห์! วิถีชาวอาหรับในเมืองศักดิ์สิทธิ์ “เยรูซาเล็ม” ก่อนกำเนิดอิสราเอล

จะมีสถานสักกี่แห่งบนโลกนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพลิกผันมากมายเหมือน “กรุงเยรูซาเล็ม” เมืองศักดิ์สิทธิ์ของทุกศาสนาที่เกี่ยวข้องกับศาสดา “อับราฮัม” (อิบรอฮีม) เป็นสถานที่ของการทำสงครามและรบพุ่งมานานหลายศตวรรษ เมืองที่ผ่านการถูกครอบครองโดยอาณาจักรและผู้คนนับไม่ถ้วน ซึ่งในแต่ละครั้งก็ต้องพานพบการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมาโดยตลอด

การเปลี่ยนแปลงสำคัญครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1948 (พ.ศ.2491) บนรากฐานของก่อตั้งรัฐ “อิสราเอล” นับตั้งแต่นั้นกรุงเยรูซาเล็มถูกอ้างสิทธิ์จากทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ เมืองถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ระหว่างชาวมุสลิมและชาวยิว และเป็นศูนย์กลางของสงครามที่ดำเนินยาวนานมาหลายสิบปี

อย่างไรก็ตาม เมืองโบราณเยรูซาเล็มในอดีตนั้นแตกต่างอย่างมากกับในตอนนี้ ก่อนอิสราเอลเข้ามายึดครองนั้น เมืองเยรูซาเล็มคือเมืองของชาวอาหรับ ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันนับหลายร้อยปี อันทำให้เมืองนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมและพลเมืองของจักรวรรดิ

จากนั้นในปี ค.ศ. 1915 กรุงเยรูซาเล็มโบราณก็เริ่มเปลี่ยนไป ชาวอังกฤษเข้าควบคุมเมืองนี้ เติมกองกำลังทหารและตำรวจเข้ามาเพื่อที่ทำให้ประชากรอาหรับอยู่ภายใต้อุ้งมือ ผู้อพยพชาวยุโรปเริ่มไหลบ่าเข้าไปในเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการเคลื่อนไหวของชาวยิวไซออนิสต์ ในอีก 25 ปีต่อมาประชากรเหล่านี้ก็เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสามเท่า

พื้นที่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษถูกปกครองในฐานะส่วนหนึ่งของรัฐใหม่ที่เรียกว่า “ปาเลสไตน์ในอาณัติ” (Mandatory Palestine) ประกอบด้วยเขตปกครองของปาเลสไตน์และจอร์แดนในปัจจุบัน พื้นที่นี้กลายเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยชาวอาหรับและชาวยิวที่อาศัยอยู่เคียงข้างกัน ความขัดแย้งเริ่มขยายวง โดยทั้งชาวยิวและชาวอาหรับเชื่อว่าอังกฤษได้สัญญาว่าจะยกกรุงเยรูซาเล็มให้แก่ตน

ชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ที่นั่นมาเนิ่นนานได้เริ่มการประท้วงและการปฏิวัติต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเมืองของพวกเขา และหลังจากการไหลบ่าเข้ามาของผู้อพยพชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงก็ได้ปะทุขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ และแปรเป็นสงครามที่ยังคงดุเดือดมาจนทุกวันนี้

กระนั้น ก่อนการกำเนิดของอิสราเอล กรุงเยรูซาเล็มมีวิถีที่แตกต่างจากในปัจจุบัน หนึ่งในสิ่งที่ยังไม่ถูกลืมก็คือภาพเหล่านี้

 

ร้านขายของชำ ประมาณปี 1900-1920

ผู้หญิงสองคนหยุดพูดคุยกัน เมืองรามัลเลาะห์ ประมาณปี 1898-1914

ถนนด้านในเมืองฝั่งประตูจาฟฟา (Jaffa Gate) ประมาณปี 1917-1934

ชาวยิวเยเมน  ประมาณปี 1898-1914

กลุ่มชาวเบดูอินเตรียมกาแฟในเต็นท์ ปี 1936

ผู้หญิงในเมืองเบธเลเฮม ประมาณปี 1900-1920

คนขนของแบกกระป๋องเบนซินเปล่า 50 ใบไว้บนหลัง ประมาณปี 1914-1918

ผู้หญิงเดินใต้ซุ้มประตูโค้ง Ecce Homo ประมาณปี 1898-1914  ทั้งนี้ซุ้มประตูโค้งชื่อ Ecce Homo สร้างคร่อมถนนเข้าไปในคอนแวนต์เพื่อแสดงถึงคำพูดของปีลาโตที่นำพระเยซูเจ้ามาให้คนยิวดู แล้วพูดว่า “นี่คือชายคนนั้น” (Ecce Homo)

ผู้หญิงรามัลเลาะห์ ในชุดปัก เมืองรามัลเลาะห์  ประมาณปี 1940-1946

ร้านอาณานิคมอเมริกัน ประมาณปี 1920-1935

ผู้หญิงคนหนึ่งกับเหยือกบนศีรษะของเธอ เมืองรามัลเลาะห์  ประมาณปี 1898-1914

ชายคนหนึ่งสู้กับโรคตั๊กแตนระบาดด้วยเปลวไฟ ปี 1930

ตลาดผักบนถนนนาซาเร็ธ ประมาณปี 1934-1937

ผู้หญิงคนหนึ่งที่ในคำอธิบายภาพต้นฉบับเขียนว่าเป็น “สาวชาวนา” ประมาณปี 1900-1920

ถนนในเมือง ประมาณปี 1898-1914

ร้านกาแฟที่คนนั่งล้นออกไปตามถนน ประมาณปี 1900-1920

ผู้หญิงคนหนึ่งนำสินค้าของเธอไปสู่ตลาด ประมาณปี 1898-1914

แม่อุ้มลูกพร้อมทูนเหยือกบนศีรษะ ประมาณปี 1900-1920

คนขายผลไม้กับสินค้าของเขา ประมาณปี 1900-1920

ลาอยู่ที่ซุ้มประตู ประมาณปี 1898-1914

ชายเบดูอิน ประมาณปี 1898-1914

ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเยรูซาเล็ม ในคำอธิบายภาพต้นฉบับเรียกว่า “ชาวยิวแห่งเยรูซาเล็ม” ประมาณปี 1900-1910

บนถนนเดวิด (David Street) ประมาณปี 1898-1946

หญิงเบดูอิน ประมาณปี 1898-1914

ขบวนออกจากกรุงเยรูซาเล็มระหว่างทางไปนาบีมูซา (Nebi Musa) เพื่อเยี่ยมสุสานของศาสดามูซา (โมเสส) ปี 1936

หญิงสามคนยืนอยู่ข้างประตูกับลูกๆ ของตน เบธเลเฮม ปี 1936

กลุ่มคนที่ข้อความในคำอธิบายภาพต้นฉบับระบุว่า “ชาวพื้นเมือง” นั่งรับประทานอาหาร ประมาณปี 1900-1920

ร้านขายขนมปัง ประมาณปี 1900-1920

กลุ่มผู้ชุมนุมในย่านนาบีมูซา (Nebi Musa) ปี 1936

ผู้หญิงชาวเบดูอินโพสต์ท่าให้ถ่ายรูป ประมาณปี 1898-1914

ชายคนหนึ่งเดินไปตามถนนในย่านชาวยิว ประมาณปี 1920-1933

 

 

 

Source : http://allthatsinteresting.com/old-jerusalem