ก่อนค้นพบน้ำมัน ซาอุดิอาระเบียเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายทุรกันดาร

“ซาอุดิอาระเบีย” มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่ใต้ผืนดินคิดเป็นสัดส่วน 25% ของโลก ภายในช่วงเวลา 70 ปีซาอุฯ ได้กลายเป็นผู้ผลิตนำ้มันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก  ข้อมูลอย่างเป็นทางการซาอุดิอาระเบียมีน้ำมันสำรองประมาณ 2.6 แสนล้านบาร์เรล  จากดินแดนแห่งชนเผ่า ซาอุฯ กลายเป็นประเทศที่มี GDP สูงระดับต้นๆ ของโลก

ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิออตโตมันได้ควบคุมหรือมีอำนาจเหนือที่พื้นที่ส่วนมากของคาบสมุทรอาระเบีย ภายใต้อำนาจนี้อาระเบียถูกปกครองโดยการเชื่อมโยงกับผู้ปกครองของชนเผ่า

ใน ปี 1916 ด้วยการส่งเสริมและการสนับสนุนของสหราชอาณาจักรอังกฤษ (ซึ่งกำลังต่อสู้กับออตโตมานในสงครามโลกครั้งที่ 1) ผู้ปกครองแห่งมักกะห์ (Sharif of Mecca) ฮุสเซน บินอาลี นำชาติอาหรับก่อขบถต่อจักรวรรดิออตโตมัน เพื่อสร้างรัฐสหรัฐอาหรับ

อย่างไรก็ตามการก่อขบถของอาหรับในช่วง ปี 1916-1918 นั้นกลับล้มเหลว

สัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 นำมาซึ่งจุดจบของอำนาจแห่งออตโตมันและสิ้นการควบคุมในอาระเบีย

หลังจากหลายปีของการแย่งชิงอำนาจและการต่อสู้ ในปี 1932 สองราชอาณาจักรของ ฮิญาซ (Hejaz) และ นัจด์ (Nejd) ก็รวมเป็นหนึ่งในนามราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

อาณาจักรใหม่เป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดในโลกพึ่งพาการเกษตรและรายได้จำกัดจากผู้เดินทางไปแสวงบุญ แต่แล้วหลังจากหลายทศวรรษของการค้นหาที่ผ่านพ้นไป ในปี 1938 พวกเขาก็ค้นพบน้ำมัน “ดัมมัม หมายเลข 7” (Dammam No.7), คือบ่อน้ำมันแห่งแรกในเชิงพาณิชย์ของซาอุดีอาระเบีย โดยเริ่มขุดเจาะเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1938

สำหรับการค้นพบน้ำมันนั้นเกิดขึ้นโดย บริษัทน้ำมันแองโกลเปอร์เซีย (Anglo-Persian Oil Company) ที่มัสยิดอัลสุไลมาน ในภูเขาของทางตะวันตกเฉียงเหนือของเปอร์เซียในปี 1908 แต่ฉันทามติของนักธรณีวิทยาในเวลานั้นลงความเห็นว่า “ไม่มีน้ำมันบนคาบสมุทรอาหรับ” ถึงแม้ว่าจะมีข่าวลือว่ามีน้ำมันซึมออกมาที่เมืองกาตีฟ (Qatif) บนชายฝั่งตะวันออกของอัลฮาซา (al-Hasa) จังหวัดทางตะวันออกของอาระเบียก็ตาม

ในช่วงเริ่มเกิดสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression 1929-1939) ซึ่งเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งก่อนที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแหล่งที่มารายได้ของผู้ปกครองมาจากการจัดเก็บภาษีจากผู้แสวงบุญที่เดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำจำนวนผู้แสวงบุญต่อปีลดลงจาก 100,000 คน เหลือไม่ถึง 40,000 คน  ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของพวกเขาอย่างมาก และพวกเขาต้องการที่จะหาแหล่งรายได้ทางอื่น เหตุนี้ทำให้กษัตริย์อับดุลอาซิซ (Abd-al’-Aziz) มุ่งมั่นต่อการค้นหาน้ำมัน

เมื่อ วันที่ 23 กันยายน 1933 กลุ่มนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันมาถึงอ่าวเปอร์เซีย ที่ท่าเรือจูเบล (Jubail) ในซาอุดิอาระเบีย และเริ่มต้นการเดินทางเข้าไปในทะเลทราย และในเดือนกรกฏาคมก็มีการค้นพบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่ กาวาร์ (Ghawar)

กษัตริย์อับดุลอาซิสแห่งซาอุดิอาระเบียได้มอบสัมปทานแก่ บริษัท สแตนดาร์ด ออยล์ ออฟ แคลิฟอร์เนีย (Standard Oil Company of California) ในการ “การสำรวจ ค้นหา ขุดเจาะ การสกัด ผลิต และการขนส่งปิโตรเลียม” และ “ที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินบิทูมินัส (bituminous)” ในจังหวัดใหญ่ทางทิศตะวันออกของประเทศ ซึ่ง สแตนดาร์ด ออยล์ ได้ส่งทีมนักวิทยาศาสตร์เข้าไปโดยทันทีเพื่อจะหาจุดที่สร้างกำไรให้บริษัทมากที่สุดในการเริ่มต้นการขุดเจาะ

3 มีนาคม 1938 มีการค้นพบน้ำมันในซาอุดิอาระเบีย
3 มีนาคม 1938 มีการค้นพบน้ำมันในซาอุดิอาระเบีย

และด้วยรถยนต์และเครื่องยนต์สันดาปภายใน (internal-combustion) อื่นๆ แพร่หลายไปทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก บริษัท สแตนดาร์ด ออยล์ กระตือรือร้นที่จะควบคุมตลาดน้ำมันเบนซินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากเหตุดังกล่าวบริษัทจึงต้องทำเกือบทุกวิถีทางเพื่อที่จะจับจองน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเป็นลำดับแรก จึงนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอับดุลอาซิซ และ สแตนดาร์ด ออยล์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุนซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในนาม บริษัทน้ำมันอาหรับอเมริกัน (Arabian American Oil Company – Aramco) (สำหรับบริษัท สแตนดาร์ด ออยล์แห่งแคลิฟอร์เนีย ต่อมาก็คือ เชฟรอน ในปัจจุบัน)

บริษัทสัญญาว่าจะทำให้รัฐบาลซาอุดีอาระเบียมีรายได้ที่มั่นคง พร้อมกับชำระเงินทันที 500,000 ปอนด์ ในทางกลับกัน Aramco ได้สิทธิพิเศษในน้ำมันทั้งหมดใต้ทะเลทรายทางตะวันออก ใน ปี 1938 บริษัทฯ ก็พบโชค (ทั้งนี้ตอนนั้นวิศวกรของ Aramco รู้แล้วว่ามีน้ำมันอยู่ในภูมิภาค แต่ไม่มีใครรู้ว่าจุดที่แม่นยำว่าอยู่ที่ไหนหรือมีปริมาณเท่าใด) หลังจากทุ่มทุนนักธรณีวิทยาและขุดเจาะจนค้นพบน้ำมันที่มีปริมาณเชิงพานิชย์ ที่ดัมมัมโดม (Dammam Dome) ใกล้ดะห์ราน (Dhahran) ในปีต่อมา Aramco ก็ได้ส่งออกนำ้มันผ่านเรือบรรทุกปิโตรเลียมลำแรก

“ดัมมัม หมายเลข 7” (Dammam No.7), บ่อน้ำมันแห่งแรกในเชิงพาณิชย์ของซาอุดีอาระเบีย โดยเริ่มขุดเจาะน้ำมันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1938
“ดัมมัม หมายเลข 7” (Dammam No.7), บ่อน้ำมันแห่งแรกในเชิงพาณิชย์ของซาอุดีอาระเบีย โดยเริ่มขุดเจาะน้ำมันเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1938

การค้นพบนี้นำมาซึ่ง “ครั้งแรก” ของหลายๆ อย่าง ซึ่งในที่สุดก็ได้เผยให้เห็นแหล่งน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับกษัตริย์นั้นรายได้จากน้ำมันกลายเป็นแหล่งที่มาสำคัญของความมั่งคั่ง เขาไม่ต้องพึ่งพาการรับเงินจากผู้แสวงบุญไปยังนครเมกกะห์ และการค้นพบนี้ได้แปรเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการเมืองแห่งตะวันออกกลางตลอดไป

คนงานต่างชาติมากกว่า 6 ล้านที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันและภาคการบริการ ในขณะที่ริยาดดิ้นรนเพื่อจะลดการว่างงานในหมู่ประชาชนของตัวเอง ทางการซาอุดีอาระเบียให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดจ้างคนหนุ่มสาวซึ่งเป็นประชากรที่มีขนาดใหญ่แต่โดยทั่วไปจะขาดการศึกษาและทักษะด้านเทคนิคในการตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน

ใน ปี 2014 ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียขาดดุลงบประมาณครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 และต้องเผชิญกับการขาดดุลงบประมาณในอนาคตอันใกล้ต่อไป เพราะราชอาณาจักรต้องการราคาน้ำมันสูงที่กว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเพื่อความสมดุลของงบประมาณ ถึงแม้ว่าในตอนนี้ราชอาณาจักรสามารถจัดหาเงินทุนมาชดเชยในส่วนที่ขาดดุลไปได้เป็นเวลาอีกหลายปีด้วยสินทรัพย์ที่มีในต่างประเทศหรือด้วยการกู้ยืมเงิน แต่อาจจะต้องเริ่มต้นลดการใช้จ่ายลงหากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นที่เป็นอยู่นี้

 

อ้างอิง
https://www.thevintagenews.com
http://riyadhconnect.com