ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel) ที่สำคัญ เกี่ยวพันกับเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาอิสลาม คือ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัด
อาหารฮาลาล จึงเป็นเรื่องของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันของ 3 ฝ่าย คือ 1.มุสลิมผู้บริโภค 2.ผู้ประกอบการ 3.ประเทศไทย โดยมีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจถึง 2 ฝ่าย (2+3)
1) ผู้นับถือศาสนาอิสลามได้บริโภคอาหารฮาลาล ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยจากสิ่งต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม (ฮารอม) และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ
2) ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะปฏิบัติตามกฎระเบียบการผลิตอาหารฮาลาลที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและตามระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในเรื่องฮาลาลอย่างเคร่งครัด และบริหารคุณภาพอาหารตามมาตรฐานฮาลาลได้ครบถ้วน
3) ประเทศไทยได้รับประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลครบวงจร เช่น วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตของผู้ประกอบการ การตลาดและการปรับปรุงการรับรองมาตรฐานฮาลาล” ขององค์กรศาสนาอิสลาม เพื่อส่งออกอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลกรวมทั้งตั้งหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลให้คำแนะนำ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ
นับวันคำว่า เศรษฐกิจ กับคำว่า ฮาลาล ยิ่งมีบทบาทและเป็นประโยชน์หรือประจักษ์ชัดต่อมนุษยชาติมากยิ่งขึ้น ทั้งที่แต่เดิมเป็นข้อบังคับใช้กับมุสลิมเท่านั้น
อัลกรุอานระบุ “พระองค์ได้ทรงจำแนกอย่างแจ่มแจ้งแก่สูเจ้าแล้วว่า อันใดที่พระองค์ทรงทำเป็นสิ่งฮารอมสำหรับสู่เจ้า” (6:119)
“และจงอย่ากล่าวตามที่ลิ้นของสูเจ้าอ้างมุสาว่า นี่เป็นสิ่งอนุมัติ (ฮาลาล) และนี่เป็นสิ่งต้องห้าม(ฮารอม)เพื่อสูเจ้าจะกุการมุสาต่ออัลลอฮฺ แท้จริงบรรดาผู้กุการมุสาต่ออัลลอฮฺ ไม่เจริญ” (16:116) }
“ฮาลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ และฮารอม คือสิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามไว้ และสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งเงียบนั้น เพราะพระองค์ได้ทรงอนุมัติถือให้เป็นความโปรดปรานแก่พวกท่านแล้ว”
จากข้อห้ามและข้อใช้ที่ปรากฏในพระคัมภีร์อัลกุรอานมา 1400 ปี ปัจจุบันนี้ กำลังกลายเป็นอุตสาหกรรมฮาลาลระดับโลก เข้าสู่ภาคเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ เพราะมีมูลค่าและเม็ดเงินมหาศาล ชนิดที่ทุกชาติต่างต้องการครอบครองส่วนแบ่งตลาดฮาลาลนี้ ให้ได้มากที่สุด ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกต่างยอมรับความจริง ในข้อที่ว่า “ฮาลาลมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ”
เศรษฐกิจ (Economy)
การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค คำว่า เศรษฐกิจ ตรงกับคำในภาษาอาหรับว่า الاقتصاد ตามหลักภาษาศาสตร์หมายถึง การดำรงอยู่บนแนวทางและความเป็นธรรม โดยตรงข้ามกับคำว่า มากเกินไป หรือ สิ่งที่อยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ กล่าวคือ มีความพอดี ประหยัด สายกลาง ไม่ขาดแคลนแต่ไม่เหลือเฟือมากนัก ดังปรากฏในอัลกุรอานความว่า
“ในหมู่พวกเขานั้นมีกลุ่มคนที่มีความเป็นกลางหรือยุติธรรม และส่วนมากจากพวกเขานั้น มีสิ่งเลว ร้ายจริงๆ จากสิ่งพวกเขากระทำ” (อัลมาอิดะฮฺ : 66)
ส่วนนิยามตามหลักนิติศาสตร์มีหลายคำนิยามด้วยกัน โดยท่าน al-Qahtan กล่าวสรุปคำนิยามเศรษฐกิจอิสลามทั้งหมดมักจะเกี่ยวข้องกับ บทบัญญัติและข้อชี้ขาดต่างๆของศาสนา ที่เข้ามาจัดระบบ การแสวงหาทรัพย์สิน การใช้จ่าย และการนำมาใช้ประโยชน์ และการพัฒนา
บิซเนสไทม์ รายงานว่า (7ต.ค.58) ดูไบ-เศรษฐกิจฮาลาลที่จะมีการเติบโต จากประชากรมุสลิมของโลกขยายตัวและสินค้าอื่นๆ ได้รับการรับรองให้เป็นไปตามกฎหมายอิสลาม, ผู้เชี่ยวชาญอิสลามกล่าว ”ผลิตภัณฑ์ฮาลาลไม่มีเนื้อหมูหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเงินและบริการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล จะเพิ่มขึ้นจากประชากรมุสลิมทั่วโลกที่เติบโต “ ประชากรมุสลิมของเรา มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 3 ของทุกปีและศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุด” มูฮัมหมัด เชาดาย ประธานคณะกรรมการอาหารและโภชนาการอิสลามแห่งอเมริกา และกล่าวอีกว่า “สินค้าที่เกี่ยวกับอิสลาม และได้รับการรับรองฮาลาล เป็นที่เอื้อต่อการเพิ่มขนาดเศรษฐกิจฮาลาลทั่วโลก ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ฮาลาล จึงได้เห็นธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมทั่วโลกตอบสนองความต้องการของลูกค้ามุสลิม”
เศรษฐกิจฮาลาลและโอกาสของประเทศไทย
ตลาดฮาลาลเป็นตลาดที่ใหญ่ เพราะเป็นธุรกิจอาหารที่ประเทศไทยมีศักยภาพมากที่สุด ในแต่ละปีการเจริญเติบโตของประชากรมุสลิมเร็วมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ จึงทำให้ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าฮาลาล 60% GDP โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่มาจากธรรมชาติเกือบทั้งหมด มักได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ แต่หลายประเทศยังให้ความเชื่อมั่นสินค้าฮาลาลของไทย แสดงให้เห็นว่า ทั่วโลกให้การยอมรับว่าไทยเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาล
แต่ความจริงแล้ว ฮาลาลไม่ได้มีแค่อาหารเท่านั้น บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ใช้กับบุคคล การบริการ การท่องเที่ยว การพยาบาล โลจิสติกส์ ทุกอย่างล้วนเป็นธุรกิจฮาลาลได้ และในอนาคตจะเกิดธุรกิจฮาลาลใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
โอกาสและช่องทางทางการตลาดของธุรกิจฮาลาลในไทย
เพราะหลายประเทศมีความเชื่อมั่นในสินค้าฮาลาลของไทย จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทั่วโลกให้การยอมรับไทยเป็นอันดับหนึ่งของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาล ไทยมีการจัดงานแสดงสินค้าระดับโลก ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในการทำการตลาด
สินค้าไทยที่เป็นไฮไลท์และเป็นที่ต้องของตลาดโลก เช่น “เนื้อวัวต้องประเทศออสเตรเลีย, ส่งออกไก่เป็นอันดับ 1 ของโลกต้องบราซิล, แต่ผลิตภัณฑ์ฮาลาลต้องประเทศไทยเท่านั้น ได้แก่ สินค้าฮาลาลประเภทอาหาร ของกินของใช้ เสื้อผ้าแฟชั่น ยังมีสินค้าไฮไลท์ของไทยที่เป็นที่ต้องการมาก เช่น อาหาร, สินค้าแฟชั่นเครื่องแต่งกายจากธรรมชาติ, เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์สปา, เครื่องสำอาง, สมุนไพร สิ่งเหล่านี้ ยังเป็นที่ต้องการเสมอ
ภารกิจของประเทศไทยเกี่ยวกับเศรษฐกิจฮาลาล คือ ต้องดันตราฮาลาลขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของโลกให้ได้ อย่างมาเลเซียที่ทำประชาสัมพันธ์ได้ดี ส่วนไทยเด่นในเรื่องของคุณภาพ แต่ไม่ถนัดในด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ โดยการจ้างประชาสัมพันธ์ระดับมืออาชีพมาช่วย และหน่วยงานของไทยก็ต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลต้องให้การสนับสนุนเต็มรูปแบบ มีนโยบายและแผนรองรับเตรียมไว้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยอาจมีโอกาสขึ้นเป็นอันดับหนึ่งได้ เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาลในประเทศไทย เป็นต้นกำเนิดสินค้าฮาลาลที่มีศักยภาพ มีอัตลักษณ์ มีจุดแข็งเหนือคู่แข่งอื่นๆ จนสามารถทำให้ชาวมุสลิมทั่วโลกยอมรับในการรับรองฮาลาลของประเทศไทยได้
—
อ้างอิง –
– smartsme.tv
– นิพล แสงศรี
– คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– http://www.thaimuslim.com/