“สมาพันธ์นศ.มุสลิม” ยื่นเรื่อง กมธ. กม.-ยุติธรรม หลังสันติบาลขอข้อมูลจากสถานศึกษา ชี้ คุกคามปชช.-ขัด รธน. หวั่น เติมเชื้อไฟความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้
มติชนสุดสัปดาห์รายยงานว่า เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่อาคารรัฐสภา สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ได้ยื่นหนังสือต่อนายปิยะบุตร แสงกนกกุลประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน เรื่องการละเมิดสิทธิและการคุกคามนักศึกษามุสลิมในสถานศึกษา โดยมีน.ส.พรรณิการ์ วานิช รองกมธ. และนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ เลขา กมธ. เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ ภายหลังมีการเผยแพร่หนังสือของส่วนราชการหน่วยตำรวจสันติบาลที่มีใจความเกี่ยวกับการได้รับคำสั่งให้ทำการสืบสวนตรวจสอบ และประสานข้อมูลกับมหาวิทยาลัยว่ามีนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลามหรือไม่ โดยประกอบไปด้วยจำนวนของนักศึกษามุสลิมนิกายที่นับถือ พื้นที่ภูมิภาคที่อาศัย ครอบคลุมไปถึงการรวมกลุ่มของนักศึกษาผ่านชมรมหรือองค์กรต่างๆ
นายอัสรอฟ อาแว ประธาน สนมท. กล่าวว่า ตามการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดและคุกคามความเป็นอยู่ของนักศึกษาและเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ในเรื่องการมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเสมอภาค การกระทำนี้เป็นการกล่าวหานักศึกษามุสลิมอย่างไม่มีมูล ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงความหวาดระแวงในความเป็นอิสลามและเป็นการสร้างความแตกแยกในสังคม มหาวิทยาลัยควรเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่นักศึกษาจะสามารถแสดงความคิดเห็นและเป็นพื้นที่ที่สามารถคุ้มครองซึ่งสิทธิ์ที่นักศึกษาพึงได้รับ ทางกลุ่มเราต้องการให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัยดำเนินการดังนี้ คือ ขอให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลทบทวนและมีคำสั่งยกเลิกหนังสือดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพราะการเลือกเจาะจงขอข้อมูลเฉพาะนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลามถือเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนา และเป็นการแทรกแซงสถาบันการศึกษา หากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาความรุนแรงและป้องกันความรุนแรงจากแนวคิดสุดโต่งควรต้องเริ่มจากการยอมรับว่าแนวคิดสุดโต่งมีในกลุ่มคนทุกศาสนาและการป้องกันที่ดีที่สุดคือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความหวาดระแวงและสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ยิ่งลักษณ์ทำแบบนี้จะเป็นการเพิ่มความหวัดระแวงและความไม่ไว้วางใจของประชาชนมากขึ้น
ด้านนายกมลศักดิ์ กล่าวว่า ตนรับทราบว่า ผู้ปกครองในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้รู้สึกเป็นห่วงบุตรหลานของพวกเขาเป็นอย่างมาก หลังได้รับทราบข่าวนี้ ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมความรู้สึกการถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม อันเป็นต้นเหตุของปัญหาความไม่สงบและความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ หากฝ่ายเจ้าหน้าที่เห็นว่าชาวมุสลิมเป็นภัยต่อความมั่นคง ก็ให้ดำเนินการเป็นรายบุคคล แต่อย่าเหมารวมเช่นนี้
ขณะที่ น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่เป็นการสร้างความคับข้องใจให้แก่คนมุสลิม และตลอด 15 ปีที่ผ่านมาพวกเขาถูกเลือกปฏิบัติทางกฎหมายอย่างไม่เท่าเทียม ทั้งกฎหมายพิเศษ 3 ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในขณะนี้ กรณีล่าสุดถือเป็นการคุกคามที่มีความรุนแรงเพราะในสถานศึกษาควรจะเป็นที่ที่สิทธิและเสรีภาพถูกคุ้มครอง โดยเราจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาในกมธ.ต่อไปว่าแต่สรุปแล้วใครกันที่โรงงานผลิตน้ำมันซาอุฯ