นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจทางทะเลเมื่อศตวรรษที่ 15 สเปนและโปรตุเกสเป็นชาติแรกๆ ที่เป็นผู้ค้นพบดินแดนใหม่ สเปนเข้ายึดครองดินแดนในอเมริกาใต้และนำทรัพย์สิน ทองคำ และทรัพยากรต่างๆกลับไปยังสเปน ส่วนโปรตุเกสผูกขาดการค้าขายกับอินเดียและหมู่เกาะเครื่องเทศ ทำให้ชาติทั้งสองมีความมั่งคั่งเป็นอย่างมาก ต่อมาเส้นทางการผูกขาดการค้าทางเรือของโปรตุเกสและสเปนมีคู่แข่งคือ ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ ท้ายที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 17 ทั้งสเปนและโปรตุเกส ก็สูญเสียความยิ่งใหญ่ในด้านการค้าและอาณานิคมให้กับฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ
และสืบเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มจากประเทศอังกฤษแพร่หลายไปทั่วยุโรป ประเทศอุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องแสวงหาตลาดสินค้า และแหล่งวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น การล่าอาณานิคมในยุคใหม่นี้ชาวยุโรปต้องการเข้าไปควบคุมทั้งการปกครองและ เศรษฐกิจของประเทศอาณานิคมอย่างเต็มที่เพื่อหาประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศ ใต้อาณานิคมของตน จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มีชัยชนะในสงครามก็จัดสรรปันส่วนเอาดินแดนเหล่านี้ไปครอบครอง โดยเข้าไปควบคุมระบบการเมืองการปกครองภายในประเทศใต้อาณานิคมต่างๆของตน มีการขีดเส้นแบ่งเขตแดนกันตามที่ตนต้องการโดยมิได้ศึกษาพื้นที่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทางสังคม ความเหมือนและความต่างทางชาติพันธ์ุและความเชื่อความศรัทธาทางศาสนา จนเกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องดินแดน และนำไปสู่ความรุนแรงเกิดสงครามระหว่างคู่ขัดแย้งตามที่ได้เห็นจากข่าวสาร ตราบจนถึงทุกวันนี้
ปัญหาที่ชาติมหาอำนาจได้บ่มเพาะเชื้อทิ้งไว้มีอยู่ในหลายพื้นที่บนโลก ซึ่งไม่สามารถบรรยายให้รับทราบได้หมดในที่นี้ จึงจะขอยกตัวอย่างให้เห็นเพียงสามกรณีดังต่อไปนี้คือ
ปัญหาความขัดแย้งบนดินแดนปาเลสไตน์ – สนธิสัญญาบัลโฟร์
เมื่อราวปี ค.ศ.1915 มีการติดต่อกันทางจดหมายระหว่าง เซอร์ เฮนรี่ เมคมาฮอน (Sir Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ กับ ชารีฟ ฮุสเซน (Sharif Hussein) ผู้ครองแคว้นฮิญาดและเป็นตัวแทนของชาวอาหรับทั้งมวล โดยใจความของจดหมายระบุว่า เมคมาฮอนพยายามเกลี่ยกล่อมให้ชาวอาหรับสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร สู้รบกับฝ่ายมหาอำนาจอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสัญญาจะให้เอกราชแก่ชาวอาหรับในทุก ๆ ดินแดนหลังจากสงครามยุติลง (รวมถึงปาเลสไตน์ด้วย) ด้วยเหตุนี้อังกฤษจึงได้ลงนามในข้อตกลงแองโกล-อาหรับกับตัวแทนของชาวอาหรับ ทั้งมวลในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ.1915 นั่นเอง
จากคำสัญญาดังกล่าวทำให้ ชารีฟ ฮุสเซน เข้าร่วมรบกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร ชาวอาหรับจากซีเรีย เลบานอน และปาเลสไตน์ ก็เข้าร่วมลุกฮือขึ้นก่อกบฎต่อต้านอาณาจักรออตโตมานที่ประกาศเข้าร่วมสงคราม ในนามฝ่ายอักษะ ชาวอาหรับยินดีต้อนรับกองทัพอังกฤษที่เข้ามาในปาเลสไตน์ โดยเปรียบทหารอังกฤษเหล่านั้นเป็นเสมือนผู้มาปลดปล่อยให้พวกเขามีอิสรภาพ หลังจากต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของจักรวรรดิออตโตมานมานานเกือบ 500 ปี
ในท่ีสุดหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ปาเลสไตน์ได้ตกไปอยู่ในอำนาจของชาวอังกฤษ มีผู้นำของไซออนิสต์คนหนึ่งคือ “เฮอร์เบิร์ต ซามูเอล” (Herbert Samuel) ได้เขียนจดหมายถึงรัฐสภาของอังกฤษเพื่อให้ช่วยก่อตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของอังกฤษ และให้ชาวยิวอพยพไปยังที่แห่งนั้น และให้ผลประโยชน์กับรัฐบาลอังกฤษโดยการเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดที่จะคอยคุ้มครอง ผลประโยชน์ของอังกฤษที่จัดตั้งขึ้นเคียงข้างกับประเทศอียิปต์และคลองสุเอซ
ชาวอาหรับจึงถูกหักหลัง เพราะไม่เพียงแต่อังกฤษจะไม่รักษาคำมั่นสัญญาเท่านั้น แต่ยังไปสนับสนุนองค์กรยิวไซออนิสต์ให้จัดตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ผ่าน สนธิสัญญาบัลโฟร์ในปี ค.ศ.1917 โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับชาวอาหรับเจ้าของดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น อีกทั้งยังออกมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวยิวได้อพยพเข้ามาในแผ่นดินปาเลสไตน์แบบไม่จำกัด จำนวน และเพิ่มมากขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการกวาดล้างของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลอเมริกาก็ได้เข้าร่วมสมทบกับกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนแก่ยิวไซออนิสต์ ด้วยเช่นกัน และหลังจากการลุกฮือขึ้นต่อต้านของชาวมุสลิมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น อังกฤษจึงดึงเอาปัญหาของปาเลสไตน์เข้าไปสู่องค์การสหประชาชาติ และเสนอให้มีการจัดตั้งรัฐสองรัฐขึ้น คือรัฐของอาหรับและรัฐของยิว และให้เยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวงสากล (ของทั้งสองรัฐ) ใน ปี ค.ศ.1948 สหประชาชาติซึ่งบริหารงานโดยอเมริกาและอังกฤษ ได้ประกาศยอมรับการดำรงอยู่ของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ และจากการสนับสนุนของตะวันตกต่อชาวอาหรับในการเผชิญหน้ากับอาณาจักรออตโต มันเติร์ก หมายถึงการจบลงด้วยการยึดครองแผ่นดินปาเลสไตน์นั่นเอง หลัง จากการออกมติของสหประชาชาติ สงครามนองเลือดต่างๆ ระหว่างไซออนิสต์กับชาวมุสลิมได้ปะทุขึ้น และเนื่องจากการสนับสนุนอย่างครอบคลุมในทุกด้านของตะวันตกที่ทำให้อิสราเอล สามารถแผ่ขยายเนื้อที่แผ่นดินได้มากกว่าโดยการกำหนดของสหประชาชาติ ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นและหลายพันคนถูกสังหารหมู่ โดยปมปัญหาในดินแดนปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันไม่มี ทีท่าว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด
แคว้นแคชเมียร์ ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถาน
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 อังกฤษปกครองดินแดนอนุทวีป(อินเดีย)เป็นเวลายาวนานเกือบ 200 ปี ประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้นับถือศาสนาฮินดูหรืออิสลาม ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ว่าฝ่าย สันนิบาตรมุสลิม (Muslim League) นำโดย Jinnah เสนอ Two Nation Theory ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุ-ทวีป(อินเดีย)เป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรม และพื้นเพความเป็นมาแทบจะ ไม่เหมือนกันเลย และจักรวรรดิอังกฤษของอินเดียควรแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและ ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ในที่สุดจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษจึงได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศคืออินเดียและปากีสถาน โดยอังกฤษให้เอกราชกับอินเดียและปากีสถานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 โดยที่ข้อตกลงการแบ่งแยกดินแดนดังกล่าวแล้วไม่ได้แบ่งแยกเอาแคว้นชัมมูและแคชเมียร์ออกไปด้วย
เดิมทีแคว้น ชัมมูและแคชเมียร์นั้น เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวสิกข์ในช่วงต้นคริสศตวรรษที่ 19 หลังจากที่อังกฤษรุกรานสิกข์และได้รับชัยชนะในปี ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) แทนที่อังกฤษจะปกครองดินแดนด้วยตนเองกลับให้อำนาจการปกครองกับชาวฮินดูใน ฐานะ “มหาราชา” โดยอยู่ภายใต้ระบบจักรวรรดิอินเดียของ อังกฤษ ต่อมาเมื่อมีการประกาศเอกราช ผู้ปกครองแคว้นซัมมูและแคชเมียร์ก็ได้รับสิทธิเลือกที่จะอยู่กับประเทศใด ประเทศหนึ่งระหว่างอินเดียและปากีสถาน โดยต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศและศาสนาของประชากรที่อาศัยอยู่ มหาราชา Hari Singh Dogra ผู้ครองแคว้นชัมมูและแคชเมียร์ขณะนั้นไม่สามารถตัดสินใจได้ เนื่องจากตัวพระองค์นับถือศาสนาฮินดูขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนา อิสลาม
ดังนั้นมหาราชาจึงไม่ตัดสินใจที่จะรวมเข้ากับประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่กลับลงนามในข้อตกลงสงบศึกชั่วคราวกับปากีสถานเพื่อที่ประชาชนในแคว้นยัง สามารถทำการค้า การเดินทางท่องเที่ยวและการติดต่อสื่อสารกับประชาชนของปากีสถานได้ ขณะที่แคว้นชัมมูและแคชเมียร์ไม่ได้มีการลงนามข้อตกลงใดๆ กับประเทศอินเดีย
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1947 ชนเผ่า Pashtun จากชายแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานรุกเข้าแคว้นแคชเมียร์ นอกจากนั้นยังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในแคว้นเพื่อต่อต้านกลุ่มที่นับถือ ศาสนาอิสลามที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลปากีสถานในความพยายามจะรวมเข้ากับ ปากีสถาน จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้มหาราชา Hari Singh ตัดสินใจนำแคว้นชัมมูและแคชเมียร์เข้าร่วมกับอินเดีย โดยแลกกับความช่วยเหลือด้านกำลังพลและอาวุธจากอินเดีย
ภายหลังจากที่มหาราชา Hari Singh ลงนามในการส่งมอบสัตยาบันกับ V P Menon ผู้แทนนายกรัฐมนตรี Jawaharlal Nehru เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมในเช้าวันต่อมา (27 ตุลาคม) กองกำลังอินเดียก็เคลื่อนพลทางอากาศเข้าสู่กรุง Srinagar หรือ ศรีนครเมืองใหญ่ที่สุดในแคชเมียร์ นับตั้งแต่นั้นมาความขัดแย้งระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน ได้ทวีความรุนแรงขึ้นและต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน
ฝรั่งเศส กับดินแดนอินโดจีน
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นยุค การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งหลายประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนไม่ว่าจะเป็นประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม เหล่านี้ล้วนตกอยู่ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศส การเข้ามาในคาบสมุทรอินโดจีนในระยะเริ่มแรกของฝรั่งเศสได้เข้ามาทำการค้า และเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ฝรั่งเศสอาศัยช่วงที่ประเทศเหล่านี้เกิดความวุ่นวายเข้าแทรกแซงการเมือง ภายในประเทศ ในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์โดยใช้ชื่อว่าสหพันธ์อินโดจีน
การเข้ามาของฝรั่งเศสในยุคนั้นยังเกิดเป็นกรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่าง สยามกับกัมพูชาอีกด้วย และเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับเส้นเขตแดนกับฝรั่งเศสให้เป็นที่สิ้นสุด สยามจึงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสในปี 2446(ค.ศ.1904) และ พ.ศ.2449 (ค.ศ.1907) โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปักปันเขตแดน ซึ่งสยามร้องขอให้ฝรั่งเศสที่มีความพร้อมดำเนินการทำแผนที่ เมื่อผลิตแผนที่เสร็จสิ้น รัฐบาลสยามก็รับแผนที่นั้นมาใช้ในราชการนับตั้งแต่นั้นมา
จนถึงปี พ.ศ. 2483รัฐบาลไทยภายใต้นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงครามซึ่งดำเนินนโยบายชาตินิยม เห็นว่ารัฐบาลฝรั่งเศส (ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี) อ่อนแอ จึงใช้โอกาสที่ฝรั่งเศสขอให้ไทยลงสัตยาบันใน “สนธิสัญญาไม่รุกรานกันและกัน” ที่ทำขึ้นระหว่างฝรั่งเศส-ไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ขอปรับปรุงพรมแดนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเมื่อถูกปฏิเสธ ความขัดแย้งก็ระเบิดเป็น “สงครามอินโดจีน” ปลายปี 2483 ทำให้ญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ยจนเกิด “อนุสัญญากรุงโตเกียว พ.ศ. 2484″ ไทย จึงได้ ไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบอง มารวมในอาณาเขตอีกครั้ง แต่ถูกส่งคืนให้กับกัมพูชาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
ปัญหาเรื่องดินแดนระหว่างไทยกับกัมพูชายังส่งผลให้เห็นมาจนถึงปัจจุบันใน กรณีประสาทเขาพระวิหาร เหตุการณ์เริ่มจากเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เมื่อสภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระ วิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงลำพังและกล่าวหาว่ากัมพูชาสร้างหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จ มิถุนายน พ.ศ.2551 ความขัดแย้งเหนือกรณีพิพาทพรมแดนพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารรุนแรงขึ้น มีการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเหนือดินแดนพิพาทดังกล่าว หลัง จากนั้นก็ได้มีการปะทะกันระหว่างกำลังทหารทั้งสองฝ่ายหลายครั้งตั้งแต่ช่วง ปีพ.ศ.2551 – ปีพ.ศ.2554 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ชาวบ้านในบริเวณเขตแดนที่เป็นข้อพิพาทต้องอพยพหนีภัยจากการปะทะ และใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่กันอย่างยากลำบาก
การเข้าไปเกี่ยวข้องและมีอำนาจการปกครองของชาติเจ้าอาณานิคมในอดีตที่ เปลี่ยนแปลงสังคม การเมือง การปกครอง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาติภายใต้อาณานิคมนั้นยังมีให้เห็นอีกหลายกรณี เช่น กรณีการขีดเส้นแบ่งเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ , สงครามเวียดนาม(ยุคสงครามเย็น) , การเข้าไปขยายอำนาจเข้าปก ครองดินแดนภายในของแอฟริกาของประเทศเจ้าอาณานิคมต่างๆ(ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม )ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่19 มูลเหตุของปัญหาที่ตกค้างอยู่ในสังคมแอฟริกาส่วนหนึ่ง คือการแบ่งแยกคนต่างเชื้อชาติในยุคอาณานิคมที่ให้สิทธิกับคนส่วนน้อยที่อพยพ มาจากยุโรปมากกว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพื้นเมือง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาและกำหนดเป็นนโยบายของรัฐ คือนโยบายแบ่งแยกสีผิว(apartheid)ในปี ค.ศ.1948 แม้ต่อมาจะได้รับการต่อต้านและยุติลงแล้วก็ตาม การเหยียดสีผิวในสังคมจนนำไปสู่ความรุนแรงก็ยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องอีก ทั้งการเหยียดผิวที่เกิดขึ้นยังขยายตัวไปยังทวีปยุโรปและอเมริกาอีกด้วย
และแม้ว่าในศตวรรษที่ 21 ลัทธิการล่าอาณานิคม (ตามทฤษฎี) จะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม ประเทศที่เคยอยู่ใต้อาณานิคมของชาติตะวันตกต่างก็ได้รับเอกราชภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 จนไม่เหลือประเทศใต้อาณานิคมแล้วก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าประเทศเกิดใหม่เหล่านั้นจะได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ อย่างแท้จริงเนื่องจากลัทธิการล่าอาณานิคมได้แปรเปลี่ยนรูปแบบเป็นการครอบงำ สร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจแทน ชาติตะวันตกทั้งหลายต่างเข้าไปแทรกแซงกลไกระบบการเมือง การปกครองของประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา ผ่านการค้า การลงทุน โดยมีการจัดตั้งองค์กรทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) , กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) , สหประชาชาติ(United Nations : UN) เพื่อ ตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับให้ประเทศเล็กๆปฏิบัติตาม ซึ่งข้อสรุปในการที่จะช่วยเหลือประเทศเล็กๆหรือไม่ ล้วนอยู่ที่อำนาจการตัดสินใจและผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจเป็นที่ตั้งทั้ง สิ้น
ในขณะเดียวกันประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายก็พยายามไล่ตาม แบบอย่างความเจริญจากชาติตะวันตกในทุกๆด้าน เนื่องจากภาพของชาติตะวันตกที่สื่อออกมาให้เห็นมีแต่ความศิวิไลซ์ มีความเป็นอารยะ หากเราเดินตามชาติตะวันตกเราจะได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยลืมวิเคราะห์ว่าความเจริญในแบบที่ชาติตะวันตกกำลังขยายความนิยมไปทั่วทุก มุมโลกนั้น นัยหนึ่งก็นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้ง ความล่มสลายทางสังคมให้กับประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาได้ด้วยเช่น กัน ที่กล่าวมานี้มิได้หมายความว่าเราจะย้อนกลับไปใช้ชีวิตแบบยุคหินที่ต้อง อาศัยอยู่ในถ้ำ เข้าป่าล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพ เพียงเท่านั้น
หากแต่เราควรเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากบทเรียนความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การมองเพียงแค่มุมเดียวโดยมิได้ผ่านการวิเคราะห์ นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ได้รับการแก้ไขแล้วยังเป็นการสร้างปมปัญหา ความขัดแย้งต่อเนื่องและฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญได้เช่นกัน การเดินย้ำซ้ำบนรอยเท้าของผู้อื่น โดยมิได้มีความพยายามที่จะคิดมีรอยเท้าเป็นของตนเองเสียบ้าง รั้งแต่จะเข้าทางความต้องการของชาติมหาอำนาจที่ต้องการเข้ามาแทรกแซงระบบ การเมืองการปกครองเพื่อตักตวงผลประโยชน์บนความไม่สงบของประเทศที่เล็กกว่า เท่านั้น…โปรดตรองดู !!!!!