ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (15)

การเลือกตั้งในวันที่ 4 เมษายน 2519 เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่พลิกประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เพราะเป็นการเลือกตั้งที่ชาวมลายูปาตานีได้ผนึกกำลังรวมตัวกันอย่างเหนียว แน่นต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองกับพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกได้สำเร็จอย่าง งดงาม ทำให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งยก จังหวัดใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด สตูล ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส นอกนั้นยังได้อี 1 คน ในจังหวัดสงขลา

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การรวมตัวของชาวมลายูปาตานีอย่างเข้มแข็งและทรงพลังครั้งนี้เป็นผลพวงจากการ ชุมนุมประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ของชาวมลายูปาตานีที่จังหวัดปัตตานี กรณีชาวมลายูปาตานีถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ 5 ศพ ที่สะพานกอตอ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2518 และ เวทีปราศรัยของผู้ชุมนุมประท้วงที่ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี ถูกบุรุษนิรนามโยนระเบิดน้อยหน่าเข้าใส่ จนทำให้มีผู้ชุนุมประท้วงตาย 13 ศพ ในคืนวันที่ 13 ธันวาคม 2518

หลังจากที่ผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกเจ้าหน้าที่ รัฐฆ่าอย่างทารุณที่สะพานกอตอที่หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานีถูกสนองตอบด้วย ลูกระเบิดแทนด้วยดอกไม้แล้ว ทำให้เพิ่มอุณหภูมิความโกรธแค้นอย่างรุนแรงกับชาวมลายูปาตานีในวงกว้างมาก ขึ้นการต่อสู้อย่างทรหดอดทนโดยรวมตัวกันย้ายที่ชุมนุมประท้วงไปอยู่ในบริเวณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 45 วันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ถือได้ว่าชาวมลายูปาตานีนับหมื่นนับแสนตั้งแต่เด็กวัยรุ่น คนหนุ่ม ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ทุกสาขาวิชาชีพได้ซึมซับความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในฐานะเกิดเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิขั้นพื้นฐานใน เรื่องเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย

การรวมตัวของชาวมลายูปาตานีที่เป็นเอกภาพครั้งแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้ หัวหอกสำคัญที่เป็นศูนย์รวมของชาวมลายูปาตานี คือ บรรดาอุลามาหรือโต๊ะครูที่มีชื่อเสียงต่างๆในสถาบันปอเนาะในจังหวัดชายแดน ภาคใต้และได้สร้างเครือข่ายขยายไปสู่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มัสยิด โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา และตาดีกา โดยได้มีการจัดประชุมที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีมีมติ สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ และให้แต่ละจังหวัดเสนอชื่อผู้ลงสมัครในนามพรรคปราชธิปัตย์พิจารณาต่อไป

รายชื่อผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์มีดังนี้

จังหวัดปัตตานี มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน มีผู้สมัครได้แก่ นายเด่น โต๊ะมีนา อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี ในนามพรรคเกษตรสังคม ปี 2518 เลือกตั้งครั้งนี้พรรคเกษตรสังคมยุบพรรคตัวเองมารวมกับพรรคประชาธิปัตย์ นายสุดิน ภูยุทธานนท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคเกษตรสังคม ปี 2518 และ นายสุรพงศ์ ราชมุกดา ผู้สืบสายตระกูลพระสุริยะสุนทรอดีตเจ้าเมืองสายบุรี

จังหวัดนราธิวาส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน มีผู้สมัครได้แก่ นายสิดดิก สารีฟ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาสพรรคประชาธิปัตย์ ปี 2518 นายวชิระ มะโรหบุตร นักบัญชีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสำนักงานตรวจสอบบัญชีและธุรกิจในกรุงเทพมหานคร บิดาเคยเป็นข้าราชการตำแหน่งศึกษาธิการในจังหวัดนราธิวาส นายศิริ อับดุลและ เป็นข้าราชการครูในจังหวัดนราธิวาสสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

จังหวัดยะลา มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน มีผู้สมัครได้แก่ นายอุสมาน อุเซ็ง เป็นข้าราชการครูในจังหวัดยะลา จบการศึกษาวิทยาลัยครูยะลา ยังหนุ่มแน่นอายุประมาณ 26 ปัเศษ และเป็นบุตรชายอิหม่ามคนสำคัญในอำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลา นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมที่บริเวณหน้า ศาลากลางจังหวัดปีตตานีกรณีวิสามัญฆาตกรรม 5 ศพ สะพานกอตอ และร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะเวทีชุมนุมประท้วงหน้าศาลากลางถูกมือมืดโยนระเบิด ใส่เมื่อวันที่ 13 ธัรวาคม 2518

จังหวัดสตูล มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน มีผู้ลมัครได้แก่ นายสมศักดิ์ เส็นดาโอ๊ะ เป็นข้าราชการครูในจังหวัดสตูล จบการศึกษาปริญญาตรีจากวิทยาลัยประสานมิตร ยังหนุ่มแน่น อายุประมาณ 26 ปีเศษ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยตามโครงการนักศึกษาสิทธิพิเศษของกระทรวงมหาดไทย ขณะเป็นนักศึกษาเคยร่วมกิจกรรมกับผู้เขียนในสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม

การเลือกตั้งครั้งนี้ กระแสความต้องการของชาวมลายูปาตานีที่เกิดจากการชี้นำของผู้นำศาสนาอิสลาม ที่ประชุมทีปัตตานีแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วและมีพลังสูงมาก ทำให้ นายถาวร ไชยสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 2 สมัย และเป็นตัวเต็งคนหนึ่งถึงกับถอดใจไม่กล้าลงสมัครในครั้งนี้ แต่ในขณะเดียวกันในจังหวัดนราธิวาสก็เกิดปรากฎการใหม่มีผู้สมัครที่เป็นคนมี ความรู้ที่เป็นปัญญชนคนรุ่นใหม่และลงสมัครในนามพรรคพลังใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่เป็นขวัญใจของคนรุ่นใหม่ในสมัยนั้น ได้แก่ นายชูศักดิ์ มณีชยางกูร(เซ็ง บ้านทอน)บัณทิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาสิทธิพิเศษตามโครงการของกระทรวงมหาดไทย เคยเป็นประธานนักศึกษากลุ่มสลาตันรุ่ที่ 1 เป็นคนหมู่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อนๆเรียกกันติดปากว่า เซ็ง บ้านทอน นายปริญญา เจตาภิวัฒน์(ดิง ดุซงญอ)มหาบัณทิตสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยการาจี เป็นคนบ้านดุซงญอตำบล ดุซงญอ อำเภอระแงะ (ขณะนั้นตำบลดุซงญอยังอยู่ในอำเภอระแงะ) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากปากีสถานแล้วไปทำงานเป็นลูกจ้างในโรงแรมที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ นายประดิษฐ์ สติรักษ์ (เปาะซูดิ แว้ง) เป็นคนในตลาดแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส บิดาเป็นอดีตกำนันตำบลแว้งที่มีชื่อเสียงในอำเภอคนหนึ่งมีความรู้ภาษาอังกฤษ เป็นอย่างดี ทำงานกับหน่วยทหารอเมริกันที่ฐานทัพอเมริกันที่จังหวัดนครพนม

ในขณะเดียวกันทางศูนย์พิทักษ์ประชาชน ซึ่งเป็นองค์กรนำรวมศูนย์ชาวมลายูปาตานีชุมนุมประท้วงใหญ่รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ตัดสินใจส่งสมาชิกของกลุ่มลงสมัครรับเลือกตั้งในจ้งหวัดปัตตานีและ นราธิวาส ในนามพรรคมุสลิมชื่อพรรคแนวสันติที่มีนายบรรจง ศรีเจริญ เป็นหัวหน้าพรรค รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งมีดังนี้

จังหวัดปัตตานี นายอำนวย ยูโซ๊ะ (ดิง เยอรมัน) อยู่บ้านอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นปัญญาชนหัวก้าวหน้า มีประสบการณ์ด้านต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมัน เขาอยู่อาศัยในประเทศเยอรมันหลายปี จนเพื่อนๆเรียกกันติดปากว่า ดิง เยอรมัน นายอาหมัด ดาวูด (มะ อินโดนี บ้านจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เคยศึกษาอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อนๆเรียกกันติดปากว่า มะอินโด และ นายเจ๊ะอูเซ็ง มะลีเลาะ จบการศึกษาจากประเทศตูนีเซีย จนชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า อุสตัสเซ็ง ตูนิส

จังหวัดนราธิวาส นายยูโซ๊ะ บินมะ (ปัจจุบันชื่อ นายยุทธศักดิ์ บินทะ)เลขาธิการศูนย์พิทักษ์ประชาชน บ้านกือดาบารู(ตลาดใหม่) เขตเทศบาลตำบลสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส นายทวีวัฒน์ จุลยานนท์หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า มะฟาริด บ้านยะกัง เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ข้าราชการครูในจ้งหวัดนราธิวาส นายวศิน สาเม๊าะ หรือชื่อที่เพื่อนๆเรียกว่า มะแอ ไซม่อน

ผลการเลือกตั้งในวันที่ 4 เมษายน 2519 ปรากฎว่า 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สตูล พรรคประชาธิปัตย์ ชนะยกจังหวัด แถมได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมอีกคนหนึ่งในจังหวัดสงขลา ได้แก่ นายอุดม แดงโกเมน เดิมเป็นคนบ้านครัวในกรุงเทพมหานคร สำหรับพรรคแนวสันติที่ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นแกนนำศูนย์พิทักษ์ประชาชน ปรากฎว่าพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ความพ่ายแพ้ของพรรคแนวสันติไม่ใช่แพ้เพราะชาวมลายูปาตานีไม่ชอบผู้สมัครที่ เป็นแกนนำศูนย์พิทักษ์ประชาชน แต่เพราะความโกรธแค้นพรรคกิจสังคมที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค กลัวว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จะกลับมาเป็นนายกอีกครั้งหนึ่ง จึงเทคะแนนเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างถล่มทลาย

ชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มิใช่ชนะในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ชนะได้เสียงข้างมากรวมทั้งประเทศ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หัวหน้าพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แน่นอนที่สุดความดีความชอบของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้รับสมนาคุณเป็นรัฐมนตรีกับเขาด้วย 1 ตำแหน่ง

ดังนั้น บรรดาผู้นำศาสนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นัดประชุมกันที่จังหวัดปัตตานี เพื่อคัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 1 คน ส่งชื่อชื่อให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณาสมนาคุณตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง ตำแหน่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวมลายูปาตานีที่พร้อมใจกันเทคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ชนะยกจังหวัด อย่างถล่มทลายอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในยุคนั้น

ผลการประชุมของผู้นำศาสนาอิสลามดังกล่าว ปรากฎว่าเสียงส่วนใหญ่เลือก นายเด่น โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี เป็นผู้สมควรและเหมาะสมให้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ได้ลำดับที่ 2 คือ นายสิดดิก สารีฟ สมาชิกสภาผฺ้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส ได้ 1 คะแนน ซึ่งแท้จริงแล้วการคัดเลือกผู้สมควรได้รับตำแหน่งเสนาบดีให้กับนักการเมือง ชาวมลายูปาตานีครั้งนี้ มิได้มีหลักเกณท์อะไรที่จะอ้างเหตุผลของความเหมาะสมของผู้ได้รับคัดเลือก นอกจากความสนิทสนมชิดเชื้อระหว่างผู้ถูกคัดเลือกกับผู้คัดเลือกนั่นเอง

แต่นายเด่น โต๊ะมีนา จะได้เป็นรัฐมนตรีตามที่กลุ่มผู้นำศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอไปยังพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ?