มาเลเซียแอร์ไลน์ “MH17” กับผลพวงของสงคราม จาก “กาซ่า-ปาเลสไตน์” ถึง “ยูเครน”

การกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐเกี่ยวกับกรณีการยิงเครื่องบินโดยสารของสายการบินมาเลเซีย เที่ยวบิน MH 17 กลายเป็นประเด็นที่ต้องการสร้างให้เหตุการณ์ขยายวงและดึงสิ่งอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

กรณีของเที่ยวบิน MH 17 ที่ตกทางภาคตะวันออกของประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2014 ยังสามารถเบี่ยงเบนความสนใจกรณีการสังหารพี่น้องชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าโดยกองทัพอิสราเอลไปในตัว พลเรือนชาวปาเลสไตน์ในกาซ่า และผู้เสียชีวิตบนเครื่องบินที่เป็นผู้โดยสารของสายการบินมาเลเซีย ต้องกลายเป็นเสมือนเครื่องมือที่จำเป็น

คำพูดที่แข็งกร้าวของผู้นำชาติตะวันตก ที่ต้องการเชื่อมโยงความผิดว่าเป็นความผิดผลาดของฝ่ายกบฏยูเครนนิยมรัสเซีย นับว่าเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ในหัวใจของความเป็นมนุษย์ การดำเนินการในช่วงเวลาเดียวกัน ระหว่างสงครามในยูเครน กับ กาซ่า  การอ้างหลักฐานของทูตสหรัฐในสหประชาชาติเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับเหตุผลที่บังเกิดขึ้นจริงของสายการบินมาเลเซีย “อาชญากรรมสงคราม การสังหารหมู่” คือสิ่งที่รัฐบาลมอสโคว์ได้รับคำตำหนิแบบไม่ควรจะเป็น

หากย้อนช่วงเวลาไปตอนที่นาย “จอห์น แครี่” พยายามผลักดันกองทัพสหรัฐให้ทำสงครามในซีเรีย โดยการสร้างประเด็น “อาวุธเคมี” ขึ้นมา แต่ภายหลังการสอบสวน หลักฐานที่น่าสงสัยกลับเอียงไปที่สหรัฐและพันธมิตรในโลกอาหรับ และในเวลาที่ MH 17 โดนยิง ก็มีผลถึงกองกำลังนาโต้ด้วยเช่นกัน เพราะตั้งแต่สงครามในยูเครนปะทุขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ระบบดาวเทียมของสหรัฐ ได้ทำการตรวจสอบบริเวณของเครื่องบินตกอย่างเต็มที่ เพื่อทำการตรวจสอบชิ้นส่วนรวบรวมข้อมูลหลักฐาน แต่ในช่วงก่อนเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซียตก ตรงนั้นเป็นเขตพื้นที่สงครามที่ได้ปิดการเดินทางของสายการบินในยุโรปเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เครื่องบินมาเลเซียโดนยิงตกนั้น องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศไม่ได้ให้คำปรึกษาแก่สายการบินในการดำเนินการใดๆ เลย

ทั้งในส่วนของสหรัฐและยูเครนมีความแตกต่างที่น่าสงสัยของการถ่ายภาพเครื่องบินโดยสารที่ตกเป็นกลุ่มควันที่ตกลงสู่พื้นโลก

ในอดีตที่ผ่านมากองทัพยูเครนเคยยิงเครื่องบินโดยสารของรัสเซียที่มุ่งหน้าไปเทลอาวีฟในเดือนกันยายนปี 2001 มีผู้เสียชีวิต 71 ราย จากนั้นเครื่องบินโดยสารอิหร่านที่โดนยิงตกในปี 1988 ในช่วงวันสุดท้ายของสงครามระหว่างอิรัก กับ อิหร่าน นับว่าเป็นการกระทำที่ขี้ขลาดในประวัติศาสตร์ของการบินเพราะโดนยิงโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน  Vincennes  ซึ่งได้วิ่งเข้ามาในน่านน้ำของอิหร่านทำให้มีผู้เสียชีวิต 290 คน  ในเวลานั้นรัฐบาลวอชิงตันไม่เคยใส่ใจที่จะขอโทษ มิหนำซ้ำผู้ที่บัญชาการกลับได้รับรางวัลเหรียญกล้าหาญ  และในปี 1983 เครื่องบินโดยสารของเกาหลีใต้ถูกยิงที่ไซบีเรีย ผู้โดยสาร 210 คนเสียชีวิต ถูกเปิดเผยหลังจากนั้นว่ามีภารกิจสอดแนมเพื่อภารกิจลับในประเทศของเขาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งในเวลานั้นเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐ

 

ประเด็นทางการเมืองและหลักฐานที่สามารถกำหนดได้

MH 17 เป็นเครื่องบินลำที่สองที่หายไปของสายการบินมาเลเซียซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ แต่รัฐบาลมาเลเซียเองก็ไม่ได้รีบร้อนตัดสินใจเหมือนรัฐบาลตะวันตก และรัสเซียก็โดนยัดเยียดข้อกล่าวหาว่าเป็น “คนร้าย” ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นรูปธรรมใดๆ ในการตัดสิน แม้การยัดเยียดว่าเป็นจรวดจากพื้นสู่อากาศของกฏบยูเครน และอ้างว่ากองกำลังกฏบนั้นมีคลังแสงขนาดใหญ่และอาวุธต่อต้านอากาศยาน แต่ทางการรัสเซียอ้างว่าเรดาร์ของกองทัพอากาศรัสเซียจับสัญญาณเครื่องบินรบ ซู 25 ของยูเครนได้

ตามรายงานการสูญหายเครื่องยนต์ทางด้านขวาเสียหาย เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าเป็นการยิง “จากอากาศสู่อากาศ” มันไม่ใช่ขีปนาวุธ “พื้นสู่อากาศ” ไม่มีพยานที่จะบอกว่าเห็นควันพุ่งขึ้นมาจากพื้นดินที่เป็นการยิงจรวดโจมตีจากพื้นดิน ทุกอย่างพยายามทำลายชื่อเสียงของมอสโคว์ รัฐบาลมาเลเซียนิ่งเฉยกับเรื่องตรงนี้และคิดว่าความจริงเป็นสิ่งที่เขาควรรู้

เคจีบีเก่าอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน  มีการเรียกร้องให้แสดงออกถึงความยุติธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินมาเลเซียตก เขาได้พูดย้ำถึงการเจรจาสันติภาพระหว่างทั้งสองฝ่าย เจ้าหน้าที่ของรัสเซียชี้ให้เห็นว่า หากมีการเจรจาต่อรองโดยที่ไม่มีการต่อสู้ใดๆ โศกนาฏกรรมแบบนี้อาจจะไม่เกิดขึ้น  สิ่งสำคัญคือหยุดการต่อสู้อย่างรวดเร็วและเริ่มต้นการเจรจา ปูตินกล่าวในสัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฏาคม  และขอให้มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องของความผิดผลาดทางอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากกว่าเดิม

รัฐบาลวอชิงตันคงรับรู้ถึงความจริงในเหตุการณ์ครั้งนี้ เพราะจะนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรงสำหรับเหตุการณ์ในอนาคตอันอาจจะเกิดขึ้นในโลกต่อจากนี้ เพราะทุกเวลามักจะมีการเปลี่ยนผ่าน จากสงครามเย็นมาถึง 11 กันยายน 2001 ที่สหรัฐดำเนินการในอิรัก และอัฟกานิสถาน แต่ในเวลาที่เกิดความผิดผลาดที่ตั้งใจให้เกิดอย่างเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย สหรัฐต้องการกระชับมาตการคว่ำบาตรของรัสเซีย และเร่งการเหนี่ยวรั้งในยูเครนอยู่ภายใต้ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ในขณะที่รัฐบาลยูเครนมีการเตรียมพร้อมทุกรูปแบบในการทำสงครามกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน เพราะมาตการคว่ำบาตรรัสเซียมีวัตถุประสงค์ต้องการทำลายระบบเศรษฐกิจของรัสเซีย ทั้งในเรื่องระบบการเงิน พลังงาน เป็นเป้าหมายสำคัญ

การตรวจสอบสืบสวนเครื่องบินของสายการบินมาเลเซียภายหลังเครื่องบินตก ตลอดระยะเวลาสิบวันหลังจากนั้นกระบวนการสอบสวนไม่ได้รับความพอใจจากการช่วยเหลือของรัฐบาลยูเครน สื่อตะวันตกพยายามกล่าวโทษกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและขัดขวางกระบวนการสอบสวนพร้อมรอสามวันให้ซากศพผู้เสียชีวิตอยู่ในสภาพที่เน่าเปื่อยแถมหลักฐานที่ถูกส่งไปยัง อัมสเตอร์ดัมได้รับการดัดแปลงอีกด้วย เพราะในเขตพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตรมีเศษซากชิ้นส่วนกระจายตกอยู่ ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของสื่อตะวันตกที่เป็นมิตรกับรัฐบาลยูเครนมีความพยายามที่จะทำลายหลักฐาน โดยอ้างว่าพยายามกู้คืนพื้นที่ ปัจจุบันชาวยูเครนนับล้านคนลี้ภัยสงครามออกนอกประเทศ

 

ความต้องการของกองกำลังนาโต้

วิกฤติยูเครน ความต้องการเป็นพันธมิตรทางทหารกับนาโต้ของอดีตเพื่อนเก่าของรัสเซียต้องยอมก้มหัวให้กับชาติยุโรปภายหลังสงครามเย็นเป็นต้นมา เพราะในเขตพื้นที่ของรัสเซียคงไม่ต้องการให้สหรัฐเข้ามาวุ่นวายมากนัก ทั้งในกรณีสงครามใน จอร์เจียเป็นต้น  เพราะการตั้งรัฐบาลของยูเครนที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและนาโต้ แต่ในเวลานี้กบฏในยูเครนได้รับอาวุธทันสมัยจากรัสเซียเพียงพอที่จะต่อกรกับกองทัพยูเครนแม้ว่าสงครามตัวแทนในครั้งนี้เป็นเหมือนเรื่องราวที่ว่ากันด้วยศักดิ์ศรีของรัสเซียเองที่หากปล่อยยอมให้ยูเครนหลุดออกไป รัสเซียก็จะถูกประชิดพรมแดนด้วยกองกำลังนาโต้ เป็นที่น่าเข้าใจว่าใครเป็นเป็นภัยคุกคามยุโรประหว่าง “นาโต้” หรือ “รัสเซีย”  บทบาทของรัสเซียในยูเครน เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของวอชิงตันที่ การสร้างกระแส และลดบทบาทของรัสเซียและหน่วงเหนี่ยวประเทศเพื่อนบ้านมิให้ออกห่าง

แม้ว่าประเด็นของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH17 จะถูกกล่าวหาต่างๆ นาๆ จากประเด็นของสงครามในยูเครน, คำวิพากษ์ ยิวของอดีตนายกฯ มหาเธร์ มูฮัมหมัด แต่ด้วยพลังอำนาจของยิวไซออนิสต์ อาจจะเป็นไปได้ว่าที่รัฐบาลมาเลเซียกำลังประสบพบเจออยู่ในเวลานี้มาจากการเปิดบทเรียน “สั่งสอน-เตือน” และการกระทำอย่างเลือดเย็นของพวกเขา อีกทั้งเมื่อมีการโต้กลับจากมอสโคว์ว่า เป็นการกระทำของฝ่ายรัฐบาลยูเครน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็คงเป็นการยิง “โดยเจตนา”

 

บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก ใน นสพ.เดอะพับลิกโพสต์ ฉบับที่ 105 ประจำเดือนกันยายน 2557