หว่านเงินขรก.-ดึงเอกชนลงทุน รัฐเดินหน้ากระตุ้นศก.-ปี๊มจีดีพี

photo CNBC

กำลังจะผ่าน3 เดือนแรกของปี 2559แล้ว แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย นอกจากยังไม่ผงกหัว ยังทำท่าจะแย่กว่าปีที่ผ่านมา เพราะ “ความเสี่ยง” ยัง คงมีอยู่มาก ทั้งเศรษฐกิจโลกไม่เป็นไปตามคาดการณ์ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง กระทบกับดีมานด์ความต้องการในตลาดโลกทำให้การส่งออกหดตัว ขณะที่เศรษฐกิจทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรปเองยังประสบปัญหาอยู่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายในประเทศจากภาวะภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงและลากยาว เข้ามาผสมโรง ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้จะอยู่ที่ราวๆ 2.8%

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ “ความเชื่อมั่น” ของประชาชนยัง “ไม่ฟื้นตัว” จึง กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องระดับหนี้ครัวเรือนที่ยังรบกวนจิตใจผู้บริโภคอยู่ ทำให้ประชาชนอาจไม่คิดจะก่อหนี้เพิ่มเติมอีก ขณะที่การส่งออกที่เป็นพระเอกมาอย่างอย่างนาน มาบัดนี้กลับลดลงต่อเนื่อง

อย่างไร ก็ตามในส่วนรัฐบาลเองก็มีความพยายามที่จะประคองเศรษฐกิจและผลักดันให้ เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวให้ได้ ดังจะเห็นได้จากการรัฐบาลหันมาดูเรื่องเศรษฐกิจภายใน โดยการผลักดันเศรษฐกิจฐานรากเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจทดแทนเศรษฐกิจที่ ชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจโลก

ล่าสุด นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้ไปกล่าวงานสัมมนา “ปีทองของการลงทุนในประเทศไทย” โดยระบุว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) บอกว่าไทยควรออกแรงผลักดันในเรื่องของการใช้นโยบายการคลังให้มากขึ้นเพื่อ ให้เศรษฐกิจไทยโตได้เต็มศักยภาพซึ่งมีโอกาสที่จะโตได้ถึง 4-5% แต่การจะ โตให้ได้ 4-5% ต้องมีการปฏิรูปใน หลายๆ เรื่อง

ทั้งนี้ การปฏิรูปของประเทศไทยที่มีการพึ่งพาการส่งออกสูง ต้องมีการปฏิรูปให้คนไทยพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศได้ นอกจากสร้างความเข้มแข็งฐานราก จะต้องมีการเพิ่มผู้มีรายได้ปานกลางจะเป็นฐานที่สำคัญของประเทศในอนาคตในการ สร้างการบริโภคภายในประเทศ คล้ายๆ กับที่ประเทศจีนทำ ซึ่งจีนเชื่อว่าคนชั้นกลางมีมากจึงลดการส่งออกมาพึ่งการบริโภคภายในประเทศ ไทยต้องเดินแนวทางนี้และหวังว่าการทำเรื่องฐานรากที่ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้าง พื้นฐานของฐานรากเอง จะทำให้ฐานรากมีรายได้มากขึ้นพัฒนาเป็นชนชั้นกลางได้

นอกจากนี้รัฐบาลเองยังเร่งการลงทุนภาครัฐ ซึ่งปีที่ผ่านมาขยายตัวได้ 29% ทั้งที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ยัง ไม่เกิด เพราะมีโครงการลงทุนอื่นใส่เติมลงไป แต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีการประชาสัมพันธ์ไปมากว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่สุดที่จะทำให้เศรษฐกิจโตเต็มศักยภาพ

สำหรับการลงทุนภาคเอกชนนั้น รัฐบาลเห็นว่าปีที่ผ่านมามีการลงทุนน้อยจึงได้ออกมาตรการสนับสนุนให้เอกชน เข้ามาลงทุน เช่น ให้หักค่าเสื่อมหรือเงินลงทุนได้ 2 เท่า หากลงทุนภายในปีนี้ ตอนนี้ผู้ประกอบการเสียภาษี 20% หากหักภาษีได้สองเท่าเท่ากับเอกชนลงทุน 100 ล้านบาท รัฐบาลออกให้ 20 ล้านบาท เป็นแรงจูงใจที่รัฐบาลให้และหวังว่าภาคเอกชนจะช่วยกันลงทุน

อย่างไร ก็ดี ในช่วงนี้รัฐบาลจะทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ไปจนกว่าการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศจะเริ่มมีการลงทุนจริง ล่าสุดกระทรวงการคลังได้เสนอให้ ครม. เห็นชอบมาตรการลดหย่อนภาษีจากการเที่ยวและทานอาหาร วงเงินไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน

นอกจากนี้รัฐบาลยังอยู่ระหว่าง พิจารณามาตรการแจกเงินให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและข้าราชการระดับล่าง โดยในส่วนของประชาชนจะกำหนดรายได้ขั้นต่ำและจะให้มีการจ่ายเงินในระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) ขณะที่ข้าราชการจะจ่ายให้ในรูปของเงินพิเศษ (โบนัส)โดยก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า จะจ่ายให้กับข้าราชการระดับกลางและล่างที่ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ประมาณ 1 ล้านคน คนละ 1 พันกว่าบาท เป็นวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท

มาตรการเหล่า นี้จึงเป็นตัวความหวังว่าจะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้ฟุบมากไปกว่านี้ อย่างไรก็ดี ยังต้องลุ้นช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเป็นไปในทิศทางใด ความหวังเศรษฐกิจหลักยังมาจากนโยบายการคลัง ซึ่งต้องติดตามว่าจะเร่งการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน…

คงต้องอดใจรอ!!