Al-wasat เป็นหนังสือพิมพ์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศบาห์เรน มีการเปลี่ยนแปลง บรรณาธิการหนังสือพิม Dr mansoor al-jamsoor ที่รายงานข่าวกรณีที่ รัฐบาลซาอุดิอราเบียให้ความช่วยเหลือปราบกลุ่มต่อต้านรัฐบาลบาห์เรนอย่างโหด ร้าย!!!
Nada alwadi เป็นหนึ่งในนักข่าวที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนท้องถนนของกรุง มานามาเมืองหลวงของบาห์เรนที่อย่างตรงไปตรงมา ในตอนนั้นเธอถูกควบคุมตัวเกือบสิบชั่วโมงจากกรณีการรายงานความจริงให้สังคม รับรู้
ช่วง เวลาของการปราบปรามที่เธอพูดอย่างกล้าหาญเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศ ของเธอ รวมทั้งการถูกจับกุมของเพื่อนนักข่าว เธอถูกหนังสือพิมพ์ al-wasat ไล่ออก ซึ่งหนังสือพิมพ์นี้เป็นหน่วยงานที่ครึ่งหนึ่งอยู่ในการดูแลของรัฐบาล บาห์เรน เธอเดินทางออกนอกประเทศบ้านเกิดบาห์เรน จากนั้นทำการเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับการรายงานข่าวที่เป็นอิสระ เพราะในเวลาที่เหตุการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง การบริโภคข่าวจากสำนักที่อยู่ภายใต้การดูแลของตะวันตกหาความจริงได้ยากมาก เป็นช่วงที่เธออาศัยอยู่ที่สหรัฐฯ ตอนให้สัมภาษณ์ (Indian magazine 12/11/2013)
ราชวงศ์ บาห์เรน เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 18 เป็นประเทศที่ใช้สิทธิทางการเมือง เพื่อประชาชน การเคลื่อนไหวระหว่างบทบัญญัติของ การปฎิรูปโดยมีพระมหากษัตริย์ แต่ที่ผ่านมามักจะเป็นข้อสันนิษฐานว่าการปกครองแบบคอลีฟะห์มักอยู่เหนือ เหตุผลในทุกๆ ครั้งไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่สมบูรณ์แท้จริงหรือไม่?
การ เรียกร้องทางการเมืองเคยมีขึ้นมาแล้วอาจจะเป็นช่วงเวลาที่พี่น้องมุสลิมชาว บาห์เรนต้องการสิทธิความมีอิสระเสรีมันเคยเกิดขึ้นในปี 1950 ก่อนหน้านั้นเคยมีขึ้นในปี 1920 จากชาวประมง คือการเรียกร้องสิทธิจากอังกฤษทั้งในเรื่องสิทธิแรงงาน ความต้องการที่จะมีบทบาททางการเมือง และหลายช่วงเวลาที่มีความแตกต่างกันออกไป แต่ครั้งล่าสุดพี่น้องมุสลิมชาวบาห์เรนเป็นผู้ถูกกระทำในดินแดนที่อยู่ ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม พวกเขาต้องพบกับกระทำที่โหดร้ายจากรัฐบาลและการสนับสนุนจากชาติเพื่อนบ้าน อย่างซาอุดิอาระเบีย!!
อาจ จะไม่ใช่เรื่องยากที่จะอธิบาย กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงเป็นความเจ็บปวดที่รัฐบาลกระทำกับประชาชนในประเทศ เพราะเป็นภัยคุกคามราชบัลลังก์? แต่ก็ยังมีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการประท้วง ในเวลานั้นกลุ่มคนในประเทศแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ในช่วงปี 2011 เวลาที่เหตุการณ์เริ่มที่จะรุนแรง ความต้องการของประชาชนคือระบอบรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเป็นเหมือน ตัวตนที่ไม่มีอำนาจอะไร ศูนย์รวมอยู่ที่ราชวงศ์และกษัตริย์เกือบทั้งหมด คนบาห์เรนควรที่จะได้สิทธิมากกว่าเดิม การปกครองในแบบครอบครัว คนในรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ประชาชนต้องการให้รัฐปฎิรูปและไม่ต้องการให้คนในรัฐบาลอยู่กันแบบพวกพ้องมาก เกินไป
รัฐบาล บาห์เรนน้อยครั้งที่จะคิดคำนึงหรือแสดงออกถึงสาระสำคัญในรูปแบบการเมือง สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องหลายอย่างยังคงเดิม ความยุติธรรมสิทธิทางการเมืองเสรีภาพการเคารพในสิทธิมนุษยชนน้อยมากในความ สมดุลทางโครงสร้างทางสังคมของประเทศ
จนถึง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2011 เมื่อมีการตัดสินใจถึงความรุนแรงที่จำเป็นต้องใช้ หรือ days of wrath วันแห่งความโกรธ เป็นวันครบรอบ 10 ปีที่ประสบความสำเร็จของการลงประชามติ ในตอนนั้นเหตุการณ์ในตูนีเซีย อียิปต์ ได้ทำให้พวกเค้ารับรู้ถึงว่ามันอาจจะเป็นไปได้ ที่ ตูนีเซีย กับ อียิปต์ อาจจะเป็นฝันของบาห์เรนในตอนนั้นกับสิ่งที่ดีกว่า
แต่ ย้อนหลังกลับไปเมื่อกลางปี 2010 เหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มที่จะร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปี 2010 รัฐบาลเริ่มที่จะเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใน จับกุมตัว กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมต่อต้านรัฐบาล การรายงานข่าวถูกสั่งห้าม เว็บไซต์ถูกควบคุมโดยรัฐบาลเกือบทั้งหมด นั่นเป็นชนวนเกิดเหตุ อาหรับสปริง และจุดเริ่มต้นความรุนแรงใน บาห์เรน
คลื่น ความรุนแรงในอาหรับถาโถมเข้าสู่ภูมิภาคอย่างน่ากลัวปฏิกิริยาของชาวบาห์เรน เริ่มที่จะออกมามากขึ้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับ ตูนิเซีย กับ อียิปต์ แต่หากไม่มีเหตุการณ์ในโลกอาหรับเรื่องราวอาจจะไม่ใหญ่โตขนาดนี้ก็ได้กรณี ที่เกิดในบาห์เรน เมื่อการตัดสินของรัฐบาลที่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง นับว่าเป็นความผิดผลาดครั้งสำคัญ สื่อมวลชนที่เห็นเหตุการณ์ในตอนนั้นรู้สึกเห็นใจผู้ประท้วง สงสารกับความโหดร้ายของรัฐบาลที่ได้กระทำ !!!!
สิ่ง ที่นักข่าวสาวชาวบาห์เรนได้ให้สัมภาษณ์นั้นว่า การล่มสลายการปกครองในประเทศอาหรับเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ในอียิปต์ ตูนิเซียราชวงศ์ประเทศนั้นๆ คงจะสู้จนวินาทีสุดท้าย เพราะเป็นเหตุผลที่ต้องตัดสินใจทำ แต่รัฐบาลคงปฏิบัติการด้วยสมเหตุกับการจลาจล แต่นักข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้นรับไม่ได้จริงๆ แรงบันดาลใจของกลุ่มผู้ประท้วงมาจากไหนแล้วอะไรเป็นความถูกต้องที่รัฐบาลควร ทำในเวลานั้นเพียงแค่ประชาชนบาห์เรนพวกเขากำลังผลักดันสิ่งที่เขาต้องการไป ข้างหน้า
ช่วง เวลาที่กลุ่มผู้ประท้วงปักหลักอยู่บริเวณ pearl roundabout มีผู้สื่อข่าวประจำอยู่ที่นั่นเพราะถือว่าเป็นจุดสำคัญ ช่วงระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม 2011 โดยการอภิปรายทางการเมืองมีขึ้นทุกๆ คืนและได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ในเวลาที่การชุมนุมการเดินขบวนมีขึ้นทุกวัน มีเด็ก ผู้หญิง คน ชราอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ยังคงอยู่กันแบบสงบไม่มีเหตุการณ์ร้ายอันใด
แต่ รัฐบาลกลับประโคมข่าวว่ากลุ่มผู้ชุมนุมพยายามก่อความรุนแรงมันเป็นเรื่องที่ นักข่าวสาวที่ชื่อว่า Nada alwadi รับไม่ได้ เมื่อเขาเห็นเหตุการณ์จริงมันไม่ตรงกับในการรายงานข่าวของรัฐบาล!!! เวลานั้นทั้ง นิกายซุนนีและชีอะห์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ มีการสร้างกระแสให้เกิดความน่ากลัวเกี่ยวกับผู้ประท้วง เพื่อไม่ต้องการให้มีการเข้าร่วมเพิ่มเติม
แต่ ในเวลาที่มีการประท้วงนั้นสิ่งที่ให้การสนับสนุนจากภายนอกยังไม่สามารถ รายงานถึงความชัดเจนเป็นเหมือนเกมแย่งชิงมวลชนโลกอาหรับในเวลานั้น ระหว่าง อิหร่านกับซาอุดิอาระเบีย กรณีเหตุการณ์ในบาห์เรน เป็นเพียงการรายงานข่าวของตะวันตกที่กลุ่มผู้ประท้วงไม่มีสิทธิจะพูดอันใด เลย แต่จิตสำนึกของชาวบาห์เรนเองไม่เกี่ยวกับการช่วยเหลือจากอิหร่านแต่อย่างได เป็นบทพิสูจน์ที่ว่าผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ทราบถึงเม็ดเงินที่ให้การ สนับสนุนมาจากหัวใจของประชาชนชาวบาห์เรนมากกว่า ภาพที่ชัดจริงคือความเป็นเผด็จการของรัฐบาลอาหรับบาห์เรน เพราะการเพิ่มขึ้นของนิกายในภูมิภาค เมื่อสิ่งที่คนในรัฐบาลต้องยอมรับและเผชิญหน้ากับความเป็นจริง เพราะประชาชนในเวลานั้นพวกเขาไม่ต้องการที่จะทนต่อการกระทำของรัฐบาลอีกต่อ ไป แต่ความเจ็บปวดที่เกิดกับพี่น้องบาห์เรนคือ กองกำลังของประเทศซาอุดิอาระเบีย เข้ามาในประเทศบาห์เรนเมื่อเดือนมีนาคม และใช้ความรุนแรงปราบผู้ชุมนุมอย่าง โหดเหี้ยม ! โดยอ้างว่าเมื่อรู้ว่ารัฐบาลสูญเสียการควบคุม การกระทำของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียทำนั้นมีความเหมาะสมมากแค่ไหน ?!!
แต่ ในความเป็นจริง จากเสียงยืนยันของนักข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ กลุ่มประชาชนประท้วงด้วยความสงบไม่มีใครถืออาวุธแต่วัตถุประสงค์ของกองกำลัง รัฐบาลต้องการจะบดขยี้อยู่แล้ว เสียงได้ยินออกมาคือ บาห์เรนเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นถูกสร้างเป็นมายาคติว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องในการรายงาน ข่าวของตะวันตก และอีกสิ่งสำคัญคือสหรัฐก็ให้การสนับสนุนการปราบปรามในครั้งนี้อย่างชัดเจน
แต่ จากนั้นเหตุการณ์ยังไม่สิ้นสุด มีนักสิทธิมนุษยชนเดินทางเข้ามาในบาห์เรนอย่าง Maryam al-khwaja เธอเป็นนักต่อสู้เพื่อมนุษยชน แต่ในเวลานั้นก็ไม่ต่างอะไรกับผู้สื่อข่าวที่ทำงานแบบถูกควบคุมไม่สามารถ ให้การช่วยเหลืออันใดได้เลย บ้างก็โดนควบคุม ในเวลานั้นนักข่าวที่รายงานความเป็นจริงถูกควบคุมตัวในคุกและได้รับการทรมาน บางคนถึงกับเสียชีวิตจนถึงวันนี้ยังไม่ทราบถึงชะตากรรมและการตอบรับรายงาน จากรัฐบาลบาห์เรนแต่อย่างใด
นัก กิจกรรมทางการเมืองที่เรียกร้องสิทธิหลายคนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเพราะโดน กดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐองค์อย่าง al-wefaq, ซึ่งเป็นองค์ที่จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมในบาห์เรนเข้ามามีบทบาทใน เหตุการณ์ครั้งนี้ก็โดนรัฐบาลหมายหัวว่าเป็นก่อการร้ายด้วยเช่นกัน แต่บางสิ่งยังคงเป็นความหวังในเรื่องการเจรจากับรัฐบาลของตัวแทน อย่าง Kha al-marzooq ที่เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านของบาห์เรน เรียกร้องให้มีการประท้วงอย่างสงบและยังมีบทบาทมากในการขอเจรากับรัฐบาลใน ตอนนั้นท่านเป็นคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและ ยึดมั่นในหลักการแต่สิทธิเสรีภาพที่ แท้จริงก็ยังไม่เห็นมากในบาห์เรนในขณะนี้ สื่อทุกแขนงถูกควบคุมจากรัฐบาลนักข่าวที่เขียนข่าวถูกจำคุกในบาห์เรนเป็น เรื่องจริงที่เกิดขึ้นและไม่ได้รับการดูแลแต่อย่างใด นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในบาห์เรน !!!
สถาน ทูตบาห์เรนในสหรัฐมีชาวยิวเข้าไปทำงานได้แทนที่จะเป็นชาวมุสลิมที่มีความ สามารถ รัฐบาล บาห์เรนในตอนนั้นมีการว่าจ้างสำนักข่าวต่างประเทศให้รายงานข่าวเพื่อสร้าง ภาพให้ดูดีโดย 12 บริษัทถูกว่าจ้างมาจากสหรัฐ อังกฤษเพื่อลบร่อยรอยแห่งความโหดเหี้ยมที่รัฐบาลได้กระทำในเวลานั้น โดยมีการรับรู้จากทูตอิสราเอลในสหรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ในเวลานั้นรัฐบาลได้ว่าจ้าง โดยผ่านทูตในอังกฤษโดยมีเจ้าหน้าที่เป็นหญิงชาวคริสเตียนที่ทำงานอยู่ในนั้น เช่นกัน เกี่ยวกับการจัดหา การกระทำของรัฐบาลบาห์เรนเป็นเรื่องน่าเสียใจ
ใน เวลานี้ชนกลุ่มน้อยในบาห์เรนที่เป็น ยิวกับคริสเตียนเป็นชนกลุ่มน้อย ผู้ที่ทำงานองค์กรระดับสูงกลับเป็นชาวคริสเตียนกับชาวยิวที่อาศัยอยู่ใน บาห์เรน
เรื่อง นี้เกิดขึ้นจริงและเป็นประเด็นที่กลุ่มฝ่ายค้านรัฐบาลกำลังเรียกร้องสิทธิ ให้กับมุสลิม เพราะมาตรฐานสังคมในประเทศเป็นการเลือกปฏิบัติมากกว่า และโครงสร้างทางสังคม การศึกษา คุณภาพของคนในบาห์เรนยังคงอยู่ในระดับที่ไม่สมดุล
**หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์ จาก Nada alwadi ผู้สื่อข่าวชาวบาห์เรนที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ จาก frontline Indian magazine
อาจารย์ประจำศูนย์อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ