งานวิจัยชี้ “สงครามต้านก่อการร้าย” ของสหรัฐฯ ทำคนตายกว่า “ครึ่งล้าน” ในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอิรัก

เมืองโมซูล อิรัก /© Global Look Press / Murtaja Lateef

RT – งานวิจัยชิ้นใหม่เผย มีคนหลายแสนถูกสังหารในอิรัก อัฟกานิสถาน และปากีสถาน จากสงครามของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ซึ่งเปิดฉากหลังเหตุการณ์ 9/11 ผู้เขียนเตือนว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้

งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยสถาบันวัตสันเพื่อกิจการระหว่างประเทศและกิจการสาธารณะ แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ ระบุว่า ผู้คนระหว่าง 480,000 ถึง 507,000 คน ซึ่งรวมพลเรือน กองกำลังทหารและหน่วยบังคับใช้กฎหมายในท้องถิ่น ผู้ก่อการร้าย กองกำลังของสหรัฐฯ และพันธมิตร ได้ถูกสังหารนับตั้งแต่ที่สหรัฐฯ ได้เปิดฉาก “สงครามต่อก่อการร้าย” หลังการโจมตีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001

อิรักเป็นประเทศที่จำนวนพลเรือนเสียชีวิตสูงสุดในสงครามนี้ มีจำนวนระหว่าง 182,272 และ 204,575 คน พลเรือนเสียชีวิตนี้เป็นผลโดยตรงจากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ นับแต่ปี 2003 เป็นต้นมา

ในอัฟกานิสถานและปากีสถานมีผู้เสียชีวิตจำนวน 38,480 ราย และ 23,372 รายตามลำดับ

สหรัฐสูญเสียทหารเกือบ 7,000 คนในสงครามครั้งนี้

รายงานดังกล่าวให้ตัวเลขผู้ก่อการร้ายว่ากว่า 100,000 คนถูกสังหาร แต่ผู้เขียน “เนต้า ครอฟอร์ด” (Neta Crawford) กล่าวว่า ผู้คนเหล่านี้ถูกอธิบายอย่างนั้นตามกฎหมายท้องถิ่นหรือทหารสหรัฐฯ ซึ่งในความเป็นจริงอาจเป็นพลเรือนด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ครอบคลุมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตจริงที่เกิดจากการกระทำของสหรัฐฯ เนื่องจากไม่นับผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากผลกระทบทางอ้อมของสงคราม เช่น โรคภัย ทำลายโครงสร้างพื้นฐาน หรือการขาดแคลนอาหารน้ำและยา นอกจากนี้ยังไม่ได้รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตในความขัดแย้งของซีเรีย และไม่รวมถึงปฏิบัติการในลิเบียในปี 2011 ซึ่งในทางเทคนิคไม่นับเป็นส่วนหนึ่งของสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ

นอกจากนั้น ผู้เขียนยังกล่าวถึง “ข้อจำกัดในการรายงาน” และ “ความไม่แน่นอนที่สำคัญในเรื่องการนับจำนวนผู้ถูกฆ่าในสงคราม”

“แท้จริงเราอาจไม่เคยรู้จำนวนผู้เสียชีวิตโดยตรงทั้งหมดในสงครามเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น นับหมื่นพลเรือนอาจเสียชีวิตในการยึดคืนเมืองโมซูล และเมืองอื่นๆ จากไอซิส แต่ร่างกายของพวกเขาอาจไม่ถูกค้นพบ” ครอฟอร์ดกล่าว

อ่านรายงานของสถาบันวัตสันเพื่อกิจการระหว่างประเทศและกิจการสาธารณะ