วันนี้เมื่อพูดถึงประเทศอิหร่านในบริบทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและวิเคราะห์ วิกฤติการณ์ในตะวันออกกลางตามหลักภูมิรัฐศาสตร์ ประเด็นหนึ่งที่ประชาคมโลกและนานาประเทศจับตามองมากที่สุด คือ “โครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน” เนื่องจากชาติมหาอำนาจตะวันตกให้ความสำคัญ และพวกเขาถือว่าเป็นประเด็นสำคัญของความมั่นคงในภูมิภาคตะวันออกกลาง สื่อมวลชนระหว่างประเทศต่างนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง และลุ้นกันอย่างใจจดใจจ่อที่จะให้ปัญหาการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านบรรลุ ข้อตกลงในการเจรจา เพื่อนำไปสู่สันติภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง และคลี่คลายความตึงเครียดระหว่างชาติตะวันตกกับอิหร่าน
ย้อน ไปเมื่อปลายปี ค.ศ.1970 เกิดการปฏิวัติอิสลามในประเทศอิหร่านโดยการนำของ “อายะตุลเลาะฮ์ อิมามโคมัยนี” ประเทศอิหร่านได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญา- สิทธิราชย์ มาเป็น “สาธารณรัฐอิสลาม” ความสนอกสนใจของชาวโลกต่อประเทศนี้จึงยิ่งทวีคูณมากขึ้น เพราะเป็นการนำเอาระบอบ “เทวาธิปไตย” (Theocracy) ที่ยึดหลักศาสนากับการเมืองเป็นสิ่งเดียวกัน ความโดดเด่นของอิหร่านคือการใช้ “ศาสนานำการเมือง” นั่นคือ การเมืองกับศาสนาเป็นสิ่งเดียวกัน จึงจะเห็นว่าผู้นำระดับสูงของอิหร่านจะเป็นนักการศาสนา
ใน ยุคสมัยของประธานาธิบดี อาลี อัคบาร์ ฮาชิมี ราฟซันจานี (Ali-Akbar Hashemi Rafsanjani) ถือได้ว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รื้อฟื้นโครงการนิวเคลียร์หลังจากหยุดไปหลายปี พร้อมกับประกาศต่อสาธารณชนเรื่อยมาว่า ไม่ใช่โครงการเพื่อสร้างอาวุธนิวเคลียร์ แต่เป็นการสร้างพลังงานเพื่อสันติ
และ โครงการนิวเคลียร์นี้ก็สร้างความกังวลต่อชาติตะวันตกอย่างมากเมื่อ “มาห์มุด อาห์มาดิเนจาด” ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี 2005 โดยอาห์มาดิเนจาดมาพร้อมกับนโยบายแข็งกร้าวต่อชาติตะวันตกและประเทศอิสราเอล สั่งเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์เต็มกำลัง ประกาศว่าความก้าวหน้าด้านนิวเคลียร์ถือเป็นเกียรติภูมิของชาติ
จาก การเดินหน้าโครงการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติของอิหร่านได้เข้มข้นขึ้นใน สมัยการบริหารประเทศของ อาห์มาดิเนจาด ทำให้โครงการมีความก้าวหน้าอย่างมาก สหรัฐและบางประเทศในยุโรปถือว่าโครงการพัฒนานิวเคลียร์อิหร่าน “เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคตะวันออกกลาง” ในขณะเดียวกัน อิหร่านก็เชื่อว่าตะวันตกโดยรวม โดยเฉพาะสหรัฐฯ เป็นเสมือน “ศัตรูตัวฉกาจของอิสลามและอิหร่าน”
ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันดังกล่าวถือเป็นปัจจัยครอบงำที่ส่งผลโดยตรงถึงความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างประเทศของอิหร่านกับชาติตะวันตก
กระทั่ง เมื่อ ดร.ฮะซัน รูฮานี (Dr.Hassan Rohani) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของอิหร่านคนล่าสุด โดยได้รับคะแนนการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นจากประชาชน และถือว่ารูฮานีนั้นเป็นนักการเมืองในสายปฏิรูป เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล แต่ก็ยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอิสลาม ดังที่รูฮานีได้กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า ‘ข้าพเจ้าจะบริหารประเทศโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แก้ปัญหาคนว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ … และจะยึดมั่นในคำชี้แนะของผู้นำสูงสุดเพื่อบริหารประเทศบนแนวทางสายกลาง”
ส่วน นโยบายโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน ประธานาธิบดี ฮะซัน รูฮานี ได้มีท่าทีในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์บางอย่าง นั่นคือ แสดงจุดยืนในความชอบธรรมของโครงการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติ แต่กับบริบทความกดดันของชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ฮะซัน รูฮานี ประธานาธิบดีอิหร่าน ประกาศว่าอิหร่านพร้อมจะเจรจาข้อตกลงปัญหานิวเคลียร์อีกครั้ง ณ กรุงเจนิวา
และ ด้วยกับความพยายามทางการทูตของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็คาดหวัง จะให้การเจรจาในครั้งนี้บรรลุข้อตกลงและ ลงนามบางอย่างระหว่าง 6 ประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหรัฐ และ เยอรมนี หลังการเจรจานานถึง 5 วันในสวิตเซอร์แลนด์ โดยเชื่อว่าจะนำมาซึ่งสันติภาพในตะวันออกกลางและของโลกตามที่หลายฝ่ายมุ่ง หวัง ทั้งนี้ ได้ย้ำถึงสิทธิในการเพิ่มสมรรถนะแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาด้าน พลังงานในประเทศ
ถึง แม้ว่าสหรัฐฯ จะอ้างตลอดเป็นเวลา 8 ปีมาแล้วว่า อิหร่านนั้นใช้โครงการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติมาบังหน้าเพื่อพัฒนาอาวุธ นิวเคลียร์ แต่สหรัฐฯก็ไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจนมาพิสูจน์ความจริงได้ แม้กระนั้นก็ตาม ข้ออ้างของสหรัฐฯเรื่องโครงการอาวุธนิวเคลียร์อิหร่านก็ทำให้สหประชาชาติลง มติคว่ำบาตรอิหร่านมาแล้ว 4 รอบ
สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ข้อตกลงปัญหานิวเคลียร์อิหร่านที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่าง 6 ประเทศมหาอำนาจ (P5+1) และรัฐมนตรีอิหร่านได้ข้อยุติเป็นผลสำเร็จได้ จากการที่เหล่าประเทศมหาอำนาจร่วมเรียกร้องให้กรุงเตหะรานจำกัดนโยบาย นิวเคลียร์เพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจนาน 6 เดือน
พร้อมกัน นี้เหล่าชาติมหาอำนาจได้เสนอข้อแลกเปลี่ยนมาตรการผ่อนคลายการคว่ำบาตรทาง เศรษฐกิจให้กับกรุงเตหะราน และถ้ารัฐบาลอิหร่านยอมรับข้อเสนอ ทุกฝ่ายจะเดินหน้าหาข้อยุติในการตกลงยกสุดท้ายเพื่อให้แน่ใจว่า อิหร่านจะไม่ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ทางด้านหัวหน้านโยบายต่างประเทศของอียูเผย ว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IEAE จะเป็นผู้คอยดูแลควบคุมปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งนี้ และข้อตกลงชั่วคราวนี้จะทำให้มีระยะเวลาและโอกาสนำไปสู่ “การแก้ปัญหาที่ครอบคลุม” ต่อไปสำหรับโลกตะวันตกและอิหร่าน
เนื้อหา ในข้อตกลง ระบุให้ช่วงเวลา 6 เดือนนับจากนี้ อิหร่านต้องจำกัดการเพิ่มสมรรถนะแร่ยูเรเนียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตหัวรบนิวเคลียร์ และยุติการดำเนินการที่โรงงานนิวเคลียร์ในเมือง “อารัก” รวมถึงอนุญาตให้สหประชาชาติส่งตัวแทนเข้าสังเกตการณ์ความคืบหน้าได้ เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ นานาชาติ อาทิ จีน และสหรัฐฯ ต่างแสดงความยินดีกับข้อตกลงดังกล่าว โดยประธานาธิบดี “บารัก โอบามา” ของสหรัฐฯ แถลงว่า อิหร่านยังต้องเข้าร่วมเจรจาอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลในอีก 6 เดือน โดยในระหว่างนี้สหรัฐฯ จะยังไม่ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรใดๆ เพิ่มเติม
โอ บามา ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์จากนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่โจมตีข้อตกลงของที่ประชุม 6 ฝ่ายกับอิหร่าน ว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ ว่าเป็นการโอนอ่อนให้อิหร่านมากไป
ดัง นั้นการบรรลุข้อตกลงในครั้งนี้ของอิหร่านกับกลุ่ม 5+1 ณ กรุงเจนีวาล่าสุดชี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของนโยบายต่าง ประเทศของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ที่สำคัญการบรรลุข้อตกลงครั้งนี้ได้ทำให้โครงการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อ สันติของอิหร่านเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกอย่างเป็นทางการทันที
รายงาน ข่าวระบุอีกว่า ภายใต้ข้อตกลงนี้อิหร่านจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ยูเอ็นสามารถเข้ามาตรวจสอบ โครงการอาวุธนิวเคลียร์ได้มากขึ้น และได้รับการผ่อนคลายทางการค้ามูลค่ากว่า 6,100 ล้านดอลลาร์ ที่ทำให้อิหร่านต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ จำนวนนี้รวมทั้งการยึดทรัพย์สินของอิหร่านในต่างแดนเป็นจำนวนเงิน 4,200 ล้านดอลลาร์ โดยอิหร่านจะได้รับอนุญาตให้ชาวอิหร่านนอกประเทศสามารถส่งเงินกลับประเทศได้ รวมทั้งอนุญาตให้สามารถส่งออกปิโตรเคมีและวิศวกรรมยานยนต์ได้
นอกจาก นี้ รวมทั้งการยกเลิกการห้ามอิหร่านค้าทองคำ และจะไฟเขียวให้ธนาคารต่างๆ สามารถดำเนินธุรกรรมด้านการเงินกับอิหร่านได้ นอกจากนี้ยังจะมีการยกเลิกมาตรการขนส่งและประกันราคาน้ำมัน แต่ยังไม่มีการยกเลิกการห้ามอิหร่านขายน้ำมัน
ซัยยิด อับบาส อารักจีย์ และทีมเข้าร่วมเจรจาจากประเทศอิหร่านได้กล่าวว่า “การบรรลุข้อตกลงในครั้งนี้ของอิหร่านกับประเทศ 6 ชาติมหาอำนาจ ทำให้สิทธิการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านถูก ยอมรับจากประชาคมโลกอย่างเป็นทางการแล้ว”
อิหร่าน วันนี้ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นอีกครั้งว่า แท้จริงสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน โดยการนำของประธานาธิบดี ฮะซัน รูฮานี มีความปรารถนาจะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นแก่โลกใบนี้ พร้อมกับสำแดงเจตนารมณ์ว่าการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันตินั้นเป็นความชอบธรรม ของอิหร่าน ไม่ได้เป็นภัยคุกคามในภูมิภาคตะวันออกกลางหรือเป็นภัยก่อการร้ายแก่ประชาคม โลก เพราะอิหร่านได้ยึดหลักนโยบายหนึ่งคือ “รักษาความสัมพันธ์ต่อนานาประเทศอย่างสันติและจะไม่ก่อสงคราม”
เป็นหลักสันติวิธีโดยการเจรจา เพื่อหาทางออกกันทุกฝ่ายนั่นเอง!!
บรรณานุกรม
เดอะ พับลิก ออนไลน์
บทความโดย : ศราวุฒิ อารีย์, ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ศศิประภา อัครภูติ/พันธุ์ทิพย์ อีเมล์: pantip@infoquest.co.th
สำนักข่าว IMM วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2013
สำนักข่าวเพรสทีวี PRESS TV วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2013
www.immjournal.com
ผู้อำนวยการศูนย์อิสลามศึกษา/อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม