รัฐบาลเร่งออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีชั้นสูง หลังจากก่อนหน้านั้นได้ระดมออกมาตรการสนับสนุนมาแล้หลายด้าน โดยหวังว่ามาตรการใหม่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศ หลุดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยในที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างการเติบโตในระยะต่อไปให้กับประเทศไทยในอนาคต (New Growth Engine) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำมาตรการสนับสนุนเสนอครม.อีกต่อ
โดยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งตัวเลขการลงทุนโดยตรง (FDI) ของไทยลดลงปีละ 6% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลขเฉลี่ยมีการลงทุนในระหว่างปี 2549-2557 มีสัดส่วนเพียง 2% และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวได้เฉลี่ยเพียง3.4% เท่านั้น ลดลงจากในช่วงปี 2543-2548 ที่การลงทุนของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 9%
ในช่วงดังกล่าว จีดีพีขยายตัวเฉลี่ยได้ 5.3% ซึ่งสะท้อนว่าการลงทุนของเอกชนเกี่ยวข้องกับการลดลงของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ดังนั้นหากสามารถผลักดันให้การลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้นในระดับ 10% ต่อปี จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้ในระดับ 5-6% นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศสามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศราย ได้ปานกลาง
และเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมจะสามารถเพิ่มรายได้ของประชากรได้ประมาณ 70% จากเป้าหมาย ส่วนอีก 30% จะมาจากอุตสาหกรรมใหม่
สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมในอนาคตของประเทศได้จากการศึกษาวิเคราะห์จะเกิดแนวโน้มที่สำคัญ ของโลก คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การพัฒนาความเป็นเมือง การพัฒนาเทคโนโลยีรุ่นใหม่
จากการสัมภาษณ์เจาะลึกนักลงทุนนักธุรกิจชั้นนำจำนวน 70 รายทั้งในและนอกประเทศ พบว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ1.อุตสาหกรรมที่ต่อยอดจากจุดแข็งเดิม ที่อุตสาหกรรมในประเทศไทยมีศักยภาพ ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารแห่งอนาคต
2.อุตสาหกรรม สำหรับอนาคต คือ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) อุตสาหกรรมดิจิทัล(Digital) และอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ (Medical Hub)
กระทรวง อุตสาหกรรมเห็นว่าทั้ง 10 ประเภท ถือเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนทั่วโลก และจะมีบทบาทจากการผลักดันเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยที่บี โอไออยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการ ลงทุนใน10อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการสนับสนุนพิเศษที่สูงกว่า ที่บีโอไอสามารถให้ได้ เช่น มาตรการการเพิ่มระยะเวลาการเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-15 ปี การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป็นกรณีพิเศษ การจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรม การอำนวยความสะดวกเรื่องใบอนุญาตการทำงาน (work permit) เป็นต้น
กระทรวง การคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งจัดทำกรอบมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพิ่มเติมเพื่อเสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาโดยเร็วที่สุด โดยเบื้องต้นบีโอไอจะเริ่มชี้แจงมาตรการต่างๆที่จะเพิ่มเข้ามาให้กับนัก ลงทุนต่างชาติ ในการไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
นอกจาก นั้นจะมีการตั้งคณะกรรมการระดับสูงของไทยที่ทำหน้าที่ในการเจรจากับบริษัท และอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกเพื่อชักชวนให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของ ประเทศไทย โดยจะมีดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวหน้า รวมทั้งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอโอไอ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศหรือผู้แทน เป็นคณะกรรมการ รวมทั้งจะมีการแต่งตั้งเอกชนจำนวนหนึ่งเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการชุด นี้ด้วย
สิทธิ ประโยชน์ที่จะเพิ่มเติมให้กับนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายถือว่าเป็น เครื่องมือใหม่ที่ภาครัฐจะใช้ในการชักชวนนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนใน ประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมมีเพียงเครื่องมือคือมาตรการบีโอไอ โดยมาตรการที่เพิ่มขึ้นต้องควบคู่ไปกับการเจรจาโดยคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้น เฉพาะโดยขณะนี้ในแต่ละกระทรวงมีบริษัทเป้าหมายที่จะเข้าไปเจรจา
จากนี้ไป ทิศทางอุตสาหกรรมในไทย จะมีความชัดเจนขึ้นในการวางแผนลงทุนในการยกฐานะรายได้ประเทศ