มุสลิมในประเทศไทยมาจากไหน? (3)

จากตาลีฟูสู่ล้านนาในนาม ‘จีนฮ่อ’

มาร์ โคโปโล นักท่องโลกชาวอิตาเลียน เคยใช้ชีวิตอยู่ในจีนระหว่างปี ค.ศ. ๑๒๗๕ – ๑๒๙๒ หรือตรงกับ พ.ศ. ๑๘๑๘ – ๑๘๓๕ ได้เล่าไว้ในหนังสือบันทึกการเดินทางของเขา (Description of the World) ว่า มีจำนวนพลเมืองมุสลิมเป็นจำนวนมาก อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะใน เมืองตาลีฟู (อดีตราชธานีของน่านเจ้า) มีพลเมืองทั้งหมดเป็นชาวมุสลิม

เกี่ยว กับหนังสือของมาร์โค โปโล ที่มาจากการบันทึกการเดินทางของเขา นั่น คือ Description of the World (คำอธิบายเกี่ยวกับโลก) ดูเหมือนว่าจุดมุ่งหมายของงานชิ้นนี้ คือเขียนขึ้นมาเพื่อต้องการให้คน อื่นๆ ที่มีโอกาสได้อ่าน จะได้นำเอาความรู้ที่เขาเรียนรู้มาจากประสบการณ์ ที่พานพบ นำไปใช้ได้ กล่าวกันว่า มาร์โคโปโล เป็นคนมีความอยากรู้อยากเห็น มาก และเป็นนักสังเกตการณ์ที่หลักแหลมที่สุดคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่เรา จะพิเคราะห์จากตัวตนของมาร์โคโปโลอย่างหนึ่งคือ เขาเป็นคริสเตียน ซึ่งมี ชีวิตอยู่ในสมัยกลาง ณ เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ดังนั้นมุมมองต่อคนต่าง ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลามนั้นอาจมีอคติหรือมุมมองแบบชาวคริสเตียน ที่เคร่งครัด การอ่านหนังสือที่เป็นบันทึกของเขา (หรือแม้แต่ของคนอื่น-เล่มอื่นๆ ก็ตาม) จำต้องใช้วิจารณญาณในการอ่าน และใช้องค์ความรู้จากแหล่งอื่นมาประกอบด้วย

หนังสือ เล่มดังกล่าวของมาร์โคโปโลนั้นได้แพร่หลายไปในรูปของข้อความที่เป็นการคัด สำเนาด้วยลายมือ จนกระทั่งมันถูกตีพิมพ์ออกมาครั้งแรกเป็นรูปเล่มในปี ค. ศ.1477 ส่วนต้นฉบับลายมือดั้งเดิมนั้น เชื่อกันว่าเป็นภาษาฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะ ต้นฉบับที่เป็นภาษาอิตาเลี่ยนจำนวนมากนั้นไม่ได้หลงเหลือมาถึงปัจจุบันให้ เก็บเป็นหลักฐานใดๆ เลย แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่า ได้มีการคัดสำเนาบันทึกขอ งมาร์โคโปโลเอาไว้ราว 140 ก๊อปปี้ ในหลายๆ ภาษา ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่า ไม่น่าจะมีต้นฉบับเล่มใด-ภาษา ใดที่เหมือนหรือตรงกับเนื้อหาต้นฉบับจริง 100% อย่างไรก็ตาม บันทึกเล่มนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอยู่ดี เพราะอย่างน้อยก็ ทำให้เราได้สืบค้นเพื่อการย้อนรอยตามหา รากเหง้าของตัวเอง เสียดายที่สังคม ไทยไม่ใคร่จะสนใจเรื่องทางประวัติศาสตร์ เท่ากับเรื่องปากท้องทำกินมาก นัก ก็เลยกลายเป็นว่า มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่รู้ว่า ‘พวกเรา’ มา จากไหน เคยมีถิ่นตั้งรกรากอยู่ที่แห่งหนใดกันบ้าง เพราะการได้สืบค้นจนได้ รับรู้ แม้เกิดความสงสัยในที่มาที่ไปก็ถือว่ามีคุณค่าอยู่ดี เพราะองค์ความ รู้ทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ช่วยจุดประกายและเป็นแรงบันดาลใจได้ดีสำหรับคน อยากรู้อยากเห็น เช่น มาร์โคโปโลอีกหลายคน หนึ่งในนั้นมีชื่อ โคลัมบัส เป็น ตัวอย่างที่ชัดเจนผู้หนึ่ง

โคลัมบัสได้อ่านหนังสือเล่มนี้ และมันได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการเดินทางของเขา เขาได้ทำบันทึกลงในหนังสือข มี ข้อความที่เขียนว่า …มันเป็นเพราะบันทึกการเดินทางเกี่ยวกับคาเธ่ย์ หรือประเทศจีนของมาร์ โค โปโลนั่นเอง ที่ทำให้เขามุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตกในปีค.ศ.1492
องเขา

ย้อน กลับมาที่ยูนนาน เป็นอันได้ทราบกันเลาๆ แล้วว่า พวกน่านเจ้าหรือยูนนานซึ่ง เราเรียกว่า ‘ฮ่อ’ นั่นก็คือ มุสลิม และฮ่อนั้นที่จริงก็เป็นชนชาติไทย ไม่ใช่ชาติจีน (อ้างอิงจาก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น หน้า ๕๐) หรือพูดง่ายๆ ก็คือชาวไทยเดิมที่ตกค้างอยู่ในจีน เราเรียกว่า ฮ่อ (พงศาวดารไทยใหญ่ เล่ม ๑ หน้า ก.) และมีคำเรียกว่า หุ้ยหุย ซึ่งแปลว่า “การกลับมายังจุดเริ่มต้น” ชาวหุยหุ้ยหมายถึงผู้นับถือศาสนาอิสลาม คือผู้นอบน้อมตนเองยังพระประสงค์ของ พระผู้เป็นเจ้าเพื่อใฝ่สันติ หมายถึง ความสงบ สันติภาพ ในหนังสือ Islam in China มีบทหนึ่งชื่อ The Title “Hui Hui” อธิบายความหมายของเรื่องนี้ว่า เป็นพวกจีนมุสลิม (Islam in China p.176-177, ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ “ความสัมพันธ์ของมุสลิม” (๒๕๔๕) หน้า ๘) แสดงว่าคนไตแต่ก่อนนั้นเป็นหุยหุยเจี่ยวหรือฮ่วยฮ่วยก่า และดำรงอยู่จน ปัจจุบันนี้

‘กาญจนา คพันธ์’ (สง่า กาญจนาคพันธ์ หรือ ขุนวิจิตรมาตรา) อธิบายคำว่า หุ้ยหุย ไว้ในหนังสือ “ขอคิดขอเขียน” ตอนหนึ่งว่า “ทางเหนือของเปอร์เซีย เป็นทะเลสาบแคสเปียน แถวนั้นเป็นดินแดน ที่เรียกกันว่า ตุรฺกีสถาน เป็นที่อยู่ของพวกเร่ร่อน ซึ่งแตกแขนงออกมาจากภู เขาอาลไตหลายต่อหลายพวก ล้วนเป็นวงศ์วานเครือเดียวกัน พวกใหญ่ที่อยู่แถว ตุรฺกีสถานเรียกอย่างฝรั่งว่า ‘เตอร์ก’ จีนเรียกว่า ‘เขียก’ (คือคำที่ไทยเรียก ‘แขก’ แล้วเลยเหมาหมด) ในชั้นหลังเรียกหุ้ยหุย ไทยก็เห็นจะเรียกหุ้ยหุย” พ้องกับใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๔), ๗๑๕. ที่มีกล่าวถึงชนชาติ “หุ้ยหุย” ว่า “ไม่มีผู้ใดเคยเห็นคนพวกนี้ แต่เป็นเพียงการเล่าต่อกันมาว่า อาศัยอยู่ ติดกับประเทศ จีน มีการแต่งกายโดยสวมเสื้อสีแดง นุ่งกางเกงมีรัดประคด ใส่ รองเท้าปลายงอน และสวมหมวกสักหลาด จารึกแผ่นนี้ระบุว่าผู้แต่งคือ ขุนธน สิทธิ์” ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะการแต่งกายแบบ นี้ คล้ายกับเครื่องแต่งกาย ของชาวเปอร์เซีย ดังนั้นที่กาญจนาคพันธ์ อธิบายว่า ชาว เตอร์ก ที่ตอนหลัง ไทยเรียก หุ้ยหุย นั้นก็ ตรงกันค่อนข้างมากว่ามาจากดินแดนเดียวกัน

ชาว มุสลิมที่มีเชื้อสายชาวยูนนานนั้น ส่วนใหญ่เป็นพวกพ่อค้าที่เดินทางมาค้าขาย บริเวณมณฑลยูนนาน เข้าสู่ประเทศพม่า ลาว และเข้ามาทางภาคเหนือของ ประเทศไทย คนกลุ่มนี้จะถูกคนพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่าเป็นพวก “จีนฮ่อ” ซึ่งมีเอกลักษณ์ทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่มี ลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากชาวจีน โพ้นทะเลกลุ่มอื่นๆ ที่อพยพเข้ามาใน ประเทศไทย (ที่มาของคำว่า “ฮ่อ” นั้นยังคงเป็นปริศนาและมีความซับซ้อนว่ามีที่มาจากที่ใด เพราะเหตุไร ชาวยูน นานจึงถูกเรียกว่า “ฮ่อ” ทั้งที่ชาว ยูนนานเองก็ไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ฮ่อ” (เจียแยนจอง, 2537) โอกาสต่อไปเราอาจตามไปสืบค้นกันอีกที

ใน ตอนหน้าเรามาดูกันว่า จีนฮ่อ ที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนล้านนาทางเหนือ ของไทยเรานั้น มากันกี่กลุ่ม มากันได้อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงมาที่นี่ —โปรดติดตามตอนต่อไป.