MEE – ตลาดอุตสาหกรรมฮาลาลทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 4.96 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งจากชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
Frost and Sullivan (ฟรอสต์และซัลลิแวน) บริษัทวิจัยการตลาดของอเมริกา พบว่าเศรษฐกิจฮาลาลกำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2020 ตลาดฮาลาลทั่วโลกมีมูลค่าถึง 2.30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ฮาลาลหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายอิสลามกำหนด
รายงานของ Frost and Sullivan ระบุว่า บริษัทระดับโลกต่างๆ ได้รวมผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลเข้าไว้ในพอร์ตของพวกเขามากขึ้น นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่าผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมกำลังซื้ออาหารฮาลาลมากขึ้น เนื่องจากดีต่อสุขภาพและมีความปลอดภัย และครอบครัวที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมอาจเลือกใช้การท่องเที่ยวฮาลาลเพื่อประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับครอบครัว
เนฮา แอนนา โธมัส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Frost and Sullivan กล่าวว่า “ด้วยฮาลาลเทรดและการเงินอิสลามในระดับที่สูงขึ้น อาจเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจฮาลาลก็พร้อมที่จะบูรณาการกับการค้าและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกมากขึ้น”
“นอกจากนี้ รัฐบาลต่างๆ กำลังเสริมความแข็งแกร่งด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนนโยบายผ่านแผนแม่บทระดับชาติและการขยายขอบเขตการรับรอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเติบโตของอุตสาหกรรมฮาลาล”
รายงานระบุว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นช่วยกระตุ้นแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจฮาลาลของสภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ในเดือนพฤษภาคม 2565 ฟรอสต์และซัลลิแวนคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีซาอุดีอาระเบีย 7.4% เพิ่มขึ้นจาก 4.8% ในเดือนมกราคม 2565
บริษัทต่างๆ ที่ต้องการตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ฮาลาลของ GCC ควรลดการปนเปื้อนระหว่างการผลิตและการจัดเก็บ รวมทั้งสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและลอจิสติกส์ที่สอดคล้องกับฮาลาล รัฐบาลทั่วโลกควร “พยายามรวมมาตรฐานฮาลาลและกระบวนการรับรองเพื่อช่วยลดจำนวนข้อกำหนดการรับรองและส่งเสริมการค้าฮาลาล”
นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตอาหารและบริษัทเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการปรับปรุงการตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใส Frost and Sullivan ระบุและยังแนะนำด้วยว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาลจะถูกรวมเข้ากับข้อเสนอจากผู้ผลิตยาและซัพพลายเออร์วัตถุดิบ “เพื่อเข้าถึงความต้องการยาฮาลาลที่เพิ่มขึ้นจากประเทศอิสลาม”
“ความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีความสำคัญ” โทมัสกล่าว “ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลต่างๆ ควรส่งเสริมการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ เช่น บล็อกเชนและอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) เมื่อพัฒนาแผนแม่บทเศรษฐกิจฮาลาล ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ สามารถ ร่วมมือกับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีได้”