วิกฤตการณ์ การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นวิกฤตการณ์การเมือง ที่ดำเนินมาจนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการทำรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีสาเหตุจากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 และถูกหลายฝ่ายคัดค้าน ฝ่ายหนึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ และอีกฝ่ายหนึ่งคือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และคนเสื้อแดงบางส่วน ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 วุฒิสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทว่า การชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพยังคงดำเนินต่อไป โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการต่อต้านรัฐบาลแทน
อีก เหตุการณ์หนึ่ง รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลวินิจฉัยตามนั้น พรรคเพื่อไทยปฏิเสธคำวินิจฉัยนี้และในวันที่ 8 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรีขอถอนร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนจากพระมหากษัตริย์ขณะที่ นปช. จัดชุมนุมตอบโต้ขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถานตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2556 ระหว่างนั้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ผู้ชุมนุมฝ่ายสุเทพเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อบีบให้ปิดทำการ มีเหตุรุนแรงที่สำคัญคือ การปะทะกันบริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงตลอดทั้งวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม มีผู้เสียชีวิต 4 คน และบาดเจ็บ 57 คน
การ ยกระดับการชุมนุมในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจเป็นเวลาสองวัน ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและหัวฉีดน้ำ เพื่อยับยั้งไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าทำเนียบรัฐบาล มีผู้บาดเจ็บ 119 คนจนวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ตำรวจจึงเปิดให้ผู้ชุมนุมเข้าไปได้ เพื่อสงบศึกในวันเฉลิมพระชนมพรรษา จากนั้น ผู้ชุมนุมจึงชุมนุมกันต่อ ครั้นวันที่ 8 ธันวาคม 2556 ส.ส. ประชาธิปัตย์ทั้ง 153 คนลาออก และในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่สุเทพและผู้ชุมนุมปฏิเสธการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้จัดตั้งสภาประชาชนเพื่อปฏิรูปการเมืองเสียก่อน
กระทั่ง วันที่ 13 มกราคม 2557 สุเทพนัดชุมนุมปิดถนนสายหลักในกรุงเทพมหานครเพื่อกดดันรัฐบาล นำไปสู่การใช้ความรุนแรงและอาวุธเป็นระยะๆ จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต วันที่ 21 มกราคม 2557 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดย รอบวันที่ 26 มกราคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้าในกรุงเทพมหานครและภาค ใต้ ทำให้การเลือกตั้งเสียระบบ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว 440,000 คนไม่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลยืนยันเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 ว่า การเลือกตั้งต้องดำเนินตามกำหนดต่อไป ท้ายที่สุด มีผู้มาเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 46.79
วัน ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลอาญาออกหมายจับแกนนำการชุมนุม 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 สุเทพประกาศยุติการปิดถนนในกรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม และรวมเวทีการชุมนุมทั้งหมดไปอยู่ที่สวนลุมพินี วันที่ 18 มีนาคม 2557 คณะรัฐมนตรีจึงยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลับไปใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น
วัน ที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แกนนำผู้ชุมนุมยืนยันว่า จะทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ให้มีผลโมฆะ วันที่ 3 เมษายน 2557 ศาลอาญาเพิกถอนหมายจับแกนนำการชุมนุม 19 คน ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เนื่องจากรัฐบาลได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว
วัน ที่ 7 พฤษภาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีที่มีมติย้ายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
กระทั่งวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้กฎอัยการศึก เริ่มตั้งแต่เวลา 03:00 น.
รถถังเข้ากรุง
ซึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีกระแสการทำรัฐประหารออกมาอยู่เนืองๆ จากข่าวลือที่มีการเคลื่อนไหวของรถถังจำนวนมาก รวมถึงกำลังพลเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในขณะนั้นมีการออกมาตอบคำถามของสังคมว่าเป็นรถจากกรมทหารม้าที่ 4 และ 5 ของ พล.ม.2.รอ. ซึ่งกลับจากฝึก ที่พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และได้กลับที่ตั้ง จ.สระบุรีแล้ว ไม่ได้เข้ามากรุงเทพฯ ขณะเดียวกันกลับมีการ การแชร์ภาพ เมื่อมีขบวนรถถัง และรถทหาร ยาวเหยียด แล่นจากลพบุรี มุ่งหน้ามาทาง กรุงเทพฯ
ตรวจพบอาวุธสงคราม
มี การตรวจพบอาวุธสงครามได้ให้หลายจังหวัดรอบบริเวณกรุงเทพอย่างเช่นที่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นบ้านของอดีตทหารพรานวัย 54ปีโดยมีทั้งอาวุธสงคราม เครื่องกระสุน ระเบิด และอุปกรณ์ประกอบระเบิดเป็นจำนวนมาก รวมถึงบัตรการ์ด นปช.รวม 20 รายการ
นอกจาก นี้ยังที่อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร พบอาวุธสงครามพร้อมกระสุนจำนวนมาก อาทิ ปืนเอเค47(พับฐาน) 1 กระบอก ซอง 1 ซอง พร้อมกระสุน 777 นัด ปืนไรเฟิล 1 กระบอก พร้อมกล้องส่อง 2 พร้อมซอง 2 ซอง กระสุนในซองพร้อมยิง 38 นัด เครื่องยิงเอ็ม79 จำนวน 1 กระบอก พร้อม ลูกกระสุน จำนวน 9 นัด ปืนเอ็มพี 1 กระบอก พร้อมซอง 3 ซอง ,กระสุน 48 นัด ปืนคาร์บิน พร้อมกระสุน 154 นัด ปืนเอ็มพี 4 พร้อมกระสุน 275 นัด ปืนพกสั้น (ดาวแดง) วิทยุไอคอมจำนวน 1 เครื่อง ระเบิดแสวงเครื่อง (ยังไม่ใส่ดินปืน) จำนวน 8 ลูก 1 ระเบิดขว้าง 3 ลูก ดินระเบิด 120 ขวด มีดสั้น 1 เล่ม คัตเตอร์ 1 เล่ม เกราะอ่อน 1 ตัว
แต่ ที่ฮือฮาที่สุดน่าจะเป็นการตามล่าหาเครื่องเพชรของนางเอกสาวอย รินลณี ศรีเพ็ญ นางเอกละครช่อง 3 ที่โรงแรมจันทร์ทรา รีสอร์ท อ.เมือง จ.นครนายก พบรถยนต์มาสด้า 3 สีขาวทะเบียน ณฐ 548 กทม. จอดอยู่บริเวณทางเข้ารีสอร์ท จึงเข้าตรวจค้นภายในรถพบอาวุธปืนสงคราม 2 กระบอก เป็นปืนอาก้าและปืนเซกาเซ่ อยู่บริเวณเบาะหลังคนขับ
จุดเริ่มต้นการชุมนุม
เริ่ม จากที่ สถานีรถไฟสามเสน เป็นสถานที่แรกในการชุมนุม เพื่อต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน ต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน สุเทพ เทือกสุบรรณประกาศย้ายเวทีการชุมนุม โดยเคลื่อนขบวนไปปักหลักที่ถนนราชดำเนินแทน พร้อมทั้งยกระดับการชุมนุม
สุ เทพนำกลุ่มผู้ชุมนุม เคลื่อนขบวนจากสถานีรถไฟสามเสน ในเวลา 10:00 น. ไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประกาศยกระดับ โดยตั้งเวทีปราศรัยถาวร ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และใช้ถนนราชดำเนินกลาง เป็นสถานที่ในการชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จนถึง 12 มกราคม พ.ศ. 2557
วัน ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สุเทพประกาศยกระดับการชุมนุม โดยอ้างว่ารัฐบาลไม่ยอมถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ออกจากสภาทั้งหมด พร้อมทั้งประกาศมาตรการ 4 ข้อดังนี้ หยุดงาน 3 วันคือ วันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2556 โดยให้หยุดงานเพื่อออกมาชุมนุม, งดชำระภาษีประจำปี, ประดับธงชาติไทย ที่หน้าบ้านของตนเอง, ถ้าพบเห็นรัฐมนตรีคนใด ให้เป่านกหวีดใส่ และเปิดตัวแกนนำ ทั้งหมด 9 คน ซึ่งประกาศลาออกจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับสุเทพด้วย คือถาวร เสนเนียม, สาทิตย์ วงศ์หนองเตย, อิสสระ สมชัย, วิทยา แก้วภราดัย, เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ซึ่งสุเทพให้เป็นโฆษก, ชุมพล จุลใส, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และณัฎฐพล ทีปสุวรรณ ซึ่งสุเทพให้เป็นแกนนำหลัก หากสุเทพไม่สามารถเป็นแกนนำหลักได้ โดยสุเทพ พร้อมทั้งแกนนำ 8 คนดังกล่าว เข้ายื่นใบลาออกจากความเป็น ส.ส. ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่รัฐสภา ในวันต่อมา
วัน ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สุเทพประกาศยกระดับการชุมนุมอีกครั้ง ให้กลายเป็นการถอนรากถอนโคนสิ่งที่สุเทพและผู้ชุมนุมเรียกว่า ระบอบทักษิณ โดยกล่าวอ้างทั้งสามประการคือ มีการเอื้อประโยชน์แก่สกุลชินวัตรและพวกพ้อง, เป็นบ่อเกิดของเผด็จการรัฐสภาให้เป็นศูนย์รวมอำนาจ และล้มล้างการถ่วงดุลอำนาจเพื่อเอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อโค่นล้มให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย พร้อมทั้งออกมาตรการเพิ่มเติมคือ การล่ารายชื่อถอดถอน ส.ส. ทั้งหมด 310 คน โดยจะยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน, ต่อต้านบุคคลในเครือข่าย ด้วยการเป่านกหวีดเมื่อพบเจอ, ต่อต้านสินค้าในเครือข่ายทุกชนิด และขอให้คนไทยทั้งหมดหยุดงานมารวมพลังต่อสู้ให้มากที่สุด จนกว่าจะได้รับชัยชนะ
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลและการยึดสถานที่ราชการ
ใน วันที่ 24 พฤศจิกายน มีการชุมนุมใหญ่ที่เวทีราชดำเนิน โดยประกาศยกระดับข้อเรียกร้องเป็นการต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยใช้ชื่อว่า วันมวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน โดยแกนนำต้องการให้ผู้ชุมนุมมาให้ได้เกิน 1 ล้านคน
เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ บุกรุกเข้ายึดบริเวณและอาคารสถานที่ราชการ ของสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง ซึ่งตั้งอยู่ติดกัน ก่อนจะเคลื่อนการชุมนุม ไปบุกเข้ายึด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ริมถนนแจ้งวัฒนะ
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยมอบหมายให้วิทยา แก้วภราดัย เป็นผู้ควบคุมบริเวณดังกล่าวแทน ทั้งนี้ มีการชุมนุมอยู่
ใน วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งนำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ บุกรุกเข้ายึดบริเวณและกลุ่มอาคาร ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ โดยตั้งเวทีชุมนุมขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ขณะที่ภายในกระทรวงการคลัง ก็ยังคงมีกลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักอยู่
การจัดตั้ง กปปส.
กระทั่ง เมื่อในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ที่ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ สุเทพ เทือกสุบรรณประกาศก่อตั้ง คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มองค์กรประชาชน ในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่นกลุ่มนักวิชาการ นำโดยสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กองทัพธรรม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เป็นต้น โดยมีสุเทพเป็นเลขาธิการของกลุ่ม