มุสลิมในปารีส สถานะทางสังคมและกระแสการเติบโต ตอนที่ 2

แม้ว่าเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในปารีสหลายครั้งที่ผ่านมาสร้างความสูญเสียให้กับประชาชน เมื่อผู้ก่อการร้ายพยายามที่จะสร้างความไม่มั่นคงให้กับประเทศนี้ ถือเป็นความสูญเสียต่อญาติมิตร ที่ต้องตกเป็นเหยื่อจากเหตุการณ์รุนแรงล่าสุดในวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 

ตัวผู้เขียนใช้เวลาอยู่ในปารีสและพอจะสัมผัสได้ว่าส่วนใหญ่แล้ว คนปารีสจะมี อัตลักษณ์ นิสัยที่ต่างกัน ในประเทศยุโรปก็คงจะไม่เหมือนกัน อย่างเช่น อิตาลี ที่มีมิตรไมตรี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถที่จะสัมผัสกับมันได้..โดยส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้นเท่าที่ได้พบเจอ  

ปัจจัยบางส่วนที่อาจจะเป็นไปได้ถึงต้นเหตุการณ์ความรุนแรง คือแรงเหยียด ความน้อยเนื้อต่ำใจ  การแบ่งชนชั้นที่เกิดขึ้นจริงในปารีสและเมืองใหญ่ๆ ในยุโรป เหตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นได้ นอกจากในฝรั่งเศสแล้วในอังกฤษหรือในสหรัฐที่มีเรื่องราวแบบนี้ อย่างกรณี การใช้อาวุธปืนกราดยิงในโรงเรียน ที่เคยได้ยินข่าวบ่อยครั้งในสหรัฐอเมริกา 

แรงกดดัน การโดนดูถูก สิ่งเหล่านี้มักจะเป็นแรงขับให้ทำอะไรแบบไม่ยั้งคิด จะนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ   ศาสนาอิสลามมักจะถูกตราหน้าถึงความรุนแรงอย่างหลีกไม่ได้ อิทธิพลของสื่อเป็นเหมือนปัจจัยที่จับต้องได้ หากมองกันด้วยเหตุผล ข่าวหน้าหนึ่งทุกหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หลายเล่มมีอิทธิพล ชาวฝรั่งเศสก็ให้เหตุผลแบบนั้น  ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและอิสลามผลสะท้อนยังเป็นทางด้านความสัมพันธ์ภาพที่ อ่อนแอ แต่ด้วยสติปัญญาก็ใช้ว่าการเสนอข่าวโจมตีอิสลามจะได้รับการยอมรับเสมอไป ด้วยการศึกษาและการตั้งข้อสังเกต ความเป็นจริงจึงเป็นเรื่องที่คนฝรั่งเศสสามารถที่จะรับรู้ได้ 

จากสถิติข้อมูลจาก สถาบันวิจัย Montaigne survey report 2016  สิ่งสำคัญที่สุดในอัตราการเข้ามัสยิดของชาวมุสลิมในฝรั่งเศสหรือเมืองใหญ่ อย่างปารีส  ความสำคัญโดยส่วนใหญ่จะให้เวลากับมัสยิดที่ต่างกัน เพราะถือว่ามัสยิดเป็นจุดศูนย์กลาง จากการสำรวจ 15 %ไปมัสยิดสัปดาห์ละครั้งในวันศุกร์ เป็นสภาวะแบบปรกติ  แต่อิสลามในฝรั่งเศสสามารถเข้าใจได้ จากที่สังเกตคือการไม่แสดงตัวตน กับด้วยภาวะที่จะก่อให้เกิดอันตราย 

จากจำนวนมัสยิดที่เพิ่มมากขึ้น แสดงออกถึงความกว้างไกล มีความก้าวหน้าเพื่อสนองต่อโครงสร้างของสังคม เพื่อรองรับผู้ทำพิธีทางศาสนาอย่างเพียงพอ และยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น  

จากรายงานผลในปี 20016 อิสลามยังคงได้รับความสนใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งที่แสดงให้เห็นจากภาพลักษณ์ที่เป็นจริง ที่มักจะสวนกระแสกับเหตุการณ์ที่สื่อนำเสนอคือ ความมีมารยาท ความอ่อนโยน ความสุภาพ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกมาจากมุสลิมที่มีแนวคิดสุดโตง แต่เป็นอิสลามที่ให้ความเข้าใจกับทุกศาสนิกได้อย่างดี การอยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรมที่ลงตัวได้  

จากจำนวนมัสยิดในปี 1978  ที่มีจำนวน 500 มัสยิด และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน มีมากถึง 2,300 มัสยิดที่กระจายอยู่ทั่วฝรั่งเศส   เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความแข็งแกร่งการตื่นตัว

การออกแบบมิได้ใช้ศิลปะจากอาหรับ แต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นกับศิลปะที่ลงตัวกับพื้นที่นั้นๆ  มัสยิดในยุโรปถูกออกแบบ ให้เป็นสไตล์ของตนเอง เข้ากับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่มีอยู่ แต่ขนาดที่เล็ก บางครั้งใช้พื้นที่แค่ 40 ตารางวา และพื้นที่ส่วนอื่นอีก 15 ตาราง ด้วยขอบเขตจำกัดและของต้นทุน ยกเว้นหากเป็นมัสยิดใหญ่ๆ อย่าง Great Mosque of Strasbourg ที่สามารถจุคนได้ถึง 1,200 คน (อ้างอิงนิตยสารนิวยอร์คไทม์ วันที่ 13-2-13)

มัสยิดในฝรั่งเศสเป็นเหมือนศูนย์ร่วมทางศาสนา มีกิจกรรมการรวมตัวเหมือนบ้านเรา จากที่ผ่านมามีผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม 100,000 คนในเวลานี้ จาก ประมาณ 50,000 คน.ในปี 1986 

อิสลามยังคงเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วมากในยุโรปตามข้อมูลจาก Pew Research ประมาณ 30 ล้านคน ในปี 1990 จะเพิ่มเป็น 53 ล้านคนในปี 2050  โดยหวังว่าแสงแห่งอิสลามจะสว่างขึ้น ความรุ่งโรจน์ที่จะมีขึ้นในดินแดนแห่งนี้ ขอพระองค์คงเมตตา 

อ่านต่อตอนต่อไป