เกิดอะไรขึ้นเมื่อทุกฝ่ายของความขัดแย้งต่างจมปลักอยู่ในการเสแสร้ง?

เกือบสองศตวรรษที่แล้ว ชิวเหลียง แม่ทัพและนักยุทธศาสตร์ชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ได้เตือนทหารของตนว่า “เมื่อเกิดความเสแสร้งหลอกลวงขึ้นแล้ว แม้พวกเจ้าจะมีปัญญาของกษัตริย์นักรบโบราณ พวกเจ้าก็ไม่สามารถเอาชนะบ้านนอกคนหนึ่งได้ ไม่ต้องพูดถึงบ้านนอกทั้งกลุ่มเลย”

เขาอาจจะบอกด้วยว่า การเสแสร้งหลอกลวงนั้นเป็นอันตรายสำหรับชาวบ้านนอกที่พยายามจะสู้เพื่อเสรีภาพ ในขณะที่กษัตริย์พยายามจะพิชิตพวกเขา ซึ่งทำให้เราเกิดคำถามขึ้นกับนักวิชาการ, ผู้วางนโยบาย และนักกิจกรรมบางคน ที่มุ่งมั่นในการพยายามจะหาทางออกให้กับความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่สุดในตะวันออกกลางด้วยว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากทุกฝ่ายในความขัดแย้งนั้นต่างจมปลักอยู่ในความเสแสร้างว่าไม่มีใครสามารถนำไปสู่ทางออกของปัญหาด้วยวิธีใดๆ ได้?

ขีดจำกัดของกำลัง

เป็นการง่ายที่จะมองเห็นความเสแสร้งของอำนาจ แค่พยายามนิดหน่อยเพื่อเปรียบเทียบประชาธิปไตยและเสรีภาพทางวาทกรรมอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลสหรัฐฯ กับความเป็นจริงของสงคราม การยึดครอง และการสนับสนุน ระบอบการปกครองที่กดขี่และทุจริต

ในทำนองเดียวกัน การประกาศเป็นนิจสินของอิสราเอลว่าสนับสนุนการแก้ปัญหาด้วยสันติภาพในเรื่องความขัดแย้งกับชาวปาเลสไตน์ ก็ขัดแย้งกันมากกับการกระทำที่แท้จริงในดินแดนที่ถูกยึดครอง

ในทางกลับกัน มหาอำนาจของโลกอย่างจีน กลับได้รับความน่าเชื่อถือและถูกกล่าวถึงในเรื่องที่ไม่มีการเสแสร้งทางการเมืองและการทูต พวกเขาทำธุรกิจกับเกือบจะทุกรัฐบาล ตราบใดที่มันเข้ากับผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของพวกเขา โดยไม่มีการแกล้งทำเป็นกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ในประเทศที่ประชาธิปไตยยังไม่ถูกกัดกร่อนเป็นประเทศที่ย่อยยับจากสงคราม อย่างสหรัฐฯ การเสแสร้งยังสามารถูกใช้เป็นเครื่องตรวจสอบที่มีประโยชน์ในการใช้อำนาจทางการเมือง ความจำเป็นที่ต้องทำตัวว่าปฏิบัติตามเกณฑ์หรือแนวคิดที่ตัวเองอธิบายไว้ ทำให้ต้องมีจำกัดการใช้กำลัง ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนายุทธศาสตร์การเผชิญหน้าของสหรัฐฯ ที่นำมาใช้ในอิรักและอัฟกานิสถาน

อันที่จริง จากรายงานที่น่าอับอายของ Rolling Stone ขณะนี้ อย่างหนึ่งที่ทำให้นายพล Stanley McChrystal ไม่เป็นที่นิยมของทหารหลายคนของเขานั้น คือการที่เขายืนยันว่า ทหารของเขากำลังออกนอกทางที่จะหลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อพลเรือนชาวอัฟกานิสถาน แม้ว่ามันทำให้พวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้นระหว่างปฏิบัติการทางทหาร

การเสแสร้งและอำนาจ

แต่ทว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อฝ่ายที่อ่อนแอกว่า, ฝ่ายที่ถูกกดขี่ และ/หรือฝ่ายที่ถูกยึดครอง หรือผู้ให้การสนับสนุนของพวกเขา กลับอยู่ในการเสแสร้างของตนเสียเอง?

การเสแสร้งมักจะเป็นดาบสองคม แต่ในกรณีของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อต่อต้านการตกเป็นเมืองขึ้นนั้น ทั้งสองคมจะบาดฝ่ายที่อ่อนแอกว่าได้ลึกกว่า

รัฐบาลของบุชใช้วาทศาสตร์ประชาธิปไตยที่เสแสร้งอย่างชัดเจนในอิรัก เพราะมันเคลือบความชอบธรรมอย่างเพียงพอเพื่อให้กองกำลังสหรัฐฯ เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในประเทศนั้นได้อย่างถาวร พฤติกรรมตีสองหน้าของซุนนีและชีอะห์กลุ่มต่างๆ ทำให้สหรัฐฯ เพิ่มความมั่นคงของตนขึ้นได้

ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง ความ  เสแสร้งของรัฐบาลอิสราเอลที่ห้อมล้อมกระบวนการสันติภาพอยู่นั้น ได้สร้างความชอบธรรมอย่างเพียงพอมาช้านาน เพื่อให้แน่ใจว่าชาวยิวอิสราเอลส่วนใหญ่ การสนับสนุนของนักการเมืองสหรัฐฯ และสื่อต่างๆ จะยังคงนิ่งนอนใจกันอยู่ 

ในส่วนของชาวปาเลสไตน์ยังไม่มีเรื่องหรูหราของการเสแสร้ง การตีสองหน้า และความไม่ลงรอยกันด้านศีลธรรมขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) และผู้นำฮามาส (จากการปฏิญาณต่อประชาธิปไตยและมีความรับผิดชอบ ขณะที่ปกครองด้วยความรุนแรงและทุจริต ไปจนถึงการสนับสนุนการแก้ปัญหาด้วยทางออกสองประเทศเป็นภาษาอังกฤษ แต่พูดจาอย่างรุนแรงเป็นภาษาอาหรับ) ก็ถูกใช้ประโยชน์อย่างช่ำชองจากอิสราเอล ที่แย้งว่าการเจรจาสันติภาพของปาเลสไตน์ส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องหลอกลวง หรืออย่างน้อยก็เชื่อถือไม่ได้

คำนวณทุน-กำไร

โศกนาฏกรรมขบวนเรือมุ่งสู่กาซ่าที่ทำให้นักสิทธิมนุษยชนชาวตุรกีเก้าคนถูกหน่วยคอมมานโดของอิสราเอลสังหาร ได้ให้บทเรียนที่ถูกมองในเรื่องการคำนวณต้นทุนและกำไรของการเสแสร้ง เมื่อมันเกี่ยวข้องกับ (หรือในกรณีนี้ มันเป็นตัวแทนของ) ชาวปาเลสไตน์ และมันเป็นสิ่งหนึ่งที่ขบวนเรือในอนาคตต้องระมัดระวังเอาไว้ให้ดี

ในขณะที่นักกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ร่วมอยู่ในขบวนเรือปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากความรุนแรง กลุ่มนักกิจกรรมที่ถูกจัดเป็นอย่างดีสิบสองคนจากขบวนการ IHH ผู้ซึ่ง -ตามที่กัปตันเรือ Mavi Marmara ได้เปิดเผยและบันทึกภาพการชุมนุมกันบนเรือก่อนที่การบุกจะเกิดขึ้น- ได้วางแผนที่จะโจมตีหน่วยคอมมานโดของอิสราเอลเมื่อขึ้นมาบนเรือ สิ่งนี้ก็ให้หลักฐานเพียงพอแล้วในเรื่องการเสแสร้งของฝ่ายขบวนเรือ

ทำไมคณะสิทธิมนุษยชนเพื่อความสงบและปราศจากความรุนแรงจึงจะโจมตีทหารอย่างรุนแรง รัฐบาลอิสราเอลและผู้สนับสนุนได้แย้งขึ้นเพื่อลดความน่าเชื่อถือ หรืออย่างน้อยเพื่อให้เกิดคำถามขึ้นกับคณะที่ใหญ่นี้ในภาคส่วนสำคัญๆ ของอิสราเอล และสื่ออเมริกัน และที่มั่นทางการเมือง

Michael Nagler ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการไม่ใช้ความรุนแรง ผู้ได้รับคำปรึกษาจากผู้ดำเนินการจัดขบวนเรือในเรื่องวิธีรับมือกับเหตุการณ์เช่นนั้น อธิบายว่า “ประเด็นของเราคือ… ในการไม่ใช้ความรุนแรงเช่นเดียวกับนักกิจกรรมคนอื่นๆ อีกหลายคนนั้น มันเป็นความคิดที่ไม่ดีในการจะทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การผสมความช่วยเหลือกับการขนส่งประชาชนที่เป็นประเด็น    ขัดแย้งนี้ ไม่มีอะไรจะเทียบได้กับสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงในทุกกรณี นั่นคือ การปนเปความไม่รุนแรงเข้ากับความรุนแรง”

การทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน, โดยเฉพาะการผสมความรุนแรงเข้ากับความไม่รุนแรง, เป็นการเปิดทางให้อิสราเอลมีความจำเป็นต้องท้าทายเรือทุกลำในขบวนเรือ

“เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่อิสราเอลเผชิญหน้ากับการเสแสร้ง และการด่วนตัดสินอย่างมีอคติ”      เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลโต้แย้งเพื่อปกป้องการกระทำของหน่วยคอมมานโด

ต่อมา เขาได้แนะนำว่าขบวนเรือของนักสิทธิมนุษยชนนั้น ควรจะมุ่งหน้าไปยังเตหะราน โดยเรียกร้องว่า “ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชนทุกคนในโลกไปยังเตหะราน เพราะที่นั่นมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน”

งัดความจริงออกมา

เนทันยาฮูพูดมีประเด็น : รัฐบาลอิหร่าน ซึ่งเสนอการสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อขบวนเรือและขู่ว่าจะส่งเรือของตนมาพร้อมกับขบวนเรือในคราวต่อไป ได้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานด้านมนุษยชน, สิทธิด้านพลเรือน และสิทธิทางการเมืองของประชาชนของตนอย่างชัดเจน

นักกิจกรรมเพื่อสันติภาพและประชาธิปไตย ควรจะส่งขบวนเรือไปยังอิหร่านเพื่อร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของที่นั่น พวกเขาควรจะส่งอีกสักขบวนไปยัง Latakia ท่าเรือสำคัญในเมดิเตอร์เรเนียนของซีเรียด้วย เพราะการสนับสนุนขบวนเรือโดยระบบการปกครองของประธานาธิบดีบะชัร อัล-อัซซาด แห่งซีเรีย ไม่ได้ฉากกันกับการปกครองแบบเอกาธิปไตยของตัวเอง

และทำไมจึงไม่ไปต่อยังตุรกี ซึ่งรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนโดยตรงแก่ขบวนเรือ? มันมีเลศนัยอย่างแท้จริงในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์การยึดครองของอิสราเอลและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอิสราเอล ในเมื่อตุรกีเองยังดำเนินการฟ้องร้องพลเรือนของตน อย่างเช่น Ferhat Tunc นักร้องชาวเคิร์ดผู้มีชื่อเสียง เพียงเพราะทัศนะทางการเมืองของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้น ตุรกียังไม่ยอมคำนึงถึงสิทธิตามหลักสากลของประชากรชาวเคิร์ด ซึ่งเชื้อชาติและภาษาของพวกเขามีความเก่าแก่กว่าชาวปาเลสไตน์มากนัก และไม่เคยใส่ใจที่จะชำระสะสางเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มาเนีย

ที่สำคัญ การงัดเอาความจริงเล็กๆ นี้ขึ้นมา ทำให้เนทันยาฮูเปิดประเด็นไปคนละเรื่องกับการประณามการที่อิสราเอลจู่โจมขบวนเรือและปิดล้อมกาซ่า โดยสร้างพื้นที่ในการใช้วาทศิลป์ระดับมาตรฐานของอิสราเอลเพื่ออธิบายลักษณะของผู้ที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ว่าเป็น ‘ฝ่ายต่อต้านสันติภาพ’ ในขณะที่ประกาศอย่างไม่ซื่อว่าทั้งชาติอาหรับและชาวปาเลสไตน์นั้น ไม่มีใครสมัครใจจะเอาธุระกับ ‘การเจรจาโดยตรง’ เลย

โลกส่วนใหญ่ไม่สนใจการโต้แย้งของเขา แต่โลกส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่กลุ่มผู้ฟังที่เขามุ่งหมาย ซึ่งจำกัดอยู่ที่ฐานะคะแนนสำคัญดั้งเดิมสองฐานเท่านั้น นั่นก็คือพลเมืองยิวชาวอิสราเอลและชาวยิวที่ย้ายถิ่นไปกลุ่มหนึ่ง กับบรรดารัฐบาลและที่มั่นทางสื่อที่เป็นมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ และยุโรป    ตะวันตก อีกกลุ่มหนึ่ง

ที่จริงแล้ว ในสหรัฐฯ ประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า ได้ทำถึงขนาดออกมาเตือนนายกรัฐมนตรีเรเซพ ฏอยยิพ เออร์โดแกน ของตุรกีว่า การสนับสนุนการสืบสวนของนานาชาติในการสังหารนักกิจกรรมเก้าคน ‘อาจส่งผลตามมาในทางลบแก่ตุรกี’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะมันอาจ ‘กลายเป็นดาบสองคม’ ได้ ถ้าคณะสืบสวนสาวลึกไปถึงการสนับสนุนกลุ่ม IHH ของรัฐบาลตุรกี

ที่เสียหายไปกว่านั้น การผสมความรุนแรงเข้ากับความไม่รุนแรง แม้จะน้อยนิดเพียงใด ก็ได้เป็นสาเหตุให้กลุ่มช่วยเหลือเกิดคำถามขึ้นกับความรอบคอบในการเข้าร่วมกับขบวนเรือในอนาคต

เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งในกลุ่มชาวอเมริกันที่ช่วยดำเนินการในความพยายามก่อนหน้านี้ อธิบายกับผมว่า “เราต้องคิดอย่างจริงจังว่าเราจะสามารถเข้าร่วมในขบวนเรืออื่นๆ อีกหรือไม่ เพราะคำนึงถึงที่มาของเงิน (หมายถึงจาก IHH) ไม่ใช่แค่ความรุนแรงที่มากับเรือลำหนึ่ง แต่เพราะการเสแสร้งของ IHH ที่สั่งสอนเรื่องการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในขณะที่ใช้วาทศิลป์และการกระทำที่รุนแรง บังคับให้เราต้องหยุดงานที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำหรือเสี่ยงทำให้เกิดความบาดหมางกับผู้สนับสนุนของเราเอง”

การต่อต้านขบวนเรือ

ชาวอิสราเอลก็ได้คว้าเอาข้อกล่าวหาที่      เสแสร้งของเนทันยาฮูไว้ด้วยเช่นกัน ไม่นานหลังจากการสังหารลูกเรือของ Mavi Marmara สหภาพ    นักศึกษามหาวิทยาลัยอิสราเอล ได้ประกาศเจตนารมณ์ของตนที่จะสร้างขบวนเรือของตัวเองขึ้นมา ประการแรก เพื่อแล่นเรือออกไปพบกับเรือบรรเทาทุกข์ขบวนต่อไป และถามพวกเขาว่า ทำไมพวกเขาจึงได้มุ่งความสนใจไม่จบสิ้นมายังอิสราเอล ในเมื่อรัฐบาลของพวกเขาเองก็มือเปื้อนเลือดขนาดนั้น ถ้าเป็นไปได้ พวกเขายังต้องการจะแล่นเรือไปยังตุรกีเพื่อสนับสนุนประชากรชาวเคิร์ดของตุรกี

“เป้าหมายของขบวนเรือของเราคือเพื่อแสดงให้เห็นการเสแสร้งของผู้จัดการขบวนเรือบรรเทาทุกข์กาซ่า” Boaz Toporovsky ทนายความฝึกหัดและประธานสหภาพอธิบาย

“พวกเขากำลังแสดงให้เห็นถึงความจริงที่แท้จริง แต่เราต้องการสันติภาพ และเรารู้ว่าทุกคนส่วนใหญ่ ทั้งยิวและปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์และกาซ่า ทุกคนต้องการสันติภาพ แต่เราจำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าเราเป็นประชาชนที่สงบสุข ไม่ใช่ผู้พิชิตที่    ชั่วร้ายอย่างที่สื่อวาดภาพให้เราเป็น ดังนั้น เราจะมาโดยไม่มีไม้ ก้อนหิน หรือหนังสติ๊ก เราต้องการชี้ให้เห็นว่ากาซ่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่สุดของโลก”

สำหรับ Toporovsky เรื่องของชาวเคิร์ดเป็นเรื่องสำคัญ “เรากำลังพยายามจะแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาเกินเหตุของตุรกี ตุรกีกำลังยึดครอง กำลังฆ่า พวกเขายึดครองเคอร์ดิสถานและกดขี่ชาวเคิร์ด พวกเขายึดครองไซปรัสเหนือ และกวาดล้างทาง  เชื้อชาติ ดังนั้น ขณะที่นักกิจกรรมชาวตุรกีมีสิทธิ์จะพูดเรื่องกาซ่า ผมคิดว่า เมื่อใครสักคนอยากจะให้คนอื่นปฏิบัติอย่างหนึ่ง เขาควรจะแสดงตัวอย่างด้วยการดูแลในบ้านของตัวเองเสียก่อน”

มีการเสแสร้งเขียนกันไปทั่วเรื่องขบวนเรือบรรเทาทุกข์กาซ่า ขณะที่ Toporovsky ก็เป็นกังวลอีกเรื่องหนึ่ง “หนึ่งในสามของอิสราเอลถูกคุกคามจากจรวดของฮามาส ผมไม่รู้ว่าจะมีอธิปไตยของประเทศไหนที่ยอมให้จรวดอย่างนั้นยิงเข้าใส่เป็นประจำอย่างนั้น สหรัฐฯ คงไม่ใจดีอย่างเราถ้าชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ถูกคุกคามจากเม็กซิโกในลักษณะเดียวกัน ประเทศไหนๆ ก็คงไม่ยอมด้วยเหมือนกัน”

โยงเข้าด้วยกัน

Toporovsky พูดถูกในประโยคสุดท้าย แต่ก็นั่นแหละ การตัดสินของเขามันช่างตรงกันกับที่ฮิซบุลลอฮฺและฮามาสอ้างการใช้ปฏิบัติการทางทหารกับอิสราเอลของพวกเขา ก็เพื่อตอบโต้การละเมิดและเข้ายึดครองของอิสราเอล

ดูเหมือนเขาจะรู้สึกได้ถึงปัญหานี้ เมื่อเขาอธิบายต่อไปว่าสมาชิกในกลุ่มของเขา ‘พูดถึงเรื่องการเสแสร้งอยู่ตลอดเวลา’

“มีบางส่วนของประชากรที่ไม่ยอมรับสิทธิของชาวปาเลสไตน์ในประเทศ และบางส่วนของรัฐบาลที่ต้องการจะมีที่ตั้งถิ่นฐานให้มากเท่าที่จะมากได้

แต่นี่ก็ไม่ธุระกงการอะไรของขบวนเรือ สำหรับขบวนเรือนั้น เรามองว่าเป็นการเสแสร้งลวงโลก”

แต่แน่ละ อิสราเอลก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกมากพอกับประเทศอื่นๆ เป็น และว่ากันตามท้องเรื่อง ทั้ง Toporovsky และผู้จัดการขบวนเรือบรรเทาทุกข์กาซ่าเอง ก็ไม่มีใครพิจารณาถึงทางเลือกที่สามที่มุ่งเน้นไปยังการกดขี่ในแห่งหนึ่งหรือที่อื่นๆ เช่น ทำไมจึงไม่อาจมีขบวนเรือที่ไปทั้งกาซ่าและอิสตันบูล หรือท่าเรือเมือง Bandar Lengeh ของอิหร่าน? ทำไมนักกิจกรรมของทุกฝ่ายจึงไม่ร่วมมือกันเพื่อหยุดการปิดล้อมกาซ่า, เรียกร้องให้มีการเคารพสิทธิ์ของชาวเคิร์ด และประชาธิปไตยในอิหร่าน?

ยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในการมองความขัดแย้งและการต่อสู้ทั้งหลายในภูมิภาคนี้โดยภาพรวม    กำลังค่อยๆ ผุดขึ้นในใจนักกิจกรรมทั่วภูมิภาค บางทีมันอาจจะเป็นพัฒนาการในเชิงบวกเล็กๆ น้อยๆ หลังจากยุค 9/11 (11 กันยายน วัน      ตึกเวิลด์เทรดถูกเครื่องบินชนถล่ม)

ขณะที่ทศวรรษที่ผ่านมา มีชาวอิสราเอลหรือความเคลื่อนไหวของชาวยิวอพยพน้อยมากที่กระตือรือร้นใฝ่หาสันติภาพและความยุติธรรมในวาระที่เกี่ยวกับชาวปาเลสไตน์ และตั้งใจโดยตรงที่จะท้าทายสิ่งที่อิสราเอลบรรยายและปาฐกถาไว้อย่างเป็นทางการ แต่ปัจจุบัน มันยากที่จะรักษาสัมพันธ์กับกลุ่มใหม่ๆ ทุกกลุ่มที่ทุ่มเทกายใจเพื่อท้าทายการยึดครองและ ‘ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิว’ 

พวกเขาชี้ให้เห็นว่าคัมภีร์ไบเบิลได้ห้ามการโค่นต้นไม้ที่ให้ผล กลยุทธ์หลักที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใช้ทำร้ายชาวปาเลสไตน์ และอ้างคำสั่งของศาสดา   อิสยาห์ (Isaiah) ที่สั่งให้ชาวอิสราเอล ‘ปลดโซ่ตรวนของการกดขี่… ให้อิสระแก่การกระทำเพื่อผลประโยชน์ ปลดโซ่ทุกชนิด”

นักกิจกรรมชาวมุสลิมก็เช่นเดียวกัน ให้ยึดเอาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ‘orthopraxic’ ของอิสลามเอาไว้ ซึ่งเรียกร้องให้ประพฤติตนอยู่ใน    ศีลธรรมให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติของศาสนาให้มากที่สุด เพื่อท้าทายความไร้เหตุผลของความรุนแรงในหมู่นักรบ

ชาวคริสเตียน โดยเฉพาะในปาเลสไตน์ ให้มองชีวิตของพระเยซูเป็นแบบอย่างของดำเนินการตรงๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อความอยุติธรรม

ยุทธศาสตร์ไม่ใช้ความรุนแรงโดยองค์รวม

แต่มันมีความแตกต่างระหว่างแรงบันดาลใจทางศาสนากับพัฒนาการของยุทธศาสตร์การต่อต้านการกดขี่โดยไม่ใช้ความรุนแรงโดยองค์รวม การเคลื่อนไหวแบบนั้น แท้จริงแล้ว คือหัวใจของยุทธศาสตร์การต่อต้านแบบไม่ใช้ความรุนแรงของมหาตมะ คานธี และมาร์ติน ลูเธอร์ คิง

คานธีพูดไว้ว่า การไม่ใช้ความรุนแรงนั้นยากกว่าการใช้ความรุนแรงมากนัก และต้องใช้ความอดทนและระเบียบวินัยอย่างไม่รู้จบ

ส่วนคิงสาวกของเขา ได้นำบทบาทของการ  เสแสร้งมาปรับใช้เป็นพิเศษในการสนับสนุนลัทธิเหยียดผิวในสหรัฐฯ เขาได้พัฒนายุทธศาสตร์ของการกระทำโดยตรงที่ไม่ใช้ความรุนแรง โดยมีเป้าหมายแท้จริงอยู่ที่การเผยให้เห็น ‘ความตึงเครียด’ ในสังคมอเมริกันที่เกิดจากการกดขี่คนผิวดำ และในการกระทำเช่นนั้นก็ได้สร้าง ‘วิกฤติการณ์อย่างนั้น และหนุนความตึงเครียดเช่นนั้นขึ้น เพื่อให้ชุมชนที่ปฏิเสธการเจรจาอย่างแข็งขันถูกบีบให้ต้องเผชิญกับประเด็นนั้น’

คิงอธิบายยุทธศาสตร์นี้ว่าเป็น ‘การบังคับโดยไม่ใช้ความรุนแรง’ การใช้วิธีคว่ำบาตร, อารยะขัดขืน, การศึกษา และรูปแบบอื่นๆ ของการเผชิญหน้าทางทหารที่ได้บีบให้คนอเมริกันส่วนที่เหลือได้เข้าใจถึงความเป็นจริงของลัทธิเหยียดผิวที่เป็นสถาบัน

สิ่งที่ผู้ประท้วงในปัจจุบัน ที่ผสมเอาความรุนแรงเข้ากับความไม่รุนแรง (ไม่ว่าจะน้อยแค่ไหน) ไม่เข้าใจก็คือ เมื่อกระจกถูกทำให้ขุ่นมัว คุณจะไม่สามารถถือมันออกไปยังสังคมที่ใหญ่กว่าเพื่อสะท้อนให้เห็นความเสแสร้งและความอยุติธรรมของพวกเขาได้อีกต่อไป

ยิ่งกว่านั้น ความรุนแรง (แม้เมื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ใหญ่ เช่นขบวนเรือบรรเทาทุกข์กาซ่า หรือแม้แต่หนังเรื่องการขว้างก้อนหินที่เป็นสัญลักษณ์ของขบวนการอินติฟาด้าครั้งที่หนึ่ง) ทำให้มันยากมากยิ่งขึ้นในการเผชิญหน้ากับผู้กดขี่ด้วยสิ่งที่ขัดแย้งในตัวเองของพวกเขา เพราะความรุนแรงจะสร้างความรุนแรงใหม่ๆ ขึ้นมาตามตัวทั้งสองฝ่าย ที่เข้ามาบดบังความตึงเครียดตรงกลาง

บทเรียนจากอินติฟาด้าครั้งที่หนึ่ง

หัวข้อถกเถียงสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอินติฟาด้าครั้งที่หนึ่งคือการปฏิบัติด้วยวิธีการขว้างก้อนหินอย่างแพร่หลาย

นักวิเคราะห์หลายคนทั้งภายในและภายนอกสังคมปาเลสไตน์แย้งว่า ความรุนแรงเหมือนละครของการขว้างก้อนหินได้ทำให้อินติฟาด้าพังลงในที่สุด เมื่อมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแถบรังสีที่ค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงให้มากยิ่งขึ้นต่อชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอลอื่นๆ และสร้างความเสียหายทางร่างกายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ประชากรชาวปาเลสไตน์

นักกิจกรรมชาวปาเลสไตน์อย่างมุบารอก   อะวาด ผู้แสดงความไม่รุนแรงของชาวปาเลสไตน์ ได้พยายามใช้ยุทธศาสตร์คล้ายคลึงกันนี้ในดินแดนที่ถูกยึดครองมานาน และอิสราเอล ด้วยความเข้าใจถึงอันตรายที่พวกเขาทำ จึงได้ใช้การตอบโต้ที่รุนแรงกว่าเป็นประจำ ด้วยการฆ่าผู้ประท้วงที่ปราศจากอาวุธในการประท้วงต่อต้านที่ตั้งถิ่นฐานและประท้วงต่อต้านกำแพงแบ่งแยกหลายครั้ง

ผู้นำและนักกิจกรรมชาวปาเลสไตน์หลายคนได้นำเอาความไม่รุนแรงมาเป็นกลยุทธ์ แต่น้อยมากที่เต็มใจจะนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์เบื้องต้นในการต่อต้าน เพราะจากคำพูดของผู้นำคนหนึ่งกล่าวว่า มันจะเป็นสัญญาณของความอ่อนแอสำหรับฝ่ายตรงข้ามที่รู้จักแต่ภาษาของการบีบบังคับและใช้กำลัง

สิ่งที่ปรัชญาของคิงบอกกับเราก็คือ การใช้ความไม่รุนแรงนั้น ต้องดำเนินการให้ลึกลงไปถึงใจกลางของสังคม ถ้ามันจะประสบความสำเร็จในระยะยาว เมื่อเผชิญหน้ากับความไม่รุนแรง ผู้กดขี่มักจะยกระดับความรุนแรงของตนไปจนกระทั่งมีบางอย่างทิ่มแทงเข้ามาในสังคมในวงกว้าง และความชอบธรรมของระบบทั้งหมดก็จะพังลง

คำถามคือ แม้เราจะเข้าถึงจังหวะหนึ่งในอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความสำเร็จของความไม่รุนแรงรูปแบบต่างๆ เช่น ขบวนการคว่ำบาตรที่แพร่ขยายออกไป และขบวนเรือบรรเทาทุกข์กาซ่า ได้ทำให้แม้แต่ฮามาสและฮิซบุลลอฮ์ ส่งสัญญาณความชื่นชมของพวกเขาที่มีต่อพลังการต่อต้านที่ไม่ใช้ความรุนแรงว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ได้ผลมากกว่าการใช้ความรุนแรงต่ออิสราเอล

แค่ไม่กี่ปีที่แล้ว การยอมรับเช่นนั้นยังเป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการถึง

ในห้วงแห่งชาตินิยม

การมองศัตรูว่าเป็นพี่น้องไม่ใช่แค่เรื่องยากที่จะทำใจ มันแสดงถึงภัยคุกคามโดยตรงต่อแนวความคิดที่กว้างขึ้นในเรื่องความขัดแย้งในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะเรื่องอิสราเอลกับปาเลสไตน์

เรย์ อัฟราอัม ไอแซก คุ๊ก บิดาแห่งไซออนิสต์ปีกขวา ได้ชี้ให้เห็นเมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้วว่า “ความคิดฝังหัวเรื่องชาตินิยมทุกประเภทเป็นสิ่งน่าชิงชังสำหรับพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงให้ความเท่าเทียมกันแก่มวลมนุษย์ทุกคน เป้าหมายเพื่อแสวงหาความสำเร็จแท้จริงของสรรพสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นทั้งหมด ความยุติธรรมที่แท้จริงหมายถึงการเอาใจใส่อย่างเท่าเทียมกันต่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ทั้งหมด”

ตัวคุ๊กเองก็ไม่อาจมองสิ่งนี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่งเพราะการสนับสนุนลัทธิชาตินิยมที่เขาเข้าใจว่าจะทำให้ยิวไซออนิสต์ “ได้รับการปลูกฝังที่ผิดพลาดจากการที่คัมภีร์เก่าได้รับรองทัศนะนี้ ซึ่งเราควรกำหนดคุณค่าที่ยิ่งใหญ่กว่าให้แก่ผลประโยชน์ของประชาชนของเราเอง มากกว่าความเป็นอยู่ของคนอื่นๆ”

ปัจจุบัน ชาวยิว, มุสลิม, คริสเตียน และศาสนิกอื่นๆ ส่วนใหญ่ ดำเนินการตีความคำสอนของศาสนาไปในแบบที่รับรองความเป็นลัทธินิยมอย่างมาก และแสดงความคับแคบต่อศาสนาอื่นๆ ซึ่งดีเลิศทั้งหมด

ในที่สุด คนรุ่นใหม่จะพยายามหันกลับไปหาบทคำสอนและดึงเอาวิทยาปัญญาที่แท้จริงที่จะสนับสนุนการถ่ายทอดโดยไม่ใช้ความรุนแรงในระหว่างสังคมของพวกเขาเองและสังคมอื่นๆ

เหลือเพียงแค่คอยดูกันว่า ความเข้าใจนี้จะเกิดขึ้นสายเกินไปสำหรับชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ในการรักษาตัวเองหรือไม่ แต่ที่แน่ชัดก็คือ ผู้ที่เลือกหนทางนี้สมควรจะได้รับการสนับสนุนจากมนุษย์ทุกคนที่ปรารถนาให้เกิดทางออกที่สงบสุขและยุติธรรมในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ และที่อื่นๆ ทั่วภูมิภาคนี้ด้วย

 

เขียนโดย : มาร์ค เลอไวน์ 

แปลจาก : อัลจาซีรา