ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (ตอนที่ 1)

24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร โดย พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะได้ก่อการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากการปกครอง ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความเจริญ ก้าวหน้าของนานาอารยะประเทศในขณะนั้น นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ไม่มีการ เสียเลือดเนื้อของคนในชาติแม้แต่น้อย และแล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละพระราชอำนาจอันมีแต่เดิม ของพระองค์ให้แก่ปวงชนชาวไทยตั้งแต่บัดนั้น

เมื่อ คณะราษฎรยึดอำนาจสำเร็จแล้ว จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราว พ.ศ. 2475 เป็นกติกาในการปกครองประเทศ กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารใช้อำนาจแต่งตั้งแทนคณะราษฎร จำนวน 70 คน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และ สภาชุดนี้สิ้นสุดลง 9 ธันวาคม 2476 ต่อมาได้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 2 จำนวน78 คน โดยเลือกทางอ้อม ให้ประชาชนเลือกผู้แทนตำบลๆละ 1 คน แล้วผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนจังหวัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยถือเกณท์ประชาชนสองแสนคนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน

สำหรับ จังหวัดชายแดนใต้อันหมายถึง จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สตูล ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรมุสลิมเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่และเป็นภูมิภาคที่ มีความแตกต่างกับภูมิภาคส่วนใหญ่ของประเทศไทยในด้านศาสนา เชื้อชาติ และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ จะสังเกตุได้ว่าในสภาผู้แทนชุดที่ 1 ไม่มีตัวแทนของจังหวัดชายแดนภาคใต้แม้แต่คนเดียว ยกเว้นจังหวัดสตูล มีนายตุ๋ย บินอับดุลลาห์ ( พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ) ซึ่งเป็นอดีตข้าหลวงเมืองสตูลและมีเชื้อสายเจ้าเมืองสตูลเก่าเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 2 ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกโดยทางอ้อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ได้แก่ นายแทน วิเศษสมบัติ นายฤทธิ์ รัตนศรีสุข นายสง่า สายศิลป์ และ นายตุ๋ย  บินอับดุลลาห์ ตามลำดับ จะสังเกตุว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นคนที่เป็นอดีตข้าราชการที่เป็นคนไทยพุทธเป็น ตัวแทน ยกเว้นจังหวัดสตูล

ต่อ มาเมื่อปี 2480 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงจากประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงได้ชาวมลายูเป็นตัวแทนของตนเข้าไปเป็นปากเสียงในสภา ผู้แทนราษฎร ได้แก่ นายอดุลย์ ณ สายบุรี พระพิพิธภักดี ( กูมูดา ) นายแวและ เบ็ญอาบัซ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นายวิไล เบญจลักษณ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ตามลำดับ แต่จังหวัดสตูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้แก่ นายสงวน ณ นคร เป็นคนไทยพุทธ ประจวบกับขณะนั้นผู้นำรัฐบาลคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กำลังรุ่งเรืองมีอำนาจ อิทธิพล บารมี มากมาย และได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับได้ คือ การนำวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ในประเทศไทย เช่น การแต่งกายแบบตะวันตก ออกนอกบ้านต้องสวมหมวกแบบฝรั่ง สามีจะออกนอกบ้านต้องจุมพิตภรรยาก่อน การทักทายในชีวิตประจำวันต้องเอาอย่างฝรั่ง แม้กระทั่งห้ามมิให้คนไทยกินหมากกินพลู ถึงขั้นออกคำสั่งให้โค่นต้นหมากต้นพลูให้หมดสิ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย นอกจากนั้นยังเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า ” สยามประเทศ “ มาเป็น ” ประเทศไทย ” เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศนี้เมืองนี้เป็นของคนที่มีชาติพันธุ์เดียวคือชาติพันธุ์ไทย

ด้วย นโยบายที่นิยมเลียนแบบตะวันตกและชาตินิยมไทยอย่างสุดโต่ง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้และคนไทยใน ประเทศไทยอย่างรุนแรง เช่น เกิดเหตุการณ์ตำรวจในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จับกุมตนกูปัตรอ นาเซร์ พี่ชาย นายอดุลย์ ณ สายบุรี ( ตนกูอับดุลยาลาล นาเซร์ ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาสในขณะนั้น ฐานความผิดสวมหมวกกะปิเยาะออกนอกบ้านไปในที่สาธารณะ และได้นำไปคุมตัวที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสายบุรีหลายชั่วโมง เหตุการณ์ครั้งนั้นก่อให้เกิดปฏิกริยาไม่พอใจรัฐบาลอย่างรุนแรงจากชาวมลายู ปาตานีและบานปลายไปทั่วทุกหัวระแหง นายอดุลย์ ณ สายบุรี ได้นำเรื่องนี้ไปพูดในสภาและกล่าวหารัฐบาลอย่างรุนแรงว่าไม่ให้เกียรติและ ไม่ยอมรับวัฒนธรรมของชาวมลายู ทำให้มีความรู้สึกไม่อยากเป็นคนไทย

บทบาท ในสภาผู้แทนราษฎรของนักการเมืองมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้รุ่นแรกยุคปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์เท่าใดนัก อาจเป็นเพราะสถานการณ์ภายในประเทศตกอยู่ในภาวะสงครามมหาเอเซียบูรพา(สงคราม ญี่ปุ่น) อีกทั้งความคิดและอุดมการณ์ของคนที่เป็นตัวแทนของประชาชนไม่ค่อยจะลงรอยกัน เช่น ระหว่าง นายอดุลย์ ณ สายบุรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส สืบเชื้อสายเจ้าเมืองสายบุรี กับ พระพิพิธภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี สืบเชื้อสายเจ้าเมืองยะหริ่ง ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้แม้จะเป็นตระกูลเจ้าเมืองมลายู 7 หัวเมืองปักษ์ใต้ แต่ความไว้เนื้อเชื่อใจจากเจ้าหน้าที่รัฐไทยต่อบุคคลทั้งสองมีความแตกต่าง กัน ตามประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคพญาแขก 7 หัวเมืองปักษ์ใต้ เจ้าเมืองยะหริ่งซึ่งเป็นเจ้ามลายูเดียวที่สวามิภักดิ์จงรักภักดีต่อรัฐไทย อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เคยมีจิตใจออกห่างจากรัฐไทยแม้แต่น้อย จึงเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจแก่บรรดาผู้ปกครองไทยมาตั้งแต่อดีตและตกทอดถึง รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน สำหรับเจ้าเมืองสายบุรีนั้นเคยสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าเมืองปัตตานีแข็งเมืองกับ รัฐไทยบ่อยครั้ง จนทำให้ผู้ปกครองไทยหวาดระแวงไม่ค่อยจะไว้วางใจมาตลอดจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน แม้ นายอดุลย์ ณ สายบุรี มีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งและไว้วางใจจาก ประชาชนนราธิวาสแล้วก็ตาม สภาผู้แทนราษฎรยุคนี้มีอายุยาวถึงปี 2488 เพราะมีการขยายวาระการดำรงค์ตำแหน่งโดยไม่มีการเลือกตั้ง เนื่องจากอยู่ในสถานการณ์สงครามมหาเอเซียบูรพา

วัน ที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดภาคกลางและภาคใต้ ของไทย รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ประกาศลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวัน ที่ 21 ธันวาคม 2484 และประกาศสงครามกับพันธมิตรเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 ประเทศไทยจึงเป็นศัตรูกับประเทศมหาอำนาจได้แก่ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯ ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นคู่สงครามกับญี่ปุ่นในภาคพื้นเอเซีย ญี่ปุ่นได้รุกเข้าไปยังดินแดนที่เป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกหลายพื้นที่ ประเทศไทยจึงกลายเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพญี่ปุ่นอันเกรียงไกรที่เดินทัพ ลำเลียงอาวุธยุทธโทปกรณ์จากประเทศมลายู (ปัจจุบันประเทศมาเลเซีย) ผ่านชายแดนใต้มุ่งสู่จังหวัดกาญจนบุรีเข้าตีพม่า ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนแตกพ่าย

ระหว่าง สงครามมหาเอเซียบูรพากำลังดำเนินอยู่ ประเทศไทยประสบกับปัญหาข้าวยากหมากแพงกันถ้วนหน้า ชาวบ้านมลายูปาตานีในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความทุกข์เป็นทวีคูณคือ นอกจากทุกข์อันเกิดจากนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่ต้องการลอกคราบวัฒนธรรมเก่าแก่ของคนในชาติและชาวมลายูแล้ว ยังมีทุกข์อันเกิดจากผลกระทบของสงคราม ส่งผลให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะข้าวสารที่จะ บริโภค ความทุกข์ยากลำบากของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงขนาดต้องขุดหาหัวมันมาบริ โภคแทนข้าว

ระหว่าง ปี 2483-2488 เป็นช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพากำลังดำเนินอยู่นั้น ในรัฐกลันตันที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและตกอยู่ใต้การยึดครองของกอง ทัพญี่ปุ่น ได้มีคนพื้นเมืองมลายูและมลายูเชื้อสายปาตานีกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งขบวนการ มลายูปาตานีรายา( GAMPAR-Garakan Melayu Patani Raya )เพื่อปลุกกระแสชาตินิยมมลายูเคลื่อนไหวทางการเมืองและร่วมมือกับทางการ อังกฤษอย่างลับๆ เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น คนที่มีบทบาทสำคัญในขบวนการมลายูปาตานีรายาแห่งนี้เป็นลูกหลานของ เต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดิน หรือ พระยาวิชิตภักดี อดีตรายาเมืองปาตานีคนสุดท้ายที่เคยต้องถูกกักขังที่เมืองพิษณุโลกนาน 2 ปี 9 เดือน ฐานความผิดแข็งข้อไม่ยอมลงนามสละตำแหน่งและอำนาจความเป็นเจ้าเมืองปาตานี ตามพระราโชบายในการเปลี่ยนการปกครองสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ที่ให้ยุบตำแหน่งเจ้าเมืองต่างๆในขอบเขตขัณฑเสมา สยามประเทศ และได้ส่งข้าหลวงจากส่วนกลางไปเป็นเจ้าเมืองแทนและให้รวมศูนย์อำนาจไว้อยู่ ที่ส่วนกลางกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตได้กลับมาอยู่เมืองปาตานีไม่นานก็ได้พา ครอบครัวลี้ภัยไปอยู่รัฐกลันตันจนถึงบั้นปลายของชีวิตในปี 2476 ได้ทิ้งบุตรและธิดาจำนวน 6 คน บุตร 3 ธิดา 3 ซึ่งต่อมาบุตรชายคนสุดท้องเจริญเติบโตศึกษาเล่าเรียนจนได้เข้ารับราชการเป็น ทหารอังกฤษได้ยศถึงพันโทและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในขบวนการมลายูปาตานีรายาต่อ ต้านญี่ปุ่น เขาคือ เต็งกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน