ราชวงค์โมกุล : บริบทการปกครอง ยุคกษัตริย์อัคบาร์ ตอนที่ 1

สุสานหุมายูน Humayun’s Tomb
สุสานหุมายูน (Humayun’s Tomb) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้หินทรายแดงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพของพระเจ้าหุมายูน ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์โมกุล (ภาพ วิกิพีเดีย)

ประวัติศาสตร์ของอินเดียถูกแบ่งออกเป็นพื้น Number of regional states  ที่นับตั้งแต่ศตรววษที่ 16 “โมกุล” ถือเป็น หนึ่งในอาณาจักรในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ หลายท่านให้ความสนใจ ในส่วนตัวผู้เขียนด้วยประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ อันน้อยนิดก็พยายามที่จะเรียบเรียงเนื้อหาบางช่วงบางตอนมาเล่าสู่กันฟัง

ช่วงเวลาที่มีการเติบโตหรือเรียกได้ว่าความเจริญรุ่งเรืองสุดของอาณาจักรนี้จะอยู่ในช่วง 1526-1800 ถือว่าเป็นราชวงศ์ที่ผ่านเรื่องราว ทั้งในเรื่องสงคราม การต่อสู้กับ อังกฤษ และการค้าขายกับอีสต์ อินเดีย (East India company) ในเวลาที่โมกุลเป็นเหมือนศูนย์กลางทางการค้าในตอนนั้น อย่างเดลฮี (Delhi), อัครา (Agra), ลาโฮร์ (Lahore), ธากา (Dhaka), สุรัต (Surat), เมืองเก่าที่ผ่านช่วงเวลายาวนาน เป็นเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปะ สถาปัตยกรรมอิสลาม พระราชวัง สุสาน ป้อมปราการ มัสยิด อาณาจักรที่ยาวไกลไปถึงอัฟกานิสถาน ซึ่งถือเป็นเขตพื้นที่ทางตอนเหนือของอินเดีย ในช่วงศตรววษที่ 15  หุบเขาที่งดงามที่มีพื้นที่ใกล้เคียงของจังหวัดคาบูล ถือเป็นพื้นที่ที่แตะถึงพรมแดนของเอเชียกลาง ระหว่างลาโฮร์ ( Lahore) ของปากีสถานและปันจาบ (Panjab) ของอินเดีย หุบเขาแห่งนี้มีอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่อย่างอัคบาร์ 1556-1605 จาฮันกีร์ 1605-1627 ชาห์ไอจายาน 1627-1658 และออรังเซ็บ 1658-1707 การยึดครองของราชวงศ์ที่ยาวนาน  หลายช่วงเวลาที่ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การยกเลิกภาษี การพัฒนาระบบ คมมนาคม การส่งเสริมในเรื่อง การพานิชย์เพื่อให้ดินแดนเกิดความรุ่งเรือง

กษัตริย์อัคบาร์ ราชวงศ์โมกุล
ภาพวาดกษัตริย์อัคบาร์ (1556-1605), พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ, นิวเดลี (ภาพ วิกิพีเดีย)

การปกครองที่ยิ่งใหญ่กับอนุทวีปอินเดีย นั้นเป็นความหลากหลายทางด้านผู้คนและวัฒนธรรมถือเป็นความยากลำบากที่เจ้าผู้ครองเมืองจะสามารถทำสำเร็จ การขยายอาณาจักรเป็นเวลานานและสามารถเข้าควบคุมได้เข้าถึงทุกพื้นที่ของชมพูทวีป  โครงสร้างการบริหารงานแนวคิดการกำกับดูแล เพราะถือว่าเป็นความสำเร็จของการปกครอง

ภายหลังที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในวันประกาศอิสรภาพของอินเดียในปี 1947  นายกรัฐมนตรีของอินเดียได้ขึ้นไปกล่าวบนกำแพงสีแดงป้อมปราการในนิวเดลีนั้นถือเป็นสถานที่พำนักของจักรพรรดิโมกุล เป็นการกล่าวให้เกียรติและสดุดีถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตและอินเดียก็ได้รับเอกราชนับแต่นั้นมา

การสืบเชื้อสายของพระบิดาของราชวงศ์ที่มาจาก อาหรับ อิรัก เปอร์เชียและพระบิดาสวรรคตในปี 1404  ส่วนทางพระมารดาของราชวงศ์โมกุลถือสืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของเจงกิส ข่าน ที่สร้างความยิ่งใหญ่ในการปกครอง จีน เอเชียกลาง โมกุลไม่ได้ต้องการให้ถูกเรียกเป็นมองโกล เพราะประวัติศาสตร์อันโหดร้ายของการบุกทำสงครามของมองโกลนั้นก็มีส่วนสำคัญบางอย่างในยุคเวลานั้น แต่นั่นเป็นเรื่องราวในอดีต กว่าจะมาถึง ราชวงศ์โมกุล  เพราะราชวงศ์ที่ผสมผสานระหว่าง อาหรับ  และ มองโกเลียนเป็นเหมือนสติปัญญาและความสามารถของเจ้าผู้ครองเมือง ที่สามารถสืบสานระบอบการปกครองที่สืบทอดความยิ่งใหญ่ในอดีตได้อย่างงดงามตามที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้

หลักการศาสนาและการปกครอง ในสมัยกษัตริย์อัคบาร์

ในรัชสมัยของกษัตริย์อัคบาร์ ได้มี นโยบายให้มีระบอบการปกครองแบบอิสลามที่สามารถอยู่ร่วมกันกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อมในหลักการของศาสนาอิสลาม สิ่งเหล่านี้ถูกบันทึกไว้อย่างมากมายเป็นช่วงเวลาที่มีการวิวัฒนาการแนวคิดทางศาสนา ในช่วงสมัยอัคบาร์ การสร้างขอบเขตอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยทางการเมืองและกฏหมายศาสนาได้รับถึงนโยบายและราชวงศ์ก็ให้ความสำคัญมาก  ราชวงศ์มองถึงความสำคัญในทุกศาสนา ด้วยความทั้งในเรื่องอยากรู้อยากศึกษาเพราะความต้องการให้มีหลายมุมมองเกิดขึ้นในเวลานั้นมิได้จำกัดขอบเขตที่แคบเกินไป เป็นยุคสมัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องพหุวัฒนธรรมอย่างชัดเจน การยืนยันถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อศาสนาของพระเจ้า แต่แนวคิดของราชวงศ์ให้ความเข้าใจกับทุกศาสนา ทั้งในส่วนของ ฮินดู คาทอลิค และในความเชื่ออิสลาม โซฟี เริ่มมีบทบาทในยุคสมัยของ อัคบาร์ และการนมัสการตามข้อจำกัดของแต่ละบุคคล  และยังสามารถให้สิทธิการเคารพบูชาตามศาสนาตนเอง แต่ถึงอย่างไรแนวคิดศาสนาสามารถที่จะดำรงไว้ถึงศาสนาของเขาเอง เพราะในเมื่อความหลากหลายหลักคำสอนในเรื่องของ เทวนิยม ถูกถ่ายทอดไปสู่กลุ่มที่ให้เสรีอย่างรอบคอบ  เพราะถือว่าสิทธิทางศาสนาเป็นเหมือนที่พักใจของประชาชนที่จะอยู่ร่วมกันโดยที่ไม่มีการกดขี่เป็นปัจจัยการดำเนินนโยบายที่สร้างความสำเร็จต่อการปกครองในยุคนั้น เมื่อราชวงศ์ดำเนินนโยบายได้รับการตอบรับจากประชากรและยังห้ามมิให้มีข้อขัดแย้ง ทั้งในเรื่อง นิกาย ทางศาสนา เพราะอัคบาร์ พระบิดาสืบเชื้อสายมาจาก เปอร์เซีย อิรัก แต่ก็ปราศจากปัญหาในเวลานั้น ทั้งสองนิกายสามารถละหมาดในมัสยิดเดียวกัน  แม้ว่าหพุวัฒนธรรมเป็นแนวทางที่ดีแต่ปัญหาการถกเถียงกันของศาสนาอิสลาม ก็ยังคงมีขึ้นประปรายในสมัยนั้น

ภายหลังการสืบทอดจาก อัคบาร์ มาจนถึง จาฮันกีร์ ก็ยังคงอยู่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จ และเขายังคงดำเนินนโยบายอดทนดำเนินการตามแบบฉบับพ่อของเขา และรักษาระยะในเรื่องของพหุวัฒนธรรม ทั้งในเรื่องนิกายและศาสนาอื่นตามแบบเดิม ในความภาคภูมิใจต่อราชวงศ์แห่งอิสลามและดำเนินการตามพระบิดาต่อไป  ในยุคสมัยของ จาฮันกีร์ ให้การสนับสนุนเหล่าบรรดานักปราชญ์นักกวี ทั้งที่มาจาก ฮินดู คอทอลิก และการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงกันระหว่าง ฮินดูกับอิสลาม

(อ่านต่อตอนหน้า)