อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 อันตรายไหม? ป้องกันอย่างไรได้บ้าง

อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 อันตรายไหม? ป้องกันอย่างไรได้บ้าง?”

ในยุคปัจจุบัน มลพิษทางอากาศกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก ทั้งนี้ หนึ่งในมลพิษที่อันตรายที่สุดคงจะหนีไม่พ้น “ฝุ่น PM 2.5” เพราะนอกจากฝุ่นชนิดนี้จะอนุภาคขนาดเล็กกว่าเส้นผม จนสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ อาการแพ้ฝุ่น pm2.5 ยังอาจส่งผลให้เกิดอันตรายและโรคร้ายแรงตามมาได้ด้วย!

ทว่า อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 จะอันตรายมากน้อยแค่ไหน รวมถึงมีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร เราขอรวบรวมข้อมูลสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 มาฝากพร้อมกันในบทความนี้!

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเปรียบง่าย ๆ ว่าเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ฝุ่น PM 2.5 เหล่านี้มาจากหลายแหล่งกำเนิด เช่น ไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงาน การเผาไหม้ต่างๆ หรือฝุ่นละอองจากธรรมชาติ

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายมากน้อยแค่ไหน?

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์มาก เนื่องจากขนาดที่เล็กมาก ฝุ่น PM 2.5 จึงสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจและเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย

  • ระบบทางเดินหายใจ: เกิดอาการระคายเคือง ไอ จาม หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด: เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • ระบบภูมิคุ้มกัน: เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ระบบอื่นๆ: ส่งผลต่อระบบประสาท สมอง พัฒนาการของเด็ก เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด

อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 เป็นอย่างไร?

อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 คล้ายกับอาการแพ้ทั่วไป แต่อาจรุนแรงกว่า ขึ้นอยู่กับปริมาณฝุ่นที่ได้รับ ระยะเวลาที่สัมผัส และสุขภาพของแต่ละบุคคล

  • อาการทั่วไป

สำหรับอาการทั่วไป อาจเป็นได้ตั้งแต่การคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ ทั้งนี้ อาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว นอนไม่กลับ รวมถึงมีอาการคันตาและน้ำตาไหลเกิดขึ้นได้ด้วย

  •  อาการรุนแรง

ทั้งนี้ อาการแพ้ฝุ่น P.M.25 อาจรุนแรงถึงขั้นหายใจลำบาก หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หน้าซีด ปากเขียว ไปจนถึงหมดสติ

อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 มักเกิดกับใครได้บ้าง?

แท้จริงแล้ว ฝุ่น PM 2.5 เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของทุกคน แต่บางกลุ่มมีความเสี่ยงต่ออาการแพ้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เช่น

  • เด็กเล็ก: ระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่เต็มที่ ปอดมีขนาดเล็ก และหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งยังเล่นบนพื้น เพิ่มโอกาสการสัมผัสกับฝุ่นละออง
  • ผู้สูงอายุ: ระบบทางเดินหายใจเสื่อมตามวัย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด
  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้: มีระบบภูมิคุ้มกันไวต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งส่งผลให้อาการแพ้รุนแรงมากกว่าคนอื่น ๆ
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด: หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น เพิ่มโอกาสการไอเรื้อรังหรือหายใจลำบาก
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง: ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานไม่เต็มที่ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ: เพิ่มโอกาสการเกิดโรคปอดอักเสบเรื้อรัง และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ฝุ่น PM 2.5 วิธีป้องกันอย่างไร?

ฝุ่น PM 2.5 คือมลพิษที่อันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการลดการสัมผัสฝุ่นด้วยวิธีต่าง ๆ

  • สวมหน้ากากอนามัย: เลือกหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน เช่น หน้ากาก N95 หน้ากาก KF94 สวมให้แนบกับใบหน้า ปิดทั้งจมูกและปาก และเปลี่ยนหน้ากากเมื่อใช้งานครบ 4-6 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูง: ตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน เลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และ ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 เข้าบ้าน
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ: เลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับขนาดห้อง เปลี่ยนไส้กรองตามกำหนด
  • ติดตามค่าฝุ่น PM 2.5: ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อติดตามข่าวสาร และตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ

ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นมลพิษร้ายที่อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงควรศึกษาข้อมูลของฝุ่นชนิดนี้และอาการแพ้ฝุ่น P.M2.5 ให้ละเอียด เพื่อหาวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด