การศึกษา กระบวนการตรวจสอบในหลักของชะรีอะห์ ที่ดำเนินการอยู่ภายใต้สถาบันการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับมติคำตัดสิน (Fatwa) เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการเกิดความอุ่นใจจากการกำกับดูแลให้ เกิดมาตฐานของกระบวนการเดียวกันกับ Accounting and Auditing Organization for Islamic Financial Institution (AAOIFI) เพื่อสร้างขอบเขตจำกัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการดำเนินงาน เพราะหากเกิดผลเสียสิ่งที่ตามมาคือการลดความ น่าเชื่อถือ การทบทวนบทบาทของชะรีอะห์ อิสลามทางด้านการเงินเป็นสิ่งที่สังคมควรรับรู้และเข้าใจในความจริงความผิด พลาดอาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดในหลักการบริหารเพื่อหากทางออกกับสาเหตุของปัญหา
การศึกษาเพื่อให้แน่ใจ ว่ากิจกรรมที่ดำเนินงานโดยสถาบันการเงินอิสลามนั้นไม่ขัดแย้งกับหลักการชะรี อะห์ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงตราสารต่างๆ นั้นเป็นไปตามหลักการครรลองหรือไม่ ในเรื่องแบบนี้การรายงานผลของคณะกรรมการชะรีอะห์จะต้องมีความเห็นและสรุปลง ในงบประมาณการเงินประจำปีของสถาบันการเงินนั้นๆ ฉะนั้นแล้วหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสถาบันการเงินอิสลามทุกการ ปฏิบัติจะต้องอยู่ภายใต้วินัย อากีดะห์ที่แข็งแกร่งไม่เห็นแก่เงินและจะต้องมีการแนะนำในเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อเอกสารสินค้าทั้งหมดว่าได้รับการตรวจสอบ และคณะผู้บริหารของสถาบันการเงินควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการเป็นการ สร้างความมั่นใจว่าทุกธุรกรรมอยู่ภายใต้หลักการอย่างมีมาตฐานโดยรักษาวินัย อย่างต่อเนื่องมั่นคงผู้บริหารการเงินอิสลามจะให้อภิสิทธิการตัดสินทุกอย่าง อยู่ภายใต้กรรมการชะรีอะห์ด้วยจรรยาบรรณ
แต่ปัญหาที่มักจะเกิด ขึ้นกับสถาบันการเงินอิสลามโดยที่คณะกรรมการอ่อนในอำนาจไม่มีการตรวจสอบ เฉพาะการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อหรือเม็ดเงินที่สถาบันการเงินนำไปลงทุน เรื่องการรายงานผลยังไม่สามารถให้คำตอบกับผู้ใช้บริการได้ หากหน่วยงานตรวจสอบมีอำนาจจะทำให้ทุกอย่างอยู่ในครรลองผลดีความเชื่อมั่นก็ จะตามมา สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้บางสถาบันการเงินยังคงอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะ สร้างผลร้าย อย่างไรก็ตามการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกคงเป็นสิ่งที่จำเป็น และการตั้งคณะตรวจสอบไม่ควรที่จะมาจากหน่วยงานของสถาบันการเงินเอง ผลบังคับใช้ในส่วนนี้ควรจะนำมาใช้กับประเทศไทยมากที่สุดเพื่อเป็นการกำกับ ดูแล เพราะการแต่งตั้งจากสถาบันการเงินนั้นบางครั้งไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น ในเรื่องของการตรวจสอบได้ ว่าการปฏิบัตินั้นเป็นไป ตามกฏระเบียบหรือชะรีอะห์หรือไม่เอาพวกพ้อง รักษาผลกำไรความอยู่รอดจนลืมมองผลเสีย คือออกนอกหลักการชะรีอะห์
มุสลิมในประเทศไทยที่ มีอยู่เป็นจำนวนน้อยจึงไม่สามารถต้านทานการกระทำของผู้แสวงหาผลประโยชน์ได้ เพราะไม่มีการตรวจสอบการรายงานของผู้ที่มีอำนาจเพราะสถาบันการเงินอิสลามที่ ไม่ได้ประจำอยู่ในประเทศมุสลิม บางประเทศมีวินัยในการทำงานสูงมากคณะกรรมชะรีอะห์มีอำนาจในการตัดสินกระบวร การตรวจสอบสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
ความอ่อนแอของสถาบันจะ เป็นในเรื่องวินัยจะนำมาซึ่งความหายนะเป็นการก้าวเข้าสู่ความผิดผลาด และกลายเป็นผลกำไรที่ฮะรอมในสุดการพัฒนาโครงสร้างการตรวจสอบ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนการผลิตที่สถาบันมีหุ้นส่วน เป็นไปตามกรอบโครงสร้างมากแค่ไหน เพราะความรับผิดชอบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลูกค้าเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการทำงานหนักของผู้บริหาร การรักษาสัญญาในธุรกรรมให้เป็นไปตามกฏข้อตกลง
โครงสร้างการตรวจสอบ บางประเทศจะต่างกันออกไป แต่สิ่งสำคัญคือการลดความเสี่ยงที่จะออกนอกกรอบของชะรีอะห์ การไม่ปฏิบัติตามสิ่งนี้ผู้บริหารควรตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดเพราะการตรวจ สอบจะเป็นไปตามข้อมูลที่สถาบันการเงินรายงานหรือไม่ การปฏิบัติในหลักการศาสนาอิสลามมีความสำคัญต่อการดำเนินงานการปฏิบัติของคณะ ตรวจสอบจะซึมซาบผ่านองค์กรความเชื่อมั่นจะกลับคืนมาในธุรกรรมที่สถาบันการ เงินนั้นๆ กระทำ เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ใช้บริการการดำเนินงานตามธุรกรรมนั้นมาตรฐานเป็น เรื่องที่ผู้บริหารต้องใส่ใจเพราะมีความสำคัญมากที่จะรักษาความสามารถทางการ เงิน หากเกิดความเสียหายมาตฐานจะถูกลดลำดับเกิดผันแปรเป็นดอกเบี้ยปล่อยสินเชื่อ ให้พวกพ้องธุรกรรมที่นอกหลักการ ขาดความซื่อสัตย์ ความเสี่ยงกับประเด็นเหล่านี้สร้างความพินาศให้กับสถาบันนั้นๆ มาแล้วอย่างมากมาย
จากศึกษาข้อมูลการ ดำเนินการภายใต้ความเสี่ยงในการปฏิบัติทางการเงินนั้นๆ ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น หก ประเภทความเสี่ยง เพราะเป็นการวางฐานรากของการบริหารความเสี่ยงทุกอย่างเป็นกรอบการทำงานของ สถาบันการเงิน แต่ การตรวจสอบควรเป็นผู้เชี่ยวชาญที่อยู่คนละหน่วยงานหลักการบริหารความเสียง เป็นเรื่องที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ
การจัดการความเสี่ยงในสถาบัน การเงินอิสลาม
หลักความเสี่ยงของ สถาบันการเงินอิสลามนอกจากการประกันภัยแบบตากาฟุลแล้วคณะผู้ตรวจสอบมาตฐาน ได้เห็นควรแบ่งออกเป็น 6 หัวข้อใหญ่ดังนี้ : ความเสี่ยงที่เกิดจาก ปล่อยสินเชื่อ , ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน, ความเสี่ยงทางด้านการตลาด, ความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง, ความเสี่ยงทางด้านอัตราผลตอบแทน, และความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงาน แต่โดยส่วนใหญ่จุดอ่อน ของสถาบันย่อมมีความกังวลในความเสี่ยงจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ หลักการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่พบเจอมากที่สุด นอกจากระบบประกันภัยของตากาฟุลแล้วมีด้วยกัน 15 หลักการครอบคลุม
หลักการโดยทั่วไป สถาบันการที่ดีจะมีการบริหารความเสี่ยงแบบครอบคลุมและขั้นตอนการรายงานใน กระบวนการพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อสร้างความสอดคล้องกับกฏระเบียบของหลัก การชะรีอะห์ และเพื่อให้เกิดความแน่ใจ ในความพร้อมของการรายงานความเสี่ยงภายใต้การกำกับดูแล
ความเสี่ยงที่เกิดจากปล่อยสินเชื่อ กลยุทธ์การจัดหาเงินทุนและตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ขั้นตอนการปล่อยสินเชื่ออาจจะแตกต่างกับข้อตกลงทางการเงินในรูปสากลจะดำเนิน การตามคู่สัญญา คณะกรรมการควรมีความขยันอดทนในการตรวจสอบก่อนที่จะมีการตัดสินใจทางเลือก การปล่อยธุรกรรมทางการเงินในแบบอิสลามควรจะมีวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการวัด และการรายงานในการปล่อยสินเชื่อภายใต้เครื่องมือที่ใช้ด้านสินเชื่อในแบบของ ชะรีอะห์เพื่อจรรยาบรรณในการปกป้องตัวมันเอง
ความเสี่ยงทางด้านการลงทุน การวางแผนการลงทุน กระบวนการรายงานในแง่ของลักษณะความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นการลงทุนรวมทั้งในแบบ ของ มูดอรอบะห์ มุชารอกะห์ ต้องให้เกิดความแน่ใจด้วยวิธีการประเมินราคาที่เกิดความเหมาะสมและสอดคล้อง กัน และประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากวิธีการของสถาบันในการคำนวนผลกำไรและ การจัดสรร เพื่อที่จะได้รับข้อตกลงร่วมกันทั้งสถาบันการเงินมุดาริบและคู่ค้ามูชารอ กะห์ แต่ในส่วนของกิจกรรมการลงทุนในตราสารทุนนั้นการขยายเงื่อนไขในของมุดอรอบะห์ และการลงทุนแบบมุชารอกะห์ ต้องเป็นที่ยอมรับและอยู่ภายใต้การเห็นชอบของคณะกรรมการชะรีอะห์ของสถาบัน การเงินนั้นๆ
ความเสี่ยงทางการตลาด ในส่วนของทรัพย์สินทั้งหมดของสถาบันการเงินนั้นควรจะมีสถานที่เหมาะสมสำหรับ การจัดการความเสี่ยงทางด้านการตลาดร่วมถึงรายงานและสำหรับความผันผวนของราคา สินค้าที่จะปรับขึ้นหรือลดลงได้ตลอด สร้างผลกระทบต่อธุรกรรมของสถาบันการเงินได้
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง การจัดการโครงสร้างทางสภาพคล่องในแต่ละประเภทบัญชีเงินทุนที่มีขอบเขตจำกัด และไม่จำกัดความเสี่ยงต้องคู่ขนานกับความสามารถของสถาบันการเงิน มีการเตรียมพร้อมที่จะรองรับการช่วยเหลือและสอดคล้องกับหลักการชะรีอะห์ เพื่อที่จะลดปัญหาและประสิทธิภาพทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น
ความเสียงในเรื่องอัตราผลตอบแทน ขั้นตอนการรายงานควรจะได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยสถาบันการเงินนั้นๆ เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัย การตลาด ที่มีผลต่อจำนวนสินทรัพย์การคาดหวังผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งที่จะต้อง สร้างความมั่นใจได้เป็นความมุ่งหวังของลูกค้าที่สถาบันการเงินต้องรับรองกับ กรอบที่เหมาะสมสำหรับการจัดการความเสี่ยงในเชิงพานิชย์ ต้องมีการผันไปตามสภาพที่เหมาะสม เพื่อลดการแบกรับภาระของสถาบันกรณีธุรกรรมได้ผลกำไรน้อย
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ควรจะมีบทบาทในสถานที่เหมาะสมควบคุมทั้งในเรื่องชะรีอะห์คณะกรรมการหรือที่ ปรึกษาให้สอดคล้องกับกฏระเบียบ จะต้องมีกลไกเพื่อสร้างความมั่นใจการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริหารและการ จัดหากองทุนในการดำเนินธุรกรรม…..
อ่านต่อตอนหน้า
ข้อมูล โครงการวิจัยเชิงคุณภาพ ศูนย์อิสลามศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
อาจารย์ประจำศูนย์อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตพัฒนาการ