อาจารย์เอก มงคล : ความรุนแรง-ขัดแย้ง-รัฐประหาร… อนาคตการเมืองไทยจะไปทางไหน?

ความรุนแรง-ขัดแย้ง-รัฐประหาร… สู่ Failed State หรือ civil war… อนาคตการเมืองไทยจะไปทางไหน? มุม มองหลากมิติกับนักวิชาการรุ่นใหม่ ที่จะมา ผ่าทางตัน – ทางออก แบบตรงไปตรงมา ชัดเจนทุกคำถาม ชัดเจน โดย “อาจารย์เอก มงคล” คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไทย-อิหร่านศึกษา สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา

บนคำถาม เกี่ยวกับทิศทางทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ท่ามกลางวิกฤติที่หลายฝ่ายพยายามแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับทางออกและอนาคต ที่ยังมองไม่เห็น นำไปสู่การวิเคราะห์เส้นทางในการก้าวเดินไปข้างหน้า อย่ามีหลักวิชาการ ที่ประเมินถึงข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้กับเหตุและผลที่เป็นอยู่

“เดอะพับลิกโพสต์” ไขข้อข้องใจในเชิงวิชาการ เกี่ยวกับความโกลาหลทางการเมือง ว่าจะมีทิศทางอย่างไรในอนาคต โดย “อ.เอก มงคล” กับหลากหลายมุมมองที่น่าสนใจ บนการเมืองไทยที่หลายคนเรียกว่า “วิกฤติ”

000…มองการเมืองไทยและความขัดแย้งวันนี้อย่างไร

ก่อนจะเข้า ถึงเรื่องม็อบก็ต้องมาดูกันที่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกันก่อน ความขัดแย้งทางการเมือง เป็นปรากฏการณ์ความขัดแย้งแบบตัวแทน แต่เบื้องลึกของปรากฏการณ์นี้เป็นอีกระดับหนึ่ง กล่าวคือในปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มันมีสองมิติ มีสองชั้น สรุป คือมีความขัดแย้งที่อยู่นอกเหนือปรากฏการณ์หนึ่งระดับ และความขัดแย้งในปรากฏการณ์อีกหนึ่งระดับ และผลจากความขัดแย้งทั้งสองอย่างนำไปสู่อนาคตอีกหนึ่งระดับ การเมือง ณ วันนี้จึงมีอยู่ 3 ระดับ

000…อาจารย์ช่วยเรียงลำดับของปรากฏการณ์นี้

สิ่งที่เรา จะเห็นได้ชัดในปรากฏการณ์วันนี้ คือมีฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและฝ่ายรัฐบาลที่สู้กันอยู่ โดยในส่วนรัฐบาล ณ วันนี้ ค่อนข้างใช้ความอดทนสูง ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามก็ทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง ก่อนอื่นคงชมทั้งสองฝ่ายก่อนที่จะตำหนิทั้งสองฝ่าย

ในมุมหนึ่ง ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่พยายามเรียกร้องอารยธรรมในความขัดแย้ง ที่มองได้ว่าเป็นอารยะของผู้แพ้มากที่สุด เสียงข้างน้อยผู้แพ้ ที่พัฒนารูปแบบอย่างมีนัยยะมากขึ้น พอพูดถึงตรงนี้ต้องยกตัวอย่างให้เห็น คือย้อนกลับไปที่กรณีของพันธมิตร หรือเสื้อเหลืองเดิมที่ทำไว้ ตอนนั้นม็อบรวมพลยึดสนามบิน ทุบโน้นทุบนี้ แต่พอถึงจุดสิ้นสุดของพันธมิตร หรือเสื้อเหลือง ก็เกิดม็อบที่เรียกว่า กปปส. หรือใครจะเรียกว่าม็อบกำนัน หรือม็อบฝ่ายค้าน ซึ่งแล้วแต่ว่าใครจะมองมุมไหน เราคงต้องมองลงไปในวิธีการของเขาที่ต่างจากเสื้อเหลืองเดิม

คือเขามี พัฒนาการมากขึ้น หันมาใช้สิทธิแบบอารยะ โดยการปิดสถานที่ทำงาน ตัดน้ำตัดไฟชั่วคราว คือวิธีการใหม่ๆ ที่มีการพัฒนาการทางความขัดแย้งมากขึ้น โดยที่ไม่ได้ทำลายเหมือนเมื่อก่อนนี้ ถ้าเทียบกับของเดิม จะเห็นได้ว่าอารยธรรมตรงนี้เป็นอารยธรรมของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เป็นอารยธรรมของผู้แพ้ทางการเมืองในระบบได้ถูกสร้างมากขึ้น ก้าวต่อไปเขาก็จะเดินแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ รัฐบาลเองก็จะมองดูเหตุเล็กเหตุน้อยแต่ละวันไปเรื่อยๆ ไปสอดคล้องกับความขัดแย้งนอกเหนือปรากฏการณ์ ความรุนแรงจะเกิดขึ้นเต็มรูปแบบเมื่อไปสอดคล้องกับส่วนนี้

000…พัฒนาการโดยอารยะของผู้แพ้มีเป้าหมายอย่างไร และเกี่ยวอย่างไรกับ ความขัดแย้งนอกปรากฏการณ์

ที่ผมเห็น เลยการเมืองวันนี้ คือมีความขัดแย้งนอกปรากฏการณ์ แต่บอกไม่ได้ว่าคืออะไร แต่เห็นเป้าหมายคือ ความพยายามที่จะควบคุมอำนาจของรัฐสภา

000..เป้าหมายคืออำนาจรัฐ

คงไม่ใช่แค่ อำนาจรัฐ ผมใช้คำว่า ความพยายามเข้าควบคุมรัฐสภา มันกว้างกว่าอำนาจรัฐ ที่ส่วนหนึ่งอาจจะมองไปเพียงเรื่องของการบริหาร ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลต้องทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐสภาหมดสภาพ และมีกระบวนการใหม่เข้ามาควบคุม ความขัดแย้งนอกปรากฏการณ์ที่อยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ เท่าที่เห็นได้ คือความพยายามจะเข้าไปช่วงชิง ควบคุม รัฐสภา หมายถึงทั้งสภานิติและบริหาร  ไม่ใช่มีแค่เรื่องบริหาร ซึ่งคงต้องทำความเข้าใจว่า จากนี้ไปประเทศไทย ปรากฏการณ์ในรูปแบบนี้คงจะเพิ่มมากขึ้น และจะเพิ่มจากปัจจุบัน และสิ่งที่เกิดนำไปสู่พัฒนาการมากขึ้น (ถ้ามองในแง่ดี)

000…เป้าหมายนี้เพื่ออะไร

เพื่ออะไร ยังหาคำตอบไม่ได้ ซึ่งถ้าเรามองไปในอดีตปกติความพยายามแย่งชิงอำนาจจะอยู่ที่เฉพาะการบริหาร คืออำนายการเป็นรัฐบาล แต่วันนี้ เป็นเรื่องของการ แย่งชิงการควบคุมสภา เพื่อควบคุมทั้งระบบ จะส่งผลไปสู่ด้านไหนยังไม่ทราบได้

000…นี่เป็นพัฒนาการถ้ามองในมุมบวก แล้วมุมลบล่ะ

ในมุมลบเอง ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และฝ่ายรัฐบาลที่จะต้องตำหนิ คือทั้งสองฝ่าย ณ วันนี้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้เสนอทางออกให้กับประเทศ

ฝ่ายต่อต้าน ใช้วิธีการแบบสร้างความเลวร้ายมาตลอด โจมตีรัฐบาล โจนตีตัวบุคล โจมตีตระกูลชินวัตร แต่ไม่ได้เสนอทางออก ว่าจะให้ประเทศไทยเดินไปทางไหน เราจะเห็นได้ว่าเขาพยายามอ้างเรื่องสภาประชาชน ณ วันนี้กลายเป็นสภาที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดประเด็น คือหลอกให้จุดม็อบติด แล้วก็ทิ้งประเด็น ที่จะนำไปสู่ทางออกไป

กลุ่มต่อ ต้านรัฐบาลเปลี่ยนประเด็นเป็นรายวัน ทั้งเรื่องของการสร้างสภาประชาชน การปฏิรูปประเทศ ซึ่งที่สุดไปสู่การปิดกทม. การเดินขบวนและความรุนแรงที่แฝงเข้ามา ไม่ว่าจะจากฝ่ายไหนเป็นผู้กระทำก็ตาม ซึ่งก็ต้องขอตำหนิทางฝ่ายต่อต้านรัฐบาล คือทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ได้ให้ทางออกกับประเทศไทย

000…นี่เป็นมุมลบของฝ่ายม็อบ

ถูกต้อง คือเขาไม่ได้เสนออะไรเลยรู้อย่าเดียวว่าทำลายและทำลาย อะไรก็ตามที่มีพื้นฐานมาจากการทำลายแล้วมันจะงอกงามได้อย่างไร

000…มาถึงฝ่ายรัฐบาลบ้าง ตรงไหนที่เป็นมุมลบ

ส่วนฝ่าย รัฐบาล ชัดๆ เลย  มาถึงวันนี้ต้องตำหนิ ตั้งแต่ยอมถอยที่จะยุบสภา ที่ต่อมาก็มาพูดกันถึงจะเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ที่ก็แปลกซึ่งวันนี้ยังเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ ยังมีอำนาจรัฐ แล้วจะออกไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอะไรที่ไหนทำไม ในฐานะเป็นผู้กุมอำนาจ  แล้วจะมามัวกลัวรัฐประหารทำไม มองว่ารัฐบาลต้องเข้มแข็งและยืนหยัดมากกว่านี้ ถ้าอ่อนแอแบบนี้ ความขัดแย้งที่ยืนอยู่นอกปรากฏการณ์จะผลักดัน ไปสู่ชัยชนะของฝ่ายตรงข้ามเอง

000…เป็น “Failed State”

ไม่ถึงขั้น Failed State (รัฐที่ล้มเหลว) แต่รัฐบาลต้องเข้มแข็งกว่านี้ แต่จะเข้มแข็งได้อย่างไร ในเมื่อรัฐบาลไม่อยากจะทำร้ายประชาชน ก็คงเป็นโจทย์ที่จะต้องไปหาทางออก ส่วนตัวมองว่า  Failed State ไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงที่คิดไปไกลถึง รวมถึง Civil War  (สงครามกลางเมือง) ก็ไม่มีทาง อย่างดีก็เป็นแค่ฮุลิแกน วอร์  (Hooligan War)   สงครามอันธพาล สงครามจิ๊กโก๋ แล้วแต่จะเรียก แต่จะเป็นได้แค่นี้แหละ

000…ทำไมอาจารย์ถึงมั่นใจว่าจะไม่ขยายตัวไปถึง Civil War

Civil War   จะเกิดได้ไม่ใช่ง่ายๆ มันจะต้องมีสัญญาณออกมาก่อน คือ การจัดกำลัง ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายไม่มีการจัดขบวนการของกองกำลังอย่างเป็นระบบ มีกองกำลังขนาดใหญ่ ซึ่งประเทศไทยไม่เคยมีกองกำลังขนาดนั้น ยกเว้นเกิดการปะทะของหน่วยงานของรัฐที่มีอาวุธเต็มรูปแบบกันเอง และมีระบบแล้ว นั่นถึงจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Civil War

เรื่องตำรวจ กับทหารเป็นไปไม่ได้ที่จะปะทะกัน แต่ถ้าเป็นแบบ กองโจร นอกเครื่องแบบนอกรูปแบบ อันนี้ เป็นไปได้ หรืออีกทางคือกลับไปที่ความเป็น hooligan war  โดยถ้านึกภาพไม่ออก รูปแบบจะประมาณ 3 จังหวัดภาคใต้ นั่นคือเต็มที่ที่สุดแล้ว

อย่างที่ กลัวๆ กันในม็อบที่กทม. อาจะไม่ขยายไปถึงขั้นนั้น คือต้องเข้าใจองค์ประกอบว่าที่กทม.คนที่เข้ามาปฏิบัติการ ไม่ใช่คนในพื้นที่ กรณีนี้เห็นชัดเลยว่าต่างจาก 3 จังหวัดภาคใต้แน่นอน ภาคใต้ใน 3 จังหวัดจะปฏิบัติการในเขต ไม่ขยายออกมาเท่าไหร่ ไม่เน้นออกนอกพื้นที่ ประเด็นต่างกัน แต่ที่นี้กลายเป็นว่า คนที่เข้ามาชุมนุมขณะนี้ในกทม.ไม่ได้รู้เรื่องในพื้นที่ และคนพื้นที่เองส่วนใหญ่ ถึงจะอยู่ในกทม.แต่ก็ไม่ใช่คนกทม. คือเข้ามาทำงาน คนกทม.จริงๆ มีนิดเดียว ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถทำให้เกิดเหตุใหญ่ได้ และแนวโน้มของความรุนแรงไม่ขยายตัว

[quote_box_center]“ที่ผมเห็นเลยการเมืองวันนี้  คือมีความขัดแย้งนอกปรากฏการณ์ แต่บอกไม่ได้ว่าคืออะไร แต่เห็นเป้าหมายคือความพยายามที่จะควบคุมอำนาจของรัฐสภา”[/quote_box_center]

IMG_2604

000…แต่ก็เป็นไปได้ที่จะขยายตัว?

ตัวแปรที่จะ นำไปเกิดความรุนแรง คือรัฐบาลตอบโต้ แต่ปัจจุบัน ไม่เกิดขึ้น ที่นี้ต้องเข้าใจว่า เมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ในอดีตปกติจะมีปัจจัยต่างๆ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ระดับบน คือส่วนของสถาบัน ที่ก็ไม่ได้สะท้อนการแก้ปัญหาออกมาในภาพที่ชัดเจนมากนัก และปัจจัยการแก้ปัญหาถัดๆ ลงมา อย่างรัฐบาล  ก็ปล่อยวางอำนาจของตัวเอง ทำให้เกิดรัฐบาลรักษาการณ์

ส่วนปัจจัย ถัดลงไป เช่น ทหาร ก็เกรงกลัวกับการต่อต้าน จนนำไปสู่ปัจจัยสุดท้ายคือ ปล่อยประชาชนแก้ไขกันเอง  ภายใต้การแบ่งฝักฝ่าย โอกาสการเกิดการทำรัฐประหาร ยังไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ จนกว่าจะเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงและขนานใหญ่ ที่เป็นความเป็นไปได้ของความรุนแรงที่กลัวว่าจะขยายตัว โดยประชาชนสองฝ่าย

แต่ก็อีก นั่นแหละ การปะทะกันแบบนี้แม้จะเกิดขึ้น แต่ก็จะไม่ใช้เวลานาน คือตีกันแล้วจบ แล้วก็จะกลายเป็นหน่วยย่อยๆ ไปตีกันตามซอย ฉะนั้นเมื่อตัดตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ออกไปมองไปข้างหน้า โอกาสจะขยายตัวก็อาจจะเกิดขึ้นน้อยลง

000…รัฐประหาร มีโอกาสแค่ไหน

อย่างที่ กล่าวมาแล้ว ปรากฏการณ์ การปะทะกันของประชาชน ในช่วงจังหวะเวลานี้ ถ้าจะมีการรัฐประหาร ต้องทำเลย คือจับจังหวะว่าเมื่อความรุนแรงเกิดขึ้นแล้วต้องรีบทำ มีเหตุวันนี้พรุ่งนี้ต้องปฏิวัติเลย แต่ถ้า ปล่อยให้การปะทะเลยไปแล้วสองถึงสามวัน กลายเป็นหน่วยย่อย  เป็นสงครามจิ๋กโก๋ ทหารก็ไม่มีเหตุให้รัฐประหาร เพราะเงื่อนไขที่เร้าความรุนแรงไม่สุกงอมพอ

000…มองในแง่ความรุนแรงแล้วลองมองในแง่ว่า จะมีโอกาสทุเลาลงบ้างหรือไม่?

เราพูดถึง ความรุนแรง หรือการพัฒนาของสถานการณ์สุดๆ ไปแล้วนะ ถ้าถามถึงเงื่อนไขไปสู่เหตุการณ์ที่ทุเลาเบาบาง คือการที่รัฐบาลอ่อนแอไป เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เบาบางไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะง่าย ความทุเลาเบาบางจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี ดูแล้วไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้ในเร็วๆ นี้

000…ทุเลาเบาบางถึงกับม็อบหยุด หรือ น้อยลง

ม็อบไม่น้อย ลงหรอก …จำนวนปริมาณอาจลดลง แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือขบวนการของม็อบไม่เปลี่ยนแปลง การ์ดคงเดิม ยิงกันบ้างตีกันบ้าง ตายบ้างเจ็บบ้าง แต่ก็หาใหม่มาเพิ่มได้เรื่อย ๆ หัวใจของปัญหาที่เกิดเวลานี้ ถ้าเรามองไปที่ม็อบ ประเมินเฉพาะเรื่อง “การ์ด” หรือ ระดับมวลชนที่เหนียวแน่น จะมีอยู่คงที่ประมาณ  500 คน ใน 500 คนนี้สังเกตจะเป็นพวกหน้าเดิมๆ เป็นขบวนการเดิมๆ ขณะที่มวลชนจริงๆ หรือแนวร่วมที่มีมากกว่านั้น ปริมาณก็จะขึ้นๆ ลงๆ สุดสัปดาห์ จะมากหน่อย แล้วต้นสัปดาห์ก็หายวูบไป

000…ที่นี้ลองมามองเรื่องปรากฏการณ์ทางชนชั้นบ้าง ว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้งหรือเปล่า?

เรื่อง ชนชั้น ครั้งนี้เป็นความขัดแย้งที่ตลกมาก ที่ฝ่ายรัฐบาลเองพยายามคลี่คลายปมเรื่องชนชั้น แต่ฝ่ายต่อต้านพยายามจะจัดเรื่องชนชั้น อันนี้ ก็งงเหมือนกัน  จริงๆ ต้องสลับกัน ตอนนี้ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นหลักที่ขัดแย้งกันคือเรื่องการควบคุมรัฐสภามากกว่า เรื่องชนชั้นจริงๆ คงเป็นเรื่องรองๆ ลงไป

หลักๆ คงอยู่ที่ความขัดแย้งในสองมิติที่กล่าวมาแล้วคือ ในปรากฏการณ์และนอกปรากฏการณ์ ทั้งนี้เป็นความขัดแย้งที่รอเวลาสุกงอม โดยมีเงื่อนไขแทรกแซงที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า ยกเว้นเป็น กระบวนการที่ก่อให้เกิดอย่างแดงเหลืองชนกัน แล้วทหารก็ออกมายึดอำนาจเลย นี่เป็นกระบวนการที่ถูกสร้างขึ้น ถามว่าจำเป็นต้องสร้างถึงขั้นนั้นหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ ถึงเวลา ปรากฏการณ์ก็จะนำพาให้เขาต้องทำ เขานี่คือใคร? และเมื่อทำไปแล้ว จะได้อะไรก็ตอบกลับมาที่เดิมคืออำนาจในสภา ซึ่งก็ต้องไปถามต่อว่าเอาอำนาจนี้ไปแล้วจะควบคุมให้เกิดความมั่นคงในเรื่อง อะไร? อันนี้ต้องไปหาคำตอบเอาเอง

000…ท่าทีของต่างประเทศมีผลกับปรากฏการณ์นี้หรือไม่?  

กระบวนการ ของม็อบกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบ ต้องดูองค์ประกอบรอบด้าน ถ้าเป็นการแทรกแซงการเปลี่ยนแปลงระบอบ ต้องเป็นการแทรกแซงจากต่างประเทศด้วยทุกครั้ง จะเป็นอย่างนั้นทั่วโลก ตัวแปรของต่างประเทศก็คือขั้วมหาอำนาจอย่าง “จีน” และ “อเมริกา”

ครั้งนี้ใน เมืองไทยก็เป็นเรื่องที่แปลก เดิมสองขั้วนี้ต่างคนต่างสนับสนุนอีกข้าง แต่พอมีปรากฏการณ์นี้ กลับสลับขั้วสลับหัวสลับหางกันพัลวัล คือเดิม จีนสนับสนุนพรรคเพื่อไทย อเมริกาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ แต่เหตุการณ์นี้ทำสลับขั้วหมด

ซึ่ง ปรากฏการณ์นี้อาจอธิบายได้ถึงผลประโยชน์อย่างกรณีอเมริกากับพรรคเพื่อไทย อาจมีเรื่องของสนามบินอู่ตะเภา แล้วอีกขั้วหนึ่งจีนกลับไม่พอใจเพื่อไทย อย่างกรณีของรถไฟความเร็วสูง หรือกรณีอื่นๆ

และที่สะท้อนภาพนี้ได้ชัดเจนที่สุด คือ กรณีม็อบ กปปส.ก็หันมาด่าขั้วที่เคยเป็นมหามิตร ฝ่ายรัฐบาลไปจีนเขาก็แทบไม่ให้ความสำคัญ

000….อีกฟากที่มีส่วนสำคัญกับปรากฏการณ์ความขัดแย้งนี้ “องค์กรอิสระ”

คงต้อง ยอมรับความจริงอยู่อย่างหนึ่งว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันองค์กรอิสระถูกแบ่งฝักฝ่าย และไม่ได้สมบูรณ์จริง เพราะที่มาและการเกิดขึ้นนั้นเกิดจากการสนับสนุน ไม่ได้เกิดจากปัญหาและความพยายามอยากแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่เกิดจากการอยากจัดตั้งขึ้นมาโดยรัฐธรรมนูญ  ซึ่งเมื่อตั้งขึ้นมาเพื่อคิดว่าจะมาดักปัญหา แต่จริงๆ แล้วกลายเป็นว่ามีมาเพื่อกลายเป็นปัญหาซะเอง

องค์อิสระ วันนี้ส่วนตัวยังมองไม่เห็นว่าจะเป็นตัวแก้ปัญหาทางตันได้ ยกเว้นปัญหาตัวบุคคลก็แก้เป็นคนๆ เป็นเรื่องๆ ไป อย่างคดีบางคดีก็แก้เป็นเรื่องๆ ไป แต่ในแง่ขององค์กรที่จะไปแก้ในภาพรวม หรือปรากฏการณ์และความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ของประเทศ ส่วนตัวยังไม่เห็นว่าองค์กรอิสระองค์กรไหนจะแก้ปัญหาอะไรได้ ไม่ใช่แก้ไม่ได้อย่างเดียว แต่อาจกลายเป็นทำให้ปัญหาเพิ่มเข้ามาอีก

ยกตัวอย่าง กกต. ตั้งแต่ตั้งกกต.มา ไม่เคยอธิบายได้เลยว่าแต่ละใบเหลืองใบแดง หรือการปล่อยให้เข้าสู่ตำแหน่งโนนนี่ได้ มีเหตุผลอย่างไร นี่แหละที่เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของการแก้ตัวบุคคล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งสมัยที่กระทรวงมหาดไทยดูแล ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนนะ ว่าไม่ได้บอกว่ามหาดไทยดีกว่านะ แต่จะบอกว่ากกต.ไม่มีพัฒนาการ และเมื่อตั้งกกต.มาจัดการเลือกตั้งไปนานๆ ก็ยังคงวนกลับมาพูดกันถึงเรื่องซื้อเสียง พูดจนเป็นมหากาพย์แต่ที่สุดก็แก้ไม่ได้

เพราะฉะนั้น องค์กรอิสระ อาจไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับกระบวนการในภาพรวมได้เลย แต่จะยิ่งกลายเป็นการสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นหรือเปล่าส่วนตัวก็เลยลองตั้งคำถาม ดู

 

[quote_box_center]“รัฐธรรมนูญ ที่มีพัฒนาการ คือมีความชัดเจนในตัวเอง แยกอำนาจส่วนต่างๆ อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของการเมือง เรื่องของสถาบันต่างๆ มีความชัดเจน  แยกกันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ถูกนำมาปะปนกัน”[/quote_box_center]

IMG_2593

000… การเลือกตั้ง จะแก้ปัญหาได้หรือไม่

ยืนยันฟันธง เลยว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา ตั้งรัฐบาลไม่ได้แน่ ซึ่งที่สุดก็เห็นแล้วว่าจะเป็นการเลือกไปตามเขตที่พร้อมที่สุดก่อน เพื่อยืดระยะเวลาเพื่อไม่ให้นำไปสู่เงื่อนไขความรุนแรง คือซื้อเวลาไปก่อน ซึ่งตรงนี้ชัดเลยว่าไม่ครบพอที่จะเปิดสภาแน่ ไม่ถึง 375 คนแน่ แต่เลือกเสร็จแล้ว กกต.ต้องรับรอง อีก 60 วันยืดไปได้อีก ยังไม่มีรับรอง มีซ่อมอีก ตรงนี้เวลามีอีกเยอะ ซื้อเวลาไคลแม็กซ์ไปได้ระยะหนึ่ง การเลือก ตั้งจะซื้อเวลาจะยื้อความขัดแย้งได้หลายเดือน แล้วพอถึงจุดนั้นแล้วค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะโมฆะหรือไม่โมฆะ จะเป็นอย่างไรต่อไปตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ได้ ไปว่ากันตรงจุดนั้น

000…ซื้อเวลาแล้วอนาคตหลังการเลือกตั้งจะมีทิศทางอย่างไร?

พอยื้อเวลา ไปเต็มที่แล้ว หลังการประกาศรับรองผลโดยกกต.แล้ว และมีสส.เป็นตัวตนแล้ว จะมีเหตุอื่นแทรกจนไม่สามารถประกาศได้ และจะเป็นโมฆะแต่โมฆะในรูปแบบไหน แบบรื้อกระดานเลยหรือไม่  และเมื่ออยู่ในรูปแบบแล้วประชาธิปัตย์จะว่ายังไง 8 ปี กับ 10 ปี ของท่านสุเทพ เอง ที่มานั่งบอกว่าจะเล่นการเมืองไม่เล่นการเมือง จะทำยังไง ซึ่งจริงๆ ท่านก็เล่นไม่ได้อยู่แล้วเพราะโดนคดี ตรงนี้ล้มกระดานแบบมีเงื่อนไขทางกฏหมายอย่างไร ทั้งหมดอาจ จะต้องย้อนไปว่ารัฐธรรมนูญจะว่าอย่างไรแล้วก็ย้อนไปจุดเดิม คือการแก้รัฐธรรมนูญจะต้องเกิดขึ้นหรือไม่ นิรโทษกรรมไม่นิรโทษ โมฆะไม่โมฆะ ทั้งหมดก็จะวนกลับมาที่จุดเดิมคือเรื่องเดิมๆ เหมือนกับวันนี้ ไม่ต่างกัน

000…แล้วทางออกของปัญหาการเมืองไทยจะอยู่ตรงไหน?  

คำถามนี้มอง ไปทางไหนไม่เห็นทางออก ที่สุดก็ไม่พ้นทหาร ถ้าไม่ใช่ทหาร ก็ไม่มีองค์กรไหนที่จะทำได้ แถมมีกรณีใหม่ ที่เป็นทางออกของรัฐบาลที่พูดกันมากคือ “เรื่องปฏิวัติซ้อนปฏิวัติ” ซึ่งเป็นไปได้ยาก ถ้าซ้อนต้องใช้เวลา แต่ถามว่านี่เป็นทางออกหรือไม่ ส่วนตัวมองว่านี่อาจเป็นทางออกของฝ่ายรัฐบาลที่เห็นแก่ตัวที่สุด คือการปฏิวัติเอง ซึ่งถ้าเลือกแบบนี้ เมื่อทำเสร็จก็จัดเลือกตั้งเข้ามานั่งอีก ประชาธิปัตย์ก็ลงได้อีก แต่ปัญหาคือ ถ้าทำแบบนี้จะตอบคำถามเสื้อแดงกับขบวนการประชาธิปไตยและประชาชนที่สนับสนุน อย่างไร ซึ่งถ้ารัฐบาลทำแบบนี้เห็นแก่ตัวมาก ตรงนี้ที่ทำไม่ได้ก็เพราะเสื้อแดงหัวก้าวหน้าเสรีชน จะไม่ยอมแน่ๆ

000…รวมถึงท่าทีของเสื้อแดงด้วย

จริงๆ เสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องยอมรับว่าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่เป็นพวกหัวก้าวหน้าจริงๆ ทำให้เราเห็นถึงปรากฏการณ์การต่อสู้ทางมวลชนวันนี้ว่ามาจากแค่สองส่วน คือมวลชนจากทั้งสองพรรค ข้อเท็จจริงมันอยู่ตรงนี้ แต่แดงที่เชื่อว่าเป็นแดงหัวก้าวหน้า แดงเสรี พวกนี้แหละจะเป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริงและเป็นแดงที่น่ายกย่องในความ รู้สึกส่วนตัว ท่าทีของเสื้อแดงอาจไม่เท่ากับท่าทีของกลุ่มหลังนี้ ไม่ว่าการรัฐประหารหรือปฏิวัติจะเกิดขึ้นจากฝ่ายใดก็ตาม

000…รัฐประหารตัวเองเป็นทางออกของรัฐบาล แล้วของม็อบมีทางออกยังไง

ในกรณีของ ม็อบ ถ้าตั้งหลักให้ดี ตั้งองค์กรตัวเองให้ชัด แล้วถอยออกจากการก่อกวน หันไปสร้างองค์กรดีๆ น่ากลัวกว่า สำหรับเป้าหมายข้างหน้า แต่ก็สงสัยอยู่ว่า ทำไมไม่ทำ ถ้าม็อบวันนี้ทำเหมือนเสื้อแดง คือจัดเป็นองค์กรเป็นเครือข่าย นี่จะน่ากลัวมาก สมาชิกเยอะมาก หรือดูอย่างองค์กรอิสระก่อนจะเกิด ก็ต้องสร้างองค์กรแบบนี้ขึ้นมาแล้วจึงแปรสภาพมาเป็นองค์กรอิสระ ตรงนี้เขามาเครือข่ายมีเซลล์พร้อมแทรกซึมทั่วประเทศแล้ว น่ากลัวกว่า ถ้าม็อบทำแบบนี้ ถอยออกมาเป็นแบบนี้ น่าจะเป็นทางออกของม็อบ

IMG_2609

 

000…กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทางออกอย่างไร?  

ที่ถกเถียง กันมากเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าจะต้องแก้หรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่า ไม่ต้องแก้ แต่ต้องยกเลิก เพราะปัญหาที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นโจทย์ คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วเมื่อจะแก้ก็มีปัญหา ไม่แก้ก็มีปัญหา แก้ ก็เห็นอยู่ว่ามีปัญหากับแนวทางและองค์กรต่างๆ  ไม่แก้ประชาชนก็คงไม่ยอม ดีที่สุดคือโละแล้วทำใหม่ ก็หวนกลับที่เดิมคือปฏิวัตินั่นเอง รัฐธรรมนูญ จริงๆ ถ้าทำได้คงต้องไปร่างใหม่ การปฏิรูปนั้นเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ทำแบบนี้ คือต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้วมาร่างใหม่ทั้งหมด ถ้าทำได้น่าดีใจ หรือแม้จะมีที่มาจากการรัฐประหารอย่างมีอารยะ แต่เสร็จแล้วต้องสัญญาต้องคืนอำนาจให้ประชาชนพร้อมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ออกมาใหม่โดยทุกฝ่าย เป็นรัฐธรรมนูญที่มีพัฒนาการอย่างแท้จริง ส่วนตัวที่ บอกว่ารัฐธรรมนูญที่มีพัฒนาการ คือมีความชัดเจนในตัวเอง แยกอำนาจส่วนต่างๆ อย่างชัดเจน  ทั้งในเรื่องของการเมือง เรื่องของสถาบันต่างๆ มีความชัดเจน แยกกันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ถูกนำมาปะปนกัน

000….โละรัฐธรรมนูญแบบไม่รัฐประหารได้หรือไม่?

คำตอบก็คือ จะยอมกันหรือเปล่า จะโละด้วยกระบวนการทางรัฐสภาก็ไม่มีใครยอม ตรงนี้อีกฝ่ายก็รับไม่ได้ ซึ่งก็ชัดเจนเลยถ้าจะโละรัฐธรรมนูญโดยไม่ยึดอำนาจทุกฝ่ายก็คงไม่ยอม ซึ่งก็เท่ากับประเทศไทยตอนนี้แทบจะไม่มีทางออก

000…เลือกตั้งแล้วประชามติปฏิรูปหรือ แก้รธน.ทำได้ไหม

การเลือก ตั้งแล้ว ตั้งรัฐบาลซื้อเวลากันไปสุดแล้วทำประชามติ คงเป็นไปได้ยาก แม้จะมีประชามติพิงหลังไว้ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่มีทางยอม แล้วทุกอย่างก็จะวนกลับมาที่เดิมอยู่ดี

000…สุดท้ายเลยถ้างั้นทางออกอยู่ตรงไหน

ตอนนี้เหลือ อยู่แค่ รอเวลาสำหรับการรัฐประหาร กับอีกอย่างคือ การเข้ามาแทรกแซงของต่างประเทศ ซึ่งก็ถูกแล้วที่ไม่ให้เข้ามา ไม่งั้นจะยุ่งหนักเข้าไปอีก ไม่ว่าจะยูเอ็นเข้า จีน หรืออเมริกาเข้า หรือไม่ว่าจะองค์กรไหนที่เข้ามาจากต่างประเทศ ที่เคยเข้ามาสังเกตการเลือกตั้งบ้านเรา ตรงนี้แหละ ทุกองค์กร เข้ามาแล้วยุ่งแน่ เพราะเราไม่เคยรู้เจตนาที่แท้จริงว่าเขาต้องการอะไร ก็จะเป็นเงื่อนไขใหม่ ที่จะทำให้เราเหมือนพม่า  ซึ่งในเรื่องของการแทรกแซงจากต่างประเทศต้องยอมรับว่าประเทศไทยตอนนี้เรา เปราะบางมาก และเมื่อมองไปข้างหน้าแล้วก็ยังไม่เห็นทางออกสำหรับอนาคต