นายกำธร ลาชโรจน์ ศิษย์เก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์และวิทยาลัยช่างก่อสร้างอุเทนถวาย เป็นชาวใต้โดยกำเนิดอยู่ในตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งที่เกี่ยวดองกับตระกูลใหญ่ๆ อีกหลายตระกูลของภาคใต้ ฝังรกรากอยฺู่ในจังหวัดปัตตานีหลายชั่วอายุคน คบค้าสมาคมกับกลุ่มอิทธิพลและผลประโยชน์ในท้องถิ่นเป็นคนกว้างขวางใจนักเลง มีบารมีคุ้มครองดูแลผู้นำท้องถิ่นที่ถูกคุคามและเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ จนได้รับการสนับสนุนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี 2 สมัย คือ ปี 2518 และ ปี 2522 ขณะเสียชีวิตอายุ 48 ปี
นายกำธร ลาชโรจน์ ( คนมลายูเรียกว่า โต๊ะนาแหละ ) นอกจากเป็นผู้มีอิทธิพลมีบารมีกว้างขวางใจนักเลงในพื้นที่แล้ว หน้าตาจัดอยู่ในคนมีหน้าตารูปหล่อหนุ่มกว่าอายุจริง ชื่อเสียงกระฉ่อนอยู่ในวงการดารานักร้อง และสาวๆสวยๆ แม้จะมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานและลูกชายโตเป็นหนุ่มแล้ว
นายกำธรฯลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี ในปี 2522 สังกัดพรรคชาติประชาชนที่มี เรือตรี บุญยงค์ วัฒนพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาจึงไปรวมเป็นสหพรรค มีความสัมพันธ์ล้ำลึกกับ นายปิยะ อังกินันทน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี และ นายวัฒนา อัศวเหม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ
นายกำธรฯถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2524 โดยน้ำมือของคู่นอนที่มีอาชีพเป็นพยาบาลหนึ่งคนและผู้ช่วยพยาบาลหนึ่งคน เพียงแค่หวังผลต่อทรัพย์ที่มีอยู่ในตัวนายกำธรฯกล่าวคือ เมื่อเวลาค่ำคืนของวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 นางสุมาลี โพธิ์สุวรรณและนางสาวพุฒิพรรณ วงศ์คำลือ ซึ่งเป็นพยาบาลโรงพยาบาลพหลโยธินและโรงพยาบาลพญาไทได้นัดหมายกับนายกำธร ฯไปร่วมหลับนอนแบบเซ็กส์หมู่ในห้องเลขที่ 16 ของโรงแรม 55 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. ก่อนที่จะร่วมเซ็กส์หมู่นางสุมาลีฯได้ช่งกาแฟที่ใส่ยานอนหลับให้นายกำธรฯ ดื่ม 1 ถ้วย เมื่อประกอบกิจกรรมเสร็จนายกำธร ฯก็หลับไหลด้วยอาการอ่อนเพลียและง่วงนอนของฤทธิ์ยา นางสุมาลีฯกับนางพุฒิพรรณฯได้พยุงตัวและประคองตัวนายกำธรฯออกจากห้องแล้วพา ไปขึ้นรถที่ได้เตรียมไว้แล้วขับออกจากโรงแรมมุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างทางได้จอดแวะรับนายอ๊อด พืชพันธ์ กับ นายบุญ พืชพันธ์ ขึ้นรถไปด้วย พอขับรถถึงช่วงเวลา 09.00 น. ของวันที่ 30 กรกฎาคม 2524 ได้จอดรถบนถนน ธนบุรี-ปากท่อ อำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรปราการ ทันใดนั้นนายอ๊อด พืชพันธ์ ได้ใช้มีดเป็นอาวุธจ้วงแทงที่คอของนายกำธรฯและที่ลำตัวหลายแผลจนแน่ใจแล้ว ว่าเหยื่อได้สิ้นชีวิตแล้วจึงได้ลอกคราบทรัพย์สินที่มีอยู่ในตัวของเหยื่อจน หมดสิ้นเมื่อแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วจึงเอาศพลงทิ้งไว้ข้างทางได้หลบ หนีไปอย่างลอยนวล
หลังเกิดเหตุ 15 วัน ภรรยาและบุตรนายกำธรฯได้สอบถามเพื่อนๆนายกำธรฯที่เป็นทั้งหัวคะแนนในพื้นที่ และที่เป็นนักการเมืองที่ใกล้ชิดคนสนิทถึงการหายตัวของนายกำธรฯอย่างปราศจาก วี่แวว แต่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่มีใครทราบว่านายกำธรฯหายตัวไปใหน ทำให้ครอบครัวและญาติพี่น้องไม่สบายใจและเป็นห่วงในความปลอดภัยจึงได้ประกาศ แจ้งความการหายตัวของนายกำธรฯที่สถานีตำรวจนครบาลในกทม.
ด้วยสถานะตำแหน่งทางการเมืองของนายกำธรฯเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี จึงเป็นที่สนใจของสื่อและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นพิเศษ จนกลายเป็นข่าวใหญ่หน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับลงข่าวติดต่อกันหลาย วัน ตำรวจต้องทำงานหนักได้สืบสวนหาข้อมูลและสาเหตุการหายตัวไปของนายกำธรฯหลาย ประเด็นและประเด็นที่เป็นที่สนใจของสื่อทุกฉบับเป็นเรื่องการทะเลาะขัดแย้ง กับนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งที่เคยมีเรื่องถกเถียงทะเลาะกันจนถึงใช้ กำลังกันก่อนหน้าที่นายกำธรฯจะหายตัวไปประมาณเดือน
ต่อมาต้นเดือนกันยายน 2524 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับตัว นางสุมาลี โพธิ์สุวรรณ และ นางสาวพุฒิพรรณ วงศ์คำลือ สอบปากคำขยายผลจับกุมนายอ๊อด พืชพันธ์ และ นายบุญ พืชพันธ์ ในเวลาต่อมา ตำรวจได้สอบผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จนให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดฆ่านายกำธรฯจริง ส่วนสาเหตุเบื้องต้นมาจาก นางสุมาลีฯโกรธแค้นเจ้าแม่บ่อนการพนันแห่งหนึ่งซึ่งเป็นคนรักนายกำธรฯตบหน้า ในบ่อนอันเกิดจากการหึงหวงที่นางสุมาลีฯมาตีสนิทสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายกำธรฯ จึงเก็บความแค้นอยู่ในใจว่า ” สักวันหนึ่งกูจะแย่งคนรักมึงมาเป็นสามีของกูให้ได้ ” นางสุมาลีฯจึงได้ไปปรึกษาหารือวางแผนกับนางสาวพุฒิพรรณฯซึ่งเป็นเพื่อนสาว และเป็นผู้ช่วยพยาบาล แต่นางสาวพุฒิพรรณฯให้ความเห็นว่า สามีนั้นหาเมื่อไรก็ได้ เปลี่ยนเป็นเอาทรัพย์สินของนายกำธรฯดีกว่า เพราะนายกำธรฯชอบพกเงินคราวละมากๆไปเล่นการพนัน จึงได้วางแผนที่จะชิงเอาทรัพย์สินของนายกำธรฯมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เพิ่งสำเร็จในการวางแผนครั้งที่ 3 จึงถูกจับเป็นคดีนี้ และพนักงานสอบสวนได้ทำแผนประกอบรับคำสารภาพของผู้ต้องหาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2524
เมื่อนายกำธร ลาชโรจน์ เสียชีวิตขาดจากสมาชิกภาพของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานีแล้ว รัฐบาลจึงประกาศให้มีการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี ขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2524 มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค เป็นตัวเก็งส่งผู้สมัครแข่งขันในครั้งนี้ คือ พรรคกิจสังคม ที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค และ พรรคชาติประชาธิปไตย ที่มี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทร์ เป็นหัวหน้าพรรค
พรรคกิจสังคม ส่งนายวัยโรจน์ พิพิธภักดี เป็นผู้ลงสมัครแข่งขัน ในขณะเดียวกันพรรคชาติประชาธิปไตย ส่งนายสุรพงษ์ ราชมุกดา เป็นผู้ลงสมัครแข่งขัน ซึ่งทั้งคู่นี้มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิชาติวงศ์ตระกูลพอๆกัน กล่าวคือ นายวัยโรจน์ฯชื่อตามภาษาชาวมลายูเรียกขานสั้นๆว่า กูดิง (กู มาจากคำว่า ตนกู มีเชื้อสายเจ้าเมือง) ส่วนนายสุรพงษ์ฯชื่อตามภาษามลายูเรียกขานสั้นๆว่า กูเดร์ ทั้งคู่มีศักดิ์ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองด้วยกัน
นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี เชื้อสายเจ้าเมืองยะหริ่ง อดีตเจ้าหน้าที่แผนกสินเชื่อธนาคารกรุงเทพฯสาขาปัตตานี เข้าสู่วงการเมืองระดับท้องถิ่นสมาชิกสภาจังหวัดเป็นประธานสภาจังหวัด ปัตตานี 2 สมัย มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมิตรสหายทั้งคนพุธและมุสลิมจำนวนมากและยังมีบารมีในวงการ ราชการทุกภาคส่วนมีฐายเสียงหลักอำเภอยะหริ่งอันเป็นบ้านเกิดและเป็นเมืองของ บรรพบุรุษ มีฐานเสียงจากผู้นำท้องถิ่นและนักการเมืองท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
นายสุรพงษ์ ราชมุกดา เชื้อสายเจ้าเมืองสายบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ปี 2519 อยู่ในสายเดียวกันกับ นายเด่น โต๊ะมีนา ซึ่งขณะนั้นนายเด่นฯเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตานี พรรคประชาธิปัตย์ กำลังเป็นนักการเมืองที่ยังเป็นดาวจรัสแสงขวัญใจของผู้นำศาสนาระดับจังหวัด อำเภอ มัสยิด แสะตาดีกา
การต่อสู้ทางการเมืองของคู่แข่งทั้ง 2 ท่านนี้นับได้ว่าเป็นการต่อสู้แข่งขันที่สมศักดิ์ศรีอย่างดุเดือดไม่เคยปราก ฎมาก่อน ไม่ใช่การต่อสู้ประลองกำลังของพลพรรคของนักการเมืองผู้สืบเชื้อสายจาก 2 เจ้าเมืองเท่านั้น แต่เป็นการต่อสู้ของนักการเมืองที่เป็นผู้สนับสนุนหลักคนสำคัญระดับปัญญาชน มลายูคนรุ่นใหม่ขวัญใจของคนหนุ่มสาวในยุคนั้น ได้แก่ นายเสนีย์ มะดากะกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส พรรคกิจสังคม นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา พรรคกิจสังคม และ นายปริญญา เจตาภิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส พรรคกิจสังคม ทั้ง 3 ท่านนี้เป็นแม่ทัพคนสำคัญของพรรคกิจสังคมที่จะนำชัยชนะสู่พรรคกิจสังคมให้ นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานีครั้งนี้
ส่วน นายสุรพงษ์ ราชมุกดา พรรคชาติประชาธิปไตย แม้เป็นพรรคการเมืองใหม่ แต่ก็เป็นพรรคดาวรุ่งดวงใหม่ที่หัวหน้าพรรคเป็นนายทหารใหญ่ผู้มากบารมีเพิ่ง ผ่านการเลือกตั้งได้รับชัยชนะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ดมาหมาดๆ กลิ่นอายจากจังหวัดร้อยเอ็ดที่เรียกว่าโรคร้อยเอ็ดแพร่ระบาดที่ใช้เงิน 30 บาท แลกกับค่าหัวให้ไปลงคะแนนจนประสบผลสำเร็จได้เป็นผู้แทนร้อยเอ็ดมาแล้ว ประจวบกับครั้งนี้ได้ นายเด่น โต๊ะมีนา เจ้าสนามในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และยังมีบารมีของอัลมารฮุมตวนกูรู หะยีสุหลง ผู้เป็นบิดาและปราชญ์ที่มีชื่อเสียงทางศาสนาและการเมืองมาอาสาเป็นแม่ทัพให้ กับพรรคชาติประชาธิปไตยที่จะนำธงของพรรคปักลงบนแผ่นดินปัตตานีสัก 1 เสา ด้วยแล้ว มีผลทำให้แสงสีบรรยากาศอุณหภูมิทางการเมืองช่วงชิงเก้าอี้ผู้แทนครั้งนี้ เผ็ดร้อนยิ่งนัก วิวาทะที่ใส่โคลนเจ้าแท้เจ้าเทียมเข้าหากันของคู่แข่งที่เปิดเผยบนเวที ปราศรัยทุกแห่งเป็นไปด้วยความดุเดือดเผ็ดมันท่ามกลางกองเชียร์ที่ปรบมือ เสียงร้องที่คึกคักและฮึกเหิม แถมในทางลับโรคร้อยเอ็ดเริ่มแพร่ระบาดในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่คนมลายูรู้จักกับคำที่ว่า ค่าขนมที่ออกไปใช้สิทธินั้นเป็นเสียอย่างนี้
งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกราฉันใด งานหาเสียงเลือกตั้งย่อมมีวันเลิกราฉันนั้น ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ ปรากกฎว่า นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี ได้รับชัยชนะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี ด้วยคะแนนเสียง 35,728 คะแนน ส่วนนายสุรพงษ์ ราชมุกดา มาลำดับที่ 2 ได้คะแนนเสียง 32,967 คะแนนต่างกันเพียง 2,761 คะแนน นายวัยโรจน์ฯชนะ 3 อำเภอกับ 1 กิ่ง คือ อำเภอ ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ และ กิ่ง อ. ทุ่งยางแดง ส่วนนายสุรพงษ์ฯชนะ 4 อำเภอกับ 1 กิ่ง อ. คือ อำเภอ เมือง หนองจิก ยะรัง สายบุรี และ กิ่ง อ.ไม้แก่น
นายเสนีย์ มะดากะกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส รองผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคกิจสังคม ให้สัมภาษณ์ น.ส.พ. ไทยรัฐ(ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม 2524) ว่า ” การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่ดุเดือดที่สุดของจังหวัดปัตตานี เพราะไม่เคยปรากฎในประวัติศาสตร์ปัตตานีมาก่อนว่าจะมีการทุ่มเงินซื้อเสียง กันอย่างมโหฬารเช่นนี้ แต่ตนก็ดีใจที่เงินและผลประโยชน์ไม่สามารถซื้อชาวปัตตานีได้ พวกเขาควรสำนึกว่าปัตตานีไม่ใช่ร้อยเอ็ด “
อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยของจังหวัดนราธิวาส, ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์