อย่าปล่อย “อัล-อักซอ” ให้ถูกโดดเดี่ยว

โลกมุสลิมกำลังเกิดการโยกย้ายอพยพกันครั้งใหญ่ ผู้คนอพยพจำนวนมากมายที่ถูกโชคชะตาบังคับให้ต้องเป็นไป มันมักมาในรูปแบบของการจัดสรรที่ดิน การยึดแผ่นดินด้วยเล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมาย แล้วขับไล่ผู้คนให้ทิ้งแผ่นดินกลายเป็นผู้อพยพ การกดดันให้จนมุม/ทางตันเพื่อบีบบังคับให้สู้และเข้าสู่สมรภูมิสงคราม ซึ่งเป็นสงครามที่ไม่เป็นธรรมเป็น เป็นการกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะต่อสู่กับคู่ต่อสู้ที่อ่อนแอ/ไร้ทางสู้และไม่มีความพร้อมด้วยยุทธศาสตร์ใดๆ   ทุกครั้งที่โลกเกิดสงครามต่างก็สนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้อพยพจำนวนมหาศาลที่ไม่มีที่อยู่ ที่ดิน แผ่นดิน และรัฐชาติของตัวเอง  กลุ่มผู้อพยพที่เกิดขึ้นจำนวนมากขึ้นๆในปัจจุบัน เหมือนเป็นการกดดันให้เกิดกลุ่มผู้อพยพ มากกว่าความต้องการจะอพยพอย่างแท้จริง  ใครได้รับประโยชน์จากการอพยพหรือไม่ มีผลประโยชน์ใดแอบซ่อนอยู่ในกลุ่มผู้อพยพเหล่านี้ นับเป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าถึงปรากฏการณ์ของกลุ่มผู้อพยพ ที่อาจทำให้พบสาเหตุ/ต้นตอของการเกิดกลุ่มอพยพที่เพิ่มขึ้นๆ

การช่วยเหลือกลุ่มผู้อพยพได้กลายเป็นประเด็นปัญหาความมั่นคงของชาติขึ้นมาทันที เมื่อประเทศใดเปิดรับกลุ่มผู้อพยพที่หลั่งไหลกันเข้าไป แต่มันต่างจากการอพยพของชาวยิวจำนวนมากเข้าสู่แผ่นดินปาเลสไตน์ในอดีต เมื่อครั้งที่อังกฤษยังคงอำนาจในแผ่นดินปาเลสไตน์ ด้วยความต้องการที่จะมีแผ่นดินเป็นของตัวเอง แต่นั่นก็อาจจะเป็นหนทางที่ขัดกับคำพยากรณ์และประชาคมโลก ผู้อพยพยิวในแผ่นดินปาเลสไตน์นั้นอพยพมาจากแผ่นดินคนอื่นไปยังแผ่นดินคนอื่น(จึงไม่มีแผ่นดินของตัวเองที่มั่นคงอยู่ต่อไป เพราะอยู่บนพื้นฐานของการรุกรานและละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก)  แต่ผู้อพยพทั่วไปในวันนี้เป็นการอพยพจากแผ่นดินของตัวเอง ไปยังแผ่นดินของผู้อื่น (เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากความอธรรมที่ประชาคมโลกต่างให้ความดูแลช่วยเหลือ) กลุ่มอพยพทั่วไปมักหนีจากความอธรรมจากเจ้าผู้ปกครองของตัวเอง แต่กรณียิว(ไซออนิสต์)ที่อพยพเข้าไปในปาเลสไตน์เป็นการอพยพเข้าไปเพื่อหวังครอบครอง/ยึดพื้นที่ บีบบังคับเอาอำนาจ/สิทธิ/และความเป็นรัฐไปจากชาวปาเลสไตน์

ตัวแปรสำคัญในวันนี้คือสหรัฐอเมริกา  เป็นประเทศแรกของโลกที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้อพยพเหล่านี้รวมถึงบรรดาประเทศพันธมิตร เนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆในตะวันออกลาง/โลกมุสลิม บอบช้ำไปกับนโยบายต่างประเทศในตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ที่คอยแต่จะปกป้องอิสราเอลอย่างออกหน้าออกตา และคิดแต่เพียงผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก 

แม้ในปัจจุบันประธานาธิปดีโดนัล ทรัมป์ ดูเหมือนต้องการให้ทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของสหรัฐฯและพันธมิตรที่เต็มไปด้วยตราบาปที่เคยกระทำกับผู้อื่นในอดีต  แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ก่อนจะทำให้เกิดการเจรจาขึ้นได้ ต้องผ่านขั้นตอนของความขัดแย้งที่รุนแรงจนถึงทางตัน นั่นคือเหยื่อของการเจรจา หลายครั้งที่ขบวนการแจรจา โต๊ะเจรจา เป็นเพียงข้ออ้างให้หลีกหนีทางตันเพื่อยุติปัญหาความรุนแรงชั่วคราวในปัจจุบัน เพื่อการก่อความรุนแรงรอบใหม่ในอนาคต  

การประกาศยอมรับเยรูซาเล็มตะวันนออกโดยจะผนวกเข้าเป็นประเทศอิสราเอล ในปี ๒๐๑๗ ของประธานาธิปดีทรัมป์ ได้ทำให้ประชาคมโลกเห็นถึงการไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ของสหรัฐฯ แม้จะต้องยอมฝ่าฝืนกับสิ่งผิดกฏหมายและคำคัดค้านจากสหประชาชาติก็  ตาม  จนถึงขั้นการจะทำลายอัล-อักซอเพื่อสร้างวิหารขึ้นใหม่ และการย้ายสถานทูดอิสราเอลไปยังเยรูซาเล็ม ปรากฏการณ์เหล่านี้ ต้องการกระตุ้นสงคราม หรือเพราะสงครามที่เคยเกิดขึ้นนั้น ได้เปิดทางสู่จุดหมายที่ตั้งไว้  การเจรจาคือบทสรุปของสงครามและการยึดครอง

อัล-อักซอ ตั้งอยู่ตรงนั้น โลกมุสลิมอีกส่วนหนึ่ง ไม่ว่าซีเรีย จอร์แดน เลบานอน อียิปต์ อุดิอารเบีย ฯลฯ ดูจะกระจัดกระจายกันไม่มีทิศมีทาง ไม่สามารถจะเข้ามาร่วมมือกันได้เหมือนอย่างที่เคยเป็นมา  และอีกส่วนหนึ่งคือปาเลสไตน์/อัล-อักซอ(อัล-อุดสฺ) ที่กำลังถูกรุกไร้สะบักสะบอมไม่ต่างกันเลย

แต่ด้วยอำนาจของพระองค์ที่ทรงรอบรู้และทรงปกป้องกิบละห์ของพระองค์ให้บรรดามุสลิมได้มีทิศหมายในการยึดเหนี่ยวร่วมกัน การย้ายกิบละห์จากอัล-อักซอ(เยรูซาเล็ม/ปาเลสไตน์)มายังกะบะห์(มักกะห์/ซาอุดิอารเบีย) เป็นการสั่งย้ายกิบละห์ก่อนหน้าที่จะมีเหตุร้ายมากมายในแผ่นดินอักซอนี้ ก็อาจจะหมายถึง พระองค์ทรงปกป้องกิบละห์ของพระองค์ให้ปลอดภัยเงียบสงบ เพื่ออิบาดะห์ต่อพระองค์ 

อัล-อักซอ คือ กิบละห์แรกของบรรดามุสลิมในอดีต จนถึงสมัยท่านนบีมุฮำหมัด(ซ.ล) จึงเปลี่ยนทิศกิบละห์จากอักซอมายังกะบะห์ เหมือนคล้ายจะให้เข้าใจว่า กิบละห์ของยิวอยู่ที่อัล-อักซอ และกิบละห์ของมุสลิมอยู่ที่กะบะห์  ได้ในอีกมุมมองหนึ่งด้วย แต่การมองแยกส่วนอย่างนี้ อาจทำให้เอกภาพของมุสลิม(อุมมะห์)ถูกทำให้แตกกระจายจนมันต่อติดกันไม่ได้ และทำให้ศาสนาเป็นศัตรูกัน

สาเหตุของความขัดแย้งและสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ก็เกิดขึ้นมาจากความต้องการเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้ ด้วยข้ออ้างมากมาย การกล่าวอ้างถึงสิทธิในการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับอัล-อักซอ ที่ซึ่งพื้นที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ ที่คงจะหาข้อยุติที่จะให้ใครครอบครองสิทธิเฉพาะนั้น จะยิ่งกดดั้นให้เกิดความรุนแรงขึ้นในอนาคต การเดินหน้าเพื่อเข้ายึดครองพื้นที่ของอิสราเอลในปาเลสไตน์ ขยายออกไปเรื่อยๆ บนแรงกดดันที่ทั้งสองฝ่ายเห็นต่างกันอย่างสุดขั้ว ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ทางออกที่มองเห็นข้างหน้านั้น ต้องมาบรรจบกับทางตันอีกครั้งหนึ่ง   

อัล-อักซอมีประเด็นซ่อนเร้นมากมายที่จะดึงไปสู่ประเด็นความขัดแย้ง เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ต้องแก้ไขให้เกิดความสงบสุข ตามความคาดหมายของสันติภาพ ทางออกเดิมของทั้งสองฝ่ายนั้น(อิสราเอล-ปาเลสไตน์) คือ การอยู่ร่วมกันอย่างดีงาม แต่ทางออกในปัจจุบัน คือ การแบ่งแยกที่ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าทำให้อิสราเอลเป็นประเทศของชาวยิว อัล-อักซอต้องเป็นศาสนาสถานของชาวยิวเหมือนที่เคยเป็นมาในประวัติศาสตร์(ตอนหนึ่ง) 

ความสำคัญของมุสลิมกับอักซอนั้นแยกกันไม่ออก มีความเกี่ยวโยงเชิงศาสนา มีหลักคำสอนให้เดินทางไปในสามมัสยิด คือ มัสยิดหะรอมในมักกะห์ มัสยิดนาบาวีในมะดีนะห์  และมัสยิดอักซอในเยรูซาเล็ม  และยังบอกถึงผลบุญของการทำละหมาดในสามมัสยิด อักซอ อัลอักซอยังถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานซึ่งเป็นสถานที่ที่นบีมุฮำหมัด(ซ.ล) ได้ขึ้นฟากฟ้าในเหตุการณ์อิสรอเมี๊ยะราจ ฯลฯ

เสาหลักของศาสนาอิสลามคือการละหมาด และมัสยิดหลักของอิสลามคือสามมัสยิด เมื่อมุสลิมทุกคนเกิดขึ้นมาเพื่ออิบาดะห์ต่อพระองค์ มัสยิดทั้งสามจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งความสามัคคี ความเป็นพี่น้อง และเอกภาพของอุมมะห์อิสลามนั่นเอง แต่ความเป็นจริงมักขมขื่น เพราะอักซอกำลังถูกแยกออกจากสองมัสยิด ถูกพันธนาหารความฟิตนะห์(ความวุ่นวาย) ด้วยทหารอิสราเอลที่คอยเฝ้าควบคุม 

กิบละห์ที่สองคงไม่ปลอดภัย หากกิบละห์แรกของมุสลิมตกอยู่ในอันตราย(ฟิตนะห์)อย่างในวันนี้