ทรัพยากรมนุษย์ในแบบอิสลาม ศิลปะแห่งการอยู่ร่วมกันภายใต้ความต่าง ตอนที่ 1

ภาพ diversityq.com

การทำงาน การอยู่ร่วมกัน พฤติกรรมมนุษย์ในความต่างที่สามารถจะอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลาย อิสลามสอนให้เราทำตัวอย่างไรในการที่เราจะอยู่ร่วมกันกับต่างศาสนิก อยู่กับทัศนะที่ดี และจิตใจที่ดี การอยู่กับเขาแบบให้ใจ เพราะในมุมมองของโลกตะวันตกและมุมมองของอิสลามสามารถที่จะให้ความสอดคล้องกันได้ในหลายๆ เรื่อง เพราะสิ่งที่เราพบเจอ การทบทวนจากปัจจัยขั้นพื้นฐานที่เราต้องอยู่กับค่านิยมในองค์กร ค่านิยมทางสังคม ในสถานที่นั้นๆ หรือความเข้าอกเข้าใจกัน ในวัฒนธรรมพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ เพราะผลของการดำเนินงานภายใต้นโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นอิสลามถือว่า การอยู่ร่วมกับคนทุกสถานภาพ “มารยาทถือเป็นสิ่งจำเป็น”

ความเป็นสากลที่นำสมัยเพราะบางอย่างแสดงออกมาเหมือนบริบททางวัฒนธรรมที่มาจากคนในเขตพื้นที่นั้นๆ เพราะค่านิยมทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะย่างกรายเข้ามามีบทบาทในตัวตน การเอนเอียงคล้อยตามไปกับกลุ่มคนที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เป็นที่เข้าใจว่า “อิสลามสอนให้เราเข้าใจผู้อื่นมากกว่ารอที่จะให้เขามาเข้าใจเรา” งานวิจัยของ Hofstede ได้อธิบายถึงค่านิยมทางสังคมที่ทรงพลังมากที่สุดในการดำเนินชีวิต แม้ว่าเขาจะเดินทางไปมาเกือบ 60ประเทศที่จะศึกษาเรื่องเดียว มีไม่กี่อย่างที่ให้ความสำคัญ คือปัจจัยที่เกิดความแตกต่างระหว่างในตัวบุคคล สิ่งนั้นเป็นความสำคัญที่จะนำมาประยุกต์ใช้และถือเป็นนวัฒนกรรมของการบริหารให้ก่อเกิดประโยชน์มากที่สุด 

ทุกหน่วยงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นเหมือนสิ่งที่เป็นอิทธิพลมากสิ่งหนึ่งในการทำงาน นอกจากคนเก่งแล้ว เงินทุนถือว่าทั้งสองมีความสำคัญไม่แพ้กัน  วัฒนธรรมแบบอิสลามจะมีบทบาทสำคัญในตัวบุคคลคนนั้นมากน้อยขึ้นอยู่กับพื้นฐานในตัวตน บทความนี้ผู้เขียนพยายามแสดงออกในแง่มุมต่างๆ ในศาสนาอิสลาม เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสลามก็มีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจถึงมารยาทของศาสนาอื่น และมุสลิมก็ให้ทำความเข้าใจกับผู้อื่นก่อนหากว่าอยู่ในองค์กรที่ไม่ได้บริหารโดยมุสลิม ทุกวันโลกเป็นความสากลมากขึ้น ในยุโรปหรือเมืองใหญ่ๆ อย่าง ลอนดอน ปารีส การให้การยอมรับในตัวตนมีมากขึ้น การทำงานภายใต้พหุวัฒนธรรมที่ต่างกันเริ่มถูกให้การยอมรับมากขึ้นและลดความแปลกลดข้อสงสัยน้อยลง พลังจากสื่อที่ไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรมอิสลามเริ่มถูกลดค่าลง

แม้ว่าต้นกำเนิดทั้งในเรื่องของ ทฤษฎี ผู้เชี่ยวชาญที่โลกให้การยอมรับ ขั้นตอนการจัดการที่โลกให้การยอมรับอย่าง Harvard Business School ตัวผู้เขียนพยายามที่จะถ่ายทอดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทัศนะการดำเนินชีวิตในแบบอิสลาม อิสลามจะสอนในเรื่องมารยาทที่แตกต่าง เราสามารถทำในสิ่งที่มีค่ามากที่สุดเพื่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เพราะการดะวห์ะอิสลามอีกอย่างหน่ึงคือการทำให้ต่างศาสนิกยอมรับในความสามารถ” การทำงานให้หน่วยงานพอใจและก็ต้องพระเจ้าพอใจเช่นกันจึงจะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เข้าคู่กันและมีคุณภาพ 

การให้ความเข้าใจในกรอบแนวคิดทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่มิได้ส่งผลเกี่ยวกับบุคคลากรที่เป็นมุสลิม  อย่างกรณี ชาติมุสลิมทั้งในเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆสถาบันทางสังคมทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น และยังมีอีกมาก ที่ให้ลำดับถึงความสำคัญ สถาบันการศึกษา โครงสร้างทางการเมือง  กองทัพ องค์กรภาครัฐ และเอกชน ที่ต้องปฎิบัติในค่านิยมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ตามหลักการของศาสนาอิสลามอย่างใน อิหร่าน มาเลเซีย กาตาร์ อื่นๆ เป็นต้น 

ในบางครั้งประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นแม้ว่าประเทศมุสลิมจะมีความพร้อมเป็นอย่างมาก แต่บางครั้งก็มีความแตกต่างในหมู่ชนมุสลิมด้วยกันอย่างสำนักคิดหรือนิกาย ความต่างเหล่านี้เราสามารถที่จะสังเกตได้จาก วัฒนธรรมในตัวตน ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เพราะลำดับความเคร่งครัดของกฏหมายอิสลามในแต่ละประเทศนั้นๆ อาจจะอ่อนหรือแข็งมากเพียงใด บางครั้งประเทศมุสลิมก็ไม่สามารถที่จะดำเนินงานนโยบายทางกฏหมายให้เคร่งครัดได้เพราะการเติบโตในโลกยุคปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับนโยบายในประเทศนั้นๆ บางประเทศยังกำหนดให้สิทธิสตรีมีขอบเขตจำกัดที่ไม่เหมือนกัน

ในประเทศเพื่อนอย่างมาเลเซียรัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย islamization การจัดการบริหารงานให้เป็นไปตามแบบฉบับของอัลกุรอาน รัฐบาลพยายามทำอย่างดีที่สุด ในซาอุดิอาระเบีย ในอดีตไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถแต่ในเวลานี้กฏหมายได้มีการผ่อนปรนและสิทธิสตรีในซาอุดิอาระเบียได้รับการยอมรับมากขึ้น  ผู้หญิงส่วนใหญ่เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น และเป็นผู้ประกอบการที่เป็นนักธุรกิจเพิ่มมากขึ้นภายหลังที่ได้รับสิทธิ เพราะสามารถดำเนินการเองได้ ติดต่อประสานงานเองได้ และบางร้านบางธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้ชายเข้าไปเพื่อเป็นการสงวนสิทธิในเรื่องของศาสนาอิสลาม และการได้รับอนุญาตจากสามีในการดำเนินงาน หรือบางประเทศอย่าง รัสเซีย หรือประเทศที่แยกตัวออกมา เช่น อุซเบกิสถาน  ถือเป็นประเทศที่มีอิสระทางด้านวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ภายหลังที่หลุดออกจากโซเวียต ส่งผลให้บทบาทของสตรีในสังคมและในที่ทำงานเปลี่ยนแปลงออกไป และสตรีก็ได้รับโอกาสมากขึ้นจากอดีตที่เคยเป็น  การฟิ้นฟูวัฒนธรรมอิสลามในประเทศที่เป็นอดีตโซเวียต ในปัจจุบันถือได้ว่าวัฒนธรรมอิสลามในอุซเบฯ ได้รับการเปิดเผยยอมรับมากขึ้น วัฒนธรรมที่ได้รับจากรุ่นอาวุโสที่ไม่ได้มีการปิดกั้นเหมือนแต่ก่อน 

หลายสิ่งที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาอย่าง ปัญหาในครอบครัว ปัญหาของการเชื่อมต่อระหว่างคนสองรุ่น การใช้เทคโนโลยี การให้สิทธิที่มากขึ้น ปัญหาครอบครัวซึ่งจากเดิมนั้นได้เปลี่ยนไป รัฐบาลประเทศนั้นให้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนให้เกิดความลงตัวมากที่สุด  ส่วนในประเทศมุสลิมอย่างอิหร่านภายหลังการปฎิวัติอิสลาม มุสลิมะห์มีความเคร่งครัด เพราะหลุดออกจากอิทธิพลของประเทศตะวันตก อิหร่านสตรี  คลุมฮิญาบ ตามหลักการศาสนาอิสสลาม 

ภายหลังได้รับการปฎิวัติ 1979 สถานการณ์ยังไม่ลงตัวต้องมาเจอกับสงครามกับอิรัก การทำงานอย่างหนักของประเทศ และปัจุบันการเติบโตของอิหร่านถือเป็นการเติบโตภายใต้การถูกกดทับจากชาติตะวันตก จากที่สังเกตเห็นถึงองค์กรอิสลามไทยที่มาจาก อิหราน หรือ ชาติอาหรับอื่นๆ การบริหารในองค์กรหรือบริษัทที่ใช้รูปแบบของอิสลาม HRM แบบอิสลาม การให้เกียรติบทบาททางสังคม และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ เพราะการบริหารงานโดยใช้ค่านิยมอิสลามมิได้ทำให้หน่วยงานองค์กรประสบกับปัญหาในการทำงาน แถมยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างดี การทำงานร่วมกันอย่างครอบครัว เข้าใจถึงพหุวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกัน 

อีกประการสำคัญของการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบอิสลามถือเป็นปัจจัยภายในของประเทศที่นำเอาหลักคำสอนจาก อัลกุรอานมาประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ อิหร่านมีนโยบายในการก้าวเข้าสู่การเงินอิสลามในปี 1984 ถือเป็นชาติอิสลามระดับต้นๆ ของโลกที่นำนโยบายมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด และถือเป็นการตัดสินใจที่ชัดเจนเพื่อความเป็นอิสลามที่สมบูรณ์ เป็นไปตามหลักการของศาสนา และเปลี่ยนจากการเงินในระบบดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมา  ในเวลานั้นการขยายระบบนโยบายการเงินระหว่างประเทศเริ่มที่จะมีการเดินหน้าอย่างชัดเจน ในส่วนการถกเถียงในเรื่องการเงินที่ถือเป็นข้อดีถือเป็นสิ่งที่คู่ควรยาวนานมาหลายศตวรรษเพราะถือเป็นเรื่องปรกติที่มนุษย์สามารถใช้ความคิดวิเคราะห์ จากเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าอิหร่านจะอยู่ภายใต้การถูกกดทับทางเศรษฐกิจจากชาติตะวันตก สิ่งที่รัฐบาลได้กำกับถึงการเงินอิสลามที่เป็นสิ่งสำคัญแม้ว่าจะไม่คอยได้รับการตอบรับเพราะอิทธิพลของตะวันตกจึงทำให้หลายประเทศลดบทบาททางการทูตลง 

การสำรวจองค์กรการทำงานประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ผู้นำอย่างท่าน ดร.มหาเธร์ มูหัมหมัด ถือว่าท่านเป็นผู้ริเริ่มดำเนินงานกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นถึงการดำเนินงานให้เป็นอิสลาม ที่มุ่งเน้นคุณค่าความเป็นอิสลามในสังคมทุกระดับชั้น บุคลากรทุกๆ สถาบันถือเป็นการปฎิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลาม  การดำเนินงานการกู้ยืมกับประชาชน รถ บ้าน ธุรกิจ การทำธุรกรรมที่ไม่มีดอกเบี้ย ความตั้งใจของตัวผู้นำที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของศาสนาอิสลามและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านความคิดการอยู่ร่วมกันระหว่าง มุสลิม จีน และ อินเดีย  การใช้อิธิพลจาก islamization การจัดการที่ทันสมัย

ต่อตอนต่อไป