อินโดนีเซีย…บางเรื่องราวที่ถูกลืม (ตอนที่ 1)

ประธานาธิบดีซูการ์โน (ภาพจาก www.sarakadee.com)

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตบางครั้งเป็นเรื่องยากจะลืมเลือน เช่น การสังหารหมู่ประชาชนนับล้านคน ใน กัมพูชา อิรัก ปาเลสไตน์ เหตุการณ์เหล่านี้ได้เคยเกิดขึ้นในโลก… หลายเรื่องอาจจะถูกลืมออกจากความทรงจำไปแล้วก็ตาม แต่บางเรื่องที่หลายคนลืมไปนั้นกลับควรที่จะนำเสนอให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ อย่างกรณีการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซียที่สหรัฐอยู่เบื้องหลัง เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่เคยถูกนำเสนอ ทุกอย่างยังคงถูกปกปิดและไม่เคยเห็นภาพยนตร์หรือสารคดีในเหตุการณ์ครั้งนี้เลย!!!!

นักประวัติศาสตร์หลายคนได้อธิบายถึงเหตุการณ์ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย ช่วงที่มีการสังหารหมู่ผู้ที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์นับล้านคน ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดในศตวรรษที่ 20 เรื่องราวที่ได้เล่ากันมาจากประวัติศาสตร์ของผู้รอดชีวิต พลตรี sarwo Edhie เป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทในการกำกับดูแลการสังหารหมู่ที่มีการอ้างตัวเลขสูงเกือบ 3 ล้านคน เป็นเรื่องที่สร้างความปวดร้าวให้กับชาติอินโดนีเซียจนยากที่จะลืม วันที่ 30 กันยายน 1965 เป็นช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดทางการเมืองภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี ซูการ์โน ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย PKI โดยมีกองกำลังติดอาวุธส่วนฝ่ายตรงข้ามเป็นกลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกเป็นพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมที่เริ่มมีบทบาทในช่วงกลาง 1950

เหตุการณ์ที่เขม็งเกลียวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียเป็นช่วงเวลาที่สงครามเย็นเริ่มขยายวงระหว่างสองมหาอำนาจ พรรคคอมมิวนิสต์ PKI ของอินโดนีเซียใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน PKI เป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสามล้านกว่าคน องค์กรการค้า สตรี นักศึกษาจำนวนมากเข้าร่วมอุดมการณ์ของพรรค และชาวอินโดนีเซียเกือบยี่สิบล้านคนให้การสนับสนุน PKI ในเวลานั้นภายใต้การนำของ Dipa Nusantara Aidit เป็นองค์กรที่เงียบสงบปราศจากอาวุธ เป้าหมายเพื่ออำนาจในรัฐสภาของอินโดนิเซีย แต่เป็นบทบาทสำคัญของการปกป้องรักษา ซูการ์โน เพื่อปกป้องต่อสู้รักษาไว้ซึ่งเอกราชของอินโดนีเซียที่สูงตระหง่านวีรกรรมการต่อสู้ทางการเมืองจนถึงวาระสุดท้ายทางการเมืองของซูกาโน

บทบาททางการเมืองของซูการ์โนที่ได้รับการลงทรรศนะจากตะวันตกถึงการยืนหยัดต่อสู้และดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างฉลาดเพื่อความเป็นเสรีภาพของชาติอินโดนีเซีย การแสดงจุดยืนที่แข็งแกร่งต่อนักล่าอนานิคมตะวันตก อย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงกลาง 1950 ได้มีการยึดบริษัทน้ามันที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของให้กลับคืนสู่อินโดนีเซีย ในปี 1965 ซูการ์โนถูกไล่ออกจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ความพยายามของตะวันตกที่ต้องการที่จะโค่นล้มซูการ์โน โดยการทำทุกวิถีทางด้วยการสมคบคิดกับรัฐบาลในภูมิภาคและผู้ทรยศต่อชาติสมรู้กับ CIA โค่นอำนาจซูการ์โน และผู้ที่ทำงานให้กับ CIA ในวลานั้นคือ Benigno Aquino ซึ่งเป็นพ่อของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนปัจจุบัน

บทบาทของสหรัฐในการแทรกแซง

สหรัฐและพันธมิตรพยายามอย่างต่อเนื่องในการโค่นอำนาจ ซูการ์โน เพราะรับรู้ถึงการเอียงไปยังจีนของซูการ์โน พรรคการเมืองของซูการ์โนได้รับการสนับสนุนจากพรรคสังคมนิยมจีนโดยได้รับการปกป้องจากจีนอย่างชัดเจน เวลานั้นมีความพยายามทุกวิธีทางจากตะวันตกเพื่อที่จะบั่นทอนรัฐบาลของซูการ์โน

ในช่วงต้นปี 1965 เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในฮอลันดาได้เขียนจดหมายไปถึงรัฐบาลของเขา โดยให้ความเชื่อมั่นในตัวของซูการ์โน ในวิถีทางการเมืองของเขาและให้ซูการ์โนปกครองประเทศจนลมหายใจสุดท้าย เพื่อไม่ให้อินโดนีเซียขาดเสถียรภาพจากการครอบงำของตะวันตก ในช่วงเวลาที่เขาเจ็บป่วยเป็นเวลาที่เขาไม่ได้คาดหวังอะไรกับตัวเองว่าจะสร้างประโยชน์ให้ชาติมากแค่ไหน แต่ในเวลานั้น PKI เพื่อความอยู่รอดทางการเมือง เป็นความพยายามและความฝันสูงสุดทางการเมืองของซูการ์โน แต่ในช่วงเวลานั้นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกได้รเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการล้มล้างในช่วง วันที่ 30 กันยายน ปี 1964

ในช่วงเวลานั้นความพยายามในการก่อรัฐประหารโดย 6 นายพลชั้นนำที่เสียชีวิตเป็นคนที่อยู่ในมือของตะวันตกที่ถูกทำลายด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว กลุ่มรัฐประหารพุ่งเป้าไปที่องค์กรที่สนับสนุนพวกพ้องญาติมิตรของซูการ์โนและสื่อต่างๆ ที่เข้าถึงประชาชน

ช่วงเวลาในการก่อรัฐประหารโดยนายพลที่อาวุโสในกองทัพในตอนนั้น นายพล อับดุลฮาริส (Gen. Abdul Harris Nasution) และ นายพลซูฮาร์โต (Gen. Suharto) ทั้งสองเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นชนวนเลือดในการสังหารผู้คนนับล้าน ทั้งสองได้รับการฝึกอบรมจากสหรัฐอเมริกา แม้ว่าลู่ทางแห่งความสำเร็จยังคงยากในการโค่นซูการ์โน แต่ความพยายามรัฐประหารในเดือนกันยายน นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้เขียนเอาไว้ถึงเรื่องราวที่ต่างกัน ทั้งพยายามขัดขวางการรัฐประหาร แต่บางครั้งการศึกษาจากนักประวัติศาสตร์ตะวันตกเป็นคนละมุมมอง

ซูการ์โนอาจจะรู้หรือไม่รู้กับวาระของตนเองในตอนนั้นเกี่ยวกับพลังอำนาจของตะวันตกที่ต้องการโค่นเขา แต่เกิดการเบี่ยงเบนเกือบทุกอำนาจ แม้ตำแหน่งผู้นำกองทัพที่ซูการ์โนปฎิเสธ

การล่าสังหารผู้ให้การสนับสนุน KPI

ผู้นำ PKI ในเวลานั้นโดนแทรกแซงจากภายนอก แต่ในเวลาที่ยังไม่สามารถเห็นอะไรได้ชัด การล่าสังหารผู้ให้การสนับสนุนซูการ์โนอย่างไร้ความปรานีเกิดขึ้นทั่วทุกหมู่เกาะที่เป็นสมาชิกและให้การสนับสนุน KPI การล่าสังหารภายใต้สายตาของกองทัพอินโดนีเซียที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกเป็นช่วงเวลาแห่งความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในอินโดนิเซียในเวลานั้นสื่ออยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มรัฐประหาร KPI ถูกกวาดต้อน มีการวางแผนเพื่อสังหารหมู่อย่างเลือดเย็นกับผู้ที่สนับสนุน KPI ทั้งเผาบ้านเรือน ทำลายผลประโยชน์ทุกอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ KPI รวมถึงสำนักงานทั้งหมดถูกทำลาย จากนั้นคือการล่าสังหารที่มีขึ้นเรื่อยๆ

การสังหารหมู่ครั้งแรกเริ่มขึ้นที่ หมู่เกาะชวา (java) ความรุนแรงได้กระจายไปทุกภาคส่วน ในช่วงเดือนธันวาคม 1965 เวลานั้นกองกำลังรัฐประหารได้เข้าไปที่เกาะบาหลี จากข้อมูลรายงานว่า บาหลีเป็นฐานที่มั่นของ KPI การล่าสังหารในบาหลีที่เดียวทำให้ผู้คนประมาณ 200,000 คนที่ถูกฆ่าตาย ชายหาดที่สวยงามของบาหลีต้องเป็นตำนานแห่งการนองเลือด ในเวลานั้นมีประชาชนประมาณ 2,000,000 บ้านเรือนของสมาชิกถูกเผาทำลายพังพินาศโดยฝีมือกองกำลังพิเศษของอินโดนีเซียหนึ่งในจำนวนผู้ถูกสังหารเป็นสมาชิกของ Nahdlatu Ulama ในตอนนั้นการเข้าแทรกแซง จากตะวันตก CIA ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินอาวุธในช่วงกันยายน 1965

ในเวลานั้นกระทรวงต่างประเทศสหรัฐตั้งข้อสังเกตถึงการฆ่าอย่างเลือดเย็น คอมมิวนิสต์ 300,000 คนถูกฆ่าตาย และการลาออกของสมาชิกจำนวน 1.6 ล้าน ทำให้ผู้สนับสนุนลดลง 42 % ในเวลาเพียงหนึ่งปี นี่คือการฆ่าล้างโคตรที่โหดร้ายอีกครั้งหนึ่งนับตั้งแต่สหรัฐทิ้งระเบิดที่ ฮิโรชิมา นางาซากิ นักปรัชญาชาวอังกฤษ เบอร์ทรานด์ รัสเซล ที่กล่าวหาว่ารัฐบาลสหรัฐ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์นองเลือดในอินโดนิเซีย เขาเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า silent slaughter หรือ “การฆ่าเงียบ”

 

โปรดติดตามตอนต่อไป