โพลล์ ม.รังสิต หนุน “ประยุทธ์” พลิกแซงนั่งนายกฯ ทิ้งห่าง “สุดารัตน์-อภิสิทธิ์-ธนาธร-อนุทิน” หลายขุม ส่วนพรรคพลังประชารัฐ พุ่งพรวดครองใจประชาชนชื่นชอบมากสุด
รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้อำนวยการโครงการสำรวจความนิยมของนักการเมืองที่ประชาชนปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 กล่าวว่า วิทยาลัยฯ ได้ทำการรวบรวมประชากรครั้งละ 8,000 ตัวอย่างใน 350 เขตเลือกตั้งใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ตามโครงสร้างของประชากรไทยในปัจจุบันคือ ภาค อาชีพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ฯลฯ ด้วยระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 90% การสำรวจดำเนินการมาแล้ว 4 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ผลการสำรวจพบว่า ผู้ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนทั่วประเทศมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 29.34% 2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 26.24% 3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.74% 4) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 10.61% และ 5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 4.54% และอื่นๆ ที่เหลือ 4.53%
การสำรวจครั้งที่ 2 วันที่ 13 มิถุนายน 2561 พบว่า คะแนนนิยมของประชาชนทั่วประเทศที่อยากได้คนเป็นนายกรัฐมนตรี เรียงตามลำดับดังนี้คือ 1) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 19.34% 2) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 17.31% 3) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 8.93% 4) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 5.68% 5) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 4.36% และ 6) อื่นๆ ที่เหลือ 37.61%
ผลการสำรวจครั้งที่ 3 วันที่ 15 ตุลาคม 2561 คะแนนนิยมผู้ที่ประชาชนปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 19.62% 2) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 16.91% 3) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 16.43% 4) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 14.42% 5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 3.52% และ 6) อื่นๆ ที่เหลือ 29.10%
ผลการสำรวจครั้งที่ 4 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 คะแนนนิยมผู้ที่ประชาชนปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 27.06% 2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 18.16% 3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 15.55% 4) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 9.68% 5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 2.26% และ 6) อื่นๆ ที่เหลือ 27.30%
เมื่อถามว่าถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ท่านจะเลือกท่านจะเลือกพรรคการเมืองใด ครั้งที่ 1 (1 พฤษภาคม พ.ศ.2561) พรรคพลังประชารัฐ 28.82% พรรคเพื่อไทย 30.48% พรรคประชาธิปัตย์ 25.71% พรรคภูมิใจไทย 11.31% พรรคอนาคตใหม่ 0.00% อื่นๆ 3.68%
ครั้งที่ 2 (13 มิถุนายน พ.ศ.2561) พรรคพลังประชารัฐ 19.11% พรรคเพื่อไทย 37.94% พรรคประชาธิปัตย์ 27.18% พรรคภูมิใจไทย 5.60% พรรคอนาคตใหม่ 4.93% อื่นๆ 5.24%
ครั้งที่ 3 (15 ตุลาคม พ.ศ.2561) พรรคพลังประชารัฐ 21.93% พรรคเพื่อไทย 28.32% พรรคประชาธิปัตย์ 19.77% พรรคภูมิใจไทย 3.54% พรรคอนาคตใหม่ 14.43% อื่นๆ 12.01%
ครั้งที่ 4 (24 พฤศจิกายน พ.ศ.2561) พรรคพลังประชารัฐ 26.61% พรรคเพื่อไทย 23.64% พรรคประชาธิปัตย์ 19.01% พรรคภูมิใจไทย 2.50% พรรคอนาคตใหม่ 8.84% อื่นๆ 19.40%