นักเดินเรือและนักเขียนแผนที่ชาวออตโตมาน “พีรี เรอีส” ยอดอัจฉริยะแห่งศตวรรษที่ 16

ภาพที่ 1 : ภาพวาดของพีรี เรอีส

1. บทนำ

กองทัพเรือของออตโตมานมีชื่อเสียงในด้านการทหารอันลือเลื่องจากประมาณปลายศตวรรษที่ 11 จนถึงศตวรรษที่ 18 เป็นอย่างน้อย อาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ของการปฏิบัติหน้าที่กองทัพเรือนี้มีขอบเขตจากส่วนตะวันตกสุดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาจนถึงมหาสมุทรอินเดียและช่องแคบฮอร์มุส  การประสบความสำเร็จของชาวออตโตมานเกี่ยวข้องกับการแผ่ขยายกว้างใหญ่ในด้านของภูมิประเทศและวิทยาศาสตร์ทางทะเล อย่างไรก็ตามในแง่มุมนี้เป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ที่นักประวัติศาสตร์หมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับการแก้ปมเรื่องราวการค้นพบทาง ภูมิศาสตร์และการเดินเรือที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 15

อย่างไรก็ตาม ผลงานการศึกษาหลายๆ ชิ้นที่ถูกตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เผยให้เห็นถึงผลงานของผู้รู้ชาวออตโตมานที่ได้พัฒนาวิชาการเขียนแผนที่ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้มีความสนใจเป็นพิเศษต่อแผนที่ของชาวออตโตมาน ทั้งที่เป็นแผนที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือแผนที่โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นที่ที่เขียนโดย “พีรี เรอีส”

ความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่งของวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการเขียนแผนที่ของชาวตุรกีในศตวรรษที่ 16 ได้รับการเก็บรักษาเอกสารเป็นอย่างดีโดยผู้เชี่ยวชาญ เฮสส์ได้บันทึกไว้ว่า เมื่อพีรี เรอีส ได้นำแผนที่โลกใหม่ที่มีชื่อเสียงของเขามาแสดงต่อสุลต่าน ซาลิมที่ 1 ในปี 1517 เขาได้ทำให้อาณาจักรออตโตมานรู้จักการบรรยายลักษณะที่แน่นอนของอเมริกา รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการแล่นเรือรอบแอฟริกา ก่อนหน้าอาณาจักรในยุโรปหลายแห่ง ในปีต่อมา ซัลมาส เรอีส ได้เพิ่มเข้ามา และกู้ดริช ในผลงานบุกเบิกของเขา ก็ได้เดินทางไกลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกความจำทั้งหมด ทำให้การเขียนแผนที่บรรยายลักษณะโลกใหม่ของออตโตมานมีความล้ำเลิศ ซึ่งในตอนนั้นโลกใหม่กำลังถูกค้นพบในแง่ของความแปลกประหลาด ความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ของมัน

2. นักเขียนแผนที่และนักเดินเรือ

ชื่อเต็มของพีรี เรอีส คือ ฮัจญีมุฮิดดีน พีบี อิบนฺ ฮัจญี มะห์มัด เขาถูกเรียกว่า เรอีส เพราะเขามีความช่ำช่องในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ (จากภาษาอาหรับคำว่า รออีส อัล-บะฮฺร, รออีส อัล-มัรกับ, รออีส หรือ เรอีส หมายถึง กัปตัน, ผู้บังคับบัญชา) เขาเกิดระหว่างปี 1465 และ 1470 ในเมืองกัลป์ลิโปลี บนชายฝั่งแอเจียนของตุรกี และเสียชีวิตในปี 1554 หรือ 1555

ก่อนที่เขาจะได้กลายมาเป็นนายพล, นักภูมิศาสตร์ และนักเขียนแผนที่ผู้มีชื่อเสียงนั้น พีรีเรอีสเคยทำงานอยู่ในทะเลจนถึงปลายศตวรรษที่ 15 ภายใต้การควบคุมของเคมาล เรอีส ผู้เป็นลุงของเขาที่เป็นชาวเรือที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เขาเคยร่วมสู้รบในการต่อสู้ทางทะเลเคียงบ่าเคียงไหล่กับลุง และต่อมาได้เข้าร่วมรบในกองเรือของคอยรุดดีน บาร์บารุซซา เขาได้เข้าร่วมในการต่อสู้กับกองทัพเรือสเปน เจนัว และเวนิส อยู่หลายปี รวมทั้งการสู้รบในสงครามเลปันโตครั้งที่หนึ่ง (สงครามซอนชิโอ) ในปี 1499 และสงครามเลปันโตครั้งที่สอง (สงครามโมดอน) ในปี 1500 จนในที่สุด เขาได้นำกองทัพเรือออตโตมานเข้าต่อสู้กับโปรตุเกสในทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย

ภาพที่ 2 ภาพเขียนอีกภาพของพีรี เรอีส
ภาพที่ 2 ภาพเขียนอีกภาพของพีรี เรอีส

ในระหว่างการปฏิบัติงานทางด้านการทหารเหล่านี้ และภายหลังการเสียชีวิตของเคมาล เรอีส ผู้เป็นลุงของเขาในปี 1511 พีรี เรอีส ได้กลับมายังกัลป์ลิโปลี เพื่อเขียนแผนที่โลกแผ่นแรกในปี 1513 หลังจากนั้น เขาได้เขียนหนังสือสองเล่มคือ กิตาบ บะฮฺรียะฮฺ ในปี 1521 และ 1525 หลังจากนั้น เขาได้ออกแบบและวาดแผนที่โลกแผ่นที่สองในปี 1528-29 เขาได้เงียบหายไปนานอย่างลึกลับตั้งแต่ปี 1528 จนกระทั่งเขาได้ปรากฏตัวอีกครั้งในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเรือออตโตมานในทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย

ในปี 1516 พีรี เรอีส ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเรือออตโตมาน เขาเข้าร่วมการสู้รบกับอียิปต์ในปี 1516-17 และในปี 1517 เขามีโอกาสได้ถวายแผนที่โลกของเขาแก่สุลต่าน ซาลิมที่ 1 หลังจากเขียนหนังสือ กิตาบ บะฮฺรียะฮฺ เสร็จในปี 1521 ปีต่อมาเขาได้เข้าร่วมในการปิดล้อมเกาะโรดส์ ต่อสู้กับอัศวินของเซนต์จอห์น ซึ่งจบลงด้วยการยอมจำนนของเกาะแก่อาณาจักรออตโตมานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปี 1522 และอัศวินได้ไปจากเกาโรดส์อย่างถาวร ในปี 1524 เขาเป็นผู้บังคับบัญชาเรือที่นำอัครมหาเสนาบดีมัคบุล อิบรอฮีม ปาชา ไปยังอียิปต์ และจากคำแนะนำของมหาเสนาบดีผู้นี้ เขาได้ปรับปรุงหนังสือเกี่ยวกับการเดินเรือของเขา และสามารถนำมาถวายต่อสุลต่านสุลัยมานในปี 1525 สามปีต่อมา เขาได้นำแผนที่โลกแผ่นที่สองของเขามาถวายแก่สุลต่าน

ในปี 1547 พีรี เรอีส ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เรอีส (พลเรือเอก) และเป็นผู้บังคับบัญชาการกองทัพเรือออตโตมานในมหาสมุทรอินเดีย และเป็นพลเรือเอกของกองทัพเรือในอียิปต์ โดยมีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่ซูเอซ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปี 1548 เขาได้ยึดเอเดนกลับคืนมาจากโปรตุเกสได้ ตามมาด้วยการยึดมุสคัทในปี 1552 ซึ่งโปรตุเกสได้ยึดครองไปตั้งแต่ปี 1507 และเกาะสำคัญอย่างเกาะคิช ในด้านตะวันออก พีรี เรอิสยึดเกาะฮอร์มุสในช่องแคบฮอร์มุสลตรงปาน้ำเข้าสู่อ่าวเปอร์เซียได้ เมื่อโปรตุเกสหันความสนใจของพวกเขาไปยังอ่าวอาหรับ พีรี เรอีส ยึดครองคาบสมุทรกาตาร์และเกาะบาห์เรนได้ เพื่อกีดกันไม่ให้โปรตุเกสได้มีฐานทัพที่มั่นคง
ในแนวชายฝั่งของอาหรับ

เรือรบและเรือดำน้ำหลายลำของกองทัพเรือตุรกี ถูกตั้งชื่อตามพีรี เรอีส

3. แผนที่โลก

พีรี เรอีส มีชื่อเสียงในปัจจุบันว่าเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้เขียนแผนที่และ แผนภูมิของโลกใน กีตาบี บะฮ์รียะฮ์ (ตำราเดินเรือ) ของเขา แต่นับตั้งแต่ได้มีการค้นพบแผนที่โลกสองแผ่นของเขา ก็ได้ปลุกความสนใจที่ขยายวงกว้างขึ้นทั้งในด้านวัฒนธรรมที่โด่งดังและใน วงการวิชาการ มีแผนที่สองแผ่น แต่ทั้งสองแผ่นนั้นก็เหลือเพียงบางส่วนเท่านั้น ชิ้นส่วนของแผนที่โลกแผ่นที่หนึ่งจัดทำขึ้นในปี 1513 ถูกค้นพบในปี 1929 ที่พระราชวังทอปกาปือ ในอิสตันบูล ลงชื่อโดยพีรี เรอีส และลงวันที่เดือน มุฮัรรอม ฮ.ศ. 919 (9 มีนาคม – 7 เมษายน ค.ศ. 1513) มันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของแผนที่โลกที่ผู้เขียนถวายต่อสุลต่านซาลิมที่ 1 ในกรุงไคโร เมื่อปี 1517

สิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สุดคือการมีทวีปอเมริกาอยู่บนแผนที่สมัยออตโตมาน มันเป็นแผนที่ตุรกีที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด ที่แสดงให้เห็นโลกใหม่ และเป็นแผนที่เก่าแก่ที่สุดแผ่นหนึ่งที่มีภาพของอเมริกาปรากฏอยู่ในโลก แผนที่เก่าแก่ที่สุดที่มีภาพอเมริกาปรากฏอยู่คือแผนที่ ที่วาดโดยฌอง เดอ ลา โคซา เมื่อปี 1500 ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์นาวัล กรุงแมดริด

 

สองมุมมองของส่วนที่เหลือจากแผนที่โลกแผ่นแรกของพีรี เรอีส อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทอปกาปือในอิสตันบูลวาดในปี 1513 มันเป็นแผนที่โลกที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดที่มีทวีปอเมริกาอยู่ด้วย ต้นฉบับของแผนที่เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
สองมุมมองของส่วนที่เหลือจากแผนที่โลกแผ่นแรกของพีรี เรอีส อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทอปกาปือในอิสตันบูลวาดในปี 1513 มันเป็นแผนที่โลกที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดที่มีทวีปอเมริกาอยู่ด้วย ต้นฉบับของแผนที่เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

 

 แผนที่ซึ่งวาดบนแผ่นหนังเป็นภาพสี ถูกนำเข้าถวายแด่ซาลิมที่ 1 ในกรุงไคโร เมื่อปี1517 ได้ข้อมูลประกอบจากแผนที่ยี่สิบแผ่น รวมทั้งแผนที่โลกใหม่ที่วาดโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
แผนที่ซึ่งวาดบนแผ่นหนังเป็นภาพสี ถูกนำเข้าถวายแด่ซาลิมที่ 1 ในกรุงไคโร เมื่อปี1517 ได้ข้อมูลประกอบจากแผนที่ยี่สิบแผ่น รวมทั้งแผนที่โลกใหม่ที่วาดโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

แผนที่ปี 1513 ได้ยึดเอาแผนที่และแผนภูมิที่เก่าแก่กว่าประมาณ 20 แผ่น ซึ่งพีรี เรอีส ได้เก็บรวบรวมไว้เป็นหลักอ้างอิง รวมถึงแผนภูมิที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสวาดเค้าโครงขึ้นเอง ซึ่งเคมาล เรอีส ลุงของเขาได้มาเมื่อปี 1501 หลังจากยึดเรือสเปนได้เจ็ดลำนอกชายฝั่งวาเลนเซียในสเปน พร้อมลูกเรือของโคลัมบัสหลายคนที่อยู่บนเรือ ลักษณะโดดเด่นที่สุดของภาพวาดแผนที่นี้คือระดับความแม่นยำของตำแหน่งที่ตั้งทวีปต่างๆ (โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างแอฟริกาและอเมริกาใต้) ซึ่งไม่มีอะไรเสมอเหมือนได้ในสมัยนั้น แม้แต่แผนที่ที่วาดขึ้นหลายทศวรรษหลังจากนั้นก็ยังไม่มีความแม่นยำในตำแหน่งและสัดส่วนได้เท่า เป็นคุณภาพที่สามารถพบเห็นได้ในแผนที่แผ่นอื่นๆ ของพีรี เรอีส ในกีตาบิ บะฮ์รียะฮ์ ของเขา แผนที่ของพีรี เรอีส มีศูนย์กลางอยู่ในทะเลทรายซาฮาราตรงเส้นรุ้งที่อยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ

ส่วนที่เหลือของแผ่นที่โลกของพีรี เรอีส ที่วาดในปี 1513 เป็นแผนที่เก่าแก่ที่สุดที่มีทวีปอเมริการวมอยู่ด้วย แผนที่นี้แสดงให้เห็นส่วนของยุโรปและชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกา, อเมริกาตะวันออก, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้, เกาะต่างๆ และมหาสมุทรแอตแลนติก มีรายละเอียดมากมายในอเมริกาใต้

รูปแบบของแผนที่เป็นลักษณะแผนที่การเดินเรือปอร์โตลาน ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปในสมัยนี้ แทนที่จะใช้พิกัดละติจูดและลองติจูด กลับเป็นการกำหนดแฉกเข็มทิศขึ้นในจุดสำคัญๆ แล้วกระจายเส้นมุมทิศอะซิมุท(azimuth) ออกไปจากตำแหน่งเหล่านั้น เส้นในแนวตะวันออก-ตะวันตก ที่ผ่านแฉกเข็มทิศเล็กๆ จากอเมริกาใต้ที่อยู่ตรงกลางของแผนที่ เป็นเส้นที่ใกล้เคียงกับเส้นศูนย์สูตรเป็นอย่างมาก ทั้งที่  ตรงนั้นและที่ด้านของแอฟริกา แฉกเข็มทิศที่  อยู่ด้านบนสุดของแผนที่ก็อยู่ประมาณ 45 องศาเหนือ ที่ซึ่งเส้นมุมทิศอะซิมุทตะวันออก-ตะวันตกบรรจบกับชายฝั่งของฝรั่งเศสพอดี แฉก เข็มทิศใหญ่ๆ สองจุดกลางมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นจุดที่กำหนดได้ยากกว่า ทั้งสองจุดอาจเป็นตำแหน่งของเส้นรุ้ง (23-1/2 องศาเหนือและใต้)  หรืออาจบอกตำแหน่ง 22-1/2 ละติจูด (หนึ่งในสี่ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรไปขั้วโลก) เมื่อพิจารณาดูว่าทั้งสองเส้นอยู่ใกล้ตำแหน่ง 45 องศามากกว่าเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นมันจึงน่าจะเป็นเส้นรุ้งมากที่สุด

แผนที่โลกของพีรี เรอีส ปี 1513 แสดงให้เห็นมหาสมุทรแอตแลนติกกับแนวชายฝั่งที่อยู่ใกล้ยุโรป แอฟริกา และโลกใหม่ แผ่นที่สองจากปี 1528-29 ซึ่งเหลืออยู่เพียงประมาณหนึ่งในหก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของแอตแลนติก รวมทั้งปลายด้านใต้ของกรีนแลนด์, อเมริกาเหนือจากลาบราดอร์และนิวฟาวด์แลนด์ในด้านเหนือไปยังฟลอริดา, คิวบา และบางส่วนของอเมริกากลาง และในภาคใต้แสดงภาคอาณาเขตจากเวเนซูเอลาไปยังนิวฟาวด์แลนด์

พอล คาห์ล นักปราชญ์ชาวเยอรมัน ได้วิเคราะห์และอรรถาธิบายแผ่นที่ของพีรี เรอีส อย่างละเอียด เขาพบว่าพีรี เรอีส เป็นนักเขียนแผนที่ที่เก่งและเชื่อถือได้คนหนึ่ง เขายังชี้ให้เห็นว่าภาพโดยรวมของโคลัมบัสมีความผิดเพี้ยนอยู่ เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเขาเกือบทั้งหมด และที่เกี่ยวกับการเดินเรือของเขาบางส่วน ไม่ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพดั้งเดิม แต่เป็นผลงานที่ลอกและแก้ไขมาจากต้นฉบับเดิมโดยบิชอป ลาส คาซัส เสียส่วนใหญ่

อีกนานหลังจากคาห์ล ในช่วงกลางปี 1960 แฮพกู้ดได้หันกลับไปสนใจเรื่องแผนที่  ทอปกาปืออีกครั้ง จากความสมบูรณ์อันน่าประหลาดของแผนที่ เขาเชื่อว่าจะต้องมีอารยธรรมที่เจริญก้าวหน้ามาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งแล้ว ด้วยที่มาของแผนที่ของพีรี เรอีสนี้ ชาร์ลส์ แฮพกู้ดโต้แย้งว่าแผนที่เหล่านี้ได้อนุรักษ์ความรู้ของอารยธรรมที่เราไม่รู้จัก แฮพกู้ดใช้แผนที่สำคัญๆ หลายแผ่น เพื่อแย้งว่าแผนที่เหล่านั้นแสดงภาพทวีปกว้างใหญ่ทางภาคใต้อย่างหยาบๆ ในรูปทรงแบบเดียวกันกับแอนตาร์กติกา เขาเสนอความคิดว่า ตำแหน่งขั้วโลกที่ 15 องศานั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11,600 ปีที่แล้ว และว่าบางส่วนของแอนตาร์กติกาในสมัยนั้นไม่มีน้ำแข็ง

ส่วนที่เหลือของแผนที่โลกแผ่นที่สองของพีรี เรอีส ที่วาดในปี 1528 แสดงภาพกรีนแลนด์และอเมริกาเหลือจากลาบราดอร์และนิวฟาวด์แลนด์ในด้านเหนือไปยังฟรอริด้า, คิวบา และบางส่วนของอเมริกากลางในด้านใต้
ส่วนที่เหลือของแผนที่โลกแผ่นที่สองของพีรี เรอีส ที่วาดในปี 1528 แสดงภาพกรีนแลนด์และอเมริกาเหลือจากลาบราดอร์และนิวฟาวด์แลนด์ในด้านเหนือไปยังฟรอริด้า, คิวบา และบางส่วนของอเมริกากลางในด้านใต้

ท่าทีของแฮพกู้ดดูเหมือนจะเป็นเรื่องน่าขำในสมัยนี้ ไม่ใช่แค่เพราะการยืนยันอย่างหนักแน่น และการเน้นย้ำถึงหลักฐานในเรื่องที่ไม่เป็นจริง แต่เป็นเพราะภาพของผลงานปัจจุบันในเรื่องประวัติศาสตร์การวาดแผนที่ด้วย หนังสือหลายเล่มของฮาร์เลย์ และวู้ดเวิร์ด ในปัจจุบัน ที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดมากมาย และบทบาทดีๆ ของนักเขียนแผนที่ชาวมุสลิมและวิทยาศาสตร์ทางทะเล

สำหรับการสืบค้นต้นฉบับของคาห์ล สิ่งหนึ่งที่เขาแสดงความเสียใจไว้ก็คือชิ้นส่วนที่พบในพิพิธภัณฑ์ทอปกาปือนั้นเป็นเพียงชิ้นส่วนเดียวเท่านั้นจากแผนที่ต้นฉบับเดิม ที่มีทะเลทั้งเจ็ด (เมดิเตอร์เรเนียน, อินเดีย, เปอร์เซีย, แอฟริกาตะวันออก, มหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแดง) ซึ่งเป็นโลกที่กว้างใหญ่ไพศาล ในสมัยที่เก่าแก่มากๆ สมัยหนึ่ง การค้นหาส่วนอื่นๆ ของแผนที่นี้ยังคงไร้ผล

4. กิตาบี บะฮ์รียะฮ์

กิตาบี บะฮ์รียะฮ์ (ตำราเดินเรือ) ของ  พีรี เรอีส เป็นหนึ่งในตำราการเดินเรือก่อนยุคใหม่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มันประกอบไปด้วยข้อมูลอย่างละเอียดในการเดินเรือ พร้อมทั้งแผนที่ที่มีความแม่นยำอย่างยิ่งที่บรรยายถึงท่าเรือและเมืองสำคัญๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันสมบูรณ์ไปด้วยข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับท่าเรือใหญ่ๆ, อ่าวเล็ก, อ่าวใหญ่, แหลม, คาบสมุทร, เกาะ ช่องแคบ และที่ทอดสมอเรือที่ปลอดภัยในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันยังเต็มไปด้วยวิชาการในการเดินเรือและข้อมูลทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเดินเรือ หนังสือเล่มนี้ยังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนในท้องถิ่นของแต่ละประเทศและแต่ละเมืองด้วย รวมทั้งแง่มุมด้านวัฒนธรรมแปลกๆ ของพวกเขา

หนังสือเล่มนี้เขียนต้นฉบับระหว่างปี 1511 ถึง 1521 แต่ได้ทำการปรับปรุงใหม่ด้วยการเพิ่มเติมข้อมูลและแผนภูมิที่ประณีตยิ่งขึ้นระหว่างปี1524 ถึง 1525 เพื่อถวายเป็นของกำนัลแด่สุลต่านสุลัยมานผู้ยิ่งใหญ่แห่งออตโตมาน พีรี เรอีส วาดแผนที่เหล่านี้ระหว่างการเดินทางรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเคมาล เรอีส ลุงของเขา ตำราฉบับปรับปรุงใหม่ในปี 1525 นี้ มีทั้งหมด 434 หน้า ประกอบด้วยแผนที่ 290 แผ่น

กิตาบี บะฮ์รียะฮ์ แบ่งเป็นสองส่วนที่สำคัญ ส่วนที่หนึ่งกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของพายุ, เทคนิควิชาการในการใช้แผนที่ปอร์โตลานให้เข้าใจ ด้วยข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับท่าเรือและแนวชายฝั่ง, วิธีการค้นหาทิศทางโดยใช้ดวงดาว, ลักษณะของมหาสมุทรใหญ่และแผ่นดินที่ล้อมรอบมหาสมุทรเหล่านั้น มีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการค้นพบโลกใหม่ของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และการค้นพบของวาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) และกะลาสีชาวโปรตุเกสคนอื่นๆ ระหว่างทางไปอินเดียและส่วนอื่นๆ ของเอเชีย

ส่วนที่สอง ประกอบด้วยแผนที่ปอร์โตลานและคำแนะนำในการล่องเรือ แต่ละหัวข้อประกอบด้วยแผนที่ของเกาะหรือแนวชายฝั่ง ในหนังสือเล่มแรก (ปี1521) ส่วนนี้มีแผนที่ปอร์โตลานทั้งหมด 132 แผ่น ในขณะที่หนังสือเล่มที่สอง (ปี 1525) มีแผนที่ปอร์โตลานทั้งหมด 210 แผ่น ส่วนที่สองนี้เริ่มต้นด้วยการอธิบายเกี่ยวกับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ (Dardanelles Strait) และอธิบายต่อไปถึงเกาะและแนวชายฝั่งของทะเลอีเจียน, ทะเลไอโอเนียน, ทะเลอเดรียติก, ทะเลไทเรเนียน, ทะเลลิกูเรียน, เฟร็นช์ ริเวียรา, หมู่เกาะบาเลียริก, ชายฝั่งสเปน, ช่องแคบยิบรอลต้า, หมู่เกาะคานารี่,ชายฝั่งแอฟริกาเหนือ, อียิปต์และแม่น้ำไนล์, ลิแวนต์ และแนวชายฝั่งอนาโตเลีย ในส่วนนี้ยังประกอบไปด้วยการอธิบายลักษณะและภาพวาดของอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงและอาคารในทุกๆ เมือง รวมทั้งข้อมูลชีวประวัติเกี่ยวกับพีรี เรอีส ซึ่งได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมเขาจึงเลือกที่จะรวบรวมแผนที่เหล่านี้ไว้ในหนังสือ แทนที่จะวาดเป็น  แผนที่เดี่ยวๆ ซึ่งจะไม่สามารถแสดงข้อมูลและรายละเอียดได้มากนัก

บะฮ์รียะฮ์ พบได้ในห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลก ฉบับคัดลอกของเล่มแรก (ปี 1521) พบได้ในพระราชวังทอปกาปึ, ห้องสมุด Nuruosmaniye และห้องสมุด Suleymaniye ในอิสตันบูล, ห้องสมุทรของมหาวิทยาลัยโบโลนนา, ห้องสมุดแห่งชาติเวียนนา, ห้องสมุดของรัฐเดร็สเดน, ห้องสมุดแห่งชาติฝรั่งเศสในปารีส, พิพิธภัณฑ์บริทิชในลอนดอน, ห้องสมุด Bodleian ในออกซ์ฟอร์ด และพิพิธภัณฑ์ วอลเตอร์ อาร์ท ในบัลติมอร์ ส่วนฉบับคัดลอกของเล่มที่สอง (ปี 1525) พบได้ในพระราชวังทอปกาปึ, ห้องสมุด Köprülüzade Fazıl Ahmed Paşa, ห้องสมุด Süleymaniye และห้องสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส

ฉบับคัดลอกของกิตาบี Kalyon ของออตโตมาน เรือรบ และบุคลากรในกองทัพเรือ
ฉบับคัดลอกของกิตาบี Kalyon ของออตโตมาน เรือรบ และบุคลากรในกองทัพเรือ

พอล คาห์ล ได้บุกเบิกการศึกษากิตาบี บะฮ์รียะฮ์ ซึ่งเขาได้กล่าวถึงตำราเล่มนี้ในหนังสือสองเล่ม หนังสือของเขาอยู่ในเยอรมนีที่เดียว แต่มีงานเขียนที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับเรื่องนี้บางเล่มโดย Soucek งานเขียนของ Mantran พิจารณาไปที่การอธิบายชายฝั่งอัลจีเรีย, อียิปต์, ตูนีเซีย และฝรั่งเศส ในกิตาบี บะฮ์รียะฮ์ Esin ทำการศึกษาเรื่องชายฝั่งของตูนีเซีย แต่สำหรับประเทศหลังนี้ งานเขียนของ Soucek น่าพอใจมากที่สุด ยังมีผลงานเขียนภาษาอิตาลีด้วย โดย Bausani ที่เขียนเกี่ยวกับชายฝั่งของอิตาลี และส่วนที่เฉพาะเจาะจงของอิตาลี, แนวชายฝั่ง Venetian, Adriatic และ Trieste มหาสมุทรอินเดียก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจเช่นกัน

รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของตุรกี ได้ตีพิมพ์หนังสือออกเป็นสี่เล่ม (ปี 1988-1991) ประกอบไปด้วยภาพสีของต้นฉบับดั้งเดิม แต่ละแผ่นถูกเปลี่ยนตัวอักษรจากอักษรตุรกีเป็นตัวอักษรละติน แปลเป็นภาษาตุรกีประยุกต์ และเล่มหนึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษ กิตาบี บะฮ์รียะฮ์ ยังได้ปลุกเร้าความสนใจของนักโบราณคดี, นักภูมิศาสตร์, นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ด้วย

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ตำรานี้มีสองฉบับ ฉบับแรกเป็นฉบับปี 1521 และฉบับที่สองคือฉบับหลังจากนั้นห้าปี มีความแตกต่างกันหลายอย่างระหว่างสองฉบับนี้ ฉบับแรกมี  เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ชาวเรือ แต่ฉบับที่สองตรงข้ามกัน มันค่อนข้างจะมีความหรูหรากว่า ซึ่งพีรี เรอีส ถวายเป็นของกำนัลแก่สุลต่าน  มันจึงถูกตบแต่งเพิ่มเติมด้วยรูปแบบที่ประณีต แผนที่ก็วาดโดยนักเขียนลายมือและนักวาดภาพมืออาชีพ และแม้แต่ชาวออตโตมานผู้มั่งคั่งในศตวรรษที่ 16 ก็ยังมองว่ามันเป็นตัวอย่างการทำหนังสือที่โดดเด่น

เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษหรือมากกว่านั้น มีการผลิตฉบับคัดลอกหลายเล่ม ด้วยความตั้งใจที่จะให้มันหรูหรามากยิ่งขึ้น เป็นของมีค่าสำหรับนักสะสม และเป็นกองขวัญสำหรับบุคคลสำคัญ นอกเหนือจากแง่มุมความหรูหราของมัน การขยายภาคส่วนต่างๆ ของหนังสือยังได้ให้การอธิบายที่ดีในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับทะเลด้วย เช่น พายุ, เข็มทิศ, แผนที่ปอร์โตลาน, การเดินเรือโดยหลักดาราศาสตร์, มหาสมุทรของโลก, และแผ่นดินที่ล้อมรอบมหาสมุทร เป็นที่น่าสนใจที่มันยังได้กล่าวถึงการเดินทางค้นพบของยุโรป รวมทั้งการที่ชาวโปรตุเกสเข้าไปถึงมหาสมุทรอินเดีย และการค้นพบโลกใหม่ของโคลัมบัส ภาคนี้ยังประกอบไปด้วยแผนที่อย่างละเอียดสองร้อยสิบเก้าแผ่นของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอีเจียน และแผนที่ทะเลมาร์มาราอีกสามแผ่นโดยไม่มีข้อความ

มีต้นฉบับของกิตาบี บะฮ์รียะฮ์อยู่ประมาณสามสิบเล่ม กระจายอยู่ในห้องสมุดต่างๆ ในยุโรป ต้นฉบับเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นของตำราเล่มแรก Soucek ได้ทำรายการที่ดีเยี่ยมของตำแหน่งที่อยู่และรายละเอียดของทั้งสองเล่มเอาไว้ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แผนที่ของพีรี เรอีส ฉบับดิจิตอล แปลเป็นภาษาอังกฤษ จาก “แผนที่เก่าสุดของอเมริกา” โดย Afet Inan (แองการ่า, 1954, หน้า 28-34)
แผนที่ของพีรี เรอีส ฉบับดิจิตอล แปลเป็นภาษาอังกฤษ จาก “แผนที่เก่าสุดของอเมริกา” โดย Afet Inan (แองการ่า, 1954, หน้า 28-34)
ตำราเล่มที่หนึ่ง :

• ห้องสมุด Sarayi, ทอปกาปึ, อิสตันบูล MS Bagdad 337

• ห้องสมุด Nuruosmaniye, อิสตันบูล, MS 2990

• ห้องสมุด Suleymaniye, อิสตันบูล, MS Aya Sofya 2605

• ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Bologna, Marsili collection, MS 3612.

• Nationalbibliothek, เวียนนา, MS HO192.

• Staatbibliothek, ดริสเดน, MS Eb 389.

• Bibliothèque nationale de France, ปารีส, MS Suppl. turc 220.

• พิพิธภัณฑ์ British Museum, ลอนดอน, MS Oriental 4131.

• ห้องสมุด Bodleian, ออกซ์ฟอร์ด, MS Orville X infra.

• ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ห้องแสดงศิลปะ Walters Art gallery of Baltimore, สหรัฐฯ, MS W658.

ตำราเล่มที่สอง :

• ห้องสมุด Sarayi Library, ทอปกาปึ, อิสตันบูล, MS Hazine 642.

• ห้องสมุด Koprulu Zade Fazil Ahmad Pasha, อิสตันบูล, MS 171.

• ห้องสมุด Suleymaniye, อิสตันบูล, MS Aya Sofya 3161.

• Bibliothèque nationale de Franc, ปารีส, MS Suppl. turc 956.

 

5. คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินเรือในกิตาบี บะฮ์รียะฮ์

กิตาบี บะฮ์รียะฮ์ ที่แปลโดย Hess ใช้ชื่อหนังสือว่า Book of Sea Lore เป็นสิ่งที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นแผนที่เดินเรือปอร์โตลาน ที่เป็นคู่มือให้คำแนะนำในการเดินเรือแก่นักเดินเรือทั้งหลาย ให้ความรู้เกี่ยวกับชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนี่ยน, เกาะ, ทางผ่าน, ช่องแคบ และอ่าว, สถานที่หยดพักเมื่อประสบกับภัยทางทะเลและวิธีเข้าถึงท่าเรือ, การทอดสมอ, และยังบอกทิศทางแก่นักเดินเรือ และระยะทางที่แม่นยำระหว่างสถานที่ต่างๆ ด้วย

ตามที่ Goodrich กล่าวไว้ มันเป็นแผนที่ปอร์โตลานที่สมบูรณ์แบบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอีเจียน เพียงชิ้นเดียวที่เคยมีมา เอกสารชิ้นนี้เป็นตำราที่สุดยอดทั้งในด้านเนื้อหาและแผนที่ที่เคยมีนักเดิน เรือแห่งเมดิเตอร์เรเนี่ยนและนักปราชญ์ได้พัฒนาไว้ Brice ได้แสดงความเห็น ว่า กิตาบี บะฮ์รียะฮ์ ได้ให้ “ความรู้แก่เราอย่างสมบูรณ์ที่สุดในด้านการสำรวจที่มีรายละเอียดเป็น อย่างมากในส่วนต่างๆ ของชายฝั่ง ซึ่งถูกใช้เป็นต้นแบบของโครงร่างแผนที่ปอร์โตลานแบบมาตรฐานของทะเลเมดิเต อร์เรเนี่ยน โดยใช้วิธีทับซ้อนและย่อขนาดของระดับมาตรฐาน”

ในบทนำ พีรี เรอีส ระบุไว้ว่า ก่อนหน้านี้เขาได้ออกแบบแผนที่โลกซึ่งเกี่ยวกับการค้นพบล่าสุดในสมัยนั้น คือทะเลอินเดียและทะเลจีน เป็นการค้นพบที่ยังไม่มีใครในดินแดนของโรม (หมายถึงยุโรปในศตวรรษที่ 16) เคยรู้จักมาก่อน เขายังให้เหตุผลในการทำการรวบรวมของเขาไว้ด้วย

“พระเจ้าไม่ทรงทำให้สามารถระบุถึงสิ่งดังกล่าวได้หมด (เช่น สถานที่เพาะปลูกและสถานที่ที่เสียหาย, ท่าเรือ และน้ำที่อยู่รอบชายหาดและเกาะของเมดิเตอร์เรเนี่ยน และแนวโขดหินและหินโสโครกในน้ำ) ในแผนที่ ในเมื่อสิ่งที่กล่าวและทำทั้งหมดนั้นเป็นการสรุปโดยย่อ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้จึงได้วาดสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “แผนที่” กับเข็มทิศ คู่หนึ่งตามสัดส่วนเป็นไมล์ และเขียนลงโดยตรงบนแผ่นหนัง เพราะฉะนั้นจึงสามารถเขียนได้เพียงสามจุดเท่านั้นบนพื้นที่สิบไมล์ และยังมีสถานที่ที่เล็กกว่าสิบไมล์ ด้วยการคำนวณเช่นนี้จึงมีเพียงเก้าจุดเท่านั้นที่จะวางลงในพื้นที่สามสิบ ไมล์ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเติมสัญลักษณ์มากมายลงไปบนแผนที่ เช่น สัญลักษณ์ที่แสดงสถานที่เพาะปลูกและหรือซากเรือ, ท่าเรือและน้ำ, แนวหินและหินโสโครกในทะเล ในส่วนของท่าเรือดังกล่าวที่มีระบุไว้นั้น ก็เพื่อจะรู้ว่าลมชนิดใดเหมาะกับท่าเรือใด และอะไรที่ไม่เหมาะกับอะไร, ท่าเรือนั้นๆ สามารถจุเรือได้กี่ลำ เป็นต้น

ภาพวาดสุลต่านอะห์มัดที่ 3 และขุนพลออตโตมาน (เรือรบแกลลีขนาดเล็ก) ในตระกูล Vehbi หนังสือเทศกาลของจักรพรรดิที่ทำขึ้นในปี 1720 โดยสุลต่านอะห์มัดที่ 3 ประกอบเอกสารโดย Vehbi ภาพประกอบวาดโดย Levni และผู้ช่วยของเขา 
ภาพวาดสุลต่านอะห์มัดที่ 3 และขุนพลออตโตมาน (เรือรบแกลลีขนาดเล็ก) ในตระกูล Vehbi หนังสือเทศกาลของจักรพรรดิที่ทำขึ้นในปี 1720 โดยสุลต่านอะห์มัดที่ 3 ประกอบเอกสารโดย Vehbi ภาพประกอบวาดโดย Levni และผู้ช่วยของเขา

“ถ้าใครจะค้านด้วยการกล่าวว่า ‘เป็นไปไม่ได้หรือที่จะเขียนลงบนแผ่นหนัง หลายๆ แผ่น?” คำตอบคือ แผ่นหนังนั้นจะใหญ่เกินไปจนไม่สามารถใช้บนเรือได้ ด้วยเหตุผลนี้ นักเขียนแผนที่จึงเขียนแผนที่หนึ่งแผ่นบนแผ่นหนังหนึ่งแผ่น ซึ่งเขาสามารถกางออกเพื่อดูชายฝั่งและเกาะใหญ่ๆ ได้ แต่ในพื้นที่แคบพวกเขาจะใช้คนนำทาง

ภาพสวยงามของ Goke เรือรบออนโตมาน ย่อส่วนจากต้นฉบับ Tuhfetu ‘l-kibar ของ Katip Celebi (ห้องสมุดพระราชวังทอปกาปึ)
ภาพสวยงามของ Goke เรือรบออนโตมาน ย่อส่วนจากต้นฉบับ Tuhfetu ‘l-kibar ของ Katip Celebi (ห้องสมุดพระราชวังทอปกาปึ)

และในขณะที่พีรี เรอีส ระบุว่า กิตาบี บะฮ์รียะฮ์ ของเขามีรายละเอียดที่ดีอย่างเพียงพอจนทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้คนนำทาง ตอนนี้ยังแสดงให้เห็นความคุ้นเคยของเขาที่มีต่อปอร์โตลานสัดส่วนเล็กของเมดิ เตอร์เรเนี่ยน หนังสือของเขาถูกออกแบบมาเพื่อเอาชนะข้อบกพร่องเหล่านั้น

เนื้อหาของกิตาบี บะฮ์รียะฮ์ จัดเป็นบท ภาคแรกมี 132 บท และภาคที่สอง 210 บท แต่ละบทจะมีแผนที่ของชายฝั่งหรือเกาะในเนื้อเรื่อง หนังสือประกอบด้วยแผนที่และแผนภูมิของเกาะ Khios, ท่าเรือโนโวเกรด, เมืองเวนิซ, เกาะ Djerba ฯลฯ มันเป็นการเน้นเนื้อหาและแผนที่ประกอบกันไปมาของพีรี เรอีส ในบางแห่ง พีรี เรอีส ปฏิบัติตามคนรุ่นก่อนของเขาผู้ซึ่งบันดาลใจตัวเองด้วยแหล่งความรู้ด้าน อิสลามแต่ก่อนนี้ แม้ว่าโดยรวมแล้ว พีรี เรอีส ได้ทำให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขที่ดีขึ้น

หนังสือเล่มที่เก็บไว้ในห้องแสดงภาพศิลปะ Walters Art ในบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา (MS W658) ซึ่งประกอบด้วยแผนที่ประกอบ 16 แผ่น เป็นการมุ่งเน้นความสนใจโดย Goodrich แผนที่สี่แผ่นแรกมีความสวยงามเป็น พิเศษ และแผนที่แผ่นที่ 3 เป็นแผนที่โลกแบบซีกโลกคู่ ซึ่งไม่มีปรากฏอยู่ในต้นฉบับอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ แผนที่นี้ Goodrich แสดงความเห็นว่า มีความคล้ายคลลึงกันมากกับ “Mappe Monde” ปี 1724 โดย Guillaume de L’Isleแผนที่แผ่นที่สี่ เป็นแผนที่โลกแบบวงรีที่มีมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ตรงกลาง  Goodrich ได้ระบุ ไว้ด้วยว่า แผนที่แผ่นหลังที่เขียนโดย Anoldo di Arnoldi เมื่อปี 1601 ทำขึ้นเป็นแผนที่โลกสองแผ่นในรูปไข่เรียก ว่า Universale descritione del mondo มีลักษณะเกือบเหมือนกับของพีรี เรอีส

 

แผนที่น่าสนใจของยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ จากกิตาบี บะฮ์รียะฮ์ โดย พีรี เรอีส
แผนที่น่าสนใจของยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ จากกิตาบี บะฮ์รียะฮ์ โดย พีรี เรอีส

ข้อมูลที่พรั่งพร้อมในกิตาบี บะฮ์รียะฮ์ ถูกจัดแสดงในบทความเป็นตอนๆ ในเรื่องชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนี่ยน แผนที่สี่แผ่นเป็นรายละเอียดของชายฝั่งฝรั่งเศส มันครอบคลุมที่ตั้งสำคัญๆ อย่างเช่นเมืองไนซ์ หรือโมนาโค ซึ่งพีรี เรอีส แสดงความเห็นว่า สามารถทอดสมอได้เป็นอย่างดี มาร์เซส์(Marseilles) เมืองท่าและแนวชายฝั่ง ได้รับความสนใจมาก และจากที่นั่น กล่าวกันว่า ฝรั่งเศสมีการจัดการและเปิดเดินเรือที่นั่น แคว้นลองเกอด๊อก (Languedoc) จากแหลมครีอัสไปถึงแอกเกอ มอร์เตอ (Aigues Mortes) มีการลงรายละเอียดในทุกส่วน ทั้งแนวชายฝั่ง, เส้นทางน้ำ, ท่าเรือ, ระยะทาง และอีกมากมาย ดังนั้น กิตาบี บะฮ์รียะฮ์จึงไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลที่แม่นยำแก่นักเดินเรือ แต่ยังมีภาพสถานที่ต่างๆ จากสมัยที่ผ่านมานานแล้วให้แก่ผู้อ่านและนักศึกษาค้นคว้าอีกด้วย

6. การบรรยายลักษณะชายฝั่งแอฟริกาเหนือ

ชายฝั่งทางใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ รับความสนใจมากกว่าในกิตาบี บะห์รียะห์ ชายฝั่งเหล่านั้นเป็นฐานทางธรรมชาติของชาวออตโตมานที่นำโดยเคมาล เรอีส ซึ่งในจำนวนลูกน้องของเขาก็มีพีรี เรอีสอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการบรรยายลักษณะของแนวชายฝั่งตูนีเซียควรค่าแก่การพิจารณาเป็นพิเศษ มันเป็นแหล่งศึกษาหลายครั้งของ Mantran และ Soucek คนหลังใช้คำว่าตูนีเซีย แต่ให้การรับรองว่า Ifriqyah มีความถูกต้องมากกว่า เมื่อเจาะจงมองจาก Bejaia (อัลจีเรียตะวันตกปัจจุบัน) ไปยังทริโปลี (ลิเบีย) ทางตะวันออก ในขณะนั้นทั้งสองแห่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮัฟซิด

ชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือต้อนรับชาวออต โตมานฉันท์พันธมิตร ไม่ใช่อย่างชาวต่างด้าว ในขณะนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาเหนือตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามจากการโจมตีของโจรสลัด ชาวยุโรป นักเดินเรือชาวตุรกีมักใช้ชายฝั่งตะวันตกเหล่านี้เป็นที่พักระหว่างการเดิน ทางไปทางเหนือและไปทางตะวันตก และบ่อยครั้งที่จะหลบพักในฤดูหนาวที่ท่าเรือหรือเกาะแห่งใดแห่งหนึ่ง และนี่คือวิธีที่ทำให้พีรี เรอีส มีความคุ้นเคยกับชายฝั่งเหล่านี้

ในการบรรยายลักษณะของ Bejaia พีรี เรอีส กล่าวว่า มันคือป้อมปราการสง่างามที่ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ปกคลุมด้วยต้นสนที่อีกด้าน หนึ่งเป็นชายหาด ผู้ปกครองเมืองชื่ออับดุลเราะห์มาน ที่เป็นญาติกับสุลต่านแห่งตูนีเซีย สืบสายตระกูลมาจาก “อุมัร อิบนฺ อัล-คอฎฎอบ”  เขาตั้งข้อสังเกตว่า ในบรรดาเมืองทั้งหมดในมักเรบ ไม่มีเมืองใดที่จะมีภาพที่เปรียบเทียบกับมันได้ พีรี เรอีส ต้องได้เห็นพระราชวังของวงศ์ฮัมมาดี และเกิดความประทับใจ ก่อนที่มันจะถูกชาวสเปนทำลายลงเมื่อเข้ายึดเมืองนี้ในปี 1510 เมื่อเกิด เหตุการณ์นั้น  ชาวสเปนได้บีบให้ประชาชนต้องหลบหนีไปอยู่ยังบริเวณเทือกเขา ปรองดองกับบางกลุ่ม และทำลายล้างกลุ่มที่เหลือ

พีรี เรอีส กล่าวต่อไปถึง Jijel และดินแดนโดยรอบ โดยระบุว่ามันอยู่ใต้การปกครองของ Bejaia (ก่อนที่สเปนจะยึดครอง) ภายใต้การคุ้มครองของ Aroudj Barbarosa ต่อไปทางทิศตะวันออก ความสนใจของเขามาอยู่ที่ Stora (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของSkikda) ป้อม ปราการที่พังทลาย และแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลอยู่ด้านหน้าท่าเทียบเรือ, น้ำของที่นั่น เขาบันทึกว่ามีรสชาติเหมือนแม่น้ำไนล์ ก่อนที่จะข้ามมายังตูนีเซียปัจจุบัน พีรี เรอีส บันทึกว่ามีสิงโตในดินแดน Bone (Annaba) ประชาชนมักตกเป็นเหยื่อความหิวโหยของพวกมัน

ตัวอย่างเมืองเวนิสในกิตาบี บะห์รียะห์ โดยพีรี เรอีส
ตัวอย่างเมืองเวนิสในกิตาบี บะห์รียะห์ โดยพีรี เรอีส

พีรี เรอีส เริ่มต้นการสำรวจตูนีเซียโดยละเอียดจากทาบาร์กา การวาดภาพให้ความสนใจอยู่ที่แนวทอดสมอที่ปลอดภัยในฝั่งตะวันตก สถานที่ซึ่งสามารถเดินเรือได้ และมีน้ำลึกพอ ทางใต้ของเกาะ Calta (Galite) เขาระบุว่าเป็นที่ที่อันตรายอย่างมากเมื่อมีลมจากทางใต้ เขาชี้ให้เห็นว่าเกาะแห่งนี้น้ำที่มีคุณภาพดีเป็นพิเศษ “มีรสชาติเหมือนน้ำ กุหลาบ” รวมทั้งมีฝูงแพะป่ามากมายนับไม่ถ้วน ในทางตรงกันข้าม ที่ Bizerte น่าประทับใจด้วยป้อมปราการที่คงทน, ท่าเรือที่ดีสำหรับการทอดสมอ และปลาที่อุดมสมบูรณ์

นอกจากนั้น ที่ตูนิส ความสนใจเป็นพิเศษอยู่ที่สภาพอากาศ การติดต่อค้าขายของที่นั่น ผู้ปกครองและคู่ปรับของพวกเขา เมืองนี้มีห้าหมื่นหลังคาเรือน แต่ละหลัง “เหมือนกับราชวังของสุลต่าน” สวนผลไม้และสวนดอกไม้มีอยู่รอบเมือง ในแต่ละสวนเหล่านั้นมีบ้านพักและร้านค้า, สระน้ำและน้ำพุ และกลิ่นดอกมะลิลอยอยู่ในอากาศ มีกังหันน้ำ และมีผลไม้มากมายจนประชาชนแทบจะไม่ได้ให้ความสนใจกับมันเลย เมืองนี้เป็นที่มาเยือนของพ่อค้าชาวVenitian และ Genoese เรือของพวกเขาจะ เต็มไปด้วยสินค้าก่อนจะจากไป สถานที่ทอดสมอในท่าเรือของพวกเขาตั้งอยู่ห่างออกไป 9 ไมล์จากหน้าเมือง พีรี เรอีส ชี้ให้เห็นว่าท่าเทียบเรือของตูนิสเป็นอ่าวที่เปิดไปทางเหนือ และที่ทอดสมออยู่ลึกเจ็ดช่วงแขน ใต้ท้องน้ำราบเรียบ และพื้นที่ยึดดี นอกเหนือจากนั้น ความปลอดภัยยิ่งขึ้นของท่าเรือได้รับการดูแลแน่นหนาให้ปลอดภัยจากกองเรือของ ศัตรูด้วยหอคอยที่มีปืนใหญ่เฝ้าระวัง

ที่แหลมคาร์เทจ หรือเรียกอีกอย่างว่าแหลมมาร์ซา การทอดสมอจะไม่มีอุปสรรค และเรือสามารถแวะพักได้ตลอดทั่วท่าเรือ อย่างไรก็ตาม อันตรายมีอยู่ในบริเวณใกล้กับเกาะ Zembra ซึ่งเปิดโล่งให้แก่ลมที่ส่วนใหญ่ มาจากทิศใต้ ในขณะที่แนวโขดหินมักจะอยู่ใต้น้ำที่อาจจะลวงสายตาได้มาก ตลอดแนวชายฝั่ง Hammamet ท้องทะเลเป็นน้ำตื้น พื้นเรียบและมีทรายขาว ความลึกในทะเลกว้างห่างจากฝั่งหนึ่งไมล์ มีความลึกสี่ถึงห้าช่วงแขน

ต่อไปยัง Sousse เขาระบุถึงป้อมปราการ ขนาดใหญ่บนชายฝั่งที่หันหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เบื้องหน้าเป็นท่าเรือที่สร้างโดย “คนนอกศาสนา” แนวกั้นน้ำที่มนุษย์สร้าง ขึ้น ขณะที่ในท่าเรือ Khios มันทำหน้าหน้าที่ปกป้องท่าเรือจากด้านนอก อย่างไรก็ตาม ทะเลมีความตื้นเกินไปสำหรับเรือขนาดใหญ่ๆ เกาะ Kerkena มีสภาพเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการทอดสมอโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จะเกิดพายุทะเลที่รุนแรง ดังนั้นมันจึงสถานที่ดีเลิศสำหรับการพักเรือในฤดูหนาว Sfax ก็เช่นเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น เขาได้ระบุว่ายังคงมีภัยคุกคามเป็นประจำจากโจรสลัดชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระดับน้ำมีความลึกพอที่จะให้เรือลำใหญ่บุกรุกเข้ามา ได้

เกาะ Djerba เป็น จุดดึงดูดความสนใจมากที่สุดจากสถานที่ทั้งหมด พีรี เรอีสกล่าวถึงรายละเอียดในด้านประชาชนของที่นั่น, ประวัติศาสตร์, ประเพณี, เศรษฐกิจ และแน่นอน สภาพเงื่อนไขในการเดินเรือในบริเวณใกล้เคียงและโดยรอบเกาะ ประกอบด้วยที่ทอดสมอ กระแสลมตามธรรมชาติ, กระแสน้ำ และความเสี่ยงในการล่องเรือ ความสนใจที่เน้นไปยัง Djerba เป็นผลมาจากประสบการณ์ก่อนหน้านี้ของเขา เมื่อครั้งที่เขาร่วมกับคามาล ลุงของเขา ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมและชาวยิวที่ถูกเนรเทศจากสเปนภายหลังการ พิชิตชัยอีกครั้งหนึ่งของชาวคริสเตียน

 

แผนที่เมืองซิซิลี ในกิตาบี บะห์รียะห์ โดยพีรี เรอีส
แผนที่เมืองซิซิลี ในกิตาบี บะห์รียะห์ โดยพีรี เรอีส

ในการบรรยายลักษณะของลิเบีย โดยรวมเขากล่าวถึงทริโปลี ประวัติศาสตร์ของมัน, การติดต่อค้าขาย และท่าเรือเฟื่องฟู เขาแสดงวิธีการล่องเรือไปที่นั่นด้วยการใช้ภูเขาเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น เขาระบุว่า การทอดสมอที่ท่าของเมืองเป็นสิ่งที่ดี เกาะเล็กๆ สามเกาะทางด้านเหนือของท่าเทียบเรือช่วยลดอัตราความเร็วลมได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เขาบรรยายถึงเมืองนี้นั้น มันได้ตกอยู่ในกำมือของชาวสเปนแล้ว ซึ่งเป็นบางอย่างที่ทำให้เขาเศร้าใจมาก ความเศร้าเสียใจของเขาเกิดจากสถานที่ ที่เป็นเมืองของลูกเรือที่ร่วมเดินทาง และเหนือสิ่งอื่นใดคือการทำลายป้อมปราการของเมือง เขาระบุว่า ใน Maghreb ไม่มีป้อมใดสง่างามเหมือนป้อมในทริโปลี หอคอยและแนวกั้นทั้งหมดราวกับเคลือบด้วยขี้ผึ้ง และกำแพงแต่งแต้มด้วยปูนขาวบริสุทธิ์

ป้อม ปราการแห่งนี้พังลงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 1510 และในสเนปมีความสนุกสนาน รื่นเริงกันอย่างมากเช่นเดียวกับคริสตจักรทั้งหมด โป้ปจูเลียสที่สองเข้าร่วมขบวนพิธีขอบคุณพระเจ้า

 ภาพวาดของ Granada ในสเปนและบริเวณโดยรอบ ในกิตาบี บะห์รียะห์ โดยพีรี เรอีส
ภาพวาดของ Granada ในสเปนและบริเวณโดยรอบ ในกิตาบี บะห์รียะห์ โดยพีรี เรอีส

 

เขียนโดย : ทีมศึกษาค้นคว้า FSTCR
แหล่งที่มา : http://muslimheritage.com/topics/default.cfm?ArticleID=1183
แปล : เยาวฮาเราะห์ ยอมใหญ่