หลายต่อหลายเหตุการณ์ความรุนแรงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นมักจะ ถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของผู้คนตามกาลเวลา จะเหลือทิ้งไว้ก็แต่การบันทึกเป็นตัวอักษร ภาพถ่ายและสิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์ เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละปี ก็จะเหลือแต่เพียงผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์และได้รับผลกระทบจากเรื่องราวเหล่านั้นที่จะมาร่วมกันรำลึกถึงความโหดร้าย ความสูญเสีย ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น บางเหตุการณ์ร้ายแรงถึงขั้นถูกบิดเบือนและถูกกลบฝังเรื่องราวจากการรับรู้ของเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่อื่นๆ บนโลก
ดังเช่นเหตุการณ์ในวันที่ 11 – 22 กรกฎาคม เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในเมืองเซเบรนิกา (Srebrenica) ประเทศบอสเนีย ได้เกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดจากเหตุความขัดแย้งทางเชื้อชาติและความเชื่อ ที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนในชาติเดียวกัน ไม่มีใครคาดคิดว่าเหตุการณ์ความโหดร้ายที่มนุษย์กระทำต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันจะเกิดขึ้นใจกลางทวีปยุโรป ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดในโลกยุคสมัยใหม่หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ด้วยความไร้ประสิทธิภาพขององค์กรระดับโลก และการเมินเฉยต่อเหตุการณ์ของประเทศชั้นนำที่เรายกย่องว่ามีความศิวิไลช์ มีความเป็นอารยะ ทำให้ภายในระยะเวลาสั้นๆเพียงแค่ 10 วัน ที่เมืองเซเบรนิกา มีชาวมุสลิมบอสเนียถูกสังหารไปกว่า 8,000 คน ผู้หญิง เด็กและคนชราต้องถูกทารุณกรรมอย่างไร้มนุษยธรรม !!!!!
แต่เดิมพื้นที่ของประเทศบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา (Bosnia and Herzegovina) และดินแดนบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน อยู่ภายใต้อิทธิพลของ จักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเสื่อมสลายลง จึงตกไปอยู่ภายใต้อาณัติของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ด้วย ความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ทำให้เกิดความขัดแย้งอยู่เสมอและปะทุขึ้นอย่างเด่นชัดในปี ค.ศ.1914 เมื่อมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย อาร์ชดุก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) เสด็จมาเยือนซาราเยโว (เมืองหลวงของบอสเนีย) และถูกกลุ่มหัวรุนแรงชาวเซิร์บลอบปลงพระชนม์ และนั่นก็เป็นเหตุการณ์ที่จุดชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในเวลาต่อมา
ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1918 ทั้งฝ่ายเซอร์เบีย โครเอเชีย และสโลวีเนียได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อ “ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย” ปกครองโดยกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งเซอร์เบีย ปีค.ศ. 1934 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ถูกปลงพระชนม์ มกุฎราชกุมารปีเตอร์เป็นรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ แต่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใน ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายทหารล้มล้างคณะผู้สำเร็จราชการและแต่งตั้งให้มกุฎราชกุมารปีเตอร์เป็น กษัตริย์ หลังจากนั้นเมื่อกองทัพเยอรมันโจมตีกรุงเบลเกรด กษัตริย์ปีเตอร์ได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ
ปีค.ศ. 1944 จอมพลโจเซฟ ติโต้ (Joseph Tito) ได้เข้ายึดยูโกสลาเวียแล้วแต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนชื่อ ประเทศเป็น “สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย” จอมพลติโต้นี้เองที่สามารถทำให้ยูโกสลาเวียรวมตัวกันได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งประกอบไปด้วย 6 สาธารณรัฐ ได้แก่ โครเอเชีย สโลวีเนีย เซอร์เบียมอนเตเนโกร มาซิโดเนีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และอีก 2 มณฑลอิสระคือ โคโซโวและวอยวอดินา
หลังจากที่นายพลโจเซฟ ติโต้ ผู้ที่หลอมรวมความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ไว้ภายใต้ความเป็นชนชาติยูโกสลาเวียได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ.1980 รอยร้าวระหว่างวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ก็เริ่มแสดงออกมา เมื่อในปี ค.ศ. 1989 สโลโบดาน มิโลเซวิช (Slobodan Milosevic) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี มิ โลเซวิชผู้นำเซอร์เบีย ที่เป็นผู้นำคนใหม่ของยูโกสลาเวีย เลือกใช้นโยบายคับแคบในการสนับสนุนเชิดชูชาวเซิร์บ และด้วยระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละเขตแคว้น, ความแตกต่างหวาดระแวงกันทางเชื้อชาติ ซึ่งรวมถึงความต้องการเชิดชูเชื้อชาติตนและเหยียดเชื้อชาติอื่น, และความล้มเหลวของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในระดับสากล
ที่สำคัญที่สุด ผลจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 ทำให้ยูโกสลาเวียเริ่มมีการแบ่งแยกออกเป็นประเทศต่างๆ เริ่มจาก สาธารณรัฐ 2 แห่ง ของยูโกสลาเวีย คือสโลเวเนียและโครเอเชีย ที่มีการประกาศอิสระภาพก่อน ต่อมาสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ได้ประกาศเอกราชแยกตัวจากรัฐบาลกลางของยูโกสลาเวีย แต่เซอร์เบียที่เป็นสาธารณรัฐใหญ่สุดต้องการให้ยูโกสลาเวียรวมเป็นประเทศ เดียว เค้าลางของสงครามจึงเริ่มปะทุขึ้นจากจุดนี้
ซึ่งในขณะนั้นบอสเนีย – เฮอร์เซโกวินา มีประชากร 4.3 ล้านคน มีชนกลุ่มน้อยชาวเซิร์บ (คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก) อาศัยอยู่ ร้อยละ 31 เป็นชาวโครแอตร้อยละ 17 ชาวมุสลิมมีร้อยละ 44 กระจายอยู่ทั่วบอสเนีย – เฮอร์เซโกวินา เชื้อชาติอื่นๆร้อยละ 8 สงครามระหว่าง 3 ชนชาติ คือ ชาวเซิร์บหรือชาวเซอร์เบียซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ , ชาวบอสเนียที่เป็นชาวมุสลิม (คนแถบบอลข่านบางส่วนเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามใน สมัยที่ตกอยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโดมัน) และชาวโครแอตหรือชาวโครเอเชียที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคทอลิก จึงเกิดขึ้นและมีการต่อสู้ระหว่างกันจนถึงปลายปี ค.ศ.1995
โดยชาวโครแอตต้องการให้ดินแดนส่วนที่ตนอาศัยอยู่เข้าไปรวมกับรัฐโครเอเชีย , ชาวเซิร์บในบอสเนียต้องการรวมเข้ากับรัฐเซอร์เบีย โดยชาวเซิร์บประกาศตัวเป็นรัฐอิสระซ้อนกับดินแดนบอสเนีย จึงเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลบอสเนีย (ที่เป็นชาวมุสลิม)กับชาว เซิร์บในบอสเนียที่ได้รับการสนับสนุนจากเซอร์เบีย ชาวเซิร์บในบอสเนียมี ผู้นำ คือ ราโดวาน คาราดิค (Radovan Karadzic) ที่ ได้ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีของชาวเซิร์บกลุ่มน้อย และมีนายพลรัตโก มลาดิช (Ratko Mladic) อดีตแม่ทัพของกองทัพเซอร์เบียเป็นผู้บัญชาการทหาร
เมื่อมุสลิมบอสเนียต้องการแยกตัวเป็นเอกราช แต่ชาวเซิร์บในบอสเนียเฮอร์เซโกวีนาไม่เห็นด้วยและทำการต่อต้านภายใต้การนำ ของนายราโดวาน คาราดิค (Radovan Karadzic) ชาวเซิร์บภายใต้การนำของนายคาราดิคได้ทำการแยกดินแดนส่วนหนึ่งใน บอสเนีย – เฮอร์เซโกวินาออกเป็นอิสระในนาม “รัฐของชาวเซิร์บในบอสเนีย” มี เมืองหลวงอยู่ที่เมืองปาเล และได้ทำการต่อสู้ขัดขวางการแยกตัวเป็นอิสระของชาวมุสลิมบอสเนียอย่างโหด ร้าย ทารุณ ใช้ทหารขับไล่ชาวมุสลิมและโครแอตออกจากถิ่นฐาน เกิดการเข่นฆ่า ข่มขืน และแยกครอบครัวของชนชาติทั้งสอง โดย มีประธานาธิบดี มิโลเชวิช แห่งเซอร์เบียให้การสนับสนุนด้านการเงินและอาวุธ เนื่องจากชาวเซิร์บต้องการฟื้นฟูอาณาจักรเซอร์เบียขึ้นมา โดยการรวมดินแดนบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาที่มีชาวเซิร์บอาศัยอยู่ให้เข้าไป อยู่ใต้การปกครอง สงครามระหว่างเผ่าพันธ์ บอสเนีย-เซิร์บ จึงเกิดขึ้น
โดยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เกิดขึ้นที่เมือง เซเบรนิกา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบอสเนียที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 11 – 22 กรกฎาคม 1995 ถือเป็นเป็นการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้ง ที่สองยุติลง โดยใช้หน่วยกึ่งทหารจากเซอร์เบีย และทหารหน่วยหนึ่งของกองทัพเซิร์บบอสเนียซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ สกอร์เปียนส์ รวมไปถึงอาสาสมัครต่างด้าว ในการปฏิบัติการสังหารพลเรือนชาวมุสลิมบอสเนีย ภายใต้บังคับบัญชาของนายพล รัตโก มลาดิช
แม้ว่าก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน 1993 สหประชาชาติจะได้ประกาศว่าเมืองเซเบรนิกานั้นเป็น “เขตปลอดภัย” (Safe Area) อยู่ภาย ใต้การคุ้มครองของสหประชาชาติ ในเดือนกรกฎาคม 1995 กองกำลังคุ้มครองสหประชาชาติ (UNPROFOR) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรักษาสันติภาพชาวเนเธอร์แลนด์ แต่กระนั้นก็ไม่สามารถคุ้มครองให้เมืองเซเบรนิการอดพ้นถูกยึดครองโดยกองทัพ เซิร์บบอสเนียได้ มีประชาชนบางส่วนอพยพครอบครัวหนีเข้าไปอยู่ในค่ายของสหประชาชาติ แต่ต่อมาเมื่อมีเสียงข่มขู่จากนายพลมลาดิชให้กองกำลังสหประชาชาติทำการ ส่งตัวชาวมุสลิมบอสเนีย รวมไปถึงส่งมอบอาวุธให้กับพวกเขาเพื่อแลกกับสวัสดิภาพของกองกำลัง สหประชาชาติ แทนที่กองกำลังสหประชาติจะทำการคุ้มครองประชาชนแต่กลับทำตามคำสั่งของนาย พลมลาดิช โดยปล่อยให้กองทัพเซิร์บอสเนียทำการ แยกผู้หญิงและเด็กออกไป ส่วนผู้ชายและเด็กผู้ชายถูกนำตัวไปกักขังไว้ในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนและโรงงานร้าง และทำการสังหารอย่างโหดเหี้ยม
ที่เลวร้ายกว่านั้นในเวลาต่อมาได้มีคำสั่งให้ขุดศพผู้เคราะห์ร้ายขึ้นมาแล้ว ทำการแยกชิ้นส่วนของศพและนำไปทิ้งกระจัดกระจายไว้ในสถานที่ต่างๆ เพื่อทำลายหลักฐานไม่ให้ตามเอาผิดจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้การพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลทำได้ยากยิ่งขึ้น แต่ภายหลังจากที่ เหตุการณ์สงบลง จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2000 เหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จำนวน 6,557 คนถูกพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้การวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนร่างกายที่เก็บ มาจากสุสานหมู่ และแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการพิพากษาคดีบนศาลอาญาระหว่างประเทศแล้วก็ตามแต่ ก็เป็นเพียงการลงโทษผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแค่บางส่วนเท่านั้น ยังมิใช่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
ปัญหาที่เกิดขึ้นในสงครามยูโกสลาเวียเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา ประวัติศาสตร์ สโลวีเนียและโครเอเชียตั้งอยู่ทางตะวันตกและทางเหนือ เคยอยู่ในอาณัติของอาณาจักรโรมันก่อนจะสืบทอดมาถึงจักรวรรดิ ออสเตรีย-ฮังการี วัฒนธรรมส่วนใหญ่จึงค่อนไปทางยุโรป เป็นศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนรัฐอื่นๆตั้งอยู่ทางใต้ เช่น บอสเนียและเซอร์เบีย เคยอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์และจักรวรรดิออตโตมานพื้นฐานของ วัฒนธรรมจึงเป็นแบบมุสลิม บ้างก็ไปข้างศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์
หากวิเคราะห์จากมุมมองทางการเมือง เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุที่เกิดขึ้นนั้น เกิดอยู่บนแผ่นดินของทวีปยุโรปในยุคสมัยใหม่ที่ผ่านการวิวัฒนาการทางด้านแนว ความคิด วัฒนธรรม สังคม มาตั้งแต่ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ยุคเรืองปัญญา(Enlightenment) ที่ส่งต่อมาจนถึงยุคนวนิยม (Modernism) และ กำลังดำเนินอยู่ในยุคแนวคิดหลังยุคนวนิยม (Post Modern)ในปัจจุบัน ที่กล่าวกันว่าเป็นยุคแห่งโลกใหม่ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคที่มนุษย์มีความเป็นอารยชนแตกต่างจากยุคสมัย โบราณที่ถูกครอบงำจากอำนาจทางศาสนาที่ฝ่ายนักคิดแนวปฏิฐานนิยม (Positivism) ในยุค Modernism จนถึง Post Modern มองว่าเป็นสิ่งที่ล้าหลังและมิอาจแก้ไขปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ได้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โลกก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ดังที่กล่าวมาแล้ว นั้นหาได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องบนโลกได้ เนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตั้งแต่การเกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914-1918) ,สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945) , สงครามในยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1991-1995) , การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา (ค.ศ.1994) , การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา (ค.ศ.1975-1979) , โศกนาฏกรรมความรุนแรงในปาเลสไตน์ , การเหยียดชนชาติและสีผิวในแอฟริกา , ปัญหาระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำที่มีความขัดแย้งกันมาจนถึงปัจจุบันใน สหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโศกนาฏกรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุที่เมืองเซเบรนิกาที่ เกิดขึ้นใจกลางยุโรปต่อหน้าต่อตาชาวตะวันตก ที่ร้ายไปกว่านั้นการวางเฉยของประชาคมโลกต่อเหตุการณ์ความรุนแรง ความล้มเหลวและความไร้ประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรระหว่างประเทศในการ ป้องกันและยุติความขัดแย้งก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โศกนาฏกรรมความสูญเสีย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าในยุคสมัยปัจจุบันที่ กล่าวกันว่ามนุษย์มีความเป็นอารยชนมากขึ้นเนื่องจากผ่านการพัฒนาด้านความคิด มาหลายยุคหลายสมัย เหตุใดจึงยังมีความป่าเถื่อนรุนแรง มุ่งทำลายล้างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหตุใดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงไม่สามารถทำให้ มนุษย์ยอมรับซึ่งกันและกันและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข(ในบางเหตุการณ์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังถูกใช้ในการทำลายล้างชีวิตมนุษย์อีกด้วย) จะกล่าวได้หรือไม่ว่าการยกย่องและให้คุณค่ากับความเจริญทางด้านวัตถุที่มาก เกินพอดีทำให้มนุษย์หยิ่งผยองเสียจนเรื่องของศีลธรรมในจิตใจมนุษย์ถูกมอง ข้ามและตกต่ำลงเรื่อยๆ จนเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฎกรรมความรุนแรงขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ในเดือนกรกฎาคม เสี้ยวหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองเซเบรนิกา ประเทศบอสเนีย จะถูกตั้งคำถามขึ้นอีกครั้งถึงประสิทธิภาพการทำงานและการแก้ไขปัญหาของ องค์กรระดับโลก รวมไปถึงผู้ที่กล่าวยกย่องชาติพันธ์ุและความเชื่อของตนว่ามีความเป็นอารยะ มีความศิวิไลช์ มีความเจริญแล้วว่า โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว นั่นน่ะหรือคือสิ่งที่กลุ่มคนที่กล่าวว่าพวกตนเป็นอารยชนควรกระทำต่อเพื่อน มนุษย์ด้วยกัน ????