มี ข่าวหนึ่งที่คนไม่ค่อยสนใจแต่คืออันตรายใกล้ตัว….เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา มีการสัมมนาวงเล็กๆ เกี่ยวกับเรื่องการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี “แร่ใยหิน”
ความจริงข่าวเรื่องแร่ใยหินมีมาตลอด แต่เป็นข่าวเล็กๆ ที่คนทั่วไปอาจไม่ได้สนใจนัก
ความ จริงก็คือ แร่ใยหินเป็นส่วนผสมหลักที่มีอยู่ในกระเบื้องมุงหลังคา ท่อประปา ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค และพวกอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหลายในบ้านของเรา แต่เป็นวัตถุที่ถูกขึ้นบัญชีถึงพิษภัยและอันตราย พูดง่ายๆ เป็นวัตถุมีพิษ ที่คนเราเมื่อได้รับฝุ่นผงแร่ชนิดนี้ไปเพียงครั้งสองครั้งในปริมาณมากพอก็มี ความเสี่ยงต่อมะเร็งในเยื่อหุ้มปอด
หลายประเทศทั่วโลกจึงประกาศยกเลิกการใช้และการนำเข้าแร่ใยหินอย่างเด็ดขาด
มีงานวิจัยของสหรัฐที่ระบุว่า พบผู้ป่วยเป็นคนงานในโรงงานผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเกิดเจ็บป่วยเรื้อรัง
หลายรายพบว่าเป็นมะเร็งที่เยื่อหุ้มปอด และเสียชีวิตในเวบาต่อมาหลายราย
ส่วนในไทยมีคณะแพทย์จากหลายสถาบันเคยออกมาเตือนด้วยความหวังดี
แต่ กลับโดน “บริษัทผลิตกระเบื้องรายใหญ่ของไทย” ที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับนักการเมืองสองพรรคใหญ่ ออกมาเบรคหัวทิ่มด้วยการแถลงว่า แร่ใยหินชนิดที่เค้าใช้ผลิตไม่มีอันตรายใดๆ ต่อคนเลย
โดยบอกว่า ต่อให้คนสูดฝุ่นแร่นี้เข้าไปก็จะสลายได้ด้วยตัวเองในร่างกายคนเรา…สุดยอดมาก!
ความ จริงอีกประการก็คือ ตั้งแต่ปี 2549 มาแล้วที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศให้ยกเลิกการนำเข้าและลดการใช้ ผลิตภัณฑ์แร่ใยหินในเมืองไทยภายใน 5 ปี รัฐบาลปชป.ก็รับลูกประกาศนี้ แต่กลุ่มธุรกิจที่นำเข้าแร่ใยหินมาจากรัสเซียไม่ยอมรามือง่าย วิ่งล๊อบบี้ข้าราชการระดับสูง นายทหารระดับสูง และนักการเมืองบางคน ให้ช่วยชะลอคำสั่งนี้ไว้ ต่อมาครม.ปัจจุบันสั่งให้กระทรวงอุตฯไปทำแผนยกเลิกการนำเข้า การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน แต่ก็มีความพยายามอย่างหนักในการยืดระยะเวลาคำสั่งยกเลิกนี้ให้ยาวออกไปถึง ปี 2560 ?!?
เหตุผล ที่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถช่วยอะไรได้ในคำสั่งนี้เพราะ บอกว่าไม่สามารถหากลุ่มตัวอย่างหาือเคสผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหิน ได้….เหตุการณ์นี้ทำให้กลุ่มนักวิจัยและแพทย์หลายคนที่มีความเป็นห่วงต่อ สุขภาพของประชาชนที่ต้องมาเสี่ยงมะเร็งกับความละโมบและทำธุรกิจแบบไร้ความ รับผิดชอบ พวกเขาจึงรวมตัวกันควานหาเคสผู้ป่วยจากสาเหตุนี้ ต่อมาคสามพยายามรวบรวมข้อมูลงานสิจัยต่างๆ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็พบผู้ป่วยมะเร็งในเยื่อหุ้มปอดที่เข้ามารับการรักษา สืบประวัติอาชีพผู้ป่วยคือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำอาชีพนี้มาทั้งชีวิตจนป่วยหนักจึงหยุดพักรักษาตัว
ปัจจุบัน เมืองไทยเป็นประเทศที่นำเข้าแร่ใยหินมากเป็นอันท๊อปไฟว์ของโลก โดยนำเข้ามาจากรัสเซียมากที่สุด ปีก่อนบริษัทผลิตกระเบื้องที่นำเข้าแร่ใยหินจากรัสเซียจัดทริปพาสื่อไป เยี่ยมชมโรงงานและแหล่งผลิตแร่นี้ สื่อกลับมาเขียนข่าวด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เขียนชนิดกลับดำเป็นขาว กลายเป็นแร่ที่แสนวิเศษเลิศเลอ และต่อมาบริษัทนี้ใช้วิธีกดดันรบ.ปัจจุบันด้วยการร้องขอไปยังรบ.รัสเซียให้ ช่วยกดดัน รบ.ไทยให้ชะลอหรือยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าแร่ใยหิน โดยเอาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาอ้างเอ่ย
ข้าพเจ้า เดาไม่ถูกว่า รบ.นี้จะตัดสินใจอย่างไร แต่ที่เห็นชัดๆ คือความละโมบหน้ามืดของกลุ่มทุนนี้ ที่ขาดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจโดยสิ้นเชิง เพราะขณะที่บริษัทผลิตกระเบื้องเกือบทุกรายในเมืองไทยขานรับคำสั่งนี้โดย ยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินกันหมดแล้ว แต่มีเพียงสองบริษัทนี้เท่านั้นที่ไม่สนใจและพยายามล๊อบบี้ทุกวิถีทาง เพราะแร่ใยหินมีราคาถูกกว่าวัตถุดิบอื่น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ขายกระเบื้องได้ราคาถูกกว่าเจ้าอื่นๆ โกยเงินเข้ากระเป๋าเต็มๆ ไม่เห็นต้องสนว่าใครจะป่วยใครจะเป็นมะเร็งตาย….คงมองว่าชาวบ้านน่ะโง่ ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก ชอบแต่ของถูกกัน ถูกกว่าบาทสองบาทก็โอเคแล้ —เพราะเค้ารู้ว่า การตระหนักรู้ในสิทธิสุขภาพของคนไทยนั้นต่ำมากๆ ไงเล่า!
สังคมไทยเราเป็นแบบนี้มานานนักแล้ว…”ไม่เห็นโลงศพมาวางตรงหน้า ก็ไม่มีใครหลั่งน้ำตา”
อภิรดี จูฑะศร-รายงาน

อภิรดี จูฑะศร เป็นอดีตผู้สื่อข่าวภูมิภาค (ภาคใต้) นสพ.ผู้จัดการรายวัน อดีตหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และครีเอทีฟบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่ 2 ค่ายดังของเมืองไทย ก่อนมารับตำแหน่งบรรณาธิการบริหารนิตยสารในเครือจีเอ็ม กรุ๊ป เป็นอดีตเลขาธิการสมาคมนักข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2546-2548 มีบทบาทร่วมเคลื่อนไหวและรณรงค์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ผืนป่าตะวันตก และต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและการทารุณกรรมสัตว์ ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน เคยเป็นเลขาธิการมูลนิธิ Wildlife และ เป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ มีผลงานเขียนทั้งบทความ สารคดี บทกวี เรื่องสั้น และบทสัมภาษณ์คนดังหลายวงการในหน้านสพ.และนิตยสารหลายเล่มตลอดกว่า 25 ปีในแวดวงสื่อสารมวลชน ปัจจุบันเป็นครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ บ.มีเดีย โร้ด , บรรณาธิการ/ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ. The Public Post