ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของยุคสมัย ที่เป็นปัจจัยสำคัญ ส่งผลให้กระบวนการการทุจริตและคอรัปชั่นมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นความซับซ้อนในเชิงความสัมพันธ์ ที่ขยายวงออกไปในระดับสากล เกาะเกี่ยวกลายเป็นขบวนการข้ามชาติ ซึ่งทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ทำงานได้มากยิ่งขึ้น
และเป็นที่มาของการแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพัฒนากระบวนการป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่น ให้เท่าทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง กับให้เท่ากับความซับซ้อนของขบวนการทุจริตคอรัปชั่นที่เพิ่มขึ้นและขยายวง กว้างออกไปในระดับสากล
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตคอรัปชั่นแห่งชาติ หรือ ปปช.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีภารกิจโดยตรงในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่น ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของยุคสมัย กับก้าวใหม่แห่งอนาคตสู่การเสริมสร้างศักยภาพครั้งสำคัญ และงานใหญ่ที่จะเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของหน่วยงานป้องกันและปราบปราม คอรัปชั่นในระดับสากล กับ การจัดงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้กรอบเอเปค (APEC multi-year) และการก้าวเข้าสู่ “ยุคแห่งการปราบปรามคอรัปชั่นแบบไร้พรมแดน” บนเส้นทางแห่งการสร้างศักยภาพครั้งสำคัญ
เปิดใจ “ศาสตราจารย์ ดร.ภักดี โพธิศิริ” กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับภารกิจและบาท ของ ปปช.ในปัจจุบัน และอนาคตกับเส้นทางแห่งการสร้างศักยภาพสู่ระดับสากลในครั้งสำคัญครั้งนี้
000…ภารกิจและบทบาทหน้าที่ของปปช.
ภา พรวมปปช.เป็นองค์กรอิสระตามรธน.ที่มีกรอบหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต ซึ่งในการป้องกันและปราบปรามจะมีขอบเขตที่กว้าง เช่นเรื่องการป้องกันและการตรวจสอบทรัพย์สิน งานด้านการป้องกันคือการออกมาตรการต่างๆ ในด้านอบรมสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เรื่องของการป้องกันปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งกรอบเหล่านี้จะเป็นไปตามรธน.ปี 2540 และปี 2550 รวมถึงเป็นไปตามกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญต่างๆ
ในปัจจุบันตัว รัฐธรรมนูญแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็จะยังคงเหลือในส่วนของกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญโดยจะเป็นกฎหมายในปี 2554 ที่จะเป็นตัวหลักสำหรับการรองรับการคงอยู่ของปปช.
000…ในภาพรวมของปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเวลานี้เป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยายเครือข่ายออกไปในระดับสากล
สำหรับ ปัญหาของการทุจริตคอรัปชั่น ในเวลานี้ คงต้องทำความเข้าใจว่า ได้ก้าวเข้ามาถึงจุดแห่งการพัฒนาไปในลักษณะของอาชญากรรมข้ามชาติ และไม่ได้จำกัดอยู่ในขอบเขตภายในของประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่นการกระทำการทุจริตในประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วมีการสร้างเส้นทางการโยกย้ายทรัพย์สินที่ได้มากจากการกระทำผิดไปยังประ เทศอื่นๆ รวมถึงการนำทรัพย์สินไปฟอก ในลักษณะเดียวกับการฟอกเงิน คือการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินต่างๆ ที่มีเป้าหมายให้การตรวจสอบทำได้ยากขึ้น
นอกจาก นี้ยังมีเรื่องของธุรกิจ การติดสินบนการให้ผลประโยชน์โดยภาคเอกชน ผ่านเจ้าหน้าของรัฐในรูปแบบข้ามชาติ คือการที่เอกชนของอีกประเทศหนึ่ง ไปติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นปัญหาที่พบเห็นได้มากในปัจจุบัน
ซึ่ง ปัญหาเหล่านี้ จะเกิดข้อจำกัดในการติดตามตรวจสอบหรือดำเนินการ เพราะจะเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องของกฏหมาย ภายในแต่ละประเทศที่เอื้อมไปไม่ถึง แต่ฝ่ายผู้กระทำผิดกลับมีวิธีและมีกระบวนการสร้างช่องทางที่จะเล็ดลอดและ สามารถที่จะพ้นจาการตรวจสอบและการปราบปรามไปได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีกลไกความร่วมมือ ระหว่างประเทศเพื่อที่จะมาดูแลปัญหาดังกล่าว
และ ไม่เพียงปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเท่านั้น แต่กรณีนี้รวมไปถึงกรณีของอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่ง ทางองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญไว้ 7-8 เรื่อง รวมทั้งเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น และมีกลไกความร่วมมือภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติที่เรียกว่า UNTOC
000… ไทยอยู่ในฐานะภาคีของ UNTOC
ไทย เป็นหนึ่งในภาคีของ UNTOC แต่ในปี 2546 UNTOC ก็แยกกรณีเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่นเข้ามาเป็นอนุสัญญาใหม่เป็น UNCAC(……รบกวนชื่อเต็ม) ซึ่งเกิดจากประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกในสหประชาชาติเห็นความสำคัญของปัญหา การทุจริตคอรัปชั่น จึงต้องมี UNCAC แยกออกมาจาก UNTOC โดยเฉพาะ ซึ่งภายใต้อนุสัญญานี้ ก็จะมีกลไกความร่วมมือทางด้านอาญาระหว่างประเทศ คือเป็นกลไกความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อที่ประเทศรัฐภาคีต่างๆ สามารถร่วมมือกันในการสืบสวนสอบสวน หาพยานหลักฐาน หาตัวผู้กระทำผิด หรือแม้แต่การส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการติดตามเรียกทรัพย์สินคืนที่เป็นเรื่องใหม่ โดยมีจุดเริ่มต้นคือ รัฐภาคีต้องกำหนดให้การทุจริตคอรัปชั่น เป็นความผิดทางอาญา เพื่อให้การติดตามยึดทรัพย์สินต่างๆ ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองได้ให้สัตยาบรรณในอนุสัญญา UNCAC เป็น 1 ใน 175 ประเทศ ไปเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2554 ที่ผ่านมา
000…เป็นที่มาของการประชุมครั้งสำคัญที่จะเกิดขึ้น APEC multi-year
คือ APEC เป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจที่อยู่ในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก ตอนนี้มี 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้แยกแป็นประเทศแต่แยกเป็นแต่ละเขตเศรษฐกิจ ในปี 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ก็เริ่มมีการหารือกันในที่ประชุม เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น เป็นเรื่องที่บั่นทอนทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาในด้านต่างๆ ของทุกเขตเศรษฐกิจในภูมิภาค เพราะฉะนั้นจึงมีการหยิบยกเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็น ที่ควรจะมีความร่วมมือกันโดยเฉพาะ
ต่อมาเมื่อประเทศชิลีเป็นเจ้าภาพ จึงมีการจัดตั้ง **** ทราสฟอร์ซ เป็น คณะทำงานทางด้านการต่อต้านการทุจริตและการส่งเสริมความโปร่งใส ซึ่งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนของทุกเขตเศรษฐกิจร่วมอยู่ในฟอรั่มนี้ จะมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง ตามการประชุมของ APEC และเวียนกันไปตามประเทศที่เป็นเจ้าภาพ
โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการ จัดตั้งคือ เพื่อให้**** ทราสฟอร์ซ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการไปตามนโยบายทีกำหนดโดยที่ประชุม APEC โดย เป็นที่มาของการร่วมมือกันในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น แล้วก็ดำเนินการไปตามหลักการที่อยู่ภายใต้ อนุสัญญาของสหประชาชาติ และผู้นำของเอเปก ทั้งเรื่องของการต่อต้านคอรัปชั่น และการใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ที่จะต้องดำเนินการไปภายใต้ข้อตกลงของอนุสัญญาดังกล่าว
000…เป็นการประชุมครั้งสำคัญระดับนานาชาติ
ถือ เป็นครั้งสำคัญ แต่คงต้องอธิบายก่อนว่า เนื่องจากภาคีของ UNCAC มีจำนวนสมาชิกมาก และมีการจัดการประชุมในระดับภาคี ซึ่งจะมีประเด็นข้อสนใจที่แตกต่างกันมาก จึงมีการแยกออกมาเป็นการประชุมย่อยในแต่ละภาคส่วน คือแยกออกมาให้เหลือเพียง 21 เขตเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ ประเด็น ข้อตกลงต่างๆ และการขับเคลื่อนการทำงานภายใต้อนุสัญญากระชับและง่ายมากยิ่งขึ้น ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างกัน
000…ในส่วนของ ภูมิภาค APEC มีจุดเริ่มต้นอย่างไร
เกิด จากการริเริ่มของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ประเทศไทย และสำนักงานอัยการสูงสุด ประเทศชิลี ที่ตระหนักถึงปัญหาการทุจริตที่สร้างความเสียหายให้กับเขตเศรษฐกิจเอเปคอ ย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศซึ่งขาดแคลนวิธีการที่เป็นระบบในการ สืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีทุจริตและฟอกเงิน ส่งผลให้การติดตามทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดดังกล่าวกลับคืนเป็น เรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ โครงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อจัดทำคู่มือ (handbook) ว่า ด้วยวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีทุจริตและฟอกเงิน รวมทั้งการติดตามทรัพย์สินคืน โดยมุ่งหมายให้เกิดความสะดวกในการประสานความร่วมมือ เพิ่มการบังคับใช้และการปฏิบัติตามพันธกิจว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตของเขต เศรษฐกิจด้วยวิธีการติดตามกระแสทางการเงินและใช้หน่วยข่าวกรองในการสืบสวน สอบสวนคดี
อีกทั้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเขตเศรษฐกิจเอเปคในการสอบสวนและดำเนินคดีทุจริต และฟอกเงิน รวมทั้งการติดตามทรัพย์สินคืน คู่มือฉบับนี้จะมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการใช้เทคนิคการติดตามการไหล เวียนของเงินและข่าวกรองทางการสอบสวน อีกทั้งยังอาจถูกใช้เป็นฐานในการพัฒนาหน่วยข่าวกรองทางการเงินที่มุ่งเน้น เรื่องการต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption-focused financial intelligence unit) ระหว่างสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค ในอนาคตอีกด้วย
000…APEC multi-year ครั้งนี้ มีรายละเอียดและมีการกำหนดแนวทางไว้อย่างไร?
โครงการ นี้จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นอย่างน้อยสองครั้ง โดยครั้งแรกได้จัดขึ้นที่ประเทศชิลี ในระหว่างวันที่ 11-13 มิถุนายน 2556 โดยเน้นไปที่เรื่องของการสืบสวนสอบสวนและการฟ้องคดีทุจริตและฟอกเงิน ส่วนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 นั้นจะจัดขึ้นที่เมืองพัทยา ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 22 – 24 กันยายน 2557 โดยจะมีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากความรู้ที่ได้จากการประชุมครั้งแรก และจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการติดตามทรัพย์สินคืน
โดย ในการประชุมครั้งนี้ เนื้อหาของการประชุมเน้น 3 หัวข้อหลักสำคัญ ได้แก่วิธีการและเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการระบุและติดตามค้นหาทรัพย์สินใน คดีทุจริต (Asset Identification and Tracing)รูปแบบและกลยุทธ์เพื่อการยึดและอายัดทรัพย์สิน (Freezing and Seizure)แนวทางปฏิบัติที่ดีในการริบทรัพย์และเรียกคืนทรัพย์สินที่ได้จากการ ทุจริตให้แก่เจ้าหน้าที่
ทั้ง นี้ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมประชุม คาดว่าน่าจะมีประมาณ 150 คน จากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ และจากหน่วยงานในประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น เจ้าหน้าที่ด้านการต่อต้านการทุจริต (เจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช. ด้านปราบปรามและตรวจสอบทรัพย์สิน ) เจ้าหน้าที่ปราบปรามการฟอกเงิน พนักงานอัยการ ตำรวจ เป็นต้น ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ที่จะนำไปสู่การร่วมมือกันทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ยังได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่มิใช่เขตเศรษฐกิจเอเปค รวมทั้งจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์อีกด้วย
000…จะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556 – 2560) อย่างไร
สถานการณ์ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทย จากการจัดอันดับขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International–TI) ประเทศไทยสอบตกเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ปี 2556 ได้อันดับที่ 102 ตกลงไปจากปี 2555 ที่อยู่อันดับ 88 โดยได้ค่าดัชนี CPI (Corruption Perceptions Index) ในปี 2556 ลดลงมาเหลือ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน จากที่ในปี 2555 ได้คะแนน 37 คะแนน แสดงให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น
ดัง นั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงและยกระดับค่าคะแนน CPI ของประเทศไทยให้ได้ 50 คะแนน ภายในปี 2560 ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนต้องร่วมกันที่จะผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556 –2560) ไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้วิสัยทัศน์ “สังคมไทยมีวินัย โปร่งใส ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ทุกภาคส่วนร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
โดย ยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ การปลูกและปลุกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริต เน้นการปรับเปลี่ยนฐานความคิดของคนไทยในทุกภาคส่วนในการรักษาประโยชน์ สาธารณะการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานในการต่อต้านการทุจริตและพัฒนาเครือ ข่ายในประเทศ การพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านการทุจริตและเครือข่ายระหว่างประเทศ การพัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และยุทธศาสตร์สุดท้ายคือการสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรด้านการต่อต้านการ ทุจริต
000…สุดท้ายประเทศไทยจะได้อะไรจากการประชุมครั้งนี้
การ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้กรอบเอเปคดังกล่าว เป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ระยะที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ที่ 3 – 5 พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านการทุจริตและเครือข่ายระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทํางาน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เป็นสากล อีกทั้ง มุ่งสร้างเครื่องมือ กลไก ในการปราบปรามการทุจริต โดยเฉพาะเรื่องการติดตามทรัพย์สินจากคดีทุจริตกลับคืนมา และเมื่อดำเนินการเรียบร้อยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราจะมีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มสมาชิกเอเปค นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรด้านการต่อต้านการทุจริต เนื่องจากผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ด้านการต่อต้านการทุจริต (เจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช. ด้านปราบปรามและตรวจสอบทรัพย์สิน ) เจ้าหน้าที่ปราบปรามการฟอกเงิน พนักงานอัยการ ตำรวจ ทั้งของประเทศไทยและจากประเทศสมาชิก
นอก จากนั้น การที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ จะมีส่วนช่วยย้ำเตือนให้คนไทยตื่นตัวกระแสการต่อต้านการทุจริตมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนเป้าประสงค์ของเอเปค ที่จะขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตในระดับภูมิภาคให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น สำหรับ ป.ป.ช. นั้น ก็มุ่งหวังที่จะใช้เวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ในการขยายและยกระดับความ ร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตกับหน่วยงานต่อต้านการทุจริตนานาประเทศ โดยเฉพาะการประสานงานคดีทุจริตระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ผู้ช่วยบรรณาธิการ สำนักข่าวเดอะพับลิก, นสพ.เดอะพับลิกโพสต์