เศรษฐกิจไทยหลังยึดอำนาจ “มูดี้ส์” ยันโตแค่1-2%

หลัง จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ทำการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ผ่านไปเพียงวันเดียว โดยระบุเหตุจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วนั้น สถาบันจัดอันดับมูดี้ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส หรือ”มูดี้ส์” อย่างนายโธมัส ไบร์นี รองประธานอาวุโสดูความเสี่ยงประเทศมองว่ารัฐประหารครั้งนี้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวอยู่ระหว่าง 1- 2 %เท่านั้น ก่อนหน้านี้มูดี้ส์คาดว่าหากไทยไม่มีแรงกดดันทางการเมือง เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ 4-4.5 %ในปีนี้

ตรงนี้เขาตั้งข้อสังเกตว่า ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากก่อนหน้า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้โครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมูลค่าราว 6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 2 ล้านล้านบาทถูกแขวนไว้ และยิ่งมีการทำรัฐประหารทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต้องลดลง จากที่คนไทยจะได้รัฐบาลประชาธิปไตยสามารถนำงบประมาณใหม่มาใช้ และสามารถใช้จ่ายลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในระดับที่ต้องการให้เกิดขึ้น ทำให้มูดี้ส์คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ไทยในระยะยาวเกิดขึ้นได้ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น

แต่ นายเออร์เนส โบเวอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสจากเซนเตอร์ ฟอร์ สตราเตจิก แอนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล สตัดดี้ส์ ระบุว่าการยึดอำนาจการปกครองครั้งนี้ค่อนข้างแตกต่างจากการรัฐประหารหลาย ครั้งที่เคยเห็นก่อนหน้านี้ และครั้งนี้เป็นวิกฤตการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งเทียบกับหลายๆครั้งที่เกิดขึ้น ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

ด้าน”ซี เอ็นบีซี”ชี้ว่าความวุ่นวายทางการ เมืองก่อนเกิดการยึดอำนาจ ภาคธุรกิจในไทยแทบไม่ได้รับผลกระทบ และผลกระทบเกิดเพียงระยะสั้นก่อนจะดีขึ้น แต่การยึดอำนาจครั้งนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ด้วยจีดีพีในไตรมาสแรกติดลบ 2.1% ซึ่งหดตัวมากกว่าคาดไว้ และนักวิเคราะห์หลายรายได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจอของไทยปีนี้ ด้วย

เพียง 1 วันของการรัฐประหาร นายวิษณุ วาราธาน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากมิซูโฮ แบงก์ ระบุว่ากองทัพไทยบอกว่าให้ธุรกิจดำเนินกิจกรรมตามปกติ แต่การยึดอำนาจรัฐมีแนวโน้มว่าจะเป็นการดำเนินการไม่ปกติ ทำให้ค่าเงินบาทเองมีปฎิกริยาเชิงลบกับข่าวที่เกิดขึ้น แต่จากนั้นค่อยฟื้นตัว มาอยู่ที่ประมาณ 32.44 บาทต่อดอลลาร์ แข็งขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 32.59 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงที่มีการประกาศรัฐประหาร เทียบกับระดับ 32.34 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงก่อนมีการประกาศยึดอำนาจการปกครอง

“คาด ว่าเงิน บาทอ่อนค่าน้อยลง หลังซึมซับข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อาจเข้าไปดำเนินการดูแลความ เคลื่อนไหวของค่าเงินอย่างเงียบๆ และการรัฐประหารช่วยสกัดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นให้มีน้อยลง ขณะที่ตลาดหุ้นอาจไม่เกิดการสูญเสียหรือขาดทุนในทันที เนื่องจากมีเงินทุนถอนออกไปจากตลาดก่อนหน้านี้แล้ว”

จาก ข้อมูลของ เจฟเฟอรี่ส์ ชี้ว่าในช่วงปีนี้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่ลงทุนในกองทุนรวมและอีทีเอฟในประเทศไทย ได้ถอนเงินลงทุนออกไปแล้วราว 1.28 พันล้านดอลลาร์ และในปี 2556 มีนักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนจาดตลาดหุ้นแล้ว 6 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 1.94 แสนล้านบาท

เมื่อ กลับมาดูธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลนโยบายการเงิน หลังเกิดการยึดอำนาจการปกครองมีความกังวลในการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารที่เกิดขึ้น โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ให้ความเห็นความสำคัญอันดับแรกในเวลานี้ อยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการอธิบายเหตุผลให้กับประชาชน รวมถึงต่างประเทศรับทราบและแนวทางต่อไปจะเป็นอย่างไร เชื่อว่าความตั้งใจของทหารคงไม่อยากให้ประเทศไทยเป็นแบบนี้ไปตลอด

“ผลก ระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาการเมืองคือบรรยากาศความเขื่อมั่นที่ได้รับผลกระทบ มาก ทำให้การเติบโตในปีนี้น่าจะอยู่ระดับต่ำ แต่ไม่ได้เป็นความเสี่ยงด้านเสถียรภาพ เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจยังดี ทั้งการส่งออก อัตราเงินเฟ้อ การให้สินเชื่อหรือฐานะของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ต้องระวังธุรกิจขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอี ที่สายป่านสั้นถูกกระทบได้ รวมถึงภาคครัวเรือยที่รายได้ต่ำแต่ก่อหนี้มากจะต้องเข้าไปติดตาม”

ธปท. ยังเชื่อเชื่อว่าพื้นฐานเศรษฐกิจดีสามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ไม่ยาก และเศรษฐกิจก็จะฟื้นได้ แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสิ่งที่ทุกคนเฝ้ารอคือการจัดตั้งรัฐบาลที่ จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นกลับมา หากจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยความเชื่อมั่นคงไม่กระทบมากนัก

ขณะ ที่นาย โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ตั้งข้อสังเกตุถึง สถานการณ์ทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดคือการเกิดความรุนแรง และเหตุการณ์ความไม่สงบ เพราะความไม่สงบเป็นปัญหามากไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ดังนั้นหากอะไรที่ทำแล้วสร้างความสงบได้อย่างถาวรและยั่งยืนได้จะเป็นเรื่อง ที่ดี สอดรับกับนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เช่นกัน เชื่อว่าแนวโน้มสินเชื่อในไตรมาส 2 ยังเห็นการชะลอตัวอยู่และมีโอกาสที่จะติดลบต่อเนื่องจากไตรมาสแรก

หาก ติดตามเศรษฐกิจไทยกับการรัฐประหารที่เกิดขึ้น หลายๆครั้งที่ผ่านมา การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ภาคเอกชน ที่จะสร้างความเชื่อมั่นเป็นปัจจัยหลัก และอยู่ที่ความเชื่อมั่นของรัฐบาล จะเป็นใครมาเป็นรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ภาคเอกชนก็ต้องหนุนช่วยไปด้วย

แต่ การรัฐประหารครั้งนี้ ต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานก่อนรัฐประหาร19 กันยายน 2549 และครั้งนี้ มีทีท่าว่าทหารจะคุมอำนาจการปกครองเป็นเวลายาวจนกว่าบ้านเมืองจะสงบ ซึ่งไม่สามารถระบุเวลาได้ ดังนั้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะกลับคืนมาได้เร็วหรือไม่ อยู่ที่ว่าการยึดอำนาจจะแปรเปลี่ยนทางการเมืองจากทหารที่คุมอำนาจเอาไว้ไป เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้เร็วแค่ไหน

เพราะ นั่นคือในสายตา ชาวโลก ที่ยึดมั่นและเชื่อมั่นในการปกครองแบบเสรีนิยมที่เกิดสอดรับกับการลงทุน ความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ การจะฟื้นเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในวันข้างหน้า จึงต้องจับตาอยู่ที่การเมืองในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ เร็ววันหรือไม่