สดใหม่-ตอบโจทย์ตลาด “เคล็ดลับ” การเอาตัวรอดปี 59

photo : smgonline.net

ด้วยสถานการณ์ที่ผันผวนราวกับคลื่นในทะเลยามที่พายุเข้าสำหรับ “ธุรกิจ” ในปี 2558 จึงทำให้ “ธุรกิจ” ต่างจะต้องประคับประคองตัวเองเพื่อให้ผ่านไปให้ได้ ในขณะที่ ปี 2559 หลายฝ่ายเชื่อว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยยังคงจะไม่ดีไปกว่าเดิม ทำให้ภาคธุรกิจทั้งหลายจำเป็นต้องปรับตัว ขณะที่ธุรกิจหลายประเภทอาจได้รับผลกระทบ ล่าสุด “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้เปิดเผย “แนวโน้มธุรกิจที่สำคัญ ปี 2559  ที่ต้องจับตาให้ดีว่าธุรกิจกลุ่มไหนที่ “อาจเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง” หรือ “เติบโตได้ดี” ตอนรับ “ปีวอก” ที่ใกล้เข้ามาทุกที

ธุรกิจที่ต้องเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง

1.ประมง ต้องจับตาการส่งออกกุ้งให้ดี เนื่องจากหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 จากแรงฉุดด้านผลผลิตโลก และไทยที่ เพิ่มกดดันราคา รวมถึงผลจาก GSP, IUU Fishing และ Tier 3 ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะติดลบร้อยละ 9.8 ขณะที่ปี 2559 คาดว่า จะติดลบร้อยละ 7.7-2.3

2.ปิโตรเคมี โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังเผชิญแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มีฐานะเข้มแข็งและมีหลากหลายธุรกิจ ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะติดลบร้อยละ 22.3 ขณะที่ปี 2559 คาดว่า จะติดลบร้อยละ 8.6-2.6

3.รถยนต์ โดยยอดขายรถในประเทศ ยังคงมีปัจจัยถ่วงด้านกําลังซื้อของครัวเรือน ทําให้ค่ายรถยนต์ยังต้อง แข่งขันกันทําการตลาดอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะติดลบร้อยละ 13 ขณะที่ปี 2559 คาดว่า จะติดลบร้อยละ 1 หรือโตขึ้น 3%

4.ค้าปลีก โดยเฉพาะค้าปลีกสมัยใหม่ที่จับตลาดกลางลงล่างและค้าปลีกเผชิญการแข่งขันที่ รุนแรงอย่าง Hypermarket อาจเติบโตต่ำกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะโตขึ้น 3.2% ขณะที่ปี 2559 คาดว่าจะโตขึ้นประมาณ 3-4%

ธุรกิจที่น่าจะประครองการขยายตัว

1.ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะโครงการเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากมาตรการรัฐมีส่วนช่วยปรับสมดุลซัพพลายในตลาด ขณะที่การลงทุนเปิดโครงการใหม่จะยังเป็นภาพที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะติดลบร้อยละ 4.5 ขณะที่ปี 2559 คาดว่า จะติดลบร้อยละ 2 หรือโตขึ้น 4%

2.โรงแรม ซึ่งจะมีแรงหนุนจากการท่องเที่ยว แต่ธุรกิจโรงแรมก็ยังต้องเผชิญการแข่งขันที่สูง และยังมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะโตขึ้น 7.1% ขณะที่ปี 2559 คาดว่าจะโตขึ้นประมาณ 4.7-6%

ธุรกิจที่เติบโตได้ในเกณฑ์ดี

1.สุขภาพ โดยเฉพาะรายได้โรงพยาบาลเอกชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเติบโตต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของลูกค้า Medical Tourism และ Expatiation ได้ได้รับอานิสงค์จากการเปิด AEC ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะโตขึ้น 11.5% ขณะที่ปี 2559 คาดว่าจะโตขึ้นประมาณ 11-13%

2.ไอที โดยเฉพาะมูลคาตลาดการใช้บริการด้านข้อมูล ซึ่งเป็นเกิดจากแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี(4G)และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ซึ่งปี 2558 คาดว่าจะโตขึ้น 25.1% ขณะที่ปี 2559 คาดว่าจะโตขึ้นประมาณ 20.6-22.5%

ขณะเดียวกัน “ภาคการเกษตร” อาจเป็น “แรงฉุด” เศรษฐกิจปี 2559 แรงฉุดจากปัจจัยลบที่ต่อเนื่องมาจากปี 2558 จะยังคงกดดันรายได้เกษตรกรให้หดตัวเป็นปีที่ 5 ในปี 2559 แต่ด้วยผลด้านราคาสินค้าเกษตรหลักที่กระเตื้องขึ้น ทําให้อัตราการหดตัวน่าจะลดลง แต่ยังคงมีแรงฉุดกําลังซื้อครัวเรือนฐานรากอีก 3 ปัจจัย คือ

  1. ภัยแล้ง ที่แม้จะมีการช่วยพยุงราคา แต่ผลผลิตที่ลดลงจะกดดันรายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าข้าว
  2. เศรษฐกิจจีนที่โตช้าลงและเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ยังคงเปราะบาง จะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้ม อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้ายางพารา
  3. มาตรการที่มิใช่ภาษี จากประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะ IUU Fishing & Tier 3 ที่จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นและอาจมีผลต่อคําสั่งซื้อสินค้าไทยซึ่งจะส่งผล ต่อสินค้าประมง

โดยจับตาหลังฤดูแล้ง หากฝนมาตามฤดู รายได้เกษตรกรอาจจะไม่แย่ลงอีกซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่การผลิต เช่น ผู้ค้าปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกล การเกษตร) รวมทั้งธุรกิจที่พึ่งพากําลังซื้อกลุ่มนี้อย่างค้า ปลีกค้าส่ง จะยังคงได้รับ ผลกระทบไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นซึ่งอาจจะล่วงเข้าสู่ครึ่งปีหลัง

“การลงทุน” จะเป็น ส่วนเสริม” เศรษฐกิจปี 2559

การลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวมาตั้งแต่ปี 2556 จากหลายปัจจัยผลักดัน สอดรับกับการตั้งเป้าหมายให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลงทุน (Year of Investment) โดยมีแรงผลักดันการลงทุนของภาคธุรกิจในปี 2559 ที่สําคัญ 3 ส่วนได้แก่ 1. นโยบายภาครัฐ จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรการเร่งรัดการ ลงทุนและการให้สิทธิ ประโยชน์ต่างๆ 2. เทคโนโลยี 4G จากการลงทุนขยาย โครงข่ายของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม และความต้องการบริการด้านข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และ 3. เทรนด์อื่นๆ ได้แก่ความใส่ใจด้าน สุขภาพ และการผลิต ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปิดเสรี อย่างเป็นทางการ

ขณะเดียวกัน แรงกดดันทางด้านต้นทุนไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงนัก โดยราคาน้ำมันยังคงต่ำ ขณะที่ค่าจ้างแรงงานจะยังทรงตัวอย่างน้อยถึงกลางปีหน้า ด้านวัตถุดิบอาจได้รับผลกระทบจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็ง จนกระทบจากการน้ำเข้า และดอกเบี้ยที่ยังคงต่ำอยู่

โดยธุรกิจที่คาดว่าจะเป็น “แกนนํา” ในการลงทุน คือก่อสร้างและโลจสิติกส์, ไอที : Data Services, Online Content, Software & Application และ สุขภาพ : Health & Wellness และMedical Tourism, ที่อยู่อาศัยในทําเล ศักยภาพและกลุ่มเป้าหมาย ที่เฉพาะเจาะจง เช่น ผู้สูงวัย ตลอดจนผลิตภัณฑ์และ บริการที่ตอบรับกระแสการออกกําลังกาย

ก่อนหน้านี้ “กิตติชัย ราชมหา” อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่า ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังนับถอยหลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ทำให้ตลาดสินค้าและบริการเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดีในการพัฒนาและขยับขยายธุรกิจ

โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่มาแรงในยุคปัจจุบัน คือกลุ่มธุรกิจที่มีการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหลักสำคัญเพื่อ พัฒนาสินค้า บริการ หรือตัวแบบธุรกิจ โดยมุ่งหวังให้ธุรกิจอยู่รอด และเติบโตได้แบบก้าวกระโดดในอนาคต หรือที่มักคุ้นหูในชื่อ “สตาร์ทอัพ” (StartUp) นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อ “ตอบโจทย์” ความต้องการตลาดภายใต้สภาวะแวดล้อมการแข่งขันในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วรวมถึงการเน้นสร้างความสะดวกสบายของผู้บริโภคผ่าน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่นการเพิ่มช่องทางทำการตลาดผ่านแอพพลิเคชั่น (Application) ตอบโจทย์การใช้ชีวิตผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในปัจจุบันโดยธุรกิจ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากนักธุรกิจหน้าใหม่ แต่เป็นธุรกิจที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไม่เคยมีใครเคยทำมาก่อน

ดังนั้นการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้เกิด “ความสดใหม่” อยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความแตกต่างและมีเอกลักษณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่สร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือตัวแบบธุรกิจ จะสนับสนุนให้ธุรกิจก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งของอุตสาหกรรมนั้นๆได้ไม่ยาก โดยกลุ่มธุรกิจที่จะมาแรงเป็นพิเศษในปี 2559 นั้น มี 3 กลุ่มธุรกิจ  ได้แก่

  1. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) เหตุเพราะการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตทุกวันนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน 2. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness) เป็นอีกกลุ่มที่น่าจับตามองในปี2559 เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต 3.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food Innovation) เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจและมีกระแสของการเติบโตไม่น้อยในปี 2559

อย่างไรก็ดี  เมื่อมองว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นโอกาสที่ดีในการขยายธุรกิจ แล้วนั้น ก็ต้องมองอีกด้านหนึ่งในเรื่องของการปรับตัวของธุรกิจเพื่อต่อสู้แข่งขันกับ คู่แข่งที่มีมากขึ้นหลายเท่าตัวฉะนั้นหากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม(SMEs) ต้องการปรับตัวให้อยู่รอดแล้วผู้ประกอบการเหล่านั้นต้องคิดในมุมมองแบบนัก ธุรกิจสตาร์ทอัพให้ได้กล่าวคือการคิดค้นสินค้าและบริการที่แปลกใหม่ตลอดเวลา และยังต้องมองหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ