“บริคส์” เปิดสถาบันการเงินใหม่ สะเทือน “สหรัฐ”

“ธนาคาร ใหม่ของบริคส์ไม่ใช่คู่แข่งของธนาคารโลก ตราบใดที่ไอเอ็มเอฟยังคงวิตกกังวล เราสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเป็นเสมือนตัวแทนของเรายิ่งขึ้น” ดิลมา รูสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีบราซิล

การ ประชุมผู้นำสุดยอดครั้งที่6 กลุ่มบริคส์ ที่บราซิลปิดฉากลงไปเมื่อกลางเดือนก่อน ประกอบด้วยประเทศ รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ผู้นำออกมาประกาศว่าจะเปิดธนาคารเพื่อการ พัฒนา(เอ็นดีบี) และกองทุนการเงินแห่งใหม่ ที่ถูกมองว่ามีเป้าหมายเพื่อคัดทานอำนาจกับธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ”ไอเอ็มเอฟ” โดยมีสหรัฐ ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักในองค์กรดังกล่าวอยู่

ทำให้ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำหน่วยงานองค์กรทางการเงินพากันวิตกต่อบทบาทของกลุ่มบริคส์ อย่างน่าใจหายแน่นอน ประเด็นที่เป็นห่วงคือกลุ่มประเทศดังกล่าวจะเข้ามาเป็นผู้นำทางการเงิน และลดบทบาทธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ ที่ให้การช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาทางการเงิน เพราะนั่นคือหากกลุ่มบริคส์ มีการจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้น มีการหมายมั่นว่าจะเข้ามาดูแลประเทศเกิดใหม่ทางการเงิน

ประเด็น นี้ สหรัฐและยุโรปตะวันตก รวมถึงญี่ปุ่น ในฐานะแกนนำทางการเงินที่ให้เงินในโครงการพัฒนาผ่านทางธนาคารโลก และในยามประเทศสมาชิกไอเอ็มเอฟเกิดวิกฤติทางการเงินจะมีให้กู้ทางการเงิน แต่เมื่อมีกลุ่มประเทศบริคส์ ตั้งขึ้นมาที่มีจีนผู้นำทางการเงินที่มีเงินทุนมหาศาล จะกลายเป็นเงินหยวนของจีนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นเงินสกุลหลักทัดทานกับเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อ กลุ่มประเทศบริคส์ที่มี”จีน”ก้าวขึ้นมาแข่งขัน ทางการเงินกับสหรัฐ ที่ในปัจจุบันอเมริกาก็เป็นแค่เป็นลูกหนี้รายหนึ่งของจีนอยู่ด้วย จะทำให้บทบาทความเป็นเจ้ามหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐต้องลดบทบาทลงไปอย่าง ไม่ต้องสงสัย ยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจช่วงหลายปีที่ผ่านมา พันธมิตรร่วมของสหรัฐ ทั้งญี่ปุ่น กลุ่มประเทศยุโรป ไม่มีท่าทีว่าเศรษฐกิจจะฟื้นชัดเจน หลายประเทศในยุโรปตะวันตกยังต้องพึ่งเงินกู้ยืมจากไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)จำนวนมหาศาล

ดัง นั้นกลุ่มประเทศบริคส์ ยืนยันเป็นแน่การตั้งสถานการเงินแห่งใหม่ โดยมี”จีน”เป็นแกนนำทางการเงิน ที่จะให้กู้ในสกุลเงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักและสกุลเงินของประเทศพันธมิตรของ โลกมาแข่งกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การคานอำนาจเงินตราของโลกที่เงินหยวนเป็นคู่แข่งเห็นความเปลี่ยนแปลง อีกแน่

อย่าง กรณีในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบันมีการค้ากับจีน เป็นประเทศหลัก ไม่ว่ากรลงทุนในลาว พม่า กัมพูชา และไทยที่จะมีการลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ก็ต้องพึ่งพาจีนด้วยเช่นกัน และหากดูตัวเลขคู่ค้าในการส่งออกในปัจจุบัน ไทยเองมีการค้ากับกลุ่มประเทศในยุโรป 9.5% สหรัฐอเมริกา10% ญี่ปุ่น 10% และกับจีน 12% จึงเห็นชัดเจนว่า จีนคือมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สหรัฐต้องหวาดผวา

หาก ติดตามบทความ ของ”Chalee Na Roied” เรื่อง”หยดเลือดและคราบน้ำตาตะวันออกกลางที่ถูกชาติมหาอำนาจอ้างเรื่องศาสนา หลอกให้ฆ่ากันเอง” จะพบว่าจุดอ่อนของสหรัฐที่นายโดมินิค สเตรารซ์คาน อดีตประธานไอเอ็มเอฟ เปลือยล่อนจ่อนสหรัฐฯออกมาว่าไม่ได้มีทองคำเป็นอันดับหนึ่งของโลกที่หนุน หลังเงินดอลลาร์ดังที่กล่าว โดยเขาไปเปิดเผยเรื่องดังกล่าวกับผู้นำรัฐเซียว่าสหรัฐไม่ได้มีทองคำ และที่อ้างว่าเก็บไว้ที่”ฟอร์ต น็อกซ์” ไอเอ็มเอฟเคยเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินกู้ในรูปของทองคำ แต่ถูกสหรัฐปฏิเสธ จน”สเตรารซ์คาน”ถูกข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ

นอกจาก นี้ยังพบว่าการค้า ขายน้ำมันสกุลอื่น นอกสกุลดอลลาร์ คือซีเรียและอิหร่าน ซึ่งเป็นพันธมิตรของจีน และรัสเซีย หากจีนและรัสเซียเสียพันธมิตรตรงนี้ ไปจะกระทบกับเศรษฐกิจจีนและรัสเซีย เพราะทำให้สหรัฐสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาได้เรื่อยๆและเงินเหล่านี้ยัง เป็นที่นิยมใช้ได้อยู่ แต่ถ้าจีนและรัสเซีย ปล่อยให้ซีเรียและอิหร่านซื้อขายแลกเปลี่ยนน้ำมันในสกุลนอกเหนือเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ ประเทศคู่ค่าน้ำมันในกลุ่มโอเปค อย่างเวเนซูเอล่า ก็จะเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศบริคส์

ตรง จุดนี้จะส่งผลกระทบกับสหรัฐ ทันที คือประเทศต่างๆจะมีการเทขายเงินดอลลาร์ เงินดอลลาร์สหรัฐก็จะไหลกลับไปสหรัฐ ทำให้สหรัฐเองเกิดปัญหาเศรษฐกิจ โดยที่อัตราเงินเฟ้อสูงและอัตราดอกเบี้ยจะทะยานขึ้นสูง ทำให้สหรัฐต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่สามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะจะเห็นว่าสหรัฐเองในขณะนี้ต้องปรับลดปริมาณเงิน(คิวอี)ทุกเดือนตั้งแต่ ปีที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

ยิ่ง ช่องทางที่ได้เปรียบของจีนมีมากขึ้น อย่างที่ปาฐกฯเร็วๆนี้ของนายเฉา หยวนเจิ้ง ประธานฝ่ายศูนย์วิจัยด้านเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศจีน (BOC) สำนักงานใหญ่ ณ กรุงปักกิ่ง ระบุว่าเศรษฐกิจประเทศจีนถึงแม้จะเป็นช่วงขาลง แต่จะไม่ลงอย่างแรง เนื่องจากภาคการส่งออกเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย คาดว่าในครึ่งปีหลังแนวโน้มจะเริ่มดีขึ้น และดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนเดือนมิ.ย.57 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.1% ประกอบกับสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจยังมีสภาพคล่องที่สูง และภาคการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ธนาคาร แห่งประเทศจีน ได้ประเมินอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของจีนในปี 57 ว่าจะเติบโต7.5% ซึ่งลดลงจากปี 56 ที่เติบโตได้ 7.7% และประเมินอัตราเงินเฟ้อของจีนในปี 57 ที่ 2.5%

เขา ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่ลงแบบ Hard Landing(หัวทิ่ม)แน่ แม้จะมีความเสี่ยงมากจากการส่งออก และการลงทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐลดลง แต่ปัจจัยที่มาชดเชยก็เป็นการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ขณะที่สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น เศรษฐกิจยังอ่อนแอ

ข้อ ได้เปรียบดังกล่าวนี้เอง แม้จีนเศรษฐกิจชะลอตัว แต่หากมีการปล่อยกู้เงินหยวนผ่านสถาบันการเงินใหม่ จะทำให้เงินหยวนกระจายไปหลายภูมิภาค ย่อมเป็นผลดีกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มบริคส์ โดยที่จีนเป็นหัวหงอกหลักของสกุลเงินในกลุ่มประเทศบริคส์

ยิ่ง ไม่ ต้องสงสัยเลยว่าจากที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เดินสายไปพบผู้นำประเทศอังกฤษ และกรีซ ช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อไปพบร่วมพันธมิตรการค้าในยามที่เศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้น ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการช่วงชิงทางการค้าอีกช่องทางหนึ่ง ที่จีนสามารถรุกตลาดได้

ทั้งหมด นำมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำ กล่มบริคส์ ที่ร่วมกันขานรับในการประชุมที่ผ่านมา จนกระทรวงการคลังจีน ระบุบนเว็บไซต์ว่าธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ของบริคส์จะเป็นส่วนส่งเสริม ธนาคารเพื่อพัฒนาระดับภูมิภาคที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และจะทำให้บริคส์และประเทศเกิดใหม่มีโอกาสมากขึ้นในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ

ธนาคาร เพื่อการพัฒนาดังกล่าวจะมีสำนักงานใหญ่ในประเทศ จีน สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งธนาคารแห่งนี้ มีเพื่อระดมทรัพยากรสำหรับโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานและการพัฒนาที่ยั่งยืน ในบริคส์และประเทศเกิดใหม่อื่นๆ รวมถึงประเทศกำลังพัฒนา

นอกจาก นี้ ข้อตกลงจัดตั้งกองทุนเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินหรือ”ซีอาร์เอ”ของบริคส์ ยังถูกผนวกรวมอยู่ในกองทุนในขั้นต้น 1 แสนล้านดอลลาร์ด้วยเช่นกัน และธนาคารกลางจีน ยืนยันซีอาร์เอ ถือเป็นการดำเนินความพยายามเพื่อสร้างเครือข่ายความมั่นคงทางการเงินที่เป็น กลุ่มก้อน เพื่อที่จะรับมือกับความท้าทายในระดับโลก และยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในตลาด และเกื้อกูลเสถียรภาพทางการเงินโลกด้วย

โดย นางดิลมา รูสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีบราซิล ยังระบุว่า ทั้ง 5 ประเทศ ล้วนเห็นชอบในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนา และการจัดเตรียมเงินทุนสำรองฉุกเฉิน โดยที่การจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มบริคส์ เนื่องจากเอ็นดีบีจะเปลี่ยนแปลงภาวะด้านเงินทุนของประเทศเหล่านี้อย่างมาก มาย ในขณะเดียวกัน “เอ็นดีบี”จะนำเสนอจุดยืนที่แตกต่างจากไอเอ็มเอฟในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศกำลังพัฒนา

บททดสอบการเปิดธนาคารเพื่อการพัฒนา(เอ็นดีบี) และกองทุนการเงินแห่งใหม่ ของกลุ่มบริคส์ ย่อมสั่นสะเทือนไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นแน่!!!