โดรนฮูซีโจมตีท่อส่งน้ำมันในดินแดนซาอุฯ สัญญาณ “ความซับซ้อนระดับใหม่”

โดรนที่ผลิตโดยฮูซี
โดรนที่ผลิตโดยฮูซีแห่งเยเยมนนั้นมีงานสร้างและความสามารถที่เกือบเหมือนกันกับโดรนของอิหร่านรุ่น Qasef-1 UAV [File: Jon Gambrell/AP]

โดรนที่โจมตีท่อส่งน้ำมันของซาอุดิอาระเบียทางตะวันตกกรุงริยาดเมื่อวันอังคาร (14 พ.ค) นับเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญที่ได้เผยให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มต่อสู้ “อันซอรุลเลาะห์” (Ansar Allah) แห่งเยเมน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “ฮูซี” (Houthis)

ท่อส่งน้ำมันตะวันออก – ตะวันตกของบริษัทอารามโก ที่ทอดยาวข้ามประเทศไปยังท่าเรือและคลังน้ำมันที่เยนบู (Yenbu) ได้รับความเสียหายในสถานที่สองแห่งเนื่องจากสถานีสูบน้ำถูกโจมตี

การโจมตีดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย แต่ก็สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาคมระหว่างประเทศที่ถูกเขย่าขวัญอยู่แล้วอันเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาที่ตกต่ำอย่างหนัก

ข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีนั้นหายาก ทำให้เกิดคำถาม มากกว่าที่จะมีการตอบคำถาม

สัญญาณของความซับซ้อน

โดรนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นโดยกลุ่มฮูซีในปฏิบัติการต่อต้านพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย – ยูเออี ในเดือนกรกฎาคม 2018 โดรนระเบิดที่สนามบินอาบูดาบีทำให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นการ “ส่งข้อความ” ยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของมันไม่มั่นคงอีกต่อแล้ว

ในเดือนมกราคม 2019 หัวหน้าหน่วยข่าวกรองอาวุโสพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หลายคนถูกสังหารที่ฐานทัพอากาศอัล – อานันนอกเอเดนด้วยโดรนติดอาวุธที่ระเบิดขึ้นเหนือคณะผู้แทนชุดนี้

ในเดือนมีนาคม ฮูซีได้ปล่อยภาพวิดีโอของโดรนที่บินผ่านโรงบำบัดน้ำและโรงไฟฟ้าอัล-ชูเกก (al-Shuqaiq) ของซาอุดิอาระเบียที่ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนเยเมน 130 กม.

มันไม่ได้ถูกโจมตี แต่คำเตือนนั้นชัดเจน

ฮูซี ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้อย่างไร

นักวิเคราะห์มีความเห็นแตกต่างกันต่อขอบเขตของความช่วยเหลือที่อิหร่านมอบให้กับฮูซี

รายงานขององค์การสหประชาชาติที่ส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเดือนมกราคม 2561 พบหลักฐานที่น่าสนใจว่า โดรนที่ผลิตในประเทศเยเมนนั้น “มีงานสร้างและความสามารถ” ที่เกือบเหมือนกันกับโดรนของอิหร่านรุ่น Qasef-1 UAV

โดรนรุ่นนี้ถูกนำทางโดยจีพีเอง (GPS) ไปยังเป้าหมาย ซึ่งมักจะพุ่งเข้าไปยังเป้าหมายเพื่อสร้างความเสียหาย

โดรนฮูซี ได้ใช้ชิ้นส่วนที่มีขายเชิงพานิชย์ในตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยมีความขัดแย้งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับนวัตกรรมการออกแบบ

ซามี ฮัมดี (Sami Hamdi) หัวหน้าบรรณาธิการของวารสารดอกเบี้ยระหว่างประเทศ (International Interest periodical) ไม่แปลกใจที่โดรนถูกใช้เพิ่มมากขึ้น

“ฮูซีอ้างว่าพวกเขากำลังสร้างโดรนของตัวเอง และว่าพวกเขาได้เรียนรู้วิธีสร้างมัน นอกเหนือจากสงครามของเยเมนเช่นในอิรักเราได้เห็นสิ่งนี้ในกองกำลังของเคิร์ดด้วยเช่นกัน พวกเขาสามารถสร้างโดรนของตัวเองและใช้งานมัน”

“ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราพบโดรนในกลุ่มฮูซี เราไม่ควรลืมว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากชาวอิหร่านที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาวุธเหล่านี้” ฮัมดีกล่าวเสริม

โดรน Qasef-1 ของอิหร่าน
ซากโดรน Qasef-1 ของอิหร่าน [Cliff Owen / AP]

โดรนเหล่านี้ต่างกันอย่างไร?

การโจมตีครั้งล่าสุดนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ เมื่อโดรนบินเข้าไปกว่า 800 กม. ในซาอุดิอาระเบียเพื่อโจมตีเป้าหมายได้สำเร็จ

โดรนถูกนำทางโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ในบางช่วงบินโดรนจำเป็นต้องมีลิงก์ข้อมูลดาวเทียมเพื่อส่งข้อมูลกลับไปยังนักบิน

ในทางเทคนิคแล้วดาวเทียมอนุญาตให้โดรนบินได้จากครึ่งทางทั่วโลกเหมือนโดรนทหารจำนวนมาก แต่พวกเขาต้องการสถานีนำร่องแห่งที่สองที่มีการเข้าถึงด้วยแนวสายตาเพื่อขึ้นและลง

สาเหตุมาจากความล่าช้าในการสื่อสารผ่านดาวเทียม – ถึงแม้จะน้อย – แต่ความล่าช้านี้ก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรงแก่โดรนที่มาถึงแผ่นดินได้

ชาวอิหร่านและฮูซีเป็นที่รู้กันว่าไม่มีดาวเทียมสื่อสาร และจะต้องพึ่งพาพื้นที่ดาวเทียมที่มีขายทั่วไป

ทั้งหมดนี้หมายความว่า นักวิเคราะห์ภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร วิศวกรอัปลิงค์ ทีมงานนักบินสองคน ผู้ปกป้อง และกลไกทุกอย่าง ต้องทำงานพร้อมเพรียงกันเพื่อให้การโจมตีประสบความสำเร็จ

นี่หมายถึงระดับการฝึกฝนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น!!

เหตุใดซาอุดิอาระเบียจึงไม่สามารถตรวจพบได้

เครื่องบินที่บินช้าและไม่เสถียรสามารถบินได้ลึกเข้าไปในซาอุดิอาระเบียเป็นเวลาหลายชั่วโมง ไม่ถูกตรวจจับและไม่ถูกสกัดกั้นในช่วงที่เป็นเวลาแห่งสงคราม

สิ่งนี้คือสัญญาณเตือนภัย!!

โดยนายพลมามูร์ อัล-โนวาร์ (Mamour al-Nowar) ทาหรปลดประจำการแห่งกองทัพจอร์แดนรบอกกับอัลจาซีราว่า

“ระบบป้องกันภัยทางอากาศของพวกเขาล้มเหลวในการจัดการกับการโจมตีเช่นนี้” และตอนนี้ ฮูซีมีความสามารถ “ไปถึงริยาดและอาบูดาบี” อาจทำให้ประเทศเป็นอัมพาต “ถ้าพวกเขาโจมตีสถานีสูบน้ำ กลั่นน้ำทะเล หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอาบูดาบี”

ทำไมต้องเป้าหมายนี้

นักวิเคราะห์เห็นแย้งกันว่า การโจมตีท่อส่งและการก่อวินาศกรรมก่อนหน้านี้ต่อเรือบรรทุกน้ำมันนอกชายฝั่งของพอร์ตเอมิราตี (Emirati) ของรัฐฟูไจราห์ (Fujairah) มีการเชื่อมโยงในบางประการ

นักเศรษฐศาสตร์น้ำมันและก๊าซ คอร์เนเลีย เมเยอร์ (Cornelia Meyer) เน้นถึงความเป็นไปได้ของความเชื่อมโยงนี้ “แน่นอน และมันยังบอกฉันด้วยว่า มันไม่ใช่แค่กลุ่มกบฏเดี่ยวๆ ที่ออกมาทำเช่นนี้ แต่มันเป็นแคมเปญที่ได้รับการจัดการอย่างดี”

ส่วนฮัมดีกล่าวอย่างระมัดระวังมากกว่าว่า “สถานการณ์ของการก่อวินาศกรรมโจมตีฟูไจราห์ยังไม่ชัดเจน ฮูซีได้ประกาศว่าพวกเขาเป็นผู้รับผิดชอบการโจมตีนี้ต่อริยาด แต่เท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีใครอ้างความรับผิดชอบสำหรับลงมือต่อเรือบรรทุกน้ำมันที่รัฐฟูไจราห์”

ท่อส่งก๊าซเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจด้วยเหตุผลหลายประการ หนึ่งเพราะมันอยู่ในละติจูดเดียวกับริยาดซึ่งหมายความว่าเมืองหลวงของซาอุดิอาระเบียอยู่ในพิสัยดังกล่าว

นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มระดับการโจมตี หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และมีเป้าหมายไปที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ความเสียหายนั้นน้อยมาก แต่ก็มีการส่งคำเตือนที่ชัดเจน

ท่องส่งนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามอิหร่าน – อิรักเพื่อเป็นทางเลือกแทนของซาอุดิอาระเบีย กรณีช่องแคบฮอร์มุซถูกปิด ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ เช่นเดียวกับที่คลังน้ำมันที่ท่าเรือเมิราตี ของรัฐฟูไจราห์

ข้อความที่ถูกส่งออกไป ตามมุมมองของนักวิเคราะห์ทางทหารเอเลียส ฟาร์ฮาต (Elias Farhat) คือ “ไม่มีความปลอดภัย” สำหรับทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาราเบียที่จะ “ข้ามผ่านหรือเลี่ยงจากช่องแคบฮอร์มุซ”

แม้จะมีความเสียหายเล็กน้อยในการโจมตีนี้ แต่ขณะนี้ก็มีความกังวลมากขึ้นเนื่องจากความตึงเครียดในปัจจุบัน การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ของความรุนแรงทางทหารอาจทำให้เกิดความขัดแย้งในระดับภูมิภาคได้

…แปล/เรียบเรียงจาก อัลจาซีรา