โลกออนไลน์อาหรับขุดขึ้นมาแฉ “ราฮาฟ” สาวซาอุฯ “โชว์เซ็กส์หวิว-สูบบารากู่-อัพยา-กินเหล้า-กินหมู”

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกเฝ้าดูภารกิจทางการทูตและมนุษยธรรมในการช่วยเหลือสาววัยรุ่นซาอุฯ ที่หลบหนีครอบครัวออกจากคูเวตระหว่างเดินทางท่องเที่ยว โดยเธอหวังเดินทางไปออสเตรเลีย แต่มาถูกกักอยู่ที่สนามบินไทยเสียก่อน

“ราฮาฟ มูฮัมหมัด อัลกูนุน” อายุ 18 ปี ขังตัวเองในห้องพักของโรงแรมต่อต้านการถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง แต่ที่สุดก็กลายเป็นตอนจบที่มีความสุขสำหรับเธอ รวมทั้งความยินดีปรีดาขององค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ หลังเธอสามารถบินออกจากประเทศไทยไปยังโตรอนโต แคนาดา ซึ่งรับเธอเป็นผู้ลี้ภัย

กระนั้น นับตั้งแต่เธอยังถูกกักตัวอยู่ที่สนามบินสุวรรณูมิมาจนถึงวันนี้ ในโลกออนไลน์ของชาวอาหรับได้มีการขุดข้อมูลของราฮาฟขึ้นมาแฉ โดยเฉพาะข้อมูลจากบัญชีทวิตเตอร์ @vbipx ที่ถูกระบุว่าเป็น “บัญชีจริง” ของเธอ และว่านี่คือ “ดาร์กไซด์” หรือ “ด้านมืด” ของราฮาฟ

https://twitter.com/AbuNawaf_966/status/1084122329444241409

นอกจากนั้นยังมีคำถามและข้อสงสัยอีกมากมายที่โซเชียลชาวอาหรับตั้งข้อสันนิษฐาน ซึ่งทางกองบก.ได้รวบรวมมา เพื่อเป็นข้อมูลอีกด้าน ท่ามกลางความสงสัยมากมายเกี่ยวกับกรณีนี้ มาดูกันว่าเธอถูกขุด-แฉอะไรบ้าง :

ขุดคลิปดูดบารากู่ “จิ๊กซอว์แรก” โยงสู่ความฉาวกว่า

คลิปที่เธอสูบและพ่นควันบารากู่พวยพุ่งกลายเป็นคลิปที่ถูกแชร์สนั่นโซเชียลอาหรับ พวกเขาต้องการชี้ให้เห็นว่าเธอไม่ใช่เด็กวัยรุ่นใสซื่อไร้เดียงสา แต่เป็นสาวแสบมากพอควร กระนั้นการสูบบารากู่นี้นี้ก็เป็นเพียงน้ำย่อยของการถล่มเธอเท่านั้น เพราะคลิปนี้คือจิ๊กซอร์ที่จะโยงไปสู่ความฉาวโฉ่กว่า

เซ็กส์โชว์และยาเสพติด??

เสื้อผ้าที่เธอสวมใส่ในภาพขณะสูบบารากู่ถูกโยงกับอีกคลิปที่มีหญิงชายคู่หนึ่งกำลังมีเพศสัมพันธ์กันอย่างดุเดือด แม้จะไม่เห็นหน้าผู้หญิงในคลิปชัดเจน แต่เสื้อที่ผู้หญิงสวมใส่นั้นก็เป็นเสื้อผ้าที่มีลายเดียวกันกับที่ราฮาฟสวมขณะสูบบารากู่ โลกโซเชียลอาหรับระบุว่า นี่ไม่ใช่คลิปหลุด แต่เป็นเธอเองที่โพสต์ในทวิตเตอร์อวตาร ซึ่งถูกระบุว่าเป็นบัญชีจริงที่เธอใช้ก่อนที่จะเปิดอีกบัญชีสำหรับร้องขอการลี้ภัย

ยิ่งไปกว่านั้นจากคลิปดังกล่าว โซเชียลอาหรับยังตั้งข้อสังเกตว่า มีแผงยาจำนวนหนึ่งปรากฏอยู่ในคลิปด้วย แม้ผู้ใช้โซเชียลจะระบุไม่ได้ว่าคือยาประเภทใด แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง ทั้งโยงไปว่าที่เธอสูบบารากู่นั้นก็อาจผสมยาเสพติดด้วยเช่นกัน

กินไวน์เย้ยตั้งแต่อยู่บนเครื่องไปแคนาดา

ตั้งแต่วันเสาร์ ที่ 12 ม.ค. ซึ่งราฮาฟ ขึ้นเครื่องออกจากไทยเพื่อลี้ภัยไปยังแคนาดา เธอได้โพสต์​ผ่านทวิตเตอร์ เป็นภาพนั่งอยู่บนเครื่องพร้อมถือหนังสือเดินทางซาอุฯ และอีกภาพเป็นภาพหนังสือเดินทางซาอุดิอาระเบียวางอยู่บนตักของเธอ กับมือถือแก้วที่มีไวน์แดงเต็มอยู่ด้วย โดยแคปชั่นว่า #ประเทศที่สาม #ฉันทำได้แล้ว

ผู้ใช้โซเชียลอาหรับตั้งข้อสังเกตว่า การโพสต์ภาพแก้วไวน์แดงเคียงคู่หนังสือเดินทางซาอุฯ นี้ ไม่ใช่เป็นความเผลอเรอ แต่เป็นความตั้งใจของเธอ ที่ต้องการสื่อสารไปยังทางบ้านหรือทางการซาอุฯ ซึ่งมีนัยยะแห่งการเยาะเย้ยบางอย่าง

กินเบคอนหมู โชว์กาแฟสตาร์บัคส์บนขาเปลือยเปล่า

ไม่นานหลังเดินทางถึงแคนาดา เธอแชร์รูปภาพบนแอพสแนปแชท (Snapchat) เกี่ยวกับอาหารเช้าของเธอซึ่งเป็นเบคอนสไตล์แคนาดาและไข่ ที่มีคำบรรยายภาพว่า ‘Omg เบคอน’ พร้อมด้วยอิโมจิหัวใจและธงแคนาดา อีกยังแบ่งปันภาพกาแฟยามเช้าของเธอจากสตาร์บัคส์ด้วยชุดขนสัตว์สีเทาสั้นจู๋ซึ่งอวดขาเปลือยเปล่าของเธอด้วย ในความเห็นของชาวอาหรับแน่นอนว่า นี่คือสารแห่งการเยาะเย้ย ถากถาง และท้าทายเช่นเดียวกัน

 

ทั้งนี้ นอกจากการขุดเรื่องราวของเธอออกมาแฉแล้ว โลกอาหรับก็ยังมีคำถาม ข้อสงสัย  และข้อสันนิษฐานหลายประการต่อกรณีของสาวซาอุฯ คนนี้ ซึ่งกองบก.ได้รวบรวมส่วนหนึ่งที่สำคัญมาผนวกกับข้อสังเกตของกองบก. ดังนี้

ใครถ่ายภาพนี้??

ตอนที่เธออ้างว่าขังตัวเองในโรงแรมที่สนามบิน และองค์กรสิทธิบางแห่งรวมทั้งนักข่าวก็ออกมายืนยันว่าเป็นภาพเธอในโรงแรมจริง แต่คำถามก็คือ ใครถ่ายภาพนี้ให้เธอ ในเมื่อราฮาฟบอกว่าขังตัวเองอยู่ในห้องพักคนเดียว และใช้กล้องจากไหนถ่ายในเมื่อโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือของเธอ หรือในห้องมีบุคคลอื่น??

มีใครร่วมมือกับการหลบหนีของเธอหรือไม่??

บัญชีทวิตเตอร์ที่เธอใช้สื่อสารกับโลกภายนอกจนเกิดเป็นกระแส เป็น “บัญชีใหม่” ที่เพิ่งถูกเปิดขึ้นมาหลังเธอเดินทางมาถูกกักตัวที่สนามบินไทย ทว่าการทวีตจากบัญชีใหม่ของเธอที่ไม่ได้มีผู้ติดตามเลย (ในทีแรก) กลับสามารถสื่อสารอย่างรวดเร็วไปถึงนักข่าวและองค์กรสิทธิฯ ได้อย่างไร อีกนักข่าวและองค์กรสิทธิฯใช้อะไรมาเป็นบรรทัดฐานในการตรวจสอบจน “เชื่อถือ” ผู้ใช้บัญชีใหม่นี้ในเวลาที่สั้นกระชั้นชิด คำถามคือ “มีการเตี๊ยมหรือนัดแนะกันไว้ล่วงหน้าแล้วหรือไม่” กับสื่อบางรายและองค์กรสิทธิมนุษยชนบางองค์กร

ถ้าถูกส่งกลับซาอุฯ แล้วจะถูกครอบครัวฆ่าจริงหรือ??

เธออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือถูกครอบครัว “ฆ่า” หากถูกส่งกลับซาอุฯ นี่เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาประโคมใหญ่โตจากสื่อและองค์กรสิทธิฯ จนกลายเป็นกระแส #ปกป้องราฮาฟ ทว่านอกจาก “คำกล่าวอ้าง” ของเธอ “เพียงฝ่ายเดียว” เท่านั้น ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใดๆ ที่ชัดเจนว่าจะสถานการณ์จะเป็นเช่นที่เธอกล่าวอ้าง

สิ่งที่นักสิทธิยกมาสนันสนุนข้อสันนิษฐานของตนเองก็คือการสร้างภาพว่าวัฒนธรรมชนเผ่าแบบอาหรับหรือมุสลิมตะวันออกกลางนั้นมีความโหดร้าย และการยกเหตุการณ์หญิงซาอุฯ ที่ถูกส่งตัวกลับจากฟิลิปปินส์ ซึ่งไม่มีข่าวคราวของเธอเลยจนบัดนี้มาเป็นกรณีเทียบเคียง แล้วก็คาดเดาว่ากรณีราฮาฟก็จะมีโอกาสเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ข้อเท็จจริงยังไม่ได้รับการพิสูจน์ใดๆ

พ่อไม่ใช่มุสลิมอนุรักษ์นิยม

คลิปหนึ่งจากโซเชียลอาหรับได้เผยให้เห็นว่า ราฮาฟนั่งอยู่บนรถพ่อของเธอในสภาพที่ไม่ได้สวมผ้าคลุมฮิญาบ และดูมีความสุข จากตรงนี้จึงอนุมานได้ว่า พ่อของเธอไม่ใช่มุสลิมแบบอนุรักษ์นิยม หรืออยู่ในแนวทางอิสลามแบบเคร่งครัด มิฉะนั้นเขาคงบับคับราฮาฟให้สวมผ้าคลุมตลอดเวลา

https://twitter.com/Moh1233218/status/1083866107390373888

นอกจากนั้นจากข้อมูลของโซเชียลอาหรับระบุว่า เขาเป็นคนมีมีการศึกษาสูง  มีฐานะ มีหน้าที่การงานระดับสูง เป็นผู้ว่าการจังหวัดแห่งหนึ่ง ในแคว้นฮาอิล ในประเทศซาอุฯ อีกทั้งการที่ราฮาฟสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีนั้นย่อมแสดงว่าครอบครัวนี้ส่งเสริมเรื่องการศึกษาของลูกๆ

บุคคลเช่นพ่อของราฮาฟจึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนเปิดกว้าง ดังนั้นจึงควรมีหลักฐานที่เพียงพอและแน่นหนามากกว่านี้ก่อนจะสรุปและเชื่อว่า เขาจะเป็นคนที่สามารถฆ่าลูกของตนเองได้หากถูกส่งกลับไป

แยกให้ออก ซาอุฯ มิใช่อัฟกานิสถาน

“การฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ” ถูกนำมาเป็นข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นสิ่งที่ราฮาฟต้องประสบหากเธอถูกส่งตัวกลับ ทว่าในความเป็นจริง การฆ่าเช่นนั้นที่ปรากฏเป็นข่าวส่วนใหญ่มักเกิดในประเทศ “อัฟกานิสถาน ปากีสถาน หรืออินเดีย” มิใช่ใน “ซาอุดิอาระเบีย” ถึงแม้ว่าจะปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมชนเผ่าเช่นนั้นจะมีอยู่จริงในประเทศอาหรับทว่าก็มิค่อยปรากฏเป็นข่าวมากนัก หรือถ้ามีก็มักเกิดในประเทศอาหรับยากจน อีกทั้งแม้จะเกิดในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย หรือแม้กระทั่งประเทศอาหรับก็มักเกิดในย่านชนบท ห่างไกลความเจริญ ที่ประเพณี วัฒนธรรมแบบชนเผายังคงมีอิทธิพลสูง ดังนั้นการคาดเดาเอาว่า ทุกสังคมของตะวันออกกลางหรือสังคมมุสลิม จะเป็นเช่นเดียวกันนั้นจึงเป็นความลำเอียงและอคติจนเกินไป

อีกทั้งเมื่อพิจารณาถึงครอบครัวของราฮาฟที่ถือได้ว่าเป็นครอบครัว “หัวก้าวหน้า” ของชาวอาหรับ จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องมีหลักฐานแน่นหนาหากจะเชื่อว่า ครอบครัวนี้จะถึงขึ้นลงมือ “ฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ”

เกมการเมือง

การที่ UNSCR ร้องขอให้แคนาดายอมรับราฮาฟเป็นผู้ลี้ภัย มันบอกถึงกระบวนการจัดการ “ที่มีปัญหา”​ของหน่วยงานระดบนานาชาติ เพราะวางการตัดสินใจอยู่บน “กระแส” และมันอาจเป็นอันตรายอย่างมากในอนาคตต่อการรับผู้ลี้ภัยที่เกี่ยวข้องกับการแอบอ้างที่เป็นเท็จ

การรับรองสถานะผู้ลี้ภัยโดยไม่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง (Facts) และแหล่งที่มา (Sources) หรือตรวจสอบอย่างไม่เพียงพอ จึงอาจถูกสันนิษฐานได้ว่า ไม่มีอะไรที่มีเป็นเหตุผลด้านมนุษยธรรม ทว่าเป็นเพียงแค่ “เกมการเมือง” เท่านั้น

แน่นอนว่า คำถามและข้อสงสัยเหล่านี้ล้วนยังเป็นข้อสันนิษฐาน และแม้กระทั่งเรื่องราวการขุดขึ้นมาแฉในโลกอาหรับก็ยังเป็นหลักฐานที่ยังไม่ได้มีการตรวจสอบ ทว่าก็จะเป็นข้อมูลอีกด้านท่ามกลางกระแสความยินดีปรีดาของหลายฝ่ายต่อความสำเร็จในการลี้ภัยของราฮาฟครั้งนี้ ซึ่งก็ไม่แน่ว่ากรณีนี้อาจกลายเป็น “กล่องแพนโดรา” ที่ถูกเปิดออกมาและปล่อยกลิ่นอายความชั่วร้ายให้พวยพุ่งตรงเข้าไปกัดกินผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้มาปิดกล่องนี้ …ซึ่งเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์!!