วิกฤติ ‘ฉนวนกาซ่า’ เผยโฉมหน้าผู้ก่อการร้ายโลก

ฉนวนกาซ่า เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณเล็ก ๆ ขนาด 360 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับอิสราเอล และทางตะวันตกติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เหตุ ที่เรียกว่า ‘ฉนวนกาซ่า’ ก็เพราะเขตแดนส่วนนี้ถูกกำหนดขึ้นจากข้อตกลงระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์หลัง สงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งแรกปี 1948 ให้เป็นคล้าย ๆ เขตกันชนระหว่างคู่อริทั้ง 2 ฝ่าย    

แม้จะมี พื้นที่ที่เล็กมาก แต่กาซ่าก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก ประชากรอาศัยอยู่ที่นี่มีมากถึง 1.8 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 75 เป็นผู้หญิงและเด็ก ประชากรในกาซ่าถึง 3 ใน 4 เป็นผู้อพยพลี้ภัยที่อาศัยอยู่ตามแคมป์ที่สหประชาชาติจัดไว้ให้ ส่วนใหญ่ของผู้ลี้ภัยเหล่านี้เกิดในพื้นที่ฉนวนกาซ่า แต่ก็มีบางส่วนที่อพยพมาตั้งแต่หลังสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 1948

หลังปี 1948 ฉนวนกาซ่าถูกปกครองโดยอียิปต์ แต่อียิปต์ก็ไม่ได้ผนวกรวมเอาดินแดนส่วนนี้เป็นของตน จนกระทั่งอิสราเอลชนะสงครามหกวันในปี 1967 (ซึ่ง อิสราเอลสามารถยึดครองดินแดนของอาหรับได้มากมาย) ทำให้ฉนวนกาซ่าเป็นหนึ่งในดินแดนที่อิสราเอลเข้ายึดครอง อย่างไรก็ตาม อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ทำสนธิสัญญาออสโลร่วม กันในปี 1993 ซึ่งส่วนหนึ่งในข้อตกลงนั้นคือการอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการ ปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซ่า ต่อมาในปี 2005 อิสราเอลจึงได้ดำเนินการถอนทหารและนิคมชาวยิว (ที่ผิดกฏหมาย)ออกจากฉนวนกาซ่าทั้งหมด จากนั้นเมื่อฮามาสชนะการเลือกตั้งปี 2006 ฉนวนกาซ่าจึงเป็นเขตอิทธิพลของรัฐบาลฮามาสจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

หากเทียบกาซ่า กับดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน หรือ ‘เวสต์แบงก์’ (ซึ่งทั้ง 2 อาณาบริเวณนี้ถูกกำหนดให้เป็นรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต) ต้องถือว่ากาซ่ามีขนาดเล็กกว่ามาก อีกทั้งประชากรยังมีฐานะยากจนกว่า เพราะกาซ่ามีทรัพยากรน้อยกว่า มีผลผลิตทางการเกษตรน้อยกว่า เป็นดินแดนแห้งแล้งทุรกันดาร แถมยังเป็นที่อยู่ของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีงานไม่มีการทำอยู่แล้ว

สภาพอย่างนี้ โดยปรกติชาวกาซ่าก็อยู่ลำบากอยู่แล้ว แต่ในช่วงหลายปีหลังนับตั้งแต่ 2007 อิสราเอลยังใช้มาตรการปิดล้อมกาซ่า จำกัดการนำเข้าอาหารการกิน ยารักษาโรค วัสดุก่อสร้าง และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ด่านพรมแดนต่าง ๆ ทั้งที่จะข้ามไปอียิปต์และอิสราเอลก็ถูกปิด สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนเปรียบเหมือนถูกลงโทษอยู่ใน ‘คุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก’

ยิ่งนานวันก็ ยิ่งมีคนตายจำนวนมากในกาซ่าอันเกิดจากมาตรการปิดล้อม ไม่ว่าจะเกิดจากการโจมตีของอิสราเอลครั้งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีต หรือการตายอันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเพราะไม่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์และยารักษา โรคเพียงพอ ที่แย่กว่านั้นคือเด็กปาเลสไตน์กว่าครึ่งในฉนวนกาซ่าเป็นโรคขาดสารอาหาร ทั้งหมดเป็นผลมาจากการปิดล้อมกาซ่าของอิสราเอลตลอด 7 ปีที่ผ่านมา

ตามข้อมูลของ ผู้สังเกตุการของสหประชาชาติ การโจมตีของอิสราเอลครั้งต่าง ๆ ในกาซ่า (ปี 2008/ 2012/ รวมถึงครั้งนี้ในปี 2014) มักพุ่งเป้าไปที่บ้านเรือนประชาชน โรงเรียน มัสยิด โรงงานส่งจ่ายไฟฟ้าและน้ำประปา คลีนิกรักษาโรค สำนักงานเทศบาล ยานพาหนะที่เคลื่อนไหว บ้านคนพิการ หรือแม้แต่พื้นที่ทำเกษตรขนาดเล็ก

ด้วยเหตุนี้ ชาวปาเลสไตน์ที่เสียชีวิตจากการโจมตีของอิสราเอลหนนี้กว่าร้อยละ 80 จึงเป็นพลเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ของพลเรือนก็คือผู้หญิงและเด็ก ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ประชาคมโลกมองเห็นโฉมหน้าผู้ก่อการร้ายโลกอย่าง อิสราเอลได้ชัดเจนขึ้นมากกว่าครั้งใด ๆ

วิกฤตการณ์ที่ เกิดขึ้นระลอกล่าสุดในฉนวนกาซ่ามักถูกฉายภาพออกมาในลักษณะการห้ำหั่นกัน ระหว่าง 2 รัฐ คือปาเลสไตน์กับอิสราเอล แต่ในความเป็นจริงนั้น มันเป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายที่เป็นผู้ยึดครอง ซึ่งกระทำต่อผู้ถูกยึดครองอย่างไร้ความปราณี เพราะตลอดช่วงเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายไม่มีอะไรที่เท่าเทียมกันเลย อิสราเอลเป็นฝ่ายที่รุกไล่ เอาเปรียบ และกดขี่ปาเลสไตน์มาโดยตลอด

เดิมที่ดินแดน ที่เรียกว่า ‘อิสราเอล’ ในวันนี้ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด ตอนนั้นอาจมีชาวยิวอยู่บ้างที่เป็นชนส่วนน้อย มีอยู่ไม่ถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด แต่ปัจจุบันอิสราเอลบุกเข้าไปยึดครองจนเหลือพื้นที่ให้ ‘เจ้าของบ้านเดิม’ ไม่ถึงร้อยละ 20 แถมยังรุกล้ำพื้นที่ที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งนิคมชาวยิวที่ผิดกฏหมายมากมาย หรือการสร้างกำแพงและรั่วลวดหนาม กักบริเวณชาวปาเลสไตน์ไม่ให้ได้ลืมตาอ้างปากและไม่ให้มีโอกาสติดต่อกับโลก ภายนอกได้ง่าย ๆ

มาตรการปิด ล้อมกาซ่ามีอ้าหมายประการหนึ่งคือต้องการโดดเดี่ยวกาซ่าภายใต้การปกครองของ กลุ่มฮามาส อิสราเอลตั้งใจให้ชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าเจอปัญหาความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจจาก นโยบายปิดล้อม และตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกอิสราเอลโจมตีอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้เพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าลุกฮือต่อต้านกลุ่มฮามาส

แต่ผลที่ปรากฏ ออกมากลับตรงข้าม นับวันฮามาสยิ่งมีคะแนนนิยมมากขึ้น บ้านเมืองในฉนวนกาซ่ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น หลักนิติธรรมถูกนำมาใช้อย่างเคร่งครัด แม้ประชาชนจะได้รับความทุกข์ยากจากการถูกกีดกันทางเศรษฐกิจก็ตาม ที่สำคัญคือกองกำลังฮามาสมีความเข้มแข็งและถูกจัดตั้งอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้อิสราเอลต้องใช้กำลังเข้ามาโจมตีกาซ่าอย่างที่เราเห็นกันในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน