ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยความรุนแรง – การก่อความรุนแรงที่ไม่ศึกษาประวัติศาสตร์

“Those who do not remember their past are condemned to repeat their mistakes”
“ผู้ใดไม่จดจำอดีต ผู้นั้นย่อมถูกสาปแช่งให้ทำซ้ำรอยความผิดพลาดเดิม” 
, George Santayana


ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ถ้าใครติดตามสถานการณ์การเมืองบ้านเราอย่างต่อเนื่อง คงจะพบปรากฏการณ์อย่างหนึ่งไม่ต่างจากผู้เขียนนัก

เสียง ปราศรัยอันหนักแน่น ตัวอักษรที่ขึงขัง คำพูดที่พรั่งพรูไหลบ่าออกมาจากสองฟากฝั่งของมวลชนคู่ตรงข้าม ตลอดจนการกระทำที่พบเห็นทั้งตามหน้าหนังสือพิมพ์ เฟซบุ๊ค และคลิปวีดีโอ ต่างๆ นานานั้น ราวกับเป็นการ “ลั่นกลองศึก” ต่อ “อริราชศัตรู” ก็ไม่ปาน อาทิ

หลัง เหตุการณ์ปะทะที่หลักสี่ รายการชิดลมนิวส์วันที่ 26 มกรา คุณท็อป ดารณีนุช และคุณเหมี่ยว ปวันรัตน์ ได้แสดงออกอย่างเปิดเผยถึงความสะใจที่ฝ่ายตนเองตอบโต้ด้วยอาวุธที่หนักกว่า

ขณะ ที่คนอื่นในกลุ่มนำของขบวนการต่างก็ดาหน้าเข้ามาหยิบฉวยเหตุการณ์ที่นายอะ แกว แซ่ลิ้วถูกยิง เอาไปรับใช้ประโยชน์ทางการเมืองของตนอย่างสนุกปาก ไม่ว่าจะเป็นคุณตั๊น จิตภัสร์ ที่นั่งทางในแล้วเห็นภาพขึ้นว่า อะแกวโดนเสื้อแดงถล่มยิง ส่วนเพจ Watch Red Shirt จินตนาการไปไกลกว่าว่า อะแกวเป็นกองกำลังลับของฮุนเซน และโดนตีแตกจนต้องหาทางหนีกลับกัมพูชาและเวียดนาม!?!

หลัง เหตุการณ์ปะทะจากการขอคืนพื้นที่ที่บริเวณราชดำเนิน-ผ่านฟ้า ก็ไม่ต่างกันมากนัก เดากันได้นะครับว่าอารมณ์ของมวลชนแต่ละฝ่าย และการโยงประเด็นของแกนนำแต่ละคนจะเป็นไปในทางใด

ใน อีกฟากฝั่งหนึ่ง เราได้ยิน ได้ดูการปราศรัยของแกนนำฝ่ายเสื้อแดงที่อุดมไปด้วยความเดือดดาล การยั่วยุ และปลุกเร้าอารมณ์โกรธเกลียดให้พุ่งพล่านไปทุกเซลล์ร่างกายของมวลชนฝ่ายตน

ขณะ เดียวกับเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าว ก็มีเหตุการณ์ของการใช้ความรุนแรงทางกายภาพต่อแกนนำมวลชน หรือผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดทางการเมืองคู่ขนานกันไปประปราย อาทิ การสังหารคุณสุทิน ธราธิน เสียชีวิต การลอบสังหารคุณขวัญชัย ไพรพนา การยิงถล่มบ้านอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และบ้านคุณประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นต้น

ใน ระดับของมวลชน เราจะพบเหตุการณ์การขัดขวางการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งล่วงหน้าในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งบางเขตเลือกตั้งมีการทำร้ายร่างกายผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น กรณีนายกิตติชัย แสงเอกกุล ถูกผู้ชุมนุมและการ์ด กปปส. บางส่วน ทำร้ายร่างกาย ขณะไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ที่หน่วยเลือกตั้ง โรงเรียนเซนต์จอห์นโปลีเทคนิคซอยวิภาวดี 32 เขตจตุจักร เป็นต้น

นอกจาก นี้ เรายังจะพบเห็นเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน แล้วจบลงด้วยการปะทะกันกับมวลชนฝ่ายตรงข้าม ซึ่งคุณคำแสน ไชยเทพ สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี ถูกทำร้ายร่างกาย กักตัว และข่มขู่ให้พูดว่า “โดนจ้างมาชุมนุมด้วยเงินวันละ 200 บาท”

“สี แดงมึงห้ามใส่ มึงกลับไปบอกชาวบ้านว่า ระบอบทักษิณไม่มีใครเอา” ประโยคนี้คือคำร่ำลาที่มวลชนหัวรุนแรงกล่าวกับเธอ ก่อนจะปล่อยตัวไปขึ้นรถที่วินมอเตอร์ไซด์

เรา ยังเป็นผู้รู้เห็นต่อเหตุการณ์คนเสื้อแดงบางส่วนบุกรื้อทำลายเวที กปปส. ที่เชียงใหม่ ไม่ให้สามารถจัดงานเสวนาได้สำเร็จ จนหวุดหวิดจะเกิดการปะทะกัน

เราเป็น ผู้เดินผ่านเหตุการณ์ฆ่าและพยายามฆ่าบุคคลทั่วไปด้วยมูลเหตุจูงใจทางการ เมืองหรือสงสัยได้ว่ามีมูลเหตุมาจากการเมือง เช่น การยิงนายบุญเที่ยง คำอิ่ม จนเสียชีวิต, การทำร้ายร่างกายนายยืม นิลหล้า รปภ.บริษัทแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะนำร่างไปโยนทิ้งที่แม่น้ำบางปะกง แต่เคราะห์ดีที่นายยืมรอดชีวิตมาได้ ซึ่งน่าสังเกตว่าทั้งสองคนข้างต้น เคยเป็นการ์ด นปช. มาก่อน, ตลอดจนเหตุการณ์ที่คล้ายกันมาก คือ การพบศพ
นิรนามที่สวมเสื้อ กปปส. แขวนนกหวีด รัดข้อมือด้วยสายรัดลายธงชาติ ซึ่งพบว่าถูกสังหารก่อนนำร่างยัดกระสอบทิ้งลงแม่น้ำเจ้าพระยา โดยไม่มีการระบุว่าผู้เสียชีวิตเป็นใคร เป็นต้น

และเรากำลังเป็น – กำลังจะเป็นสักขีพยานของเหตุการณ์ทำนองนี้อื่นๆ อีกมากมาย ฯลฯ

นี่ เป็นตัวอย่างเพียงเศษส่วนหนึ่งเท่านั้น ของเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่แฝงเคลือบด้วยกลิ่นไอความรุนแรง เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า การแบ่งขั้ว การเผชิญหน้า ความเกลียดชัง ความอาฆาตมาดร้าย กำลังขยายตัวในทางอาณาเขตพื้นที่ และพอกพูนในระดับของความเข้มข้น

เหตุการณ์ ทำนองนี้ดำเนินไปในบริบทของกระแสของการที่ใครต่อใครหลายคนใช้ช่องทางการ สื่อสารที่เปิดกว้างมากขึ้น เช่น เฟซบุ๊ค ในการปลุกปั่น ยุยง ปลุกระดม หว่านเมล็ดพันธุ์ความเกลียดชัง แล้วเก็บเกี่ยวดอกผลของเหตุรุนแรงมาขยายผลต่อเพื่อรับใช้เป้าหมายทางการ เมืองของตน หรือเติมเต็มความสะใจ ผลิตซ้ำความเกลียดชัง บ่อนทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้ามด้วยซากศพและความสูญเสียของฝ่ายเดียวกัน

.. เส้นกราฟของความรุนแรงกำลังไต่ระดับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในอัตราเพิ่มคงที่

ผู้ เขียนไม่รู้ว่า ท่านผู้อ่านสนใจประวัติศาสตร์การเมืองไทยมากน้อยกันแค่ไหน แต่เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 พร้อมกับเชื่อว่าหลายท่านอาจไม่ได้ให้ความสำคัญนักกับการดูพลวัตความเป็นไป ของสถานการณ์ทางสังคมการเมืองช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ในที่นี้ ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอเพื่อเชิญชวนให้เห็นภาพบางอย่าง

ย้อน กลับไปในวันที่ 1 กันยา 2518 นายชาติชาย จันทะบาล รองประธานนักเรียนโรงเรียนช่างกลพระรามหก อดีตประธานแนวร่วมอาชีวะเพื่อประชาชนถูกลอบยิงจากนักเรียนช่างกลบางซ่อน โดยวิเคราะห์กันว่า สาเหตุของการลอบยิง คือ มูลเหตุจูงใจทางการเมือง เนื่องจากนักเรียนช่างกลพระรามหกได้เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร และผู้ยากไร้ รวมทั้งเข้าร่วมชุมนุมคัดค้านการที่รัฐบาลปราบปรามและจับกุมชาวนาและ นักศึกษา

บทบาท ดังกล่าว จึงสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับชนชั้นปกครองและกลุ่มมวลชนฝ่ายขวาที่ชื่อ กระทิงแดง ทำให้กระทิงแดงประกาศตนอย่างเปิดเผยที่จะเป็นศัตรูกับนักเรียนช่างกลพระราม หก ถึงกับมีการประกาศว่า ใครฆ่านักเรียนช่างกลพระรามหกได้ จะได้ค่าหัว 500 บาท!

และ เฉพาะในช่วงที่นักเรียนช่างกลพระรามหกไปร่วมชุมนุมนั้น ก็มีเหตุการณ์ถูกรุมตีทำร้ายหลายครั้ง เช่น ถูกแทงที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ถูกฟันหัวที่หน้าวัดสร้อยทอง และล่าสุดคือการลอบยิงนายชาติชาย

รุ่ง ขึ้นอีกวันหนึ่ง คือ วันที่ 2 กันยา 2518 นายสุธา ตันติสกุล ตัวแทนคนงานโรงพิมพ์นิยมช่าง นายป้อมเพชร ศิริวรรณ ที่ปรึกษาสหภาพการพิมพ์ และเพื่อนร่วมงาน ขณะเดินทางออกจากศูนย์ประสานงานกรรมกรที่ประตูน้ำเพื่อไปขึ้นรถเมล์ ได้ถูกคนกลุ่มหนึ่งกรูกันลงมาจากแท็กซี่แล้วรุมกระทืบ

นาย ป้อมเพชรระบุว่า อันธพาลกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวกับที่มาข่มขู่คนงานที่กำลังหยุดงาน และได้ตั้งข้อสงสัยว่า ก่อนหน้านี้เคยเข้าไปร้องเรียนอธิบดีกรมตำรวจให้ช่วยแล้ว ..แต่อธิบดีกรมตำรวจไม่ยอมให้เข้าพบ!!!

วัน ที่ 10 กันยา 2518 นักศึกษาคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไล่ฉีกโปสเตอร์ข้อวิเคราะห์วิพากษ์ พ.ร.บ. รักษาความปลอดภัยของรัฐบาล ซึ่งนักศึกษา มช. กลุ่มก้าวหน้า และกลุ่มผู้หญิง มช. จัดทำขึ้น โดยให้เหตุผลว่า “ทนไม่ได้ที่เห็น นักศึกษาฝ่ายซ้าย ก่อความวุ่นวาย ทำความไม่สงบ หากปล่อยพวกนี้ต่อไป ก็จะทำความไม่สงบเพิ่มขึ้นอีก”

ข้าง ต้นนี้ยังเบา มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอีกในช่วงถัดมา แต่ถูกตอบโต้ด้วยวิธีการที่รุนแรงมากกว่ามาก คือ เหตุการณ์ที่นิสิตจุฬาฯ ออกไปติดโปสเตอร์แล้วถูกตีที่ศีรษะและแทงที่ลำตัว โดยกลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ 20 คนบนรถกระบะสีเขียว ในปีถัดมา (24 กันยา 2519)

และ รุนแรงมากขึ้นกว่านั้นอีก ในเหตุการณ์ซึ่งหลายคนรู้จักกันดี คือ พนักงานการไฟฟ้านครปฐม และเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรรบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

จะ เห็นว่า การตอบโต้เหตุการณ์ลักษณะคล้ายกัน ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาล่วงผ่านไปข้างหน้า หรือพูดอีกแบบคือ การติดโปสเตอร์แสดงออกทางการเมือง เป็นเรื่องที่ทนไม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในมุมมองของอีกฝ่าย
ใน อีกฉากดำเนินเรื่องหนึ่ง การชุมนุมของขบวนการนักศึกษาก็ถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง และถี่ขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การรวมกลุ่มกันของขบวนการฝ่ายขวาเป็นไปอย่างเสรี อาทิ กลุ่มกระทิงแดงปาระเบิดและยิงปืนเข้าใส่ท้ายขบวนผู้ชุมนุมนักศึกษารามคำแหง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน เมื่อ 21สิงหา 2519

รวม ไปถึงเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างมวลชนซึ่งฝ่ายหนึ่งมีเส้น กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ทำอะไรก็ผิด เช่นเหตุการณ์เมื่อ 21 กันยา 2519 นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน ระหว่างช่างกลสยาม (ซึ่งมีนายวีรศักดิ์ ทองประเสริฐ เลขาธิการศูนย์นักเรียนอาชีวะฯ ในขณะนั้นเรียนอยู่) กับช่างกลอุตสาหกรรม มีการปรากฏตัวของกลุ่มกระทิงแดงในที่เกิดเหตุ และมีการปาระเบิดสังหารชนิด เอ็ม 26 ส่งผลให้นักเรียนช่างกลสยามตาย 5 ศพ บาดเจ็บจำนวนมาก และถูกจับอีกประมาณ 200 คน ในขณะที่ช่างกลอุตสาหกรรมไม่โดนจับเลย

ตลอด ช่วงเวลาของความขัดแย้งทางการเมืองช่วงนี้ ยังได้ปรากฏการลอบสังหารผู้นำชาวนา กรรมกร นิสิตนักศึกษา และนักการเมืองหัวก้าวหน้าหลายราย อาทิ การสังหารนายอินถา ศรีบุญเรือง ผู้นำชาวนาภาคเหนือ การสังหารอาจารย์บุญสนอง บุณโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย

เหตุการณ์ เหล่านี้ดำเนินไปในบริบทของกระแสที่มีคนอย่าง กิตติวุฒโฑภิกขุ ให้สัมภาษณ์ น.ส.พ.จัตุรัส ว่า “การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ”

และ ดำเนินไปภายใต้กระแสการปลุกระดมจากวิทยุยานเกราะที่เรียกร้องให้มีการกำจัด ขบวนการเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย เช่นที่บอกว่า ขอให้ “รัฐบาลฆ่าประชาชนสัก 30,000 คน เพื่อคนจำนวนสี่สิบสามล้านคน ”

.. เหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวอย่างเศษส่วนหนึ่งที่ชี้บ่งว่า ตลอดช่วงปี 2518 – 2519 กราฟของความรุนแรงได้ไต่ระดับขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในอัตราเพิ่มที่คงที่ ผกผันกับกราฟของความอดทนอดกลั้นต่อความเห็นต่างที่ดิ่งลงในอัตราลดที่คงที่ สวนทางกัน

กราฟ ของความรุนแรงนำไปสู่จุดพีคของมันในเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ในวันที่ 6 ตุลา 2519 อันปรากฏภาพที่โหดเหี้ยมที่สุดภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เป็นความโหดเหี้ยมที่ประกอบขึ้นด้วยการฆ่าโดยไม่รู้สึกผิด ซึ่งขอให้เชื่อเถอะว่า มนุษย์ที่ทำเรื่องร้ายกาจได้มากที่สุดนั้นไม่ใช่คนเลวหรอก หากแต่เป็นคนที่เชื่อว่าตนกำลังทำสิ่งที่ดี และถูกต้องอยู่ ต่างหาก

พวก เขาเหล่านี้ ฆ่า และยิ้มเยาะให้กับผู้ถูกฆ่า ในนามของชาติ บ้านเมือง ปริ่มล้นไปด้วยความรู้สึกชอบด้วยศีลธรรม และความสะใจอันบ้าคลั่ง

คำถาม ของผู้เขียน คือ ในช่วงปี 2518 – 2519 กราฟของความรุนแรงไต่ระดับและนำสังคมไปสู่เหตุการณ์ที่ผู้รจนาประวัติศาสตร์ ชาติไทยยังกระดากละอายใจที่จะบันทึกอย่างละเอียด

แล้วกราฟของความรุนแรงที่กำลังค่อยๆ ไต่ระดับอยู่ในปัจจุบันล่ะ ?

.. พวกท่านที่เกี่ยวข้องกำลังจะพาสังคมไปสู่แห่งหนใดกันหนอ ?