ความสนใจของโลกจดจ่ออยู่ที่กลุ่มประเทศหนึ่ง ประกอบด้วยตูนีเซีย, อียิปต์, บาห์เรน และลิเบีย นับตั้งแต่มีการประท้วงของประชาชนเกิดขึ้นครั้งแรกในตูนีเซียเมื่อเดือน ธันวาคมที่ผ่านมา แต่อีกหลายสิบประเทศในภูมิภาคนี้ก็ได้เกิดมีความวุ่นวายทางการเมือง และการเคลื่อนไหวประท้วงที่ไม่มีวี่แววว่าจะหยุดลงได้
ต่อไปนี้คือการสรุปเหตุการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ลิเบีย
มุอัมมาร์ กัดดาฟี่ เผด็จการผู้ครองอำนาจมายาวนานได้เสียการควบคุมลิเบียตะวันออกไป และกองทัพของเขา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทหารรับจ้างต่างชาติ กำลังใช้การทำสงครามอย่างป่าเถื่อนกับประชาชน
การ ประท้วงเล็กๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมได้นำไปสู่การชุมนุมเดินขบวนที่ใหญ่ขึ้นเมื่อ กลางเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ทางภาคตะวันออก ในเมืองเบนกาซี เมืองใหญ่อันดับสองของลิเบีย และเมืองอื่นๆ เช่นอัล-บัยดา การประท้วงขยายวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นไม่กี่วัน ประชาชนหลายพันคนหลั่งไหลออกมาตามท้องถนนเมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลายคนถูกสังหารโดยมือปืนซุ่มยิง
ไม่ ถึง หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น ก็มีรายงานว่าเบนกาซีตกอยู่ในมือของผู้ประท้วงแล้ว และการชุมนุมได้ลุกลามไปถึงเมืองหลวงทริโปลี ผู้เป็นเหตุการณ์รายงานว่า เมื่อบินไอพ่นของกองทัพลิเบียได้ยิงระเบิดใส่ประชาชน และกลุ่มทหารรับจ้างได้ไล่กราดยิงผู้ชุมนุมบนถนนอย่างไม่เลือกหน้า
หลัง จากหลายสัปดาห์ของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ สหประชาชาติได้ผ่านความเห็นชอบต่อมติที่เรียกร้องให้มีการหยุดยิง และกำหนดใช้เขตห้ามบินเพื่อปกป้องพลเรือน หลายประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี่, กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้สนับสนุนกำลังทางทหารเพื่อบังคับใช้เขตห้ามบินและยิงระเบิดใส่เป้าหมาย ทางการทหารในกรุงทริโปลี
รัฐบาล ของกัดดาฟีที่ปกครองมา 42 ปี ยาวนานที่สุดในโลกอาหรับ ได้ใช้การปราบปรามทางการเมืองอย่างกว้างขวางและละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ประท้วงยังโกรธแค้นเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจอย่างผิดพลาดของเขา ลิเบียมีทรัพยากรน้ำมันมหาศาล ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) มากกว่าครึ่งมาจากน้ำมัน แต่เงินจำนวนนั้นไม่กระจายลงมา การว่างงานยังมีสูง โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวของประเทศ ซึ่งมีมากกว่าหนึ่งในสามของจำนวนประชากรทั้งหมด
ซีเรีย
การประท้วงเริ่มต้นขึ้นกว่าในซีเรีย ซึ่งหลายคนยังมีความทรงจำอันขมขื่นเกี่ยวกับการปราบปรามอย่างป่าเถื่อนของ อดีตประธานาธิบดีฮาฟิซ อัล-อัสซาด ที่กระทำต่อกลุ่มภราดรภาพมุสลิม อัสซาดคนโตได้สังหารหมู่ประชาชนหลายหมื่นคนจนเมืองฮาม่าราบเป็นหน้ากลอง เพื่อปราบฝ่ายต่อต้านจากกลุ่มอิสลามต่างๆ
แต่ ซีเรียก็ไม่อาจต้านทาน ได้ : การประท้วงเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อครอบครัวของนักโทษทางการเมืองได้รวมตัวกันประท้วงสองครั้งเมื่อวันที่ 15 และ 16 มีนาคม ติดตามมาด้วยการชุมนุมเดินขบวนในเมืองดีราทางภาคใต้ ที่ซึ่งมีการจับกุมเด็กสิบกว่าคนในข้อหาวาดภาพสนับสนุนประชาธิปไตย กองกำลังรักษาความมั่นคงของซีเรียปราบปรามการประท้วงที่เกิดขึ้นตามมาอย่าง โหดร้าย มีรายงานว่ามีการใช้เฮลิคอปเตอร์นำกองกำลังเข้ามาเสริมด้วย
มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสามคนในเมืองดีรา เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ทำให้มีการรวมตัวกันเพิ่มมากขึ้นในพิธีศพของพวกเขา ซึ่งมีประชาชนหลายพันคนเรียกร้องให้ทำการปฏิวิ
การประท้วงยังเกิดขึ้นที่เมืองบานิอัส ทางชายฝั่งของซีเรีย และในเมืองฮุมส์ทางภาคกลางด้วยเช่นกัน
รัฐบาล ซีเรียพยายามสกัดกั้นไม่ให้เกิดความไม่สงบที่ลุกลามขึ้นโดยการประกาศว่าจะ ปฏิรูปเพียงเล็กน้อย และกล่าวหาว่าผู้ประท้วงทำการบ่อนทำลายซีเรีย รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาการเลิกใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน และในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม อัสซาดได้กล่าวโทษว่าการประท้วงเกิดจากผู้คบคิดชาวต่างชาติ
เยเมน
การ ชุมนุมในเยเมนดำเนินมาเกือบสองเดือนแล้ว โดยมีกลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันในเมืองหลวงซานา เมืองเอเดนทางภาคใต้ และเมืองทาอิซ ทางตะวันออก ความไม่พอใจของพวกเขามีหลายเรื่อง เช่น การว่างงานที่มีมากถึงหนึ่งในสามของประเทศ และการทุจริตของรัฐบาลในการใช้จ่ายผลประโยชน์หลายพันล้านจากน้ำมัน
การ ประท้วงยังคงเป็นไปโดยสงบ ถึงแม้จะมีการยกระดับความรุนแรงจากกองกำลังรักษาความมั่นคงของเยเมนก็ตาม มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม เมื่อตำรวจได้เปิดฉากยิงใส่ฝูงชนในเมืองซานา สี่วันหลังจากนั้นพวกเขาก็ยิงผู้ประท้วงในทาอิซ โดยใช้กระสุนจริงและแก้สน้ำตา
แต่ ความรุนแรงก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อ ผู้ประท้วง และมันยิ่งกระตุ้นให้เกิดคลื่นการตีตัวออกห่างจากรัฐบาลของประธานาธิบดีอะลี อับดุลลอฮ์ ซาเลห์ ทั้งเอกอัครราชทูตของเขาประจำเลบานอนและสหประชาชาติ, รัฐมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนและการท่องเที่ยว, และหัวหน้าสำนักข่าวของรัฐที่พากันลาออกจากตำแหน่งเพื่อประท้วง
นาย ซอเลห์ ทำการยอมรับเพิ่มมากขึ้น ในการแถลงข่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เขาสัญญาว่าจะทำการปฏิรูป แต่ก็ได้เตือนถึงสิ่งที่เขาเรียกว่า “การยึดและคุมอำนาจด้วยความวุ่นวายและการเข่นฆ่า” เขายังได้เสนอให้มีการเจรจากับฝ่ายค้าน ซึ่งถูกปฏิเสธอย่างรวดเร็ว
เมื่อ วันที่ 20 มีนาคม เขาได้ปลดคณะรัฐมนตรีของเขาออกทั้งหมด แต่การทำเช่นนั้นก็ทำให้ผู้ประท้วงชื่นชมเขาเพียงเล็กน้อยเทานั้น เขาสูญเสียการสนับสนุนจากชนเผ่าที่มีอิทธิพลต่างๆ ในเยเมนอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลุ่มนี้เคยเป็นฐานอำนาจสำคัญของเขามานาน
ตูนีเซีย
ผู้ประท้วงในตูนีเซียสามารถโค่นล้มนายไซน์ เอล อาบีดีน เบน อาลี ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งมานานกว่า 23 ปี ลงได้สำเร็จ หลังจากประชาชนประท้วงนานเกือบหนึ่งเดือน
การ ประท้วงเริ่มต้นขึ้น เมื่อนายมุฮัมมัด บูอาซีซี่ คนขายของข้างทางได้จุดไฟเผาตัวเองหลังจากรถเข็นของเขาถูกตำรวจยึดไป ความโกรธของเขาที่มีต่อการว่างงาน ความยากจน และการทุจริต สะท้อนก้องไปทั่วตูนีเซีย และนำไปสู่การประท้วงรัฐบาลที่กุมอำนาจใหญ่ของนายเบน อาลี บนท้องถนนหลายสัปดาห์ กองกำลังรักษาความมั่นคงได้ทำการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงหลายครั้ง มีประชาชนเสียชีวิตไปมากกว่า 200 คน แต่การจลาจลยังดำเนินต่อไป และนายเบน อาลี จึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศเพื่อลี้ภัยไปยังซาอุดิอารเบียในที่สุด
การ เดินทางออกนอกประเทศของเขาเมื่อวันที่ 14 มกราคม ก็ยังไม่ทำให้ขบวนการประท้วงยุติลงได้ ชาวตูนีเซียจำนวนมากยังคงเรียกร้องต่อไปเพื่อขับไล่นายมุฮัมมัด กันนูชี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกพรรคของนายเบน อาลี ที่ยังอยู่ในอำนาจ
อียิปต์
หลัง จากนายเบน อาลี ประธานาธิบดีฮุสนี มุบารัก ของอียิปต์ เป็นผู้นำเผด็จการของอาหรับคนที่สองที่ต้องลาออก การปกครองเกือบ 30 ปี ของเขา มาถึงวาระสิ้นสุดด้วยการประท้วง 18 วัน
การ จลาจลเริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม เมื่อประชาชนหลายหมื่นคนได้ออกมาเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลของนายมุบารัก “วันแห่งความเดือดดาล” เมื่อวันที่ 28 มกราคม ยิ่งทำให้ฝูงชนจำนวนมากยิ่งขึ้นออกมาชุมนุมในกรุงไคโร ที่ซึ่งพวกเขาถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมจากกองกำลังรักษาความมั่นคงของ อียิปต์ พวกเขายังยืนหยัดต่อไป และในที่สุด ตำรวจต้องล่าถอย ปล่อยให้จัตุรัสตาห์รีรฺตกอยู่ในการควบคุมของผู้ประท้วง
เหตุการณ์ นี้ทำให้เกิดการดึงดันกันอยู่สองสัปดาห์ระหว่างผู้ประท้วงกับรัฐบาล ด้วยการยึดพื้นที่จัตุรัสตาห์รีรฺ และป้องกันตัวจากการจู่โจมของผู้ร้ายที่รัฐบาลสนับสนุน มุบารักมีท่าทีขึงขังในตอนแรกโดยให้คำมั่นว่าจะปฏิรูป เขาปลดคณะรัฐมนตรีและแต่งตั้งรองประธานาธิบดีโอมาร์ สุลัยมาน ที่เป็นหัวหน้าข่าวกรองมายาวนาน แต่เขาจะยังอยู่ในตำแหน่งต่อไป เขากล่าวออกรายการโทรทัศน์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ โดยสัญญาว่าจะอยู่จนครบวาระ
ถึง แม้ว่าเบื้องหลังฉาก มุบารักได้สูญเสียการสนับสนุนจากฝ่ายทหาร และนายสุลัยมานได้ประกาศถอนตัวในแถลงการณ์สั้นๆ ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงต่อมา
ชาวอียิปต์ยังคงก่อการจลาจลกันต่อไป โดยผู้ประท้วงหลายหมื่นคนเรียกร้องให้รัฐบาลทหารชุดใหม่ปฏิบัติตามการปฏิรูปประชาธิปไตยที่แท้จริง
แอลจีเรีย
จนถึงปัจจุบันนี้ รัฐบาลแอลจีเรียยังไม่สนใจต่อการประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวงแอลเจียร์
ผู้ ชุมนุมเดินขบวนกันหลายครั้งในเดือนมกราคม ส่วนใหญ่เนื่องจากการว่างงานและภาวะเงินเฟ้อ พวกเขาวางแผนการชุมนุมใหญ่ในเมืองหลวงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งฝูงชนที่มีประมาณ 2,000 ถึง 10,000 คน ต้องเผชิญหน้ากับตำรวจปราบจลาจลเกือบ 30,000 นาย ที่เข้าควบคุมเมืองหลวง ประชาชนถูกจับกุมหลายสิบคน แต่การชุมนุมยังคงเป็นไปอย่างสงบ ผู้ชุมนุมตะโกนคำขวัญเช่น “บูเตฟลิกาออกไป” ซึ่งหลายถึงประธานาธิบดีอับเดลอาซีส บูเตฟลิกา ผู้ปกครองแอลจีเรียมานาน 12 ปี
การ เดินขบวนครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ดึงดูดฝูงชนได้เพียงน้อยนิด เพียงไม่กี่ร้อยคน ซึ่งก็แตกกระเจิงไปเพราะถูกตำรวจปราบปรามอีกครั้ง รัฐบาลยังได้ระงับการเดินรถไฟ และตั้งด่านบนถนนนอกเมืองหลวง ประชาชนถูกจับกุมหลายคน
บูเตฟลิกาพยายามจะไม่ให้เกิดการประท้วงต่อไปโดยเขาได้สัญญาว่าจะยกเลิกกฎหมายภาวะฉุกเฉินที่ใช้มานานหลายทศวรรษ
บาห์เรน
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลร่วมหนึ่งเดือนถูกปราบปราบขนานใหญ่โดยกองกำลังรักษา ความมั่นคงของบาห์เรน ผู้ซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านกำลังทหารจากประเทศเพื่อนๆ บ้าน โดยทำการสลายการชุมนุมรอบวงเวียนไข่มุม ศูนย์กลางแห่งสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวประท้วงของบาห์เรน
การ ชุมนุม เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เมื่อประชาชนหลายพันคนมารวมตัวกันที่วงเวียนไข่มุก เพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาล และถูกสลายการชุมนุมในเวลาต่อมาด้วยกองกำลังรักษาความมั่นคงที่ใช้กำลัง อย่างรุนแรง
ใน วันต่อๆ มา มีการเดินขบวนแห่ศพและการชุมนุมอื่นๆ ซึ่งก็ถูกตำรวจยิงอีกเช่นเดียวกัน พวกเขาล่าถอยไปนับตั้งแต่นั้น และกองทัพอนุญาตให้มีการชุมนุมกันอย่างสงบที่วงเวียนนั้นได้ต่อไป ผู้ประท้วงหลายหมื่นคนได้มารวมตัวกันหลังนมาซวันศุกร์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
ผู้ ประท้วงเริ่มออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และการเมือง แต่ตอนนี้ผู้ชุมนุมหลายคนกำลังเรียกร้องขับไล่กษัตริย์ฮามัด บิน อีซา อัลคอลิฟา
หลัง จากการประท้วงที่ยกระดับความรุนแรงขึ้น ดำเนินมาหลายสัปดาห์ ซึ่งมุ่งโจมตีไปที่สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล พระราชวังและสัญลักษณ์อื่นๆ ของกษัตริย์ ประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งกำลังทหารของตนเข้ามาในบาห์เรนซึ่งนำโดยซาอุดิอาเบีย รัฐบาลประกาศใช้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน และทหารได้ใช้แก้สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมที่วงเวียนไข่มุก มีประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมากในการสลายการชุมนุมครั้งนั้น
ขบวนการ ประท้วงส่วนใหญ่มาจากประชากรชีอะฮ์ของบาห์เรน ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่มักจะถูกกดขี่จากผู้ปกครองของประเทศที่เป็นซุนนี พวกเขาอ้างเหตุผลว่านโยบายเศรษฐกิจของกษัตริย์เอื้อต่อชาวซุนนีที่เป็นชนก ลุ่มน้อย กษัตริย์คอลิฟาพยายามที่จะคลายความตึงเครียดด้วยการมอบของขวัญให้ชาวบาห์เรน ครอบครัวละ 1,000 ดีนาร์ (2,650 เหรียญสหรัฐฯ) แต่การแจกเงินนี้ทำให้พระองค์ได้การสนับสนุนเพียงน้อยนิดเท่านั้น
โมรอคโค
การประท้วงครั้งสำคัญครั้งแรกในโมรอคโคเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เมื่อประชาชนหลายหมื่นคน (กระทรวงมหาดไทยของประเทศอ้างว่า 37,000 คน) ออกมาชุมนุมบนท้องถนน การชุมนุมจัดขึ้นโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชน กลุ่มนักหนังสือพิมพ์ และสหภาพแรงงาน
ผู้ชุมนุมไม่ได้เรียกร้องเพื่อ ขับไล่กษัตริย์มุฮัมมัดที่สี่ แต่เรียกร้องให้เพิ่มการปฏิรูปที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น พวกเขาต้องการให้กษัตริย์มอบอำนาจบางส่วนให้ประชาชน ปัจจุบันนี้ พระองค์สามารถยุบสภาและประกาศภาวะฉุกเฉินได้ และเรียกร้องให้พระองค์ปลดคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของพระองค์ ป้ายที่ผู้ประท้วงถือมีบางข้อความเขียนว่า “กษัตริย์ควรครองราชย์ ไม่ใช่ปกครองประเทศ”
การ ชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ แม้หลังจากนั้นจะมีการกระทำที่ป่าเถื่อนเกิดขึ้น ธนาคารหลายแห่งถูกเผา พร้อมกับอาคารอื่นๆ มากกว่า 50 แห่ง (โดยไม่รู้ตัวผู้ก่อเหตุ)
ความ ไม่สงบที่คุกรุ่นได้พลุ่งถึงขีดสุดอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม เมื่อประชาชนหลายพันคนได้ออกมาชุมนุมกันในเมืองรอบัต, คาซาบลังก้า และเมืองอื่นๆ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเหตุการณ์รุนแรงใดๆ ระหว่างการประท้วงเหล่านั้น
กษัตริย์มุฮัมมัดสัญญาว่าจะมีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าพระองค์ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนใดๆ
เลบานอน
ประชาชน หลายร้อยคนออกมาชุมนุมกันในวันที่ฝนตกและหนาวเย็นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เรียกร้องให้ยุติระบบทางการเมืองที่แบ่งฝักฝ่ายของเลบานอน
ระบบ การ แบ่งปันอำนาจที่มีมานานนับทศวรรษกำหนดให้เลบานอนต้องมีประธานาธิบดีเป็น คริสเตียน มีนายกรัฐมนตรีเป็นซุนนี และโฆษกรัฐสภาเป็นชีอะฮ์ ผู้ประท้วงอ้างเหตุผลว่าระบบนี้ทำให้ความตึงเครียดทางฝักฝ่ายดำรงอยู่ตลอดไป ในเลบานอน
ผู้ ประท้วงต่อต้านการแบ่งฝักฝ่ายดำเนินการชุมนุมของพวกเขา ต่อไปด้วยการชุมนุมกันเมื่อวันที่ 6 มีนาคม และปักหลักประท้วงด้านหน้าอาคารที่ทำการของรัฐบาล และในการชุมนุมอีกแห่งหนึ่งที่เบรุตเมื่อวันที่ 20 มีนาคม มีผู้ประท้วงเข้าร่วมประมาณ 10,000 คน มากกว่าการเดินขบวนก่อนหน้านี้ถึงสามเท่า
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสาเหตุนี้ และเราเพียงต้องการจะผลักดันเรื่องนี้ต่อไป” อุมัร ดีบ หนึ่งในผู้ดำเนินการประท้วงกล่าว
จอร์แดน
การประท้วงในจอร์แดนเริ่มต้นขึ้นเมื่อกลางเดือนมกราคม เมื่อผู้ชุมนุมหลายพันคนได้เดินขบวนในกรุงอัมมานและเมืองอื่นๆ อีกหกเมือง ความไม่พอใจของพวกเขาส่วนใหญ่อยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ เช่นราคาอาหารสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศก็สูงขึ้นเป็นเท่าตัว
กษัตริย์ อับดุลลา แห่งจอร์แดนพยายามที่จะปลดชนวนการประท้วงเมื่อต้นเดือนนี้ด้วยการปลดคณะ รัฐมนตรีของพระองค์ทั้งหมด นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายมารูฟ บาคิต สัญญาว่าจะปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างแท้จริง
แต่ การไล่ออก ที่กษัตริย์อับดุลลาใช้จัดการกับความไม่สงบภายในประเทศ มีผลเพียงน้อยนิดต่อการประท้วง ประชาชนหลายพันคนได้ออกมายังท้องถนนอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปรัฐธรรมนูญและลดราคาอาหาร มีประชาชนอย่างน้อยแปดคนได้รับบาดเจ็บในระหว่างการจลาจลครั้งนั้น
ซาอุดิอารเบีย
กษัตริย์ อับดุลลอฮ์พยายามที่จะสกัดกั้นความไม่สงบภายในราชอาณาจักรด้วยการปฏิรูปทาง เศรษฐกิจหลายครั้ง ซึ่งมีมูลค่าถึง 135,000 ล้านเหรียญซาอุดี้ฯ (36,000 ล้านดอลล่าร์)
โครงการ ริเริ่มใหม่ๆ มีเป้าหมายอยู่ที่พลเรือนของซาอุดี้ รวมทั้งการให้เงินอุดหนุนการสร้างบ้าน ผลประโยชน์ของคนว่างงาน และโครงการที่จะให้มีการทำสัญญาถาวรแก่พนักงานชั่วคราวของรัฐบาล ลูกจ้างของรัฐจะได้รับการขึ้นเงินเดือน 15 เปอร์เซ็นต์
โครงการ สร้าง ประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ เมื่อกษัตริย์อับดุลลอฮ์กลับถึงริยาดหลังจากการผ่าตัดหลังที่สหรัฐฯ และพักพื้นสี่สัปดาห์ในโมรอคโค
ซา อุดิอารเบียไม่ได้เกิดการประท้วง ของประชาชนที่กวาดไปในหลายประเทศในแถบอาหรับ และยังคงมีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมที่เข้มงวดในราช อาณาจักร กลุ่มปัญญาชนและนักวิชาการที่โดดเด่นมากกว่า 100 คน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เข้าถึง ได้โดยกว้างขวาง แถลงการณ์นี้เรียกร้องให้มี “คณะกรรมการสภาที่ปรึกษา” ที่มาจากการเลือกตั้ง คณะตุลาการที่เป็นอิสระ และการกวาดล้างการทุจริตอย่างจริงจัง
คาดกันว่ากษัตริย์อับดุลลอฮ์จะปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีของพระองค์ในเร็ววันนี้
โอมาน
ประเทศ ในแถบอ่าวเปอร์เซียที่มักจะเซื่องซึมแห่งนี้ได้เกิดการประท้วงอย่างจริงจัง เมื่อวันที่ 27 เมื่อมีประชาชนอย่างน้อยสองคนถูกสังหารในระหว่างการชุมนุมในเมืองซอฮัร เมืองอุตสาหกรรม
ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่ามีผู้เข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 2,000 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก้สน้ำตา, ไม้ตะบอง และกระสุนยางในการสลายฝูงชน
ผู้ ประท้วงโกรธเรื่องการทุจริต การว่างงาน และการขึ้นค่าครองชีพในโอมาน สุลต่านกอบูส บิน ซาอิด ผู้ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 1970 พยายามสกัดกั้นการก่อความไม่สงบที่จะเกิดต่อไปด้วยการประกาศโครงการการสร้าง งานใหม่ และขยายการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ว่างงาน
การชุมนุมอีกแห่งหนึ่งยังเกิดขึ้นในเมืองซาลาลาห์ทางภาคใต้ด้วย
อิรัก
ประชาชน หลายพันคนได้ออกมาชุมนุมกันในจังหวัดสุลัยมานียาทางภาคเหนือในการชุมนุมกัน สี่วันเพื่อประท้วงการคอรัปชั่นและภาวะเศรษฐกิจ ประชาชนอย่างน้อยห้าคนถูกสังหาร และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยกองกำลังรักษาความมั่นคงฝ่ายเคิร์ดที่เปิดฉากยิงใส่ฝูงชน
ได้ เกิด การประท้วงประปรายหลายแห่งทั่วประเทศในช่วงหลายวันนี้ ประชาชนเกือบ 1,000 คน ในเมืองบัสราต้องการมีไฟฟ้าใช้รวมทั้งบริการอื่นๆ ด้วย ประชาชน 300 คน ในฟัลลูจา เรียกร้องให้ปลดผู้ว่าราชการจังหวัดออก ส่วนประชาชนหลายสิบคนในเมืองนัสสีรียาไม่พอใจเกี่ยวกับการว่างงาน
การ ประท้วงยกระดับขึ้นตามลำดับเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เมื่อประชาชนหลายพันคนมาชุมนุมกันในเมืองหลวงและที่อื่นๆ มีประชาชนอย่างน้อยหกคนเสียชีวิตในการชุมนุมทางภาคเหนือของอิรัก
ผู้ ประท้วงในอิรัก ไม่เหมือนกับผู้ประท้วงในประเทศอื่นๆ คือพวกเขา(ยัง)ไม่ได้เรียกร้องเพื่อขับไล่รัฐบาล แต่พวกเขาต้องการให้มีบริการขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น เช่น ไฟฟ้า, อาหาร และการปราบปรามการทุจริต
เพื่อ ตอบรับความไม่สงบ รัฐสภาอิรักได้เลื่อนการประชุมออกไปหนึ่งสัปดาห์ สมาชิกรัฐสภาได้รับคำแนะนำให้เดินทางกลับถิ่นฐานเพื่อพบปะกับประชาชนผู้มี สิทธิ์เลือกตั้ง การตอบรับที่แปลกประหลาดนี้ ซึ่งเหมือนกับว่ารัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนโกรธเคือง
อิหร่าน
ขบวนการ ฝ่ายต่อต้านในอิหร่านได้พยายามทำการประท้วงหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมานี้ และแกนนำอย่างไม่เป็นทางการของขบวนการนี้ คือ มิร ฮุซเซน มุซาวี และเมห์ดี การ์รูบี ถูกจับกุมตัวอยู่ที่บ้าน
การ ประท้วงรอบแรก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ มีประชาชนออกมาบนท้องถนนเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน จากรายงานของเจ้าหน้าที่อิหร่าน ประชาชนอย่างน้อยสองคนเสียชีวิต และอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บ
ประชาชน หลายหมื่นคนพยายามที่จะชุมนุมกัน อีกในวันอาทิตย์ แต่ก็พบกับตำรวจปราบจลาจลที่ถือกระบองเหล็ก ประชาชนเสียชีวิตเพิ่มอีกสามคน อาจมีการประท้วงเกิดขึ้นได้อีกในเร็วๆ นี้ และชาวอิหร่านใช้วิธีการ “ประท้วงเงียบ” และเดินขบวนเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองกำลังรักษาความมั่นคง
แปลจาก/Source : aljazeera.net