หนังสือพิมพ์ นิวยอร์ค ไทม์เขียนวิเคราะห์วิจารณ์การเมืองไทยครั้งนี้ ทำให้พรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์เสียรูปมวยไปมาก เพราะเขาหาว่าพรรคกำลังละทิ้งแนวทางรัฐสภา หันไปปลุกระดมข้างถนนแทนโดยอ้างว่า เป็นการเลียนแบบอาหรับสปริง
การพูดไฮปาร์คของพรรคประชาธิปัตย์ข้างถนนครั้งล่าสุดนั้น นิวยอร์คไทม์บอกว่า พรรคนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก จากพรรคที่สุภาพ เป็นผู้ดี กลายเป็นพรรคที่ด่านายกฯหญิงอย่างหยาบคาย ไร้รสนิยม ไม่ใช่การวิจารณ์แบบการเมืองทั่วไป
คง ไม่มีอะไรต้องอับอายกันอีกต่อไปแล้วกับวิธีการของนักการเมืองฝ่ายค้านในสภา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งยื้อยุดฉุดกระชาก ตบตำรวจสภา ด่าประธาน และส่งเสียงกรีดร้องอันโหยหวนที่ดังไปทั้งสภาและดังไปทั้งโลก จนถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ใหม่มากในสภา
ไม่ ได้เครียดอะไรหรอกครับ ทั้งขำและประหลาดใจซะมากกว่า เพราะการเมืองไทยระยะหลังๆมานี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างสีสันเอาไว้มากจนน่าตกใจ แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้สภาไต้หวันได้อายกันบ้างละ เพราะได้พบลีลาที่เหนือกว่าของนักการเมืองฝ่ายค้านไทย
ส.ส.ใน สภาไต้หวันตบตีกันในสภาอย่างน่าเกลียดอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อเจอส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้เข้า ส.ส.ไต้หวันก็กลายเป็นเด็กๆไปทันที เพราะส.ส.ไทยนั้นเหนือชั้นกว่ามาก
อย่าง น้อย นักการเมืองไต้หวันก็ไม่เคยปาเอกสารใส่ประธานสภา ลากประธานลงจากเก้าอี้ เอาเก้าอี้ประธานไปซ่อนเมื่อหลายเดือนมาแล้ว (ยังดีที่ไม่ลากประธานสภาไปกระทืบ)
เมื่อ สัปดาห์ก่อน ส.ส.ฝ่ายค้านก็ใช้วิธีใส่ร้ายป้ายสีก่อกวนไม่ให้มีการอภิปรายกระทั่งส.ส.ของ พรรคตัวเอง เพื่อให้เสียเวลาให้มากเท่าที่จะทำได้ เพราะคิดว่า ถึงเวลาลงมติก็แพ้อยู่ดี จึงต้องกวนซะให้เข็ด
ทั้งหมด นั้น เกิดจากการอภิปรายเรื่องที่มาของสว.ในสภานั่นเองที่ทำให้เห็นอะไรต่ออะไร หลายอย่างในขบวนการการเมืองไทย ทำให้ได้รู้ว่า คนบางกลุ่มบางพวกทั้งในสภาและนอกสภา พากันหวาดกลัวและหวั่นไหวกับการเลือกตั้งเพียงไหน
เห็น ได้ชัดว่า พรรคฝ่ายค้านเริ่มมีความโน้มเอียงไปในทิศทางเดียวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยซึ่งต่อต้านการเลือกตั้งทุกชนิด โดยเน้นการเข้าสู่อำนาจด้วยการทำรัฐประหารโดยกองทัพ มากกว่าจะสร้างอำนาจด้วยวิธีอื่นๆโดยเฉพาะการเลือกตั้ง กลายเป็นอาการของโรคชนิดหนึ่งคือ โรคกลัวการเลือกตั้งขึ้นสมอง
กลุ่ม คนเหล่านี้ อ้างว่า การเลือกตั้งจะทำให้ถูกแทรกแซงจากพรรคการเมืองที่มีอำนาจ โดยเฉพาะสว.ที่จะเป็นผู้พิจารณาตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ เช่น ปปช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรืออื่นๆ กลัวอำนาจจะเป็นของประชาชนจริงๆ
ด้วย เหตุนี้จึงไม่อาจจะไว้ใจประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งนับล้านๆคนในประเทศ แต่ไว้ใจคนเพียง6-7 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากตุลาการ จะเป็นผู้คัดเลือกสว.สายอาชีพจากองค์กรต่างๆ เช่น สมาคม มูลนิธิฯต่างๆ
ซึ่ง วิธีการเลือกสว.เหล่านี้พูดตรงๆก็มาจากคณะรัฐประหารนั่นเองที่ต้องสงวนอำนาจ ในการแต่งตั้งเอาไว้คานอำนาจกับตัวแทนที่ประชาชนเลือกมา โดยอ้างว่า เป็นสว.ตัวแทนจากสาขาวิชาชีพต่างๆ ไร้กลิ่นอายการเมือง ซึ่งความจริง มันก็มาจากการเมืองทั้งนั้นแหละ
องค์กร สายวิชาชีพเหล่านั้นบางแห่งไม่มีตัวตน บางแห่งไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการเป็นสว.เอาเสียเลย เป็นแค่ฉากบังหน้าเพื่อให้คนเหล่านี้เข้าสู่อำนาจการเมือง โดยยึดโยงกับประชาชนกลุ่มเล็กๆที่เลือกสรรหากันเองภายในองค์กร สมาคม มูลนิธิชื่อแปลกๆสักแห่งหนึ่งซึ่งไม่เคยมีใครรู้จักหรือได้ยินในเมืองไทยมา ก่อน
กลุ่ม 40 สว.สรรหาทั้งหลายนั้นส่วนใหญ่ก็เกิดจากโควตาของคณะรัฐประหารนั่นแหละ ขืนให้ลงเลือกตั้งก็คงจบเห่ จึงหาหนทางที่จะยื้อตำแหน่งที่เป็นฐานการเมืองให้ฝ่ายที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ทำมาหากินกับการเป็นสว. ไปเที่ยวเตร่ดูงานได้ทั่วโลกด้วยเงินภาษีอากรต่อไป
แต่ สว.จากการเลือกตั้งที่ฟากรัฐบาลสนับสนุนก็ยังถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีต่อไป ว่า เป็นสภาผัวเมียลูกเต้าเหลนโหลน ซึ่งจะว่าไป ส.ส.เองก็มีสภาพเดียวกัน ส่วนมาก พ่อแม่เป็นนักการเมือง คลุกคลีอยู่กับวงการเมือง
ก็ ไม่แปลกที่ลูกหลานก็อยากจะใช้โอกาสนั้นเข้าสภาเหมือนกัน เรียกว่า เป็นนักการเมืองกันทั้งบ้าน แล้วก็เป็นทั้งโลก ไม่ใช่แค่เมืองไทย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ปัญหามีเพียงว่า ประชาชนเขาเห็นด้วยหรือเปล่าเท่านั้นแหละ
น่า เสียดายเต็มทีที่พรรคการเมืองเก่าแก่แห่งนี้ซึ่งเติบโตมาจากการเลือกตั้ง แล้วก็ต้องมีแนวทางที่จะต่อต้านอำนาจเผด็จการโดยสัญชาตญาณ แต่ดันกลายเป็นพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ใฝ่ฝันถึงอำนาจอื่นๆมากกว่าอำนาจประชาชน
น่า เสียดายที่พรรคการเมืองเก่าแก่แห่งนี้ไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตย ไม่ยอมรับเสียงข้างมาก เห็นว่าเสียงข้างมากคือเผด็จการรัฐสภา ซึ่งเป็นความคิดเดียวกับตุลาการชื่อดังท่านหนึ่งซึ่งยกย่องว่า พรรคใดที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก คือความชั่วร้าย เป็นเผด็จการรัฐสภา สู้พรรคการเมืองเสียงข้างน้อยที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เลือก เป็นพรรคการเมืองที่บริสุทธิ์ เป็นคนดีศรีแผ่นดิน สมควรที่จะมาจัดตั้งรัฐบาลมากกว่า เป็นยังงั้นไป
พรรคการเมือง เก่าแก่ กลุ่มการเมืองเส้นใหญ่ ตุลาการบางคนเหล่านี้ ล้วนดูถูกเหยียดหยามประชาชนว่า โง่เขลา ถูกจ้างวาน ซื้อขายง่าย ความคิดงมงายเหล่านี้มีมาตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 โน่น
81 ปีมานี้ โลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว ความคิดของคนเหล่านี้ก็ยังไม่เคยเปลี่ยน สิ่งที่กำลังอภิปรายในสภาทุกวันนี้ก็คือการต่อต้านการเลือกตั้งสว.ของ ประชาชน เพื่อช่วยให้เผด็จการทหารและฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังคงสถิตอยู่ในเมืองไทยต่อไป และยังช่วยกันถ่วงทุกอย่างไม่ให้ประเทศก้าวต่อไปในสังคมโลก
เหตุการณ์ ล่าสุดก็คือการประท้วงเรื่องราคายางซึ่งกำลังตกต่ำลงทั่วโลก แต่การประท้วงรัฐบาลของชาวสวนยางภาคใต้(ต่อไปอาจจะมีภาคอื่นๆเข้าร่วมด้วย) กลับเป็นไปอย่างดุเดือด แต่ข้อสรุปจะออกมาในรูปใด ก็ยังไม่มีใครคาดคิดได้
รัฐบาลจะไม่รีบแก้ไขโดยการเข้าช่วยเหลือชาวสวนยางอย่างจริงจังคงไม่ได้แล้ว เพราะความเดือดร้อนของคนส่วนใหญ่นั้นมีอยู่จริง
และ ยังมีพรรคการเมืองเก่าแก่ที่เป็นเจ้าของพื้นที่คอยจ้องตาเป็นมันอยู่ตลอด เวลาว่าจะเข้าไปมีบทบาทในการนำได้อย่างไร เพื่อให้เหตุการณ์นั้นรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก ไม่ยอมให้เรื่องนี้จบสวยอย่างแน่นอน เพราะการที่ชาวบ้านได้ประโยชน์ ก็ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมืองที่ดูแลพื้นที่นี้อยู่จะได้ประโยชน์ไปด้วย เผลอๆจะยิ่งพังมากกว่าเดิม
แต่ โดยรวมแล้ว มันแสดงให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์กำลังตกต่ำอย่างหนักในยุคของผู้นำที่หนุ่มที่สุด ไม่ว่าคนในพรรคที่มีเหตุมีผลอย่างอลงกรณ์ พลบุตรจะเคลื่อนไหวที่แลดูเข้าท่าอย่างไร ก็ดูเหมือนจะไร้ประโยชน์ และไม่ทันการเสียแล้ว
ความ เสื่อมที่ไม่รู้ตัวว่า เสื่อมนั้นน่ากลัวกว่าอะไรทั้งหมด ไม่ใช่แค่ผู้นำหนุ่ม แต่ยังหมายถึงแกนนำแก่ๆที่เก๋าเกมที่สุดก็ยังพลอยไม่รู้ถึงความเสื่อมเหล่า นั้นเสียด้วยซิ.